จากกระแสข่าว น้องยีราฟ หลุดจากรถระหว่างขนส่งไปปราจีนบุรี และได้พบตัวนอนเสียชีวิตอยู่ริมคูน้ำข้างถนน ขอนำบทความเกี่ยวกับเรื่องราวของยีราฟ สัตว์โลกตัวสูงขายาวอันน่าทึ่ง มาให้ทุกคนได้รู้จักกันให้มากขึ้น
ในยุคโบราณ ยีราฟถือเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องกำนัลหรือบรรณาการแก่กัน โดยมีบันทึกไว้ว่า ในยุคจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง การเดินทางโดยเรือรอบโลกของเจิ้งเหอ มีการนำเอายีราฟกลับมาสู่ประเทศจีนในสมัยนั้นด้วย คำว่า ยีราฟ (giraffe) ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ zarafa
อนึ่ง ยีราฟ ยังถูกใช้เป็นชื่อเรียกกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งด้วย
ยีราฟยังได้ปรากฏตัวในแอนิเมชัน โดยรับบทเป็นตัวประกอบใน เดอะ ไลอ้อน คิง และ ดัมโบ้ รวมถึงมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ เดอะ ไวล์ด แก็งค์เขาดินซิ่งป่วนป่า และ มา
ัสการ์ ส่วนยีราฟโซฟี เป็นยางกัดที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 และตัวละครที่เป็นยีราฟที่มีชื่อเสียงอื่นๆเป็นตัวนำโชคของ ทอยส์ "อาร์" อัส ที่มีชื่อว่า ยีราฟเจฟฟรีย์ นอกจากนี้ ยีราฟยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย
ภาพวาดใน ค.ศ. 1414 ของยีราฟที่ถูกนำเข้ามาในราชวงศ์หมิง ผ่านทางเบงกอล
เมื่อปี 2016 นักวิทยาศาสตร์ทีมหนึ่งเริ่มเข้าใจบางสิ่งเกี่ยวกับ ยีราฟ อย่างถ่องแท้ (แม้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ก่อนหน้านั้น ความรู้ที่เชื่อกันมานานเกี่ยวกับยีราฟมีอยู่ว่า พวกมันมีชนิดเดียว นั่นคือ Giraffa camelopardalisi แต่การวิเคราะห์พันธุกรรมในปัจจุบันชี้ว่า แท้จริงแล้วยีราฟมีอยู่ด้วยกันสี่ชนิด และทั้งสี่สายพันธุ์ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นห้าชนิดย่อย เมื่ออิงกับอนุกรมวิธานใหม่แล้ว ชนิดย่อยสามในห้าชนิดเรียกได้ว่า มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable: VU) ใกล้สูญพันธุ์ (endangered: EN) หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered: CR) ทั่วแอฟริกา ประชากรยีราฟลดลงเกือบร้อยละ 40 ตลอดช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา ทำให้เหลือยีราฟอยู่ในโลกเพียงราว 110,000 ตัวเท่านั้น
ทุกอย่างเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคของยีราฟดูจะแตกต่างอย่างสุดโต่ง ไม่ว่าจะคอยาวขึ้นชื่อ ขนตายาวๆ ขาเก้งก้าง (ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด) ดวงตา (กว้างที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) กะโหลกยืดยาว และลิ้นยาวเหมือนงวงสีม่วงคล้ำ ซึ่งแลบออกมาได้ยาวครึ่งเมตรและตวัดรูดกิ่งอะเคเซียที่มีหนามแหลม กระทั่งหัวใจที่สูบฉีดเลือดในแนวดิ่งได้มากกว่าสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ก็อาจยาวมากกว่า 60 เซนติเมตร และมีผนังหัวใจห้องล่างหนากว่าเจ็ดเซนติเมตร
