#ข้อดีของโทรศัพท์บ้าน แบบสายทองแดง เวลาไฟฟ้าดับ ก็ยังคงใช้งานได้อยู่
ข้อเสีย คือล่าสมัย
#ข้อเสียของโทรศัพท์บ้านแบบไฟเบอร์อ๊อฟติก ไฟฟ้าดับใช้ไม่ได้ แถมค่าใช้จ่ายเยอะ ไหนค่าเนต ไหนค่าคู่สายอีก
ข้อดีคือ ทันสมัย
โทรศัพท์บ้าน ในอดีตเคยเป็นที่ต้องการของใครหลายคน อันเนื่องมาจากในอดีตมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียวคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่ง เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่สำคัญใครที่อยู่ในยุคนั้นคงจะพอทราบได้ว่า การขอเบอร์โทรศัพท์แต่ละทีต้องรออนุมัติเป็นเดือน บางรายก็เล่นเป็นปี ซึ่งระเบียบในการขอนั้นก็สุดแสนยุ่งยากกะอีแค่เบอร์โทรศัพท์เลข 7 หลัก (สมัยก่อนไม่ต้องกด 02 นำหน้า) ยกตัวอย่างที่บ้านของผม ขอไปปีกว่าถึงจะได้ (สมัยนั้นถ้ามีเส้นหรือใต้โต๊ะหน่อยก็ได้เร็วเป็นพิเศษ) ดังนั้นบ้านใครมีโทรศัพท์ก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงรายได้ อาชีพ ฐานะทางสังคมได้เป้นอย่างดี เพราะผู้ที่ต้องใช้โทรศัพท์ส่วนใหญ่เป็นระดับนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ที่ต้องมีการติดต่อซื้อขายกัน คนทั่วไปมักจะใช้บริการไปรษณีย์โทรเลขเป็นหลัก
จากนั้นองค์การโทรศัพท์ฯ ก็มีการให้สัมปทานกับ 2 บริษัทเอกชนในด้านโครงข่าย โดยจัดสรรให้ บริษัท TT&T รับหมายเลขไป 1 ล้านหมายเลขและได้รับสัมปทานในเขตต่างจังหวัด ต่อมาให้เพิ่มอีก 5 แสนเลขหมาย ในส่วนของ กทม. จัดสรรให้บริษัท TelecomAsia หรือต่อมาเรียกว่า TA ซึ่งเป็นเครื่อข่ายหนึ่งของบริษัท CP โดยได้รับมาจำนวน 1 ล้านเลขหมายและค่อยๆ เพิ่มในระยะเวลาต่อมา ขณะที่ทางองค์การโทรศัพท์ฯ ก็ยังคงเปิดให้บริการประชาชนทั่วไปเหมือนเดิมทั้งเครือข่ายและขอหมายเลขได้ ตามปกติ ซึ่งการมาของ TA ช่วยให้การขอโทรศัพท์ง่ายมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีโทรศัพท์ที่เปลี่ยนจากการหมุนหน้าปัด (Pulse Dial) เป็นแบบกดปุ่ม (Tone Dial) ยิ่งช่วยให้การใช้โทรศัพท์สะดวกมายิ่งขึ้น
จนกระทั่งโทรศัพท์รุ่นใหม่เข้ามาที่เราเรียกว่า "มือถือ" เข้ามาโดยผู้ให้บริการที่เรารู้จัเป็นอย่างดี ซึ่งผู้ให้บริการทั้งหลายต่างก็ได้รับสัมปทานคลื่นวิทยุจากองค์การโทรศัพท์ฯ ทั้งสิ้น ช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นแต่การขอหมายเลขยังคงมีระเีบียบที่ยุ่งยากเล็ก น้อย โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินจึงเกิดขึ้น โดยมี 1-2-Call เป็นเจ้าแรก ด้วยความสะดวกชนิดที่เรียกว่านับ 1....2.....แล้วโทรออกได้เลย ซึ่งตอนนั้นจะเป็นการเครื่องโทรศัพท์พร้อมซิมรวมในหนึ่งแพ็คเกจ จากนั้นหลายค่ายก็เริ่มลงสู่ตลาดมือถือเติมเงิน จึงเป็นเหตุให้การใช้โทรศัพท์บ้านลดลง
