ทำไมไทยมี4สำเนียงภาษาคะ

ขออนุญาติถามแบบโง่ๆเลยนะคะ ทำไมไทยมีหลายสำเนียงภาษาถิ่นคะ (เหนือ กลาง อิสาน ใต้) ทำไมไม่ได้ใช้ภาษากลางสำเนียงเดียวไปเลย บางประเทศที่ใหญ่กว่าก็ใช้ภาษาเดียวไปเลย หรือแค่สำเนียงอาจเปลี่ยนแต่ก็คงความหมายเดิม ต่างจากไทยที่มีหลายสำเนียงในแต่ละสำเนียงก็มีภาษาไปอีก เช่นคำว่า เบิ่ง ที่แปลว่า ดู  สาเหตุของการเกิดสำเนียงต่างๆขึ้นมาเนี่ยเกิดจากอะไรหรอคะ




[ส่วนตัวเจ้าของกระทู้เป็นคนอิสานค่ะ ใช้ภาษาอิสานทุกวันแล้วเกิดสงสัย]

ปล.ขออภัยนะคะ หากคำถามซับซ้อน ดิฉันพยายามอธิบายคำถามให้เข้าใจง่ายที่สุดแล้วค่ะ
ปล2.ถ้าแท็กผิดห้องต้องขอโทษด้วยนะคะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ขออนุญาติถามแบบโง่ๆเลยนะคะ ทำไมไทยมีหลายสำเนียงภาษาถิ่นคะ (เหนือ กลาง อิสาน ใต้)

ปัญหาที่จขกทถาม  มันไม่ได้เรียกว่า "สำเนียง" แต่มันเป็น "สำนวน"ภาษาของแต่ละชนเผ่า พูดง่ายว่า
มันเป็นคนละภาษากัน  จึงจะเอามาเรียกเป็นสำเนียงเพื่อเปรียบเทียบไม่ได้

ถ้าเป็นลักษระของสำเนียง  จะต้องเป็นภาษา่เดียวกัน  อย่างเช่นภาษากลาง  ก็จะมีสำเนียง กรุงเทพ  สุพรรณ  เพชรบุรี  ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้

ทำไมไม่ได้ใช้ภาษากลางสำเนียงเดียวไปเลย

เพราะประเทศเราประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่หลากหลายแตกต่างกัน  เหตุนี้จึงทำให้มีภาษาที่แตกต่างกันด้วย

บางประเทศที่ใหญ่กว่าก็ใช้ภาษาเดียวไปเลย

อาณาเขตที่ได้ชื่อว่าประเทศจำเป็นต้องมีภาษากลางเอาไว้ในคนในประเทศที่มีที่มาจากหลายเผ่าพันธุ์ไว้สื่อสารกัน
ส่วนภาษาถิ่นเป็นภาษาของบรรพบุรุษหรือภาษารากเหง้าเดิม   ก็ยังใช้กันอยู่ในกลุ่มของชนเผ่าตนเอง
เช่นคนอีสานก็ยังพูดลาวอีสานอยู่ในภาคอีสาน   แต่เวลาคุยกับคนภาคอื่นต้องคุยด้วยภาษากลาง(ภาษาราชการ)

อนึ่งภาษากลางไม่ได้หมายถึงภาษาของภาคกลางแต่หมายถึงภาษาที่คนไทยทุกภา๕ต้องเรียนรู้และพูดให้ได้


หรือแค่สำเนียงอาจเปลี่ยนแต่ก็คงความหมายเดิม

คำว่า"สำเนียง"คือการออกเสียงด้วยคำศัพท๋คำเดียวกัน แต่เสียงแตกต่างกัน  เช่น คนกรุงเทพออกเสียงสุนัขว่า "หมา"
แต่คนสุพรรณ จะออกเสียงว่า "หม่า"  สำเนียงก็คือ  เสียงแตกต่างกันแต่ความหมายเหมือนกัน

ต่างจากไทยที่มีหลายสำเนียงในแต่ละสำเนียงก็มีภาษาไปอีก เช่นคำว่า เบิ่ง ที่แปลว่า ดู  
สาเหตุของการเกิดสำเนียงต่างๆขึ้นมาเนี่ยเกิดจากอะไรหรอคะ


"เบิ่ง" กับ "ดู"  แบบนี้เขาไม่เรียกสำเนียงครับ  แต่เรียกว่า"สำนวน" หรือภาษาที่ต่างกัน  เป็นคนละภาษากัน
ภาษาเป็นสำเนียงจะต้องเป็นคำๆเดียวกัน  แต่ต่างกันที่ระดับเสียงหรือวรรณยุกต์

ถ้าจะเทียบสำเนียงในภาษาอีสานต้องเทียบกับภาษาลาวครับ  เพราะเป็นตระกูลภาษาเดียวกัน

][ส่วนตัวเจ้าของกระทู้เป็นคนอิสานค่ะ ใช้ภาษาอิสานทุกวันแล้วเกิดสงสัย]

ที่คุณสงสัยเป็นเพราะไม่รู้ที่มาของภาษาที่คุณพูด(อีสาน)  คุณเข้าใจว่ามันเป็นภาษาเดียวกับภาษากลางของไทย
แต่ไม่ใช่ครับ   มันเป็นภาษาเดียวกับภาษาลาว

ปล.ขออภัยนะคะ หากคำถามซับซ้อน ดิฉันพยายามอธิบายคำถามให้เข้าใจง่ายที่สุดแล้วค่ะ
ปล2.ถ้าแท็กผิดห้องต้องขอโทษด้วยนะคะ


ไม่ซับซ้อนเลยครับ  ปัญหามันอยู่ที่คุณเข้าใจผิดแล้วเอาความเข้าใจผิดมาเป็นประเด็นครับ
"สำเนียง"  คือ การออกเสียงในคำๆเดียวกันมีความหมายเดียวกัน    แต่ต่างกันด้วยระดับเสียง
"สำนวน"   คือ  คือคำหรือคำศัพท์ที่ต่างกันด้วยการออกเสียงและความหมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่