ยีราฟมีความดันเลือดสูงที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมดเท่าที่ทราบ แต่พวกมันสามารถก้มหัวถึงพื้นซึ่งอยู่ต่ำลงไปห้าเมตรได้อย่างรวดเร็วโดยไม่หน้ามืดเป็นลม การที่พวกมันนั่งและลุกยืนได้ยากเย็น ทั้งยังเปราะบางเป็นพิเศษเมื่ออยู่บนพื้น ยีราฟจึงมักนอนหลับเพียงครั้งละไม่กี่นาที (เป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะสังเกตเห็นในธรรมชาติ)
พวกมันอาจอยู่ได้นานหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องดื่มน้ำ และอาศัยเพียงความชุ่มชื้นที่ดูดจากใบไม้ เฟนเนสซีจากจีซีเอฟ เฝ้าสังเกตยีราฟในทะเลทรายของนามิเบียอยู่นานถึงห้าปี ก่อนจะเห็นมันแบะขาออกเพื่อก้มหัวลงดื่มน้ำจากแอ่งน้ำบนพื้นอย่างทุลักทุเล
อันที่จริง เรายังไม่รู้อยู่ดีว่า ทำไมยีราฟถึงต้องมีคอยาวแบบนั้น นิโกส ซูลูเนียส นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการบอกว่า ยีราฟวิวัฒน์ขึ้นในอนุทวีปอินเดีย แล้วอพยพจากเอเชียมายังแอฟริกาเมื่อราวแปดล้านปีก่อน แต่โอคาพี ญาติใกล้ชิดที่สุดของยีราฟที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นเขตศูนย์สูตรของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กลับไม่มีคอยาวอย่างญาติของมัน
อาเคเชีย (Acacia)
ยีราฟเป็นช่างแต่งทรงพุ่มไม้โดยกำเนิด พวกมันเล็มกินต้นอะเคเซียจนมีรูปทรงนาฬิกาทรายที่มีพุ่มผายออกด้านบน เหนือเส้น “ชิมลาง” ที่คอยาวๆ และลิ้นยืดๆ ของมันไม่สามารถเอื้อมถึงได้ ดังนั้นการที่คอยาววิวัฒน์ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้หากินได้ในที่สูง และเป็นจุดที่สัตว์ตัวเตี้ยกว่าเอื้อมไม่ถึง จึงเป็นเรื่องสมเหตุผล
"ต้นอาเคเซีย" (Acacia)เป็นต้นไม้ขนาดพุ่มเตี้ยไปจนถึงต้นขนาดสูงใหญ่มีหนามแหลมมากครับ มีอยู่ทั่วไปเลยในทุ่งสะวันนาในแอฟริกา
อาหารหลักของเจ้ายีราฟก็คือใบอ่อนที่อยู่บนยอดไม้นี้เอง
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นไม้นี้ว่า บรรพบุรุษของยีราฟนั้น ไม่ได้มีคอที่ยาวอยู่อย่างทุกวันนี้ และเนื่องจากบรรพบุรุษของยีราฟเป็นสัตว์กินพืช พวกมันก็เลยคุ้ยเขี่ยหากินใบไม้อะไรก็ได้ที่เอื้อมถึง และหนึ่งในนั้นก็คงจะเป็นบรรพบุรุษของต้น Acacia ซึ่งก็คงจะไม่ชอบการถูกยีราฟกิน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศสงครามระหว่างยีราฟกับต้น Acacia
เมื่อ Acacia ถูกกิน พวกมันก็เลยวิวัฒนาการให้มีลำต้นที่สูงขึ้น ยีราฟจะได้เอื้อมไม่ถึง และเมื่อ Acacia สูงขึ้น ยีราฟก็เลยวิวัฒนาการให้มีคอที่ยาวตาม
ต่อมา ต้น Acacia ก็เลยวิวัฒนาการให้มีหนามแหลมๆ จะได้กินไม่ได้ ยีราฟก็ดันวิวัฒนาการลิ้นที่ยาวและหลบหลีกได้ เพื่อที่จะได้หลบหลีกหนามและเอื้อมไปเด็ดใบที่อยู่ระหว่างหนามมากิน