นั่นเป็นเพราะการใช้โทรศัพท์บ้านจะต้องอยู่เป็นจุดเป้นที่เท่านั้น เนื่องจากตัวหูฟังจะมีสายเชื่อมต่ออยู่จึงไม่สามารถไปไหนไกลได้ และแม้ว่าจะมีการพัฒนาโทรศัพท์บ้านไร้สายก็ยังถูกล็อกให้อยู่ในรัศมีพื้นที่ จำกัด อีกทั้งไม่มีความเป็นส่วนตัวเพราะสามารถเปิดฟังการสนทนาที่ตัวเครื่องได้ ด้วย ที่สำคัญโทรศัพท์ยังต้องถูกชาร์จไฟด้วยการวางที่ตัวเครื่องไม่สามารถเสียบ ปลั๊กและพูดคุยขณะเสียบไฟชาร์จได้
ผู้ให้บริการโทรศัพท์หลายรายจึงปรับเปลี่ยนมาเน้นเรื่องของการรับส่ง ข้อมูล (Non Voice - Data) มากกว่าเรื่องของการพูดคุย (Voice) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ (Fixed Line) จึงเกิดขึ้น องค์การโทรศัพท์ฯ เจ้าของผู้ให้สัมปทานจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและชื่อ โดยเปลี่ยนชื่อมาเป็น TOT Coporation เนื่อง จากองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับมือถือจึงปรับเปลี่ยนตัวเองให้อยู่ในรูปแบบของเอกชน (บริษัทมหาชน) ซึ่งต่อมาก็เริ่มมีหน่วยงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กทช. หรือ CAT Telecom เป็นต้น
ขณะที่ TA ก็มีการปรับเปลี่ยน โดยเปลี่ยนชื่อเป็น True และเข้าสู่ธุรกิจมือถือโดยใช้ชื่อ Orange ซึ่ง ต่อมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร True จึงเข้ามาเล่นเองแบบเต็มตัว พร้มกันนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายแบบควบรวม (Convergence) เข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญ True เริ่มเห็นช่องว่างของโทรศัพท์บ้านว่าอยู่ที่ราคาการให้บริการต่อครั้ง โดยเฉพาะการโทรเข้าเบอร์มือถือที่คิดแพงกว่าการโทรเข้าเบอร์บ้านทั่วไป True จึงงัดกลยุทธ์คิดค่าบริการครั้งละ 3 บาททั้งโทรศัพท์บ้านและมือถือทั่วไทย 24 ชั่วโมง โดยทดลองใช้งานนาน 5 เดือนแต่หากมีผลตอบรับดีจะมีการขยายโปรโมชั่นออกไปอีก
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้ จากการพูดคุยเป็นการใช้เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง อีกทั้งเทคโนโลยีโทรศัพท์บ้านไม่ค่อยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญหากมองย้อนกลับไปแม้โทรศัพท์บ้านจะพัฒนามาสู้การเป็น PCT ซึ่งนิยมมากในญี่ปุ่น แต่ก็มีปัญหามากในเรื่องของสัญญาณที่สำคัญไม่สามารถใช้งานนอก กทม. ได้อีกทั้ง PCT ที่ใช้ในบ้านเราเป็นเทคโนโลยีเดิมๆ ไม่หวือหวาเท่ามือถือ
ดังนั้นโทรศัพท์บ้านในสายตาของหลายคน อาจจะเหลือเพียงแค่การใช้เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
