เทคนิเคิลสำหรับมือใหม่

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ ท่านที่กำลังสนใจเริ่มต้นเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิค ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน อย่างไร  ผมขอสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไปครับ การวิเคาะห์ทางเทคนิคก็เพื่อหาราคาที่เหมาะสมในการ ซื้อ-ขาย  ผมขออธิบายในแบบของผม ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ
   ก่อนอื่นต้องเราต้องทำความเข้าใจหลักของการวิเคราะห์ทางเทคนิคก่อนนะครับ ว่า
1  ราคาหุ้นได้สะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมดแล้ว  
2  ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวไปตามแน้วโน้ม 
3  ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย เคยขึ้นอย่างไรลงอย่างไร ก็จะกลับไปขึ้นลงอย่างนั้น (ซ้ำ ๆ)   
   ดังนั้น นักเทคนิคจะไม่สนใจข่าวสารต่างๆในการวิเคราะห์เลย จะไม่วิเคราะห์ โดยดูดาวน์โจรก่อน ไม่สนใจราคาน้ำมัน ทองคำ อัตราแลกเปลี่ยน พันธบัตร ผลประกอบการณ์ ของบริษัท ฯลฯ เพราะ ราคาหุ้นได้สะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างไว้หมดแล้ว สิ่งเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในกราฟ นำมาวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่ได้  ถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้มาช่วยในการตัดสินใจ นั่นจะทำให้เกิดความลำเอียง ไม่เป็นกลาง 
   การวิเคราะห์ทางเทคนิดหลักสำคัญคือ เราต้องทำตามกราฟ ไม่ใช่ให้กราฟเป็นไปตามที่เราคิด ที่เราคาดไว้
ถ้าเราคาดการณ์ หุ้น หรือ ดัชนี ให้ไปตามความคิดเรา มันอาจจะทำให้เราเสียโอกาสครั้งใหญ่ เช่น เราคาดว่าแนวโน้มขนาดใหญ่ว่าจะลงไปเท่านั้นเท่านี้ แต่ในแนวโน้มระยะกลางหรือระยะสั้น กำลังรีบาวน์ เราจะเสียโอกาสการลงทุนรอบนั้นไป หรือแนวโน้มที่เราคาด ไม่เป็นไปตามนั้น เราก็จะเสียโอกาสการลงทุนครั้งนั้นไปเลย 
   แล้วไม่ต้องสนใจรอบบ้านเลยเหรอ  สนใจครับ แต่ต้องแยกออกจากกัน แนวโน้มของเค้า ก็คือของเค้า แนวโน้มของเราก็คือของเรา ช่วงไหนมีทิศทางเดียวกัน ช่วงไหนมีทิศทางต่างกัน
   ทีนี้เราก็มาค้นหาตัวเองว่าเราเป็นนักวิเคราะห์สายไหน 
เริ่มต้นจากกราฟที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ มีหลายอย่าง นักเทคนิคส่วนใหญ่จะใช้กราฟแบบแท่งเทียน (Candlestick) ครับ เราก็ต้องทำความเข้าใจกับความหมายของแท่งเทียนแต่ละแท่ง การมองแนวโน้มโน้มของแท่งเทียน (ลองหาอ่านรายละเอียดเอานะครับ) เมื่อเข้าใจแล้ว ก็มาต่อด้วยการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน ผมแบ่งให้เป็น สามสายนะครับ 