ต้น Acacia ก็เลยผลิตสาร tannin ออกมา ซึ่งนอกจากจะมีรสขมไม่อร่อยแล้ว ยังไปรบกวนระบบเอนไซม์ในการย่อย ซึ่งเป็นพิษสำหรับยีราฟ อย่างไรก็ตาม ต้นไม้จะเริ่มผลิตสาร tannin เมื่อเริ่มโดนกินเท่านั้น ยีราฟก็เลยมีการปรับตัวโดยการไม่กินต้นเดิมตลอด แต่กัดต้นนี้นิดหน่อย พอเริ่มผลิตแทนนิน ยีราฟก็เวียนไปกินต้นอื่นต่อ เวียนไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นไม้ผลิต tannin ไม่ทันเสียที
ต้นไม้ก็เลยวิวัฒนาการให้มีการปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อตะโกนบอกต้น acacia ข้างๆ ทันทีที่ยีราฟกัดต้น acacia ใบที่ถูกกัดก็จะปล่อยสาร ethylene ไปรอบๆ และต้น acacia ข้างๆ ที่ได้รับสัญญาณก็จะเริ่มผลิตสาร tannin ป้องกันยีราฟกินเอาไว้ภายในเวลาเพียงสิบนาที
ยีราฟก็ไม่ยอมแพ้ ยีราฟก็เปลี่ยนวิธีโดยการหลีกเลี่ยงการกินต้น Acacia ที่อยู่ปลายลม และไปกินเฉพาะต้นที่อยู่ต้นลมเพียงเท่านั้น
ซึ่งทุกวันนี้ สงครามอันดุเดือดระหว่างยีราฟและต้น acacia ก็ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อเวลาผ่านไป ต้น acacia ก็คงจะหาวิธีอื่นๆ มาไล่ยีราฟ และเหล่ายีราฟก็คงจะพยายามหาวิธีอื่นๆ มาเพื่อหลบเลี่ยงการป้องกันตัวเองของต้นไม้ไปเรื่อยๆ
(อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม
https://www.africansafaris.com/acacias-v-giraffes-a-unique…/
https://spectregroup.wordpress.com/…/08/acacia-self-defense/
Cr.
https://th-th.facebook.com/tsunamithailandCaltech/posts/1459753740755511/ เพจวิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
(ที่อุทยานแห่งชาติซาคูมาของชาด ยีราฟคอร์โดแฟนสองตัวใช้คอถูกัน ซึ่งอาจเป็นการโหมโรงสู่การต่อสู้ หรืออาจเป็นวิธีสื่อสารระหว่างกันของสัตว์ที่แทบไม่ส่งเสียงใดๆเหล่านี้ ซาคูมาเป็นพื้นที่ปลอดภัยในระดับหนึ่งสำหรับยีราฟคอร์โดแฟน ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของพวกมันอาศัยอยู่ที่นี่ )(ภาพถ่าย: เบรนต์ สเตอร์ตัน)
แต่นักวิจัยจำนวนหนึ่งชี้ว่า จริงๆ แล้วคอยาวของยีราฟมีหน้าที่ในการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) ประโยชน์หลักของมันจึงไม่ใช่เรื่องของการหาอาหาร แต่ช่วยให้เพศผู้ฟาดฟันกันด้วยหัวที่แกว่งไปมาซึ่งมีกะโหลกหนาเป็นพิเศษในยามแย่งชิงเพศเมียที่ติดสัด หรือไม่คอยาวๆ ก็อาจช่วยสัตว์ที่ค่อนข้างไร้วิธีป้องกันตัวอย่างยีราฟให้มองได้สูงกว่าสัตว์อื่นๆ เพื่อให้เห็นสัตว์นักล่าจากระยะไกลได้
สิ่งที่พ่วงมากับคอยาวๆ ของยีราฟ คือความเงียบงันจนน่าฉงน ยีราฟแทบไม่เคยส่งเสียงใดๆ และไม่สื่อสารกับพวกเดียวกันโดยใช้สัญญาณใดๆ ก็ตามที่หูมนุษย์ได้ยิน ความเงียบของมันน่าประหลาดยิ่งขึ้นเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พวกมันเป็นสัตว์สังคมที่อาศัยอยู่ในสังคมแบบแยกกันอยู่และรวมกันอยู่เป็นช่วงๆ (fission-fusion society)
