ธปท.บี้แบงก์พาณิชย์เร่งมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก หวั่นปมหนี้เสียลามกระทบ “ตกงาน” พุ่ง กสิกรฯยอมรับเอ็นพีแอลขึ้นยกแผง แถมเจอกลุ่มหนี้เสียย้อนกลับ “ยืดหนี้” แล้วยังไปไม่รอด จับตากลุ่มเสี่ยง “ท่องเที่ยว-รับเหมา-ค้าปลีก” เจอฟาดหางจาก “งบประมาณล่าช้า-ไวรัสโคโรน่า” “ทีเอ็มบี” เผยปีที่ผ่านมา กลุ่มหนี้เสียซ้ำซาก ทะลุ 5.7 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อ 5 ก.พ.มีมติเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจาก กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ จากผลกระทบไวรัสโคโรน่า-งบประมาณล่าช้า และภัยแล้ง จึงลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือน ถือเป็นการส่งสัญญาณชัดถึงความกังวลของปัญหาหนี้เสียของธปท.
หวั่นปมหนี้เสียลาม “ตกงาน”
สอดคล้องกับที่นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า “ในภาวะที่ประเทศไทยเจอความเสี่ยงลูกใหญ่หลายลูกมาพร้อมกัน ซึ่งเป็นเหตุผลหลักให้ กนง.มีมติเอกฉันท์และส่งสัญญาณชัดเจนผ่านการลดดอกเบี้ย 0.25% และเร่งประสานความร่วมมือในการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มีผลชัดเจน”
พร้อมระบุว่า ธปท.ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง สมาคมธนาคารไทย และธนาคารพาณิชย์ เพื่อเร่งช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยให้ธนาคารจัดตั้งทีมดูแลพิเศษในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก และดูแลลูกจ้างในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เนื่องจาก ธปท.ไม่อยากให้ผู้ประกอบการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างงาน และหากไม่ได้รับการดูแลจะเกิดผลข้างเคียงใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลตัวเลขเอ็นพีแอลย้อนหลังจาก 3 ปี (2560-2562) ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แม้ว่าในส่วนของหนี้เสียที่บางธนาคารจะมีการปรับลดลงบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากที่มีการตัดขายหนี้เสียออกไป แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าในส่วนของกลุ่มหนี้ SM (special mention) หรือหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 1-3 เดือน ของทุกแบงก์เพิ่มขึ้นสูงมาก เป็นสัญญาณว่ากลุ่มลูกหนี้กำลังมีปัญหาการชำระหนี้พุ่งสูง ซึ่งหากไม่เร่งเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ก็จะเสี่ยงเป็นหนี้เสียเกิดขึ้น
กสิกรฯชี้หนี้เสียซ้ำซาก 20%
นายจงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัวและการระบาดของไวรัสโคโรน่าที่เข้ามาซ้ำเติมถือเป็นโจทย์ยากในปีนี้ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนจากสัญญาณลูกค้าที่เข้ามาขอปรับโครงสร้างหนี้ และในส่วนที่ธนาคารเข้าไปช่วยลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ธนาคารได้เข้าไปช่วยเหลือ ทั้งยืดการชำระหนี้ ลดภาระเงินผ่อนตามความสามารถของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งลูกค้าที่มีศักยภาพก็กลับมาเป็นหนี้ปกติได้ แต่ก็มีจำนวนมากที่ปรับโครงสร้างเป็นหนี้ปกติและย้อนกลับมาเป็นหนี้เสียอีกรอบ (re-entry) ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีสัดส่วนประมาณ 20% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ถูกกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขณะที่ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และรายย่อยมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับเอสเอ็มอี
“เราก็พยายามประคองลูกค้ากันไป แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว และมีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เกิดขึ้นซ้ำ ยอมรับว่ามีลูกค้าที่ปรับโครงสร้างแล้ว ทั้งยืดผ่อนชำระให้ก็ยังไปไม่รอด ไหลกลับมาเป็นหนี้อีก”
เอ็นพีแอลขึ้นยกแผง
นายจงรักกล่าวว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปีนี้ มองว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นทั้งระบบ ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับธนาคารกสิกรไทยมีแนวทางการบริหารจัดการเอ็นพีแอลที่แตกต่างในระบบ คือจะเก็บเอ็นพีแอลไว้บริหารเองแทนการตัดขายออก เพื่อให้ได้มูลค่าผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว ส่งผลให้เอ็นพีแอลมีทิศทางเพิ่มขึ้น แต่จะอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ 3.6-4%