# (แต่ในความเป็นจริงแล้วโทรศัพท์บ้านคือความมั่นคงด้านการสื่อสารที่แต่ละบ้าน ควรมีไว้ เพราะมือถือเชื่อมต่อด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุ บางครั้งฝนตกฟ้าคะนองสัญญาณอาจมีปัญหาได้ หรือหากมีคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่าเข้ามาแทรกในระหว่างที่ใช้งานก็มี โอกาสที่สัญญาณจะมีปัญหาได้ ที่สำคัญมือถือใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก)
@ลองนึกสถานการณ์จำลองดูว่ามือถือแบตฯ ใกล้หมด ไฟก็ดันมาดับเพราะหม้อแปลงที่อยู่บนเสาไฟฟ้าหน้าบ้านระเบิด สะเก็ดไฟไปติดวัสดุเชื้อเพลิง ไฟเกิดการลุกโชนและลามมาที่บ้าน ตู้โทรศัพท์สาธารณะแถวบ้านก็โดนแก๊งชั่วทำลายพังหมด แถมวันนั้นเป็นวันหยุดยาวชาวบ้านแถวนั้นก็ไปเที่ยว ตจว. หมดโทรศัพท์บ้านคงจะกลายเป็นพระเอกทันที
(เพราะโทรศัพท์บ้านไม่ต้องเพิ่งไฟฟ้าภายในบ้าน ดังนั้นแม้ไฟฟ้าในบ้านจะดับโทรศัทพ์ก็ยังสามารถใช้งานได้ และสามารถใช้งานได้ในยามฉุกเฉินเพราะตราบเท่าที่สายโทรศัพท์ยังไม่ถูกตัด หรือแบตเตอรรี่สำรองที่อยู่ในชุมสายยังไม่ดับ ก็ไม่มีอะไรจะสามารถรบรวนสัญญาณของโทรศัพท์บ้านได้)
(ยกเว้นคลื่นแม่เหล๊กไฟฟ้ากำลังสูง (EMP - Electro-Magnetic Pulse)
#แต่ปัจจุบันโทรศัพท์บ้านยุคใหม่ ก็ใช้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะ ปรับกันไปหมด อนาคตเวลาเกิดภัยพิบัติหรือภัยต่างๆ การสื่อสารก็จะล่มกันทั้งระบบเลย
#เป็นที่น่าเสียดายว่าการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้า แต่ในหน่วยงานภาครัฐไม่มีมาตราการฉุกเฉินเวลาไฟฟ้าดับเลย เพราะไม่ใช่ว่าเรามีโทรศัพท์มือถือแล้วจะใช้งานได้เสมอไป เช่นไฟฟ้าดับ หลายๆชั่วโมง แจ้งเหตุก็ไม่ได้ เสาสัญญาณมือถือไฟฟ้าไม่มี คนป่วยจะแจ้งรถพยาบาลหรือกู้ภัยมาก็ไม่ได้
ระหว่างโทรศัพท์บ้านสายทองแดง กะโทรศัพท์บ้านพ่วงเนต การใช้งานต่างกันมากๆเลยเนาะ
ข้อเสีย คือล่าสมัย
#ข้อเสียของโทรศัพท์บ้านแบบไฟเบอร์อ๊อฟติก ไฟฟ้าดับใช้ไม่ได้ แถมค่าใช้จ่ายเยอะ ไหนค่าเนต ไหนค่าคู่สายอีก
ข้อดีคือ ทันสมัย
โทรศัพท์บ้าน ในอดีตเคยเป็นที่ต้องการของใครหลายคน อันเนื่องมาจากในอดีตมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียวคือ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่ง เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่สำคัญใครที่อยู่ในยุคนั้นคงจะพอทราบได้ว่า การขอเบอร์โทรศัพท์แต่ละทีต้องรออนุมัติเป็นเดือน บางรายก็เล่นเป็นปี ซึ่งระเบียบในการขอนั้นก็สุดแสนยุ่งยากกะอีแค่เบอร์โทรศัพท์เลข 7 หลัก (สมัยก่อนไม่ต้องกด 02 นำหน้า) ยกตัวอย่างที่บ้านของผม ขอไปปีกว่าถึงจะได้ (สมัยนั้นถ้ามีเส้นหรือใต้โต๊ะหน่อยก็ได้เร็วเป็นพิเศษ) ดังนั้นบ้านใครมีโทรศัพท์ก็เป็นเครื่องบ่งบอกถึงรายได้ อาชีพ ฐานะทางสังคมได้เป้นอย่างดี เพราะผู้ที่ต้องใช้โทรศัพท์ส่วนใหญ่เป็นระดับนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ที่ต้องมีการติดต่อซื้อขายกัน คนทั่วไปมักจะใช้บริการไปรษณีย์โทรเลขเป็นหลัก