สัตว์อื่นๆที่มีสังคมรูปแบบนี้ เช่น ช้างและชิมแปนซี มักเป็นสัตว์ช่างจ้อ สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยบางคนเสนอแนวคิดว่า ยีราฟอาจส่งเสียงอินฟราซาวนด์ หรือคลื่นใต้เสียงความถี่ต่ำ เพื่อสื่อสารกันในระยะทางไกล (เหมือนเสียงฮึมฮัมความถี่ต่ำของช้าง) แต่หลักฐานเท่าที่มียังไม่แน่ชัด
สรุปได้ว่า
- ยีราฟ (Giraffa) มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae
มีลักษณะเด่น คือ ตัวสูง ขายาว คอยาว ตาโต มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย
- ยีราฟ มีหัวใจขนาดใหญ่ และหนักประมาณ 10 ก.ก. เขาสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต
- เวลาที่ยีราฟต้องก้มไปดื่มน้ำค่อนข้างลำบาก ต้องแบะขาออก
- ยีราฟ จึงมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบพิเศษ เรียกว่า “Rete mirabile” เพื่อช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลาก้มตัวดื่มน้ำ
- เขาของยีราฟบ่งบอกเพศ ตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน
- เป็นสัตว์ที่กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่ขึ้นอยู่กับพื้น และพุ่มไม้สูง ๆ โดยกินอาหารเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม
- มีลิ้นยาวเหมือนงวงสีม่วงคล้ำ ความยาวประมาณ 45-47 เซนติเมตร และมีความหนาสาก ใช้ตวัดกินพวกพืชมีหนามอย่างกิ่งอะเคเซียที่มีหนามแหลมได้โดยไม่ได้รับอันตาย ลิ้นยังมีความทนทานต่อสารพิษได้ในระดับหนึ่งด้วย
- ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง ท้องนาน 420-461 วัน ประมาณ 14-15 เดือน ลูกเมื่อคลอดออกมาสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นาน และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน
- มีความดันเลือดสูงที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด
- สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องดื่มน้ำ (อาศัยความชุ่มชื้นที่ดูดจากใบไม้)
- นอนหลับในท่ายืน และใช้เวลาหลับแต่ละครั้งไม่นาน เพียงวันละ 2 นาที-2 ชั่วโมงเท่านั้น
- เป็นสัตว์ที่วิ่งได้ไม่นาน เพราะหัวใจจะสูบฉีดเลือดอย่างหนัก อีกทั้งขาหลังและขาหน้าที่อยู่ข้างเดียวกัน จะยกขึ้นลงพร้อม ๆ กัน เป็นการวิ่งลักษณะควบกระโดดและโคลงเคลงไปมา บวกกับคอที่ยาวจึงทำให้มีอาการแกว่งไกวไปมาด้วย
- ยีราฟมีวิธีการป้องกันตัวคือ การเตะ จากขาหลังที่ทรงพลัง
เรื่อง โจชัวร์ โฟร์ ภาพถ่าย เอมี ไวแทลี
ที่มา : ngthai, th.wikipedia ภาพจาก : Wolfgang Hasselmann, Magdalena Kula Manchee
Cr.
https://teen.mthai.com/variety/181844.html?utm_source=home-mthai&utm_campaign=home-highlight-hots&utm_medium=hot-6
โดย Sine-In
Cr.
https://ngthai.com/animals/26325/amazing-giraffes/ By NGThai
Cr.