ขณะที่นายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารเตรียมดูโปรดักต์โปรแกรมที่จะออกมาช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีในการปรับโครงสร้างหนี้ตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการให้ธนาคารช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งมีลูกค้าขอปรับโครงสร้างหนี้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวและคุณภาพสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ไม่ดีตั้งแต่ปีที่แล้ว
จับตา “ท่องเที่ยว-รับเหมา”
นายเสนธิปกล่าวว่า กลุ่มที่เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจค้าขายและการบริโภคอุปโภค เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศชะลอตัวจึงกระทบกับลูกค้ากลุ่มนี้ ส่วนกลุ่มส่งออกทยอยปรับตัวได้แล้วหลังจากได้รับผลกระทบมานาน อย่างไรก็ดี กลุ่มที่ธนาคารติดตามใกล้ชิดตอนนี้ก็คือกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่าระบาด รวมทั้งกลุ่มรับเหมา และวัสดุก่อสร้าง ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ล่าช้า แม้ว่าปัจจุบันยังไม่เห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหรือเข้ามาขอปรับโครงสร้างหนี้ก็ตาม
“การปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารจะต้องทำให้สมดุล เพราะ ธปท.ก็กำกับอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้กระทบหลักเกณฑ์การกำกับ ขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้การช่วยเหลือทำให้รู้สึกว่าเสียวินัยทางการเงินไป”
นายโชคชัย คุณาวัฒน์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขหนี้เสียย้อนกลับ re-entry เพิ่มขึ้นตามสัญญาณภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงปัจจัยภัยแล้งที่เข้ามากระทบ ส่งผลกระทบความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้าลดลง โดยส่วนใหญ่จะกระจายในทุกผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อประเภทอื่นด้วย
เอ็นพีแอลขึ้นต่ออีก 2 ปี
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เพิ่มขึ้นใหม่ยังอยู่ในระดับสูงนับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2562 สำหรับไตรมาสที่ 4/2562 พบว่ามีเอ็นพีแอลเกิดขึ้น 5.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับ คือกลุ่มที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เป็นสัดส่วนเกือบ 40% ของหนี้เสียที่เกิดขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะมีความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่ตัวเลขเอ็นพีแอลที่ลดลง ณ ไตรมาส 4 อยู่ที่ประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท โดยมาจากปรับโครงสร้างหนี้ราว 1.7 หมื่นล้านบาท
โดยในช่วงปี 2562 พบว่าเอ็นพีแอลทั้งระบบเพิ่มขึ้นราว 2.07 แสนล้าน ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับประมาณ 5.7 หมื่นล้าน
ทั้งนี้ หากแยกตามรายอุตสาหกรรมจะพบว่าเอ็นพีแอลที่เพิ่มในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จะเป็นกลุ่มค้าปลีกค้าส่ง 6 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 39% และภาคการผลิต 4.33 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 28%, กลุ่มก่อสร้าง-เรียลเอสเตต2.62 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 17% กลุ่มบริการ 1.48 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 10% และกลุ่มอื่น ๆ 9,272 ล้านบาท
โดยจากตัวเลขหนี้เสียดังกล่าวข้างต้นเป็นหนี้เสียประเภท re-entry จากภาคการผลิต 1.55 หมื่นล้านบาท, กลุ่มค้าปลีกค้าส่ง 9,214 ล้านบาท, กลุ่มก่อสร้าง-อสังหาฯ 5,443 ล้านบาท และธุรกิจบริการ 4,164 ล้านบาท ซึ่งก็พบว่ากลุ่มหนี้เสียที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำนั้นมีเพิ่มมากขึ้นด้วย
“ขณะที่ทิศทางเอ็นพีแอลและปรับโครงสร้างหนี้ปี”63 และปี”64 ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับ ธปท.ต้องการให้ช่วยเหลือลูกค้าผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเซ็กเตอร์ที่จะเห็นการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง-วัสดุอุปกรณ์ เพราะตลาดอยู่ในช่วงขาลง ส่วนกลุ่มที่น่าเป็นห่วงและต้องติดตามใกล้ชิดก็คือกลุ่มท่องเที่ยวบริการ ที่ได้รับผลจากไวรัสโคโรน่า ซึ่งธนาคารพาณิชย์และ ธปท.พยายามออกมาตรการมาช่วยเหลืออยู่”
Source :
https://www.prachachat.net/finance/news-421050
แบงก์มึน”NPLย้อนกลับ”พุ่ง5หมื่นล้าน หวั่นลามกระทบ”ตกงาน”เพิ่ม
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อ 5 ก.พ.มีมติเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจาก กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ จากผลกระทบไวรัสโคโรน่า-งบประมาณล่าช้า และภัยแล้ง จึงลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือน ถือเป็นการส่งสัญญาณชัดถึงความกังวลของปัญหาหนี้เสียของธปท.
หวั่นปมหนี้เสียลาม “ตกงาน”
สอดคล้องกับที่นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า “ในภาวะที่ประเทศไทยเจอความเสี่ยงลูกใหญ่หลายลูกมาพร้อมกัน ซึ่งเป็นเหตุผลหลักให้ กนง.มีมติเอกฉันท์และส่งสัญญาณชัดเจนผ่านการลดดอกเบี้ย 0.25% และเร่งประสานความร่วมมือในการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มีผลชัดเจน”
พร้อมระบุว่า ธปท.ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง สมาคมธนาคารไทย และธนาคารพาณิชย์ เพื่อเร่งช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยให้ธนาคารจัดตั้งทีมดูแลพิเศษในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้เชิงรุก และดูแลลูกจ้างในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เนื่องจาก ธปท.ไม่อยากให้ผู้ประกอบการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างงาน และหากไม่ได้รับการดูแลจะเกิดผลข้างเคียงใหญ่ขึ้น
ทั้งนี้ จากข้อมูลตัวเลขเอ็นพีแอลย้อนหลังจาก 3 ปี (2560-2562) ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ แม้ว่าในส่วนของหนี้เสียที่บางธนาคารจะมีการปรับลดลงบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากที่มีการตัดขายหนี้เสียออกไป แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าในส่วนของกลุ่มหนี้ SM (special mention) หรือหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 1-3 เดือน ของทุกแบงก์เพิ่มขึ้นสูงมาก เป็นสัญญาณว่ากลุ่มลูกหนี้กำลังมีปัญหาการชำระหนี้พุ่งสูง ซึ่งหากไม่เร่งเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ก็จะเสี่ยงเป็นหนี้เสียเกิดขึ้น
กสิกรฯชี้หนี้เสียซ้ำซาก 20%
นายจงรัก รัตนเพียร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจัยเศรษฐกิจชะลอตัวและการระบาดของไวรัสโคโรน่าที่เข้ามาซ้ำเติมถือเป็นโจทย์ยากในปีนี้ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สะท้อนจากสัญญาณลูกค้าที่เข้ามาขอปรับโครงสร้างหนี้ และในส่วนที่ธนาคารเข้าไปช่วยลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ธนาคารได้เข้าไปช่วยเหลือ ทั้งยืดการชำระหนี้ ลดภาระเงินผ่อนตามความสามารถของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งลูกค้าที่มีศักยภาพก็กลับมาเป็นหนี้ปกติได้ แต่ก็มีจำนวนมากที่ปรับโครงสร้างเป็นหนี้ปกติและย้อนกลับมาเป็นหนี้เสียอีกรอบ (re-entry) ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีสัดส่วนประมาณ 20% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ถูกกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขณะที่ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และรายย่อยมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับเอสเอ็มอี
“เราก็พยายามประคองลูกค้ากันไป แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว และมีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เกิดขึ้นซ้ำ ยอมรับว่ามีลูกค้าที่ปรับโครงสร้างแล้ว ทั้งยืดผ่อนชำระให้ก็ยังไปไม่รอด ไหลกลับมาเป็นหนี้อีก”
เอ็นพีแอลขึ้นยกแผง
นายจงรักกล่าวว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปีนี้ มองว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นทั้งระบบ ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับธนาคารกสิกรไทยมีแนวทางการบริหารจัดการเอ็นพีแอลที่แตกต่างในระบบ คือจะเก็บเอ็นพีแอลไว้บริหารเองแทนการตัดขายออก เพื่อให้ได้มูลค่าผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว ส่งผลให้เอ็นพีแอลมีทิศทางเพิ่มขึ้น แต่จะอยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ 3.6-4%
ขณะที่นายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารเตรียมดูโปรดักต์โปรแกรมที่จะออกมาช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอีในการปรับโครงสร้างหนี้ตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการให้ธนาคารช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งมีลูกค้าขอปรับโครงสร้างหนี้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวและคุณภาพสินเชื่อเอสเอ็มอีที่ไม่ดีตั้งแต่ปีที่แล้ว
จับตา “ท่องเที่ยว-รับเหมา”
นายเสนธิปกล่าวว่า กลุ่มที่เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจค้าขายและการบริโภคอุปโภค เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศชะลอตัวจึงกระทบกับลูกค้ากลุ่มนี้ ส่วนกลุ่มส่งออกทยอยปรับตัวได้แล้วหลังจากได้รับผลกระทบมานาน อย่างไรก็ดี กลุ่มที่ธนาคารติดตามใกล้ชิดตอนนี้ก็คือกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่าระบาด รวมทั้งกลุ่มรับเหมา และวัสดุก่อสร้าง ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ล่าช้า แม้ว่าปัจจุบันยังไม่เห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหรือเข้ามาขอปรับโครงสร้างหนี้ก็ตาม
“การปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารจะต้องทำให้สมดุล เพราะ ธปท.ก็กำกับอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้กระทบหลักเกณฑ์การกำกับ ขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้การช่วยเหลือทำให้รู้สึกว่าเสียวินัยทางการเงินไป”
นายโชคชัย คุณาวัฒน์ รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขหนี้เสียย้อนกลับ re-entry เพิ่มขึ้นตามสัญญาณภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงปัจจัยภัยแล้งที่เข้ามากระทบ ส่งผลกระทบความสามารถในการผ่อนชำระของลูกค้าลดลง โดยส่วนใหญ่จะกระจายในทุกผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อประเภทอื่นด้วย
เอ็นพีแอลขึ้นต่ออีก 2 ปี
นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่เพิ่มขึ้นใหม่ยังอยู่ในระดับสูงนับตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2562 สำหรับไตรมาสที่ 4/2562 พบว่ามีเอ็นพีแอลเกิดขึ้น 5.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับ คือกลุ่มที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เป็นสัดส่วนเกือบ 40% ของหนี้เสียที่เกิดขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะมีความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่ตัวเลขเอ็นพีแอลที่ลดลง ณ ไตรมาส 4 อยู่ที่ประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท โดยมาจากปรับโครงสร้างหนี้ราว 1.7 หมื่นล้านบาท
โดยในช่วงปี 2562 พบว่าเอ็นพีแอลทั้งระบบเพิ่มขึ้นราว 2.07 แสนล้าน ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลย้อนกลับประมาณ 5.7 หมื่นล้าน
ทั้งนี้ หากแยกตามรายอุตสาหกรรมจะพบว่าเอ็นพีแอลที่เพิ่มในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จะเป็นกลุ่มค้าปลีกค้าส่ง 6 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 39% และภาคการผลิต 4.33 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 28%, กลุ่มก่อสร้าง-เรียลเอสเตต2.62 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 17% กลุ่มบริการ 1.48 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 10% และกลุ่มอื่น ๆ 9,272 ล้านบาท
โดยจากตัวเลขหนี้เสียดังกล่าวข้างต้นเป็นหนี้เสียประเภท re-entry จากภาคการผลิต 1.55 หมื่นล้านบาท, กลุ่มค้าปลีกค้าส่ง 9,214 ล้านบาท, กลุ่มก่อสร้าง-อสังหาฯ 5,443 ล้านบาท และธุรกิจบริการ 4,164 ล้านบาท ซึ่งก็พบว่ากลุ่มหนี้เสียที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นหนี้เสียซ้ำนั้นมีเพิ่มมากขึ้นด้วย
“ขณะที่ทิศทางเอ็นพีแอลและปรับโครงสร้างหนี้ปี”63 และปี”64 ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับ ธปท.ต้องการให้ช่วยเหลือลูกค้าผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเซ็กเตอร์ที่จะเห็นการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง-วัสดุอุปกรณ์ เพราะตลาดอยู่ในช่วงขาลง ส่วนกลุ่มที่น่าเป็นห่วงและต้องติดตามใกล้ชิดก็คือกลุ่มท่องเที่ยวบริการ ที่ได้รับผลจากไวรัสโคโรน่า ซึ่งธนาคารพาณิชย์และ ธปท.พยายามออกมาตรการมาช่วยเหลืออยู่”
Source :
https://www.prachachat.net/finance/news-421050