จากนั้นองค์การโทรศัพท์ฯ ก็มีการให้สัมปทานกับ 2 บริษัทเอกชนในด้านโครงข่าย โดยจัดสรรให้ บริษัท TT&T รับหมายเลขไป 1 ล้านหมายเลขและได้รับสัมปทานในเขตต่างจังหวัด ต่อมาให้เพิ่มอีก 5 แสนเลขหมาย ในส่วนของ กทม. จัดสรรให้บริษัท TelecomAsia หรือต่อมาเรียกว่า TA ซึ่งเป็นเครื่อข่ายหนึ่งของบริษัท CP โดยได้รับมาจำนวน 1 ล้านเลขหมายและค่อยๆ เพิ่มในระยะเวลาต่อมา ขณะที่ทางองค์การโทรศัพท์ฯ ก็ยังคงเปิดให้บริการประชาชนทั่วไปเหมือนเดิมทั้งเครือข่ายและขอหมายเลขได้ ตามปกติ ซึ่งการมาของ TA ช่วยให้การขอโทรศัพท์ง่ายมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีโทรศัพท์ที่เปลี่ยนจากการหมุนหน้าปัด (Pulse Dial) เป็นแบบกดปุ่ม (Tone Dial) ยิ่งช่วยให้การใช้โทรศัพท์สะดวกมายิ่งขึ้น
จนกระทั่งโทรศัพท์รุ่นใหม่เข้ามาที่เราเรียกว่า "มือถือ" เข้ามาโดยผู้ให้บริการที่เรารู้จัเป็นอย่างดี ซึ่งผู้ให้บริการทั้งหลายต่างก็ได้รับสัมปทานคลื่นวิทยุจากองค์การโทรศัพท์ฯ ทั้งสิ้น ช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นแต่การขอหมายเลขยังคงมีระเีบียบที่ยุ่งยากเล็ก น้อย โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินจึงเกิดขึ้น โดยมี 1-2-Call เป็นเจ้าแรก ด้วยความสะดวกชนิดที่เรียกว่านับ 1....2.....แล้วโทรออกได้เลย ซึ่งตอนนั้นจะเป็นการเครื่องโทรศัพท์พร้อมซิมรวมในหนึ่งแพ็คเกจ จากนั้นหลายค่ายก็เริ่มลงสู่ตลาดมือถือเติมเงิน จึงเป็นเหตุให้การใช้โทรศัพท์บ้านลดลง
นั่นเป็นเพราะการใช้โทรศัพท์บ้านจะต้องอยู่เป็นจุดเป้นที่เท่านั้น เนื่องจากตัวหูฟังจะมีสายเชื่อมต่ออยู่จึงไม่สามารถไปไหนไกลได้ และแม้ว่าจะมีการพัฒนาโทรศัพท์บ้านไร้สายก็ยังถูกล็อกให้อยู่ในรัศมีพื้นที่ จำกัด อีกทั้งไม่มีความเป็นส่วนตัวเพราะสามารถเปิดฟังการสนทนาที่ตัวเครื่องได้ ด้วย ที่สำคัญโทรศัพท์ยังต้องถูกชาร์จไฟด้วยการวางที่ตัวเครื่องไม่สามารถเสียบ ปลั๊กและพูดคุยขณะเสียบไฟชาร์จได้
ผู้ให้บริการโทรศัพท์หลายรายจึงปรับเปลี่ยนมาเน้นเรื่องของการรับส่ง ข้อมูล (Non Voice - Data) มากกว่าเรื่องของการพูดคุย (Voice) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ (Fixed Line) จึงเกิดขึ้น องค์การโทรศัพท์ฯ เจ้าของผู้ให้สัมปทานจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและชื่อ โดยเปลี่ยนชื่อมาเป็น TOT Coporation เนื่อง จากองค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับมือถือจึงปรับเปลี่ยนตัวเองให้อยู่ในรูปแบบของเอกชน (บริษัทมหาชน) ซึ่งต่อมาก็เริ่มมีหน่วยงานอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กทช. หรือ CAT Telecom เป็นต้น
ขณะที่ TA ก็มีการปรับเปลี่ยน โดยเปลี่ยนชื่อเป็น True และเข้าสู่ธุรกิจมือถือโดยใช้ชื่อ Orange ซึ่ง ต่อมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร True จึงเข้ามาเล่นเองแบบเต็มตัว พร้มกันนี้ยังมีการสร้างเครือข่ายแบบควบรวม (Convergence) เข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญ True เริ่มเห็นช่องว่างของโทรศัพท์บ้านว่าอยู่ที่ราคาการให้บริการต่อครั้ง โดยเฉพาะการโทรเข้าเบอร์มือถือที่คิดแพงกว่าการโทรเข้าเบอร์บ้านทั่วไป True จึงงัดกลยุทธ์คิดค่าบริการครั้งละ 3 บาททั้งโทรศัพท์บ้านและมือถือทั่วไทย 24 ชั่วโมง โดยทดลองใช้งานนาน 5 เดือนแต่หากมีผลตอบรับดีจะมีการขยายโปรโมชั่นออกไปอีก