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F_(%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5)
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมด
ความลับของยีราฟ (Giraffa) สัตว์โลกผู้น่าทึ่ง
ในยุคโบราณ ยีราฟถือเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องกำนัลหรือบรรณาการแก่กัน โดยมีบันทึกไว้ว่า ในยุคจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง การเดินทางโดยเรือรอบโลกของเจิ้งเหอ มีการนำเอายีราฟกลับมาสู่ประเทศจีนในสมัยนั้นด้วย คำว่า ยีราฟ (giraffe) ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ zarafa
อนึ่ง ยีราฟ ยังถูกใช้เป็นชื่อเรียกกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งด้วย
ยีราฟยังได้ปรากฏตัวในแอนิเมชัน โดยรับบทเป็นตัวประกอบใน เดอะ ไลอ้อน คิง และ ดัมโบ้ รวมถึงมีบทบาทที่โดดเด่นในภาพยนตร์ เดอะ ไวล์ด แก็งค์เขาดินซิ่งป่วนป่า และ มาัสการ์ ส่วนยีราฟโซฟี เป็นยางกัดที่ได้รับความนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 และตัวละครที่เป็นยีราฟที่มีชื่อเสียงอื่นๆเป็นตัวนำโชคของ ทอยส์ "อาร์" อัส ที่มีชื่อว่า ยีราฟเจฟฟรีย์ นอกจากนี้ ยีราฟยังเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย
ทุกอย่างเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคของยีราฟดูจะแตกต่างอย่างสุดโต่ง ไม่ว่าจะคอยาวขึ้นชื่อ ขนตายาวๆ ขาเก้งก้าง (ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด) ดวงตา (กว้างที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) กะโหลกยืดยาว และลิ้นยาวเหมือนงวงสีม่วงคล้ำ ซึ่งแลบออกมาได้ยาวครึ่งเมตรและตวัดรูดกิ่งอะเคเซียที่มีหนามแหลม กระทั่งหัวใจที่สูบฉีดเลือดในแนวดิ่งได้มากกว่าสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ก็อาจยาวมากกว่า 60 เซนติเมตร และมีผนังหัวใจห้องล่างหนากว่าเจ็ดเซนติเมตร
พวกมันอาจอยู่ได้นานหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องดื่มน้ำ และอาศัยเพียงความชุ่มชื้นที่ดูดจากใบไม้ เฟนเนสซีจากจีซีเอฟ เฝ้าสังเกตยีราฟในทะเลทรายของนามิเบียอยู่นานถึงห้าปี ก่อนจะเห็นมันแบะขาออกเพื่อก้มหัวลงดื่มน้ำจากแอ่งน้ำบนพื้นอย่างทุลักทุเล
อันที่จริง เรายังไม่รู้อยู่ดีว่า ทำไมยีราฟถึงต้องมีคอยาวแบบนั้น นิโกส ซูลูเนียส นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการบอกว่า ยีราฟวิวัฒน์ขึ้นในอนุทวีปอินเดีย แล้วอพยพจากเอเชียมายังแอฟริกาเมื่อราวแปดล้านปีก่อน แต่โอคาพี ญาติใกล้ชิดที่สุดของยีราฟที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นเขตศูนย์สูตรของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก กลับไม่มีคอยาวอย่างญาติของมัน
"ต้นอาเคเซีย" (Acacia)เป็นต้นไม้ขนาดพุ่มเตี้ยไปจนถึงต้นขนาดสูงใหญ่มีหนามแหลมมากครับ มีอยู่ทั่วไปเลยในทุ่งสะวันนาในแอฟริกา
อาหารหลักของเจ้ายีราฟก็คือใบอ่อนที่อยู่บนยอดไม้นี้เอง
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นไม้นี้ว่า บรรพบุรุษของยีราฟนั้น ไม่ได้มีคอที่ยาวอยู่อย่างทุกวันนี้ และเนื่องจากบรรพบุรุษของยีราฟเป็นสัตว์กินพืช พวกมันก็เลยคุ้ยเขี่ยหากินใบไม้อะไรก็ได้ที่เอื้อมถึง และหนึ่งในนั้นก็คงจะเป็นบรรพบุรุษของต้น Acacia ซึ่งก็คงจะไม่ชอบการถูกยีราฟกิน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศสงครามระหว่างยีราฟกับต้น Acacia
เมื่อ Acacia ถูกกิน พวกมันก็เลยวิวัฒนาการให้มีลำต้นที่สูงขึ้น ยีราฟจะได้เอื้อมไม่ถึง และเมื่อ Acacia สูงขึ้น ยีราฟก็เลยวิวัฒนาการให้มีคอที่ยาวตาม
ต่อมา ต้น Acacia ก็เลยวิวัฒนาการให้มีหนามแหลมๆ จะได้กินไม่ได้ ยีราฟก็ดันวิวัฒนาการลิ้นที่ยาวและหลบหลีกได้ เพื่อที่จะได้หลบหลีกหนามและเอื้อมไปเด็ดใบที่อยู่ระหว่างหนามมากิน
ต้น Acacia ก็เลยผลิตสาร tannin ออกมา ซึ่งนอกจากจะมีรสขมไม่อร่อยแล้ว ยังไปรบกวนระบบเอนไซม์ในการย่อย ซึ่งเป็นพิษสำหรับยีราฟ อย่างไรก็ตาม ต้นไม้จะเริ่มผลิตสาร tannin เมื่อเริ่มโดนกินเท่านั้น ยีราฟก็เลยมีการปรับตัวโดยการไม่กินต้นเดิมตลอด แต่กัดต้นนี้นิดหน่อย พอเริ่มผลิตแทนนิน ยีราฟก็เวียนไปกินต้นอื่นต่อ เวียนไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นไม้ผลิต tannin ไม่ทันเสียที
ต้นไม้ก็เลยวิวัฒนาการให้มีการปล่อยสารเคมีออกมาเพื่อตะโกนบอกต้น acacia ข้างๆ ทันทีที่ยีราฟกัดต้น acacia ใบที่ถูกกัดก็จะปล่อยสาร ethylene ไปรอบๆ และต้น acacia ข้างๆ ที่ได้รับสัญญาณก็จะเริ่มผลิตสาร tannin ป้องกันยีราฟกินเอาไว้ภายในเวลาเพียงสิบนาที
ยีราฟก็ไม่ยอมแพ้ ยีราฟก็เปลี่ยนวิธีโดยการหลีกเลี่ยงการกินต้น Acacia ที่อยู่ปลายลม และไปกินเฉพาะต้นที่อยู่ต้นลมเพียงเท่านั้น
ซึ่งทุกวันนี้ สงครามอันดุเดือดระหว่างยีราฟและต้น acacia ก็ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อเวลาผ่านไป ต้น acacia ก็คงจะหาวิธีอื่นๆ มาไล่ยีราฟ และเหล่ายีราฟก็คงจะพยายามหาวิธีอื่นๆ มาเพื่อหลบเลี่ยงการป้องกันตัวเองของต้นไม้ไปเรื่อยๆ
(อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม
https://www.africansafaris.com/acacias-v-giraffes-a-unique…/
https://spectregroup.wordpress.com/…/08/acacia-self-defense/
Cr.https://th-th.facebook.com/tsunamithailandCaltech/posts/1459753740755511/ เพจวิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
(ที่อุทยานแห่งชาติซาคูมาของชาด ยีราฟคอร์โดแฟนสองตัวใช้คอถูกัน ซึ่งอาจเป็นการโหมโรงสู่การต่อสู้ หรืออาจเป็นวิธีสื่อสารระหว่างกันของสัตว์ที่แทบไม่ส่งเสียงใดๆเหล่านี้ ซาคูมาเป็นพื้นที่ปลอดภัยในระดับหนึ่งสำหรับยีราฟคอร์โดแฟน ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของพวกมันอาศัยอยู่ที่นี่ )(ภาพถ่าย: เบรนต์ สเตอร์ตัน)
แต่นักวิจัยจำนวนหนึ่งชี้ว่า จริงๆ แล้วคอยาวของยีราฟมีหน้าที่ในการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection) ประโยชน์หลักของมันจึงไม่ใช่เรื่องของการหาอาหาร แต่ช่วยให้เพศผู้ฟาดฟันกันด้วยหัวที่แกว่งไปมาซึ่งมีกะโหลกหนาเป็นพิเศษในยามแย่งชิงเพศเมียที่ติดสัด หรือไม่คอยาวๆ ก็อาจช่วยสัตว์ที่ค่อนข้างไร้วิธีป้องกันตัวอย่างยีราฟให้มองได้สูงกว่าสัตว์อื่นๆ เพื่อให้เห็นสัตว์นักล่าจากระยะไกลได้
สิ่งที่พ่วงมากับคอยาวๆ ของยีราฟ คือความเงียบงันจนน่าฉงน ยีราฟแทบไม่เคยส่งเสียงใดๆ และไม่สื่อสารกับพวกเดียวกันโดยใช้สัญญาณใดๆ ก็ตามที่หูมนุษย์ได้ยิน ความเงียบของมันน่าประหลาดยิ่งขึ้นเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พวกมันเป็นสัตว์สังคมที่อาศัยอยู่ในสังคมแบบแยกกันอยู่และรวมกันอยู่เป็นช่วงๆ (fission-fusion society)
สัตว์อื่นๆที่มีสังคมรูปแบบนี้ เช่น ช้างและชิมแปนซี มักเป็นสัตว์ช่างจ้อ สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยบางคนเสนอแนวคิดว่า ยีราฟอาจส่งเสียงอินฟราซาวนด์ หรือคลื่นใต้เสียงความถี่ต่ำ เพื่อสื่อสารกันในระยะทางไกล (เหมือนเสียงฮึมฮัมความถี่ต่ำของช้าง) แต่หลักฐานเท่าที่มียังไม่แน่ชัด
สรุปได้ว่า
- ยีราฟ (Giraffa) มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae
มีลักษณะเด่น คือ ตัวสูง ขายาว คอยาว ตาโต มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย
- ยีราฟ มีหัวใจขนาดใหญ่ และหนักประมาณ 10 ก.ก. เขาสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากกว่ามนุษย์ถึง 3 เท่า เพื่อไปเลี้ยงสมองที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณ 8 ฟุต
- เวลาที่ยีราฟต้องก้มไปดื่มน้ำค่อนข้างลำบาก ต้องแบะขาออก
- ยีราฟ จึงมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบพิเศษ เรียกว่า “Rete mirabile” เพื่อช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองมากเกินไปเวลาก้มตัวดื่มน้ำ
- เขาของยีราฟบ่งบอกเพศ ตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน
- เป็นสัตว์ที่กินพืช กินได้ทั้งหญ้าที่ขึ้นอยู่กับพื้น และพุ่มไม้สูง ๆ โดยกินอาหารเฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม
- มีลิ้นยาวเหมือนงวงสีม่วงคล้ำ ความยาวประมาณ 45-47 เซนติเมตร และมีความหนาสาก ใช้ตวัดกินพวกพืชมีหนามอย่างกิ่งอะเคเซียที่มีหนามแหลมได้โดยไม่ได้รับอันตาย ลิ้นยังมีความทนทานต่อสารพิษได้ในระดับหนึ่งด้วย
- ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง ท้องนาน 420-461 วัน ประมาณ 14-15 เดือน ลูกเมื่อคลอดออกมาสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นาน และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน
- มีความดันเลือดสูงที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด
- สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องดื่มน้ำ (อาศัยความชุ่มชื้นที่ดูดจากใบไม้)
- นอนหลับในท่ายืน และใช้เวลาหลับแต่ละครั้งไม่นาน เพียงวันละ 2 นาที-2 ชั่วโมงเท่านั้น
- เป็นสัตว์ที่วิ่งได้ไม่นาน เพราะหัวใจจะสูบฉีดเลือดอย่างหนัก อีกทั้งขาหลังและขาหน้าที่อยู่ข้างเดียวกัน จะยกขึ้นลงพร้อม ๆ กัน เป็นการวิ่งลักษณะควบกระโดดและโคลงเคลงไปมา บวกกับคอที่ยาวจึงทำให้มีอาการแกว่งไกวไปมาด้วย
- ยีราฟมีวิธีการป้องกันตัวคือ การเตะ จากขาหลังที่ทรงพลัง
เรื่อง โจชัวร์ โฟร์ ภาพถ่าย เอมี ไวแทลี
ที่มา : ngthai, th.wikipedia ภาพจาก : Wolfgang Hasselmann, Magdalena Kula Manchee
Cr. https://teen.mthai.com/variety/181844.html?utm_source=home-mthai&utm_campaign=home-highlight-hots&utm_medium=hot-6
โดย Sine-In
Cr.https://ngthai.com/animals/26325/amazing-giraffes/ By NGThai
Cr.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F_(%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5)
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมด