น้ำมันต้นยางนา
ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน
น้ำมันยางเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นเฉพาะ เป็นน้ำยางที่ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้นยางนาแล้วเอาไฟลน น้ำยางจะไหลลงมาขังในแอ่งที่เจาะไว้ ซึ่งน้ำมันยางที่ได้จะเรียกว่า "Gurjun Balsam" หรือ "Gurjun oil" เมื่อนำไปกลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 70 มีองค์ประกอบเป็น alpha-gurjunene และ β-gurjunene
น้ำยางนี้เอาไปทาฝาบ้าน และยาเรือได้ เพื่อรักษาเนื้อไม้ให้ปลอดภัยจากปลวกและมอดตลอดจนแมลงที่กัดกินเนื้อไม้ และที่ก้นถังเก็บน้ำยางเหนียวเป็นก้อนชาวบ้านเอารวมกับขี้ยาง(เศษน้ำยางที่เถ่าถ่านปน) ก็จะเอาไปทำเป็นใต้จุดให้แสงสว่าง หรือจุดไฟเพื่อเป็นจุดกำเนิดของไฟในเถาถ่าน หรือฟืนเพื่อทำอาหารและให้ความร้อน
นอกจากนี้ชาวบ้านก็ยังเอาต้นยางนาขนาดใหญ่มาเลื่อยเป็นแผ่นเล็กกว้าง 4-6 นิ้วหนา1-1.5 ซ.ม.เพื่อทำเป็นฝาบ้านซึ่งจะคงทนเพราะว่าเนื้อไม้จะมีน้ำยาง เนื้อจะหยาบเป็นเส้นเมื่อทาน้ำมันยางแล้วจะคงทนต่อแดด ฝนอยู่ได้นาน และที่สำคัญยางไม้ จะทำให้ปลอดภัยปลวก และมอด(สัตว์ตัวเล็กมากที่กินเนื้อไม้เป็นอาหาร)ที่ชอบกินไม้ทั่วๆไปเป็นอาหาร ปัจจุบันนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบสารพัดสรรพคุณจากทุกส่วนของต้นยางนา
ขอบคุณภาพจาก
http://www.mee-suk.com/
Cr.
https://medthai.com/ยางนา/
Cr.
http://gotoknow.org/blog/yongyuths10/255778
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ยงยุทธ สงวนชม ใน ชีวิตคือการเรียนรู้
ยางลบดินสอ
ยางอินเดีย หรือ ต้นยางลบ (Rubber plant) จัดเป็นไม้ประดับต้นหรือประดับใบ มีลักษณะเด่นที่ใบมีสีเขียวเข้ม ขนาดใหญ่ หรือ บางชนิดมีลายสีขาวประสวยงาม ใบไม่ร่วงหล่นง่าย นอกจากนั้น ต้นยางอินเดียไม่ว่าจะเป็นส่วนใดๆ หากเกิดมีบาดแผลขึ้นก็จะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมาทันที และเมื่อยางแข็งตัวจะมีลักษณะเป็นก้อนนุ่ม สามารถนำไปใช้เป็นยางลบดินสอได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ต้นยางลบ
ต้นยางอินเดีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย และแถบหมู่เกาะมาลายู พบในป่าแถบร้อน บางชนิดขึ้นได้ดีในที่กลางแจ้ง แพร่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อใช้ปลูกเป็นไม้ประดับต้น และใบ
ยางอินเดียจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดปี (Evergreen) สูงได้กว่า 30 เมตร แต่บางชนิดมีลักษณะเป็นไม้พุ่ม หรือไม้ ไม้เลื้อย ทั้งนี้ ลำต้นยางอินเดียที่มีอายุมากหรือเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีรากอากาศห้อยย้อยออกมาเห็นเห็นได้
เอกสารอ้างอิง
สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, [ออนไลน์], ยางอินเดีย, สืบค้นได้ที่ :
https://adeq.or.th/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2/
ขอบคุณภาพจาก
https://www.watnongmuang.com/news/detail.asp?id=1952
Cr.
https://puechkaset.com/ยางอินเดีย/
ยางรัก (Lacquer varnish)
ยางรัก หรือมีชื่อสามัญว่า Lacquer varnish เป็นน้ำยางที่ได้จากต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ขึ้นอยู่เป็นหมู่ๆ ประปรายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ที่ค่อนข้างแห้งแล้งและป่าแดงทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ตอนบน
ยางรัก (MELONORRHOEA) ได้จากการเจาะหรือกรีดจากต้นรัก ยางรักได้ใหม่ๆ จากต้นมีสีหม่นๆ ถ้าทิ้งไว้นานประมาณ ๗ – ๑๐ วัน จะเป้นสีเทาและกลายเป็นสีดำได้ (รักพม่าเมื่อแรกกรีดยางออกสีเหลืองหม่น แล้วกลายเป็นสีน้ำตาล, พม่าเรียกยางรักว่า THET–TSE, KHEN)
ต้นรักถึงแม้จะมีประโยชน์ แต่ก็ให้โทษได้เช่นกัน สำหรับคนที่แพ้รักจะมีอาการเป็นผื่นแพ้มีตุ่มพุพองเป็นหนองใส ทำให้ผิวหนังอักเสบปวดแสบปวดร้อน คัน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดนยางรักโดยตรง เข้าใกล้ต้น โดนละอองเกสร หรือแม้แต่สูดดม ก็อาจเกิดอาการแพ้รักได้” ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย
คุณสมบัติของยางรัก โดยเฉพาะนำมาใช้ทางผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย ที่ได้ใช้มาแต่ก่อนนั้น ใช้ทาไม้และวัสดุต่างๆ เพื่อรักษาผิวให้คงทน ทารองพื้นภาชนะและครุภัณฑ์ต่างๆ ทากระดาษ ผ้ากันน้ำซึม ทาหรือเช็ดเพื่อปิดทองในงานประณีตศิลป และงานหัตถศิลป ฯลฯ
พาฉัตร ทิพทัส นักจัดการอาวุโส สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เล่าถึงความสำคัญของยางรักว่า
สมัยอยุธยา ราชสำนักสยามไม่อาจควบคุมหัวเมืองเชียงใหม่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ป่าล้านนากลายเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญในการป้อนรักให้กับพม่า ชาวสยามน่าจะใช้ยางรัก “น้ำเกลี้ยง” จากอีสานและกัมพูชา ซึ่งราชสำนักอยุธยามีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกว่า
“สำหรับชาวสยาม รักเป็นทั้งสินค้าและเป็นทั้งส่วย ลุ่มเจ้าพระยาไม่มีต้นรัก ยางรักจึงเป็นสินค้านำเข้าที่ราชสำนักสยามผูกขาด เพื่อใช้ในกิจการของรัฐและเพื่อการส่งออกเท่านั้น และเพราะสยามไม่มีรักให้ใครนี่เอง ราชสำนักจำต้องรุกคืบเข้าไปมีอำนาจเหนือรัฐตอนใน เพื่อครอบครองทรัพยากรของเมืองในอาณัติ ดินแดนเหล่านั้นต่างต้องส่งส่วยของป่าให้กับสยาม รัก...จึงเป็นเครื่องบรรณาการแสดงความภักดีต่อราชสำนักสยาม”
ชาวลาว นิยมสร้างพระพุทธรูปจากไม้ลงรักปิดทอง พบได้ทั่วไปตั้งแต่เมืองหลวงพระบาง ทางเหนือ ไปถึงทางใต้แถบจำปาสัก เรื่อยมาถึงอีสานของไทย ส่วนงานเครื่องรักของคนพม่าจะเน้นที่เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ ซุ้มพระ หรือแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปที่จำลองแบบมาจากราชบัลลังก์ในพระราชวังมัณฑะเลย์ อลังการด้วยรูปแบบการแกะสลักไม้และการลงรักปิดทองประดับกระจก ฝีมือประณีต
คนแขมร์จะใช้ “รักสมุก” ทำจากยางรักผสมชัน น้ำมันยาง และผงถ่าน มาตกแต่งลวดลายบนหน้ากากหัวโขน ที่ทำจากงานเปเปอร์มาเช่ แล้วลงรัก ปิดทอง ระบายสีสวยงาม ขณะที่รักของสหายเวียดนาม จะใช้ยางรักมาสร้างงานจิตรกรรมเครื่องเขินร่วมสมัย เรียกกันว่า “ภาพวาดเซินหม่าย” นอกจากนี้ยังใช้รักทำเครื่องเขิน จาน ชาม จานรองแก้ว เป็นสินค้าที่ระลึกขายให้นักท่องเที่ยว
ข้ามไปยังประเทศญี่ปุ่น อีกชนชาติหนึ่งที่ใช้ยางรักมายาวนาน ชาวอาทิตย์อุทัยเรียกยางรักว่า “อุรุชิ” และเรียกเครื่องเขินว่า “ชิกกิ” เครื่องเขินญี่ปุ่นจะทำจากไม้กลึงเคลือบยางรัก ภายนอกสีดำ ทาด้วยสีแดงด้านใน เช่น ถาดเบนโตะ ถ้วยซุบมิโซ ที่เราคุ้นเคยเพราะใช้กันตามร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป
Cr.