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าการใช้โทรศัพท์บ้านเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้ จากการพูดคุยเป็นการใช้เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง อีกทั้งเทคโนโลยีโทรศัพท์บ้านไม่ค่อยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญหากมองย้อนกลับไปแม้โทรศัพท์บ้านจะพัฒนามาสู้การเป็น PCT ซึ่งนิยมมากในญี่ปุ่น แต่ก็มีปัญหามากในเรื่องของสัญญาณที่สำคัญไม่สามารถใช้งานนอก กทม. ได้อีกทั้ง PCT ที่ใช้ในบ้านเราเป็นเทคโนโลยีเดิมๆ ไม่หวือหวาเท่ามือถือ
ดังนั้นโทรศัพท์บ้านในสายตาของหลายคน อาจจะเหลือเพียงแค่การใช้เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
# (แต่ในความเป็นจริงแล้วโทรศัพท์บ้านคือความมั่นคงด้านการสื่อสารที่แต่ละบ้าน ควรมีไว้ เพราะมือถือเชื่อมต่อด้วยสัญญาณคลื่นวิทยุ บางครั้งฝนตกฟ้าคะนองสัญญาณอาจมีปัญหาได้ หรือหากมีคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงกว่าเข้ามาแทรกในระหว่างที่ใช้งานก็มี โอกาสที่สัญญาณจะมีปัญหาได้ ที่สำคัญมือถือใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก)
@ลองนึกสถานการณ์จำลองดูว่ามือถือแบตฯ ใกล้หมด ไฟก็ดันมาดับเพราะหม้อแปลงที่อยู่บนเสาไฟฟ้าหน้าบ้านระเบิด สะเก็ดไฟไปติดวัสดุเชื้อเพลิง ไฟเกิดการลุกโชนและลามมาที่บ้าน ตู้โทรศัพท์สาธารณะแถวบ้านก็โดนแก๊งชั่วทำลายพังหมด แถมวันนั้นเป็นวันหยุดยาวชาวบ้านแถวนั้นก็ไปเที่ยว ตจว. หมดโทรศัพท์บ้านคงจะกลายเป็นพระเอกทันที
(เพราะโทรศัพท์บ้านไม่ต้องเพิ่งไฟฟ้าภายในบ้าน ดังนั้นแม้ไฟฟ้าในบ้านจะดับโทรศัทพ์ก็ยังสามารถใช้งานได้ และสามารถใช้งานได้ในยามฉุกเฉินเพราะตราบเท่าที่สายโทรศัพท์ยังไม่ถูกตัด หรือแบตเตอรรี่สำรองที่อยู่ในชุมสายยังไม่ดับ ก็ไม่มีอะไรจะสามารถรบรวนสัญญาณของโทรศัพท์บ้านได้)
(ยกเว้นคลื่นแม่เหล๊กไฟฟ้ากำลังสูง (EMP - Electro-Magnetic Pulse)
#แต่ปัจจุบันโทรศัพท์บ้านยุคใหม่ ก็ใช้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะ ปรับกันไปหมด อนาคตเวลาเกิดภัยพิบัติหรือภัยต่างๆ การสื่อสารก็จะล่มกันทั้งระบบเลย
#เป็นที่น่าเสียดายว่าการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้า แต่ในหน่วยงานภาครัฐไม่มีมาตราการฉุกเฉินเวลาไฟฟ้าดับเลย เพราะไม่ใช่ว่าเรามีโทรศัพท์มือถือแล้วจะใช้งานได้เสมอไป เช่นไฟฟ้าดับ หลายๆชั่วโมง แจ้งเหตุก็ไม่ได้ เสาสัญญาณมือถือไฟฟ้าไม่มี คนป่วยจะแจ้งรถพยาบาลหรือกู้ภัยมาก็ไม่ได้