สารานุกรมปืนตอนที่ 336 Type 64 ปืนพกของเกาหลีเหนือที่เป็นตัวแทนประวัติศาสตร์และความเป็นชาตินิยมเกาหลี



ปืนพกแบบ Type 64 คือเวอร์ชั่น Copy ของปืน FN M1900 ของเกาหลีเหนือผลิตในปี 1964-1970 Black Story ของปืนพกชนิดนี้ย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่เกาหลียังไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิญี่ปุ่น FN M1900 เป็นอาวุธประจำตัวนายทหารของกองทัพเกาหลีก่อนที่ในปี 1905 จากการที่เกาหลีในเวลานั้นอ่อนแอต้องพึ่งพาอิทธิพลของต้าชิง (ที่หมดอิทธิพลในคาบสมุทรเกาหลีไปแล้วตั้งแต่ปี 1895 เพราะรบแพ้ญี่ปุ่น) และรัสเซียในการเข้ามารักษาเอกราชจากญี่ปุ่นซึ่งในปีเดียวกันญี่ปุ่นสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นส่งผลให้ทหารของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีอิทธิพลมากขึ้นในคาบสมุทรเกาหลีจนนำไปสู่สนธิสัญญาอึลซาเป็นผลให้เกาหลีกลายเป็นรัฐอารักขาของญี่ปุ่น ซึ่งทำให้กองทัพญี่ปุ่นในเกาหลีมีสถานะเป็นกองกำลังในการปกป้องเกาหลีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตรงจุดนี้ทำให้กองทัพเกาหลีส่วนใหญ่ถูกยุบแล้วต่อมาในปี 1910 เกาหลีก็ถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่นเรียกได้ว่าเกาหลีนั้นสิ้นชาติอยู่พักใหญ่ๆเลยจนถึงปี 1945 นู่นแหละ ทำให้เจ้าปืนจากเบลเยี่ยมรุ่นนี้เป็นมากกว่าแค่ปืนแต่กลายเป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัยแห่งการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่นเพราะในปี 1909 ก็เกิดเหตุการณ์ลอบสังหาร อิโต ฮิโรบูมิ (นายกรัฐมนตรีคนแรกของจักรวรรดิญี่ปุ่น) อดีตผู้ตรวจราชการเกาหลีได้เดินทางไปยังฮาร์บิน โดยมีวัตถุประสงค์ในการเจรจากับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการ เกี่ยวกับปัญหาแมนจูเรียและเกาหลีและถูกนักรณรงค์เพื่อเอกราชเกาหลีชื่อว่า อัน จุง-กึน ยิงเสียชีวิตที่สถานีฮาร์บิน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม (อัน จุง-กึนถูกจับกุมทันที ส่วนผู้ร่วมก่อการอีก 3 คนถูกตำรวจรัสเซียจับกุมภายหลัง หลังจากนั้นทั้ง 4 คนได้ถูกพิจารณาคดีในศาลญี่ปุ่น ณ คาบสมุทรเหลียวตงที่ขณะนั้นเป็นอาณานิคมญี่ปุ่น อัน จุง-กึนถูกตัดสินประหารชีวิต ผู้ร่วมกระทำความผิดคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 2 ปี อีกสองคนต้องโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน) กล่าวกันว่า พออิโตได้ทราบก่อนเสียชีวิตว่าผู้ที่ยิงตนนั้นเป็นคนเกาหลี ก็พึมพำว่า "ไอ้คนทำนี่มันช่างโง่จริง ๆ ที่มายิงข้า" (เพราะแม้ว่าอิโตจะเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าครอบงำเกาหลีแต่เขาคือผู้ส่งเสียงค้านการผนวกเกาหลีมาโดยตลอดและเป็นผู้ต่อต้านสายเหยี่ยวในกองทัพที่ต้องการยึดครองเกาหลีอย่างเต็มตัว) ปืนที่อัน จุง-กึน ใช้ลอบสังหารอิโต ฮิโรบูมิ ก็คือ FN M1900



อิโต ฮิโรบูมิ



อัน จุง-กึน 





รูปปั้น อัน จุง-กึน ใน Bucheon จังหวัด Gyeonggi 



Uisa Ahn Jung-geun) (Patriotic Martyr An Jung-gun) ภาพยนตร์เกาหลีใต้ปี 1972



Anjunggeun ideungbangmuneul ssoda ("An Jung Gun shoots Ito Hirobumi") ภาพยนตร์เกาหลีเหนือปี 1979

อัน จุง-กึน กลายเป็นวีรบุรุษตลอดกาลของชาวเกาหลี



FN M1900

ซึ่งสามารถนำไปผูกรวมกับตอนที่ คิมอิลซุง ประธานาธิบดีตลอดกาลของเกาหลีเหนือยังคงนำกองโจรชาวเกาหลีเข้าทำสงครามต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นก่อนจะลี้ภัยไปอยู่ในดินแดนของสหภาพโซเวียตเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนบนเส้นขนานที่ 38 คิมอิลซุงได้กลับมาเกาหลีเหนือในฐานะผู้นำภายหลังสงครามเกาหลีสหภาพโซเวียตให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูแก่เกาหลีเหนือที่ทั้งประเทศถูกทำลายเละ รวมถึงการส่งเครื่องจักรและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการผลิตปืนเป็นของตนเองให้แก่เกาหลีเหนือด้วยและปืน FN M1900 ก็ถูกคิมอิลซุงมองว่ามันควรจะเป็นมากกว่าแค่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของเกาหลี เขาจึงมีคำสั่งให้มีการสร้างปืนพกที่มีต้นแบบมาจาก FN M1900 เพื่อนำมาประจำการในกองทัพเกาหลีเหนือนอกจากจะเป็นการผลิตปืนที่ใช้โดยทั่วไปแล้วมันยังมีประเด็นของความเป็นชาตินิยมพูดง่ายๆก็คือการปลูกฝังความรักชาติด้วยปืนที่คล้ายกับที่ อัน จุง-กึน เคยใช้นั่นเองปืนพกแบบ Type 64 มีอยู่ 2 รุ่นคือแบบทั่วไปและแบบที่มีเกลียวไว้ติดตั้งกระบอกเก็บเสียงสำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษแต่ปืนพกแบบ Type 64 ก็ไม่ได้เป็นอาวุธมาตรฐานของกองทัพเกาหลีเหนือเท่าไหร่นักเพราะว่าไปๆมาๆมันมีปืนแบบใหม่ที่ทันสมัยกว่าและผลิตได้ง่ายกว่าเช่นการทำสำเนาปืนโตกาเรฟและปืนมาคารอฟเป็นต้น (เดี๋ยวนี้เห็น Copy ปืน CZ75) จึงทำให้ปืนพกรุ่นนี้เป็นปืนที่มีใช้ในจำนวนจำกัดและส่วนใหญ่มักจะอยู่กับนายทหารระดับสูงเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างปืนพกที่หายากที่สุดในโลก





ข้อมูลทางเทคนิค

ปีที่ผลิต 1964-1970

ระบบปฎิบัติการ Blowback

ขนาดกระสุน 7.65×17mm Browning SR (.32 ACP)

ซองกระสุนบรรจุ 7+1 นัด

ความเร็วปากลำกล้อง 290 เมตร / วินาที

ระยะยิงหวังผล 30 เมตร

ความยาวโดยรวม 171 มม.

น้ำหนักปืนเปล่า 0.624 กิโลกรัม

แหล่งอ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่