https://www.thairath.co.th/content/503898
Cr.
https://www.komchadluek.net/news/knowledge/205465
Cr.
http://changsipmu.com/book-rak-tree-p001-p.html
cr. รูปจาก
http://research.rdi.ku.ac.th และ
http://www.siamwoodcarving.com
อำพัน.
อำพัน เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมซากพืชซากสัตว์โบราณ เนื่องจากอำพันเป็นอัญมณีที่เกิดจากยางของต้นไม้ยุคโบราณที่มีอายุมากถึง 25 - 50 ล้านปี ซึ่งอำพันบางเม็ดอาจจะพบซากแมลงหรือซากพืชโบราณฝังตัวติดอยู่ภายในอย่างสวยงาม
ชื่อของ “อำพัน” รัตนชาติชนิดนี้มาจากภาษาลิทัวเนีย คำว่า “จินต้าราส” และ จากภาษาแลตเวีย ว่า “ดซินต้าร์” อำพันเป็นรัตนชาติชนิดหนึ่งที่มีสีเหลืองทองคำ
ในตำนานของกรีกเชื่อกันว่า ในวันหนึ่งเทพเฟตัน (Phaeton) บุตรแห่งเทพฟีบัส (Phoebus) ได้ขออนุญาตพระบิดาขับรถเพลิงอาทิตย์ข้ามขอบฟ้าแต่ด้วยเหตุที่เฟตันขับเข้าใกล้โลกมากเกินไป จนอาจเกิดการเผาผลาญดลก เพื่อปกป้องและรักษาโลกให้พ้นภัยจากเปลงเพลิงของอาทิตย์ เทพเจ้าจูปิเตอร์จึงได้ขว้างสายฟ้าใส่เทพเฟตัน จนร่วงหล่นจากท้องฟ้า เมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของเฟตัน มารดาและพี่สาวได้ร่ำไห้ด้วยความเศร้าโสกอาลัยเป็นอย่างมากและจากนั้นน้ำตาของทั้งสองได้ถูกแสดงอาทิตย์แปรเปลี่ยนมาเป็นอำพัน ชาวกรีกเรียกอำพันว่า “electron” หรือ “sun-made” ซึ่งอาจมาจากตำนานดังกล่าว
แต่ในความจริงแล้ว อำพัน เกิดจากยางของต้นไม้ซึ่งเกิดมาเป็นเวลาหลายล้านปี ในสมัยนั้นมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นป่าทึบ มีอากาศชื้นและอบอุ่น ซึ่งเมื่อต้นไม้เหล่านั้นถูกฟัน หรือถูกฟัน หรือถูกลมพัดหัก ยางไม้จะถูกหลั่งออกมา
ซึ่งยางไม่นี้มีส่วนประกอบไปด้วย Turpentine น้ำ และ Resinous Acid และเมื่อเวลาผ่านไป Turpentine และ น้ำ ได้ระเหยออกไปจนหมด เหลือแต่ Resin ซึ่งมีความทนทานต่อความชื้น ความร้อน และ อากาศ นอกจากนี้ Resin ยังเป็นตัวที่ดึงดูดแมลงได้ดี จึงมักมีพวกแมลงต่างๆ เข้ามาตอม
และอย่างที่เราเข้าใจยางไม้เหล่านี้มีความเหนียว เมื่อแมลงหรือสัตว์มาตอม ก็มักจะติดอยู่กับพื้นผิวของเรซินนั้น และเมื่อต้นไม้เหล่านี้โค่น หักล้มไปตามธรรมชาติ เรซิน หรือยางต้นไม้นี้ก็ถูกทับถมกันในที่สุด และด้วยกรรมวิธีทางธรณีวิทยา ทำให้เรซินเหล่านี้กลายเป็นอำพันในที่สุด
ซึ่งอำพันที่เกิดขึ้นนั้น มักมีรูปร่างต่างๆ กัน และมีขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่ก้อนขนาดเล็ก จนถึงก้อนขนาดใหญ่หลายๆ กิโลกรัมเลยทีเดียว และในเนื้ออำพันก็มักจะเห็นได้ว่ามีตัวแมลงต่างๆ อยู่ด้วย นอกจากแมลงแล้ว บางครั้งเรายังสามารถพบเศษไม้รวมอยู่ในอำพันด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบถึงอายุของอำพันด้วย
ขอบคุณที่มา The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization)
ขอบคุณภาพจาก
https://prakumkrong.com/3027/
Cr.