   สายแรก วิเคราะห์บนตัวกราฟเลย หลัก ๆ ก็จะเป็นการวิเคราะะห์เทรนไลน์ , ทฤษฏีเอลเลียต (การนับคลื่น) , ฟิโบนาชี่ , รูปแบบกราฟ (Pattern Graph) , รูปแบบ Candlestick  สายนี้การใช้จะค่อนข้างซับซ้อน ลองไปศึกษาเองมีไม่กี่อย่าง ครับ แต่จะขอแนะนำบางส่วน เช่น 
   การตีเทรนไลน์ กรอบระยะเวลาที่ตี 1 กรอบ (เวลาตามระยะที่เราตีเทรน) ซึ่งผมมองมากินระยะเวลาพอสมควรแล้ว กว่าจะเปลี่ยนแนวโน้ม ถ้าเราเปลี่ยนกราฟเป็นแบบ Week หรือ Month จะกินระยะเวลานานขนาดไหน (นานมาก)
   หรือการนับคลื่น แต่ละลูกคลื่น กินเวลานานมากแล้ว ถ้าเราเปลี่ยนเป็น Week หรือ Month กว่าจะเปลี่ยนคลื่นกินเวลาเป็นปีหรือหลายปีเลย ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระยะสั้น ครับ 
   เทรนไลน์แต่ละเส้น Pattern แต่ละรูป มีความหมายในตัวมันนะครับ เปรียบเสมือน ต้นทุนของนักลงทุน ความต้องการซื้อ ความพอใจในการขายทำกำไร การตัดสินใจในการ Cut Loss  
   สายที่สอง คือ ใช้อินดิเคเตอร์ ในการวิเคราะห์ ซึ่งมีหลายอย่าง เช่น MA(เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่), MACD , RSI , Stochsatic , Volume , Parabolic , Bollinger Bands  เป็นต้น สำหรับนักวิเคราะห์มือใหม่ ผมอยากแนะนำให้ลองใช้ สองอย่าง คือ SMA กับ MACD สองอย่างนี้ ศึกษาให้เข้าใจ  ใช่ได้ดีเลยทีเดียวครับ
   อยากให้ทำความเข้าใจกับทฤษฏีให้ดีนะครับ ศึกษาสูตร วิธีคำนวณออกมาเป็นเส้น จะได้เข้าใจรูปแบบการใช้ (ลองหาอ่านรายละเอียดเองนะครับ) เช่น MACD เป็นเส้นระหว่าง EMA 12 วัน กับ EMA 25 วัน เป็นการวิเคราะห์ แนวโน้มระยะกลาง-ยาว ใช้เวลา 25 วัน (25 แท่งเทียนแล้ว) ถ้าเราไปเปลี่ยนกราฟเป็นแบบ week มาวิเคราะห์เท่ากับเปลี่ยนเวลาเป็น 25 week เลย ซึ่งยาวนานมาก  หรือถ้าเราอยากจะดูให้สั้นกว่า 25 วัน เราควรไปใช้อินดิเคเตอร์อื่นแทน เช่น Rsi (ระยะ 14 วัน ) MA (มาตรฐานผมใช้ SMA 10 25 75 200 วัน) Slow / Fast Stochsatic ( 5 วัน ) แทน
   อินดิเคเตอร์บางตัวบอกสัญญาณ ซื้อ-ขาย  บางตัวบอก Over Bought - Over Sold  แยกประเภทให้ถูกด้วยครับ
   สายที่สาม สาย Mix (สายผสม) สายนี้จะวิเคาะห์ บนกราฟ โดยใช้หลายอย่างประกอบกัน หรือ บนกราฟ+อินดิเคนเตอร์ต่าง ๆ เช่น  เทรนไลน์+อินดิเคเตอร์ , เทรนไลน์+ฟิโบนาขี , นับคลื่น+ฟิโบนาชี่ , เทรนไลน์+คลื่น , นับคลื่น+อินดิเคเตอร์ ,รูปแบบ Candlestick + อินดิเคเตอร์ เป็นต้น  ซึ่งก็จะอยู่ที่ความชอบ และความถนัดของแต่ละบุคคล ครับ
   ทีนี้นักเทคนิคมือใหม่ก็ค้นหาตัวเองนะครับ ว่าเลือกสายไหน แบบไหนจะใช่ตัวเรา มุ่งไปที่ตรงนั้นเลย ถ้าใช่แล้วขอให้ศึกษาให้ระเอียดถี่ถ้วนถึงสูตร ถึงทฤษฏีเลยนะครับ ถ้าเข้าใจแบบสำเร็จ ก็จะเหมือนขึ้นลิฟ (ทางลัด) มันใช้ได้ครั้งคราวครับ ผิดพลาดเราจะมองไม่เห็น  แต่ถ้าเราเดินขึ้นไปทีละขั้นถึงขั้นสุดท้ายแล้วเราจะใช้มันได้ตลอด เมื่อผิดพลาดเราก็จะเห็นข้อผิดพลาดนั้นครับ

                                        แผนภาพที่ผมทำเป็นเทคนิคแบบเดิม ๆ ไม่มีรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่ากันนะครับ
   ทฤษฏีแนวโน้มทางเทคนิค
1  ราคาย่อมเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม ซื้อ-ขาย เมื่อเปลี่ยนแนวโน้มแล้วเท่านั้น
2  ซื้อ ขณะที่ตลาดโดยรวมขึ้น ซื้อตัวที่ดีที่สุดของกลุ่ม และกลุ่มนั้นกำลังอยู่ในแนวโน้มขึ้น
3  หุ้นไม่มีว่าแพงหากอยู่ในแนวโน้มขึ้น และก็ไม่มีคำว่าถูกหากอยู่ในแนวโน้มลง
4  ถ้าแนวโน้มลงให้รีบขาย อย่าซื้อถัวเฉลี่ย เสียครั้งละน้อยหลายครั้ง ดีกว่าเสียครั้งละมาก ครั้งเดียว
   โปรแกรมที่ใช้ดูนิดนึงด้วยว่าอินดิเคเตอร์ที่เราใช้ ค่ามันตรงกับที่เราต้องการรึป่าว แล้วศึกษาเปรียบเทียบหุ้นต่าง ๆ ตรงกับที่เราวิเคราะห์หรือไม่ มือใหม่ การตั้งค่า เปลี่ยนเครื่องมือโน่นนี่ยังไม่คล่อง ต่อย ๆ ฝึกเดี๋ยวก็ชำนาญเอง
   สุดท้าย ขำ ๆ นะครับ เมื่อท่านเก่งแล้ว จะเป็นนักเทคนิเคิลแบบไหนครับ (จำไม่ได้ว่า อ่านเจอที่ไหน  มันประมาณแบบนี้)
แบบที่ 1  นักเทคนิเคิลแบบเรียงเบอร์  Set ตอนนี้นะครับ มีแนวรับแรกที่ 1500 จุด แนวรับต่อไป 1450 ต่อไป 1400 ต่อไป 1350 ต่อไป 1300 ส่วนแนวต้าน แรกอยู่ที่ 1550 จุด แนวต้านต่อไป 1600 ต่อไป 1650 ต่อไป 1700 ต่อไป 1750 ต่อไป 1800
แบบที่ 2  แบบมันจะถึงเหรอ   set แนวรับอยู่ที่ 1300 จุด แนวต้าน 1700 จุด  รับต้านห่างกัน ฟ้ากับเหวเลย  -_-
แบบที่ 3 แบบคนอ่านแล้วไม่เข้าใจ ให้ซื้อหรือขาย  ตอนนี้ set อยู่ในลักษณะ  death cross (ขาลงนี่) หุ้นหลุดเทรน แนวรับสำคัญ  แต่ MACD เริ่มที่จะตัดขึ้น(อ้าว มีแนวโน้มเปลี่ยนเป็นขึ้น ) RSi ก็อยู่ในเขต Over Sold (ขายมากเกินไปแล้ว) แล้วตกลงใจะให้ ซื้อ หรือ ขาย 
แบบที่ 4 อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง มีแต่ศัพท์เทคนิด  set มีจุด Support ที่ ... มี Resistanc ที่ ... ถ้าผ่านจุด Resistanc ได้ จะกลายเป็นจุด Support ที่แข็งแกร่ง set กำลังจะจบ คลื่นลูกที่ 3 หรือไม่ก็เป็นคลื่น B ของคลื่นใหญ่  MACD ตัด Signal ขึ้นไปแล้ว กำลังจะพ้น 0  แต่ RSI  ยัง divergent อยู่ บลา ๆ ๆ  ตกลงมันคืออะไร  ^_^
   ขอให้ทุกท่านโชคดี เอาตัวรอดกับภาวะตลาดแบบนี้ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่