ในหมู่บ้านกำลังจะทำระบบประปาภูเขาค่ะ หมู่บ้านตั้งอยู่ต่ำกว่าฝายต้นน้ำประมาณ 4-5 ร้อยเมตร ที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านยังไม่มีแบบก่อสร้างและให้สมาชิกแต่ละคนไปหาข้อมูลมาเพื่อออกแบบและซื้อวัสดุก่อสร้าง จึงขอคำแนะจากพี่ๆ หรือผู้มีประสบการณ์ด้วยค่ะ
ในวิดีโอของ กสช. กรมชลประทาน
https://youtu.be/EULZtvqSLrQ นาทีที่ 3:35 แนะนำเรื่องสร้างบ่อลดพลังงานบนภูเขาเพื่อป้องกันท่อแตก จึงมีคำถามดังนี้ค่ะ
1) ถ้าจะสร้างบ่อลดแรงดันบนภูเขา จะต้องสร้างที่ทุกระยะต่ำกว่าฝายต้นน้ำเท่าไหร่ ขนาดใหญ่แค่ไหน (ระบบจะใช้ท่อเมน 3 นิ้ว pvc ชั้น 8.5 เดินยาวขุดฝังลึกประมาณ 1 ศอกและเดินลอยถ้าเจอหินขวางทาง) โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะสร้างทุกระยะที่ต่ำลงมา 50-80 เมตรขึ้นอยู่กับพื่นที่ค่ะ
2) มีวิธีอะไรบ้างที่จะป้องกันหริอลดไม่ให้กิ่งไม้ ใบไม้ลอยมาสะสมอยู่ด้านหน้าปากทางน้ำเข้าท่อ เพราะถ้าปากท่ออุดตันก็อาจจะทำให้เกิดสูญญากาศในท่อและทำให้ท่อลีบแบนแตกเสียหาย
3) ปากท่อจะต้องจมอยู่ใต้น้ำลึกอย่างน้อยเท่าไหร่
4) วาล์วไล่อากาศต้องมีขนาดเท่าไหร่ (โดยส่วนตัวคิดว่า 1/2 หรือ 3/4 นิ้วก็น่าจะพอหาซื้อง่าย ราคาไม่แรงมาก)
5) มีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยป้องกันช้างป่ามาทำลายท่อที่เดินลอยไว้บางช่วง
ในวิดีโอของ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ
https://www.facebook.com/watch/?v=2352211388229741 นาทีที่ 1:25 เป็นต้นไปได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาท่อประปาหลุดแตกของชุมชนบ้านตาดรินทองคือ การทำข้อต่อลดแรงดัน 6 ตัว ตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร , ลดขนาดท่อจาก 2 นิ้ว เป็น 1 นิ้ว ติดตั้งทุกระยะ 20 เมตร ช่วยลดแรงดันน้ำที่ไหลลงจากภูเขา, เปลี่ยนจากท่อหนึ่งเส้นแยกออกเป็นสองเส้น (เข้า 1 ออก 2) เป็นรูปตัว Y
ถ้าใช้วิธีข้างต้นแล้วสามารถลดแรงดันโดยที่ "น้ำยังไหลได้เต็มท่อ" ก็จะช่วยป้องกันท่อหลุดท่อแตก ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการบำรุงรักษา แต่ก็ยังมีข้อสงสัยหลายๆ เรื่องคือ:
6) การลดขนาดท่อจาก 2" เป็น 1.5" น่าจะจะทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลดแรงดันน้ำและจะทำให้ปริมาณน้ำที่ผ่านท่อลดลง (คล้าย ๆ กับการใช้มืออด5างส่วนสายยางรดน้ำเป็นการทำให้น้ำมีแรงดันสูงขึ้นฉีดพุ่งไปได้ไกลขึ้น) งานวิจัยนี้ก็ดูเหมือนจะขัดกับหลักการทั่วๆ ไป
7) การเปลี่ยนจากท่อหนึ่งเส้นแยกออกเป็นสองเส้น (เข้า 1 ออก 2) เป็นรูปตัว Y จะทำให้แรงดันน้ำลดลงได้อย่างไร
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบหรือข้อแนะนำค่ะ
สอบถามวิธีการการลดแรงดันน้ำเพื่อป้องกันท่อแตกของระบบประปาภูเขาค่ะ
ในวิดีโอของ กสช. กรมชลประทาน https://youtu.be/EULZtvqSLrQ นาทีที่ 3:35 แนะนำเรื่องสร้างบ่อลดพลังงานบนภูเขาเพื่อป้องกันท่อแตก จึงมีคำถามดังนี้ค่ะ
1) ถ้าจะสร้างบ่อลดแรงดันบนภูเขา จะต้องสร้างที่ทุกระยะต่ำกว่าฝายต้นน้ำเท่าไหร่ ขนาดใหญ่แค่ไหน (ระบบจะใช้ท่อเมน 3 นิ้ว pvc ชั้น 8.5 เดินยาวขุดฝังลึกประมาณ 1 ศอกและเดินลอยถ้าเจอหินขวางทาง) โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะสร้างทุกระยะที่ต่ำลงมา 50-80 เมตรขึ้นอยู่กับพื่นที่ค่ะ
2) มีวิธีอะไรบ้างที่จะป้องกันหริอลดไม่ให้กิ่งไม้ ใบไม้ลอยมาสะสมอยู่ด้านหน้าปากทางน้ำเข้าท่อ เพราะถ้าปากท่ออุดตันก็อาจจะทำให้เกิดสูญญากาศในท่อและทำให้ท่อลีบแบนแตกเสียหาย
3) ปากท่อจะต้องจมอยู่ใต้น้ำลึกอย่างน้อยเท่าไหร่
4) วาล์วไล่อากาศต้องมีขนาดเท่าไหร่ (โดยส่วนตัวคิดว่า 1/2 หรือ 3/4 นิ้วก็น่าจะพอหาซื้อง่าย ราคาไม่แรงมาก)
5) มีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยป้องกันช้างป่ามาทำลายท่อที่เดินลอยไว้บางช่วง
ในวิดีโอของ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ https://www.facebook.com/watch/?v=2352211388229741 นาทีที่ 1:25 เป็นต้นไปได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาท่อประปาหลุดแตกของชุมชนบ้านตาดรินทองคือ การทำข้อต่อลดแรงดัน 6 ตัว ตลอดระยะทาง 4 กิโลเมตร , ลดขนาดท่อจาก 2 นิ้ว เป็น 1 นิ้ว ติดตั้งทุกระยะ 20 เมตร ช่วยลดแรงดันน้ำที่ไหลลงจากภูเขา, เปลี่ยนจากท่อหนึ่งเส้นแยกออกเป็นสองเส้น (เข้า 1 ออก 2) เป็นรูปตัว Y
ถ้าใช้วิธีข้างต้นแล้วสามารถลดแรงดันโดยที่ "น้ำยังไหลได้เต็มท่อ" ก็จะช่วยป้องกันท่อหลุดท่อแตก ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการบำรุงรักษา แต่ก็ยังมีข้อสงสัยหลายๆ เรื่องคือ:
6) การลดขนาดท่อจาก 2" เป็น 1.5" น่าจะจะทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลดแรงดันน้ำและจะทำให้ปริมาณน้ำที่ผ่านท่อลดลง (คล้าย ๆ กับการใช้มืออด5างส่วนสายยางรดน้ำเป็นการทำให้น้ำมีแรงดันสูงขึ้นฉีดพุ่งไปได้ไกลขึ้น) งานวิจัยนี้ก็ดูเหมือนจะขัดกับหลักการทั่วๆ ไป
7) การเปลี่ยนจากท่อหนึ่งเส้นแยกออกเป็นสองเส้น (เข้า 1 ออก 2) เป็นรูปตัว Y จะทำให้แรงดันน้ำลดลงได้อย่างไร
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบหรือข้อแนะนำค่ะ