https://www.git.or.th/g20130821.html
ยางพารา
ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่รัฐปารา (Pará) ของบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา
ในขั้นต้นยางพาราที่กรีดได้มักจะถูกนำไปแปรรูปเบื้องต้นซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
-ยางแห้ง (ย่างแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม)
-ยางน้ำ (น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์) ก่อนจะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไปซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ยางยานพาหนะ ยางยืดและยางรัดของ ถุงมือยางทางการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา สายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ เป็นต้น
โดยเมื่อพ.ศ. 2313 โจเซฟ พริลลี่ ค้นพบว่า ยางมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถลบรอยดินสอออกได้โดยไม่ทำให้กระดาษเสียหาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2366 ชาล์ล แมกกินตอซ นำยางมาผลิตเสื้อกันฝนจำหน่ายในสก็อตแลนด์เป็นครั้งแรก และในปีพ.ศ. 2389 โทมัส แฮนค็อค ประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนางเจ้าวิคตอเรีย และพัฒนาจนในปี พ.ศ. 2438 ประดิษฐ์เป็นล้อรถยนต์ได้สำเร็จ
Cr.
https://sites.google.com/site/iloverubber99/home/prawati-khxng-yangphara โดย ILOVERUBBER 99
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
สิ่มีค่าที่ได้จากต้นไม้
ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน
น้ำมันยางเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นเฉพาะ เป็นน้ำยางที่ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้นยางนาแล้วเอาไฟลน น้ำยางจะไหลลงมาขังในแอ่งที่เจาะไว้ ซึ่งน้ำมันยางที่ได้จะเรียกว่า "Gurjun Balsam" หรือ "Gurjun oil" เมื่อนำไปกลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 70 มีองค์ประกอบเป็น alpha-gurjunene และ β-gurjunene
น้ำยางนี้เอาไปทาฝาบ้าน และยาเรือได้ เพื่อรักษาเนื้อไม้ให้ปลอดภัยจากปลวกและมอดตลอดจนแมลงที่กัดกินเนื้อไม้ และที่ก้นถังเก็บน้ำยางเหนียวเป็นก้อนชาวบ้านเอารวมกับขี้ยาง(เศษน้ำยางที่เถ่าถ่านปน) ก็จะเอาไปทำเป็นใต้จุดให้แสงสว่าง หรือจุดไฟเพื่อเป็นจุดกำเนิดของไฟในเถาถ่าน หรือฟืนเพื่อทำอาหารและให้ความร้อน
นอกจากนี้ชาวบ้านก็ยังเอาต้นยางนาขนาดใหญ่มาเลื่อยเป็นแผ่นเล็กกว้าง 4-6 นิ้วหนา1-1.5 ซ.ม.เพื่อทำเป็นฝาบ้านซึ่งจะคงทนเพราะว่าเนื้อไม้จะมีน้ำยาง เนื้อจะหยาบเป็นเส้นเมื่อทาน้ำมันยางแล้วจะคงทนต่อแดด ฝนอยู่ได้นาน และที่สำคัญยางไม้ จะทำให้ปลอดภัยปลวก และมอด(สัตว์ตัวเล็กมากที่กินเนื้อไม้เป็นอาหาร)ที่ชอบกินไม้ทั่วๆไปเป็นอาหาร ปัจจุบันนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบสารพัดสรรพคุณจากทุกส่วนของต้นยางนา
ขอบคุณภาพจาก http://www.mee-suk.com/
Cr.https://medthai.com/ยางนา/
Cr.http://gotoknow.org/blog/yongyuths10/255778
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ยงยุทธ สงวนชม ใน ชีวิตคือการเรียนรู้
ยางลบดินสอ
ยางอินเดีย หรือ ต้นยางลบ (Rubber plant) จัดเป็นไม้ประดับต้นหรือประดับใบ มีลักษณะเด่นที่ใบมีสีเขียวเข้ม ขนาดใหญ่ หรือ บางชนิดมีลายสีขาวประสวยงาม ใบไม่ร่วงหล่นง่าย นอกจากนั้น ต้นยางอินเดียไม่ว่าจะเป็นส่วนใดๆ หากเกิดมีบาดแผลขึ้นก็จะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมาทันที และเมื่อยางแข็งตัวจะมีลักษณะเป็นก้อนนุ่ม สามารถนำไปใช้เป็นยางลบดินสอได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ ต้นยางลบ
ต้นยางอินเดีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย และแถบหมู่เกาะมาลายู พบในป่าแถบร้อน บางชนิดขึ้นได้ดีในที่กลางแจ้ง แพร่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อใช้ปลูกเป็นไม้ประดับต้น และใบ
ยางอินเดียจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีใบเขียวตลอดปี (Evergreen) สูงได้กว่า 30 เมตร แต่บางชนิดมีลักษณะเป็นไม้พุ่ม หรือไม้ ไม้เลื้อย ทั้งนี้ ลำต้นยางอินเดียที่มีอายุมากหรือเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะมีรากอากาศห้อยย้อยออกมาเห็นเห็นได้
เอกสารอ้างอิง
สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม, [ออนไลน์], ยางอินเดีย, สืบค้นได้ที่ : https://adeq.or.th/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2/
ขอบคุณภาพจาก https://www.watnongmuang.com/news/detail.asp?id=1952
Cr. https://puechkaset.com/ยางอินเดีย/
ยางรัก (Lacquer varnish)
ยางรัก หรือมีชื่อสามัญว่า Lacquer varnish เป็นน้ำยางที่ได้จากต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ขึ้นอยู่เป็นหมู่ๆ ประปรายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ที่ค่อนข้างแห้งแล้งและป่าแดงทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ตอนบน
ยางรัก (MELONORRHOEA) ได้จากการเจาะหรือกรีดจากต้นรัก ยางรักได้ใหม่ๆ จากต้นมีสีหม่นๆ ถ้าทิ้งไว้นานประมาณ ๗ – ๑๐ วัน จะเป้นสีเทาและกลายเป็นสีดำได้ (รักพม่าเมื่อแรกกรีดยางออกสีเหลืองหม่น แล้วกลายเป็นสีน้ำตาล, พม่าเรียกยางรักว่า THET–TSE, KHEN)
ต้นรักถึงแม้จะมีประโยชน์ แต่ก็ให้โทษได้เช่นกัน สำหรับคนที่แพ้รักจะมีอาการเป็นผื่นแพ้มีตุ่มพุพองเป็นหนองใส ทำให้ผิวหนังอักเสบปวดแสบปวดร้อน คัน ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสโดนยางรักโดยตรง เข้าใกล้ต้น โดนละอองเกสร หรือแม้แต่สูดดม ก็อาจเกิดอาการแพ้รักได้” ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย
คุณสมบัติของยางรัก โดยเฉพาะนำมาใช้ทางผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย ที่ได้ใช้มาแต่ก่อนนั้น ใช้ทาไม้และวัสดุต่างๆ เพื่อรักษาผิวให้คงทน ทารองพื้นภาชนะและครุภัณฑ์ต่างๆ ทากระดาษ ผ้ากันน้ำซึม ทาหรือเช็ดเพื่อปิดทองในงานประณีตศิลป และงานหัตถศิลป ฯลฯ
พาฉัตร ทิพทัส นักจัดการอาวุโส สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เล่าถึงความสำคัญของยางรักว่า
สมัยอยุธยา ราชสำนักสยามไม่อาจควบคุมหัวเมืองเชียงใหม่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ป่าล้านนากลายเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญในการป้อนรักให้กับพม่า ชาวสยามน่าจะใช้ยางรัก “น้ำเกลี้ยง” จากอีสานและกัมพูชา ซึ่งราชสำนักอยุธยามีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกว่า
“สำหรับชาวสยาม รักเป็นทั้งสินค้าและเป็นทั้งส่วย ลุ่มเจ้าพระยาไม่มีต้นรัก ยางรักจึงเป็นสินค้านำเข้าที่ราชสำนักสยามผูกขาด เพื่อใช้ในกิจการของรัฐและเพื่อการส่งออกเท่านั้น และเพราะสยามไม่มีรักให้ใครนี่เอง ราชสำนักจำต้องรุกคืบเข้าไปมีอำนาจเหนือรัฐตอนใน เพื่อครอบครองทรัพยากรของเมืองในอาณัติ ดินแดนเหล่านั้นต่างต้องส่งส่วยของป่าให้กับสยาม รัก...จึงเป็นเครื่องบรรณาการแสดงความภักดีต่อราชสำนักสยาม”
ชาวลาว นิยมสร้างพระพุทธรูปจากไม้ลงรักปิดทอง พบได้ทั่วไปตั้งแต่เมืองหลวงพระบาง ทางเหนือ ไปถึงทางใต้แถบจำปาสัก เรื่อยมาถึงอีสานของไทย ส่วนงานเครื่องรักของคนพม่าจะเน้นที่เครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ ซุ้มพระ หรือแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปที่จำลองแบบมาจากราชบัลลังก์ในพระราชวังมัณฑะเลย์ อลังการด้วยรูปแบบการแกะสลักไม้และการลงรักปิดทองประดับกระจก ฝีมือประณีต
คนแขมร์จะใช้ “รักสมุก” ทำจากยางรักผสมชัน น้ำมันยาง และผงถ่าน มาตกแต่งลวดลายบนหน้ากากหัวโขน ที่ทำจากงานเปเปอร์มาเช่ แล้วลงรัก ปิดทอง ระบายสีสวยงาม ขณะที่รักของสหายเวียดนาม จะใช้ยางรักมาสร้างงานจิตรกรรมเครื่องเขินร่วมสมัย เรียกกันว่า “ภาพวาดเซินหม่าย” นอกจากนี้ยังใช้รักทำเครื่องเขิน จาน ชาม จานรองแก้ว เป็นสินค้าที่ระลึกขายให้นักท่องเที่ยว
ข้ามไปยังประเทศญี่ปุ่น อีกชนชาติหนึ่งที่ใช้ยางรักมายาวนาน ชาวอาทิตย์อุทัยเรียกยางรักว่า “อุรุชิ” และเรียกเครื่องเขินว่า “ชิกกิ” เครื่องเขินญี่ปุ่นจะทำจากไม้กลึงเคลือบยางรัก ภายนอกสีดำ ทาด้วยสีแดงด้านใน เช่น ถาดเบนโตะ ถ้วยซุบมิโซ ที่เราคุ้นเคยเพราะใช้กันตามร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป
Cr.https://www.thairath.co.th/content/503898
Cr.https://www.komchadluek.net/news/knowledge/205465
Cr.http://changsipmu.com/book-rak-tree-p001-p.html
cr. รูปจาก http://research.rdi.ku.ac.th และ http://www.siamwoodcarving.com
อำพัน.
อำพัน เป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมซากพืชซากสัตว์โบราณ เนื่องจากอำพันเป็นอัญมณีที่เกิดจากยางของต้นไม้ยุคโบราณที่มีอายุมากถึง 25 - 50 ล้านปี ซึ่งอำพันบางเม็ดอาจจะพบซากแมลงหรือซากพืชโบราณฝังตัวติดอยู่ภายในอย่างสวยงาม
ชื่อของ “อำพัน” รัตนชาติชนิดนี้มาจากภาษาลิทัวเนีย คำว่า “จินต้าราส” และ จากภาษาแลตเวีย ว่า “ดซินต้าร์” อำพันเป็นรัตนชาติชนิดหนึ่งที่มีสีเหลืองทองคำ
ในตำนานของกรีกเชื่อกันว่า ในวันหนึ่งเทพเฟตัน (Phaeton) บุตรแห่งเทพฟีบัส (Phoebus) ได้ขออนุญาตพระบิดาขับรถเพลิงอาทิตย์ข้ามขอบฟ้าแต่ด้วยเหตุที่เฟตันขับเข้าใกล้โลกมากเกินไป จนอาจเกิดการเผาผลาญดลก เพื่อปกป้องและรักษาโลกให้พ้นภัยจากเปลงเพลิงของอาทิตย์ เทพเจ้าจูปิเตอร์จึงได้ขว้างสายฟ้าใส่เทพเฟตัน จนร่วงหล่นจากท้องฟ้า เมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของเฟตัน มารดาและพี่สาวได้ร่ำไห้ด้วยความเศร้าโสกอาลัยเป็นอย่างมากและจากนั้นน้ำตาของทั้งสองได้ถูกแสดงอาทิตย์แปรเปลี่ยนมาเป็นอำพัน ชาวกรีกเรียกอำพันว่า “electron” หรือ “sun-made” ซึ่งอาจมาจากตำนานดังกล่าว
แต่ในความจริงแล้ว อำพัน เกิดจากยางของต้นไม้ซึ่งเกิดมาเป็นเวลาหลายล้านปี ในสมัยนั้นมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นป่าทึบ มีอากาศชื้นและอบอุ่น ซึ่งเมื่อต้นไม้เหล่านั้นถูกฟัน หรือถูกฟัน หรือถูกลมพัดหัก ยางไม้จะถูกหลั่งออกมา
ซึ่งยางไม่นี้มีส่วนประกอบไปด้วย Turpentine น้ำ และ Resinous Acid และเมื่อเวลาผ่านไป Turpentine และ น้ำ ได้ระเหยออกไปจนหมด เหลือแต่ Resin ซึ่งมีความทนทานต่อความชื้น ความร้อน และ อากาศ นอกจากนี้ Resin ยังเป็นตัวที่ดึงดูดแมลงได้ดี จึงมักมีพวกแมลงต่างๆ เข้ามาตอม
และอย่างที่เราเข้าใจยางไม้เหล่านี้มีความเหนียว เมื่อแมลงหรือสัตว์มาตอม ก็มักจะติดอยู่กับพื้นผิวของเรซินนั้น และเมื่อต้นไม้เหล่านี้โค่น หักล้มไปตามธรรมชาติ เรซิน หรือยางต้นไม้นี้ก็ถูกทับถมกันในที่สุด และด้วยกรรมวิธีทางธรณีวิทยา ทำให้เรซินเหล่านี้กลายเป็นอำพันในที่สุด
ซึ่งอำพันที่เกิดขึ้นนั้น มักมีรูปร่างต่างๆ กัน และมีขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่ก้อนขนาดเล็ก จนถึงก้อนขนาดใหญ่หลายๆ กิโลกรัมเลยทีเดียว และในเนื้ออำพันก็มักจะเห็นได้ว่ามีตัวแมลงต่างๆ อยู่ด้วย นอกจากแมลงแล้ว บางครั้งเรายังสามารถพบเศษไม้รวมอยู่ในอำพันด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบถึงอายุของอำพันด้วย
ขอบคุณที่มา The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization)
ขอบคุณภาพจาก https://prakumkrong.com/3027/
Cr.https://www.git.or.th/g20130821.html
ยางพารา
ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่รัฐปารา (Pará) ของบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา
ในขั้นต้นยางพาราที่กรีดได้มักจะถูกนำไปแปรรูปเบื้องต้นซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
-ยางแห้ง (ย่างแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครพ ยางแผ่นผึ่งแห้ง และยางสกิม)
-ยางน้ำ (น้ำยางข้น หรือยางลาเท็กซ์) ก่อนจะนำไปแปรรูปในขั้นต่อไปซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราพบได้ในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ยางยานพาหนะ ยางยืดและยางรัดของ ถุงมือยางทางการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา สายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ เป็นต้น
โดยเมื่อพ.ศ. 2313 โจเซฟ พริลลี่ ค้นพบว่า ยางมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถลบรอยดินสอออกได้โดยไม่ทำให้กระดาษเสียหาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2366 ชาล์ล แมกกินตอซ นำยางมาผลิตเสื้อกันฝนจำหน่ายในสก็อตแลนด์เป็นครั้งแรก และในปีพ.ศ. 2389 โทมัส แฮนค็อค ประดิษฐ์ยางตันสำหรับรถม้าทรงของพระนางเจ้าวิคตอเรีย และพัฒนาจนในปี พ.ศ. 2438 ประดิษฐ์เป็นล้อรถยนต์ได้สำเร็จ
Cr.https://sites.google.com/site/iloverubber99/home/prawati-khxng-yangphara โดย ILOVERUBBER 99
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา