งานศิลปะจากขยะพลาสติกเพื่อสื่อถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ

Benjamin Von Wong ทำโครงการต่างๆ เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาขยะล้นโลก  โดยรวบรวมเอาขยะพลาสติกที่หลากหลายมาสร้างเป็นผลงานขนาดใหญ่เพื่อเตือนใจผู้คนให้รับรู้และตระหนักว่า ในตอนนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับปัญหาอะไรและมันส่งผลกระทบมากแค่ไหน นี่คือส่วนหนึ่งของโครงการของเขา 

โครงการ “Mermaids Hate Plastic”



โดยเฉลี่ยแล้วชาวอเมริกันใช้ขวดพลาสติกคนละ 167 ขวดต่อปี ตอนนี้ Von Wong อายุ 60 ปี ก็คงใช้ไปแล้วประมาณ 10,000 ขวด
ดังนั้นเขาจึงยืมขวดพลาสติกจำนวน 10,000 จาก Tomra ศูนย์จัดการขยะ   เพื่อใช้ในโครงการ  Mermaids Hate Plastic ของเขา โดยได้รับความร่วมมือจากทีมงานของเขาอีกหลายคน  โคงการที่ทำนี้เป็นการจัดเรียงขวดสีต่างๆ ให้มีความสวยงาม ราวกับเป็นกับเป็นน้ำทะเล พร้อมให้นางเงือกเข้าไปอยู่ท่ามกลางขวดเหล่านั้น จนกลายเป็นภาพที่สวยงามอย่างเหลือเชื่อ
 
แต่จุดประสงค์หลักของ Von Wong คือการใช้ความสวยนี้ดึงดูดความสนใจของผู้คนให้ตระหนักถึงปัญหาขยะล้นโลกมากขึ้น  อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า พลาสติกที่ถูกทิ้งลงมหาสมุทรไม่ใช่แค่เป็นมลพิษทางน้ำเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศด้วย
ดังนั้นหากจำนวนพลาสติกยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเท่ากับโลกของเรากำลังเดินทางสู่จุดที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ศิลปินจึงคาดหวังว่า โครงการนี้ช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหานี้ได้บ้าง
(ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของโครงนี้ได้ที่เว็บไซต์ vonwong.com | Facebook | 500px)
ที่มา boredpanda
Cr.https://www.catdumb.com/mermaids-swim-in-plastic-bottle-777/

โครงการ “Plastikophobia”


เป็นชื่อโปรเจ็กต์งานศิลปะแนวอินสตอลเลชั่นอาร์ตโดย Vong Wong ร่วมมือกับ Joshua Goh ศิลปิน นักออกแบบชาวสิงคโปร์ และ Luara Francios ครีเอทีฟนักสร้างสรรค์ทางสังคม
ประติมากรรมสื่อผสมของเขาประกอบกันด้วยถ้วยน้ำพลาสติกปะติดปะต่อเรียงตัวกันเป็นเกลียวคลื่นและถ้ำขนาดยักษ์ พร้อมนางแบบนายแบบที่มาแสดงท่าทางประกอบทั้งเต้นรำร่วมสมัย และเล่นกีฬาทางน้ำอย่างเซิร์ฟบอร์ด เรืองแสงด้วยหลอดไฟ LED และถ่ายภาพเล่าเรื่องผ่านโลกออนไลน์ รวมทั้งนำภาพเหล่านี้ไปแสดงนิทรรศการต่อ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงพิษภัยของถ้วยพลาสติกมลพิษนี้ และยังสะท้อนถึงความคลั่งไคล้ในการใช้พลาสติกของสังคมมนุษย์ด้วย
 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าถ้วยพลาสติกนี้คือส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน แถมเศษซากของพวกมันก็ยังแทรกซึมไปทุกส่วนของธรรมชาติ และสร้างปัญหาให้กับสภาพแวดล้อม สัตว์และมนุษย์, และสภาวะโลกร้อน
จากถ้วยพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเลยจำนวน 18,000 ใบถูกนำมาล้างให้สะอาด โดยการร่วมแรงร่วมใจจากอาสาสมัครหลายสิบชีวิตนำมารวมกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
ที่มา: brightside
อ้างอิง: www.vonwong.com, www.instagram.com/vonwong, plastikophobia.com
Cr. https://www.creativecitizen.com/plastikophobia/ โดย warunyu udomkanjananon
Cr. https://www.wegointer.com/2019/08/a-guy-from-canada-makes-fascinating-art-installations-out-of-plastic-to-show-the-threat-our-planet-is-facing/ By Little Swan 
 
 

งานศิลปะรูปร่างสัตว์ 
 
 
 
งานศิลปะรูปร่างสัตว์จำนวนมากเหล่านี้ไดรับการออกแบบและสร้างสรรค์โดย Washed Ashore ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา ร่วมมือกับศิลปิน Angela Haseltine Pozzi และผู้ที่สนใจอีกจำนวนมากที่ได้ช่วยเก็บขยะจากชาดหาด และทะเล เพื่อนำมาประกอบเป็นผลงานชุดนี้ขึ้นมา 

พวกเขาอยากสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของขยะจำนวนมากที่ถูกทิ้งลงไปในทะเล ขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลจะกลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลพวกนก สัตว์น้ำ รวมทั้งเต่าทะเล และนกอัลบาทรอสเท้าดำ 
นอกจากจะมีอันตรายต่อสัตว์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ขยะลอยบนผิวน้ำยังสามารถดูดซับสารมลพิษอินทรีย์จากน้ำทะเลได้อีกด้วย นอกจากนี้ ขยะทะเลยังเป็นตัวช่วยแพร่กระจายช่วยให้จุลชีพและสัตว์น้ำไม่พึงประสงค์หลายชนิดที่ระบาดในภูมิภาคหนึ่งแพร่ระบาดไปกระทบระบบนิเวศอีกภูมิภาคหนึ่งที่ห่างไกลได้ด้วย
ที่มา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม
Cr.https://infotrash.deqp.go.th/index.php/pages/view/infowaste_knowledge?&catid=5

 
 
เปลี่ยนหลอดใช้แล้วให้เป็นงานศิลปะ 
 
 
 
หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยจัดงานประกวด “จากขยะ สู่งานศิลปะ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Dutch Sustainability Days ที่จัดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน – พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อให้นักศึกษาและศิลปินรุ่นใหม่ร่วมกันสร้างงานศิลปะที่แฝงข้อความที่กระตุ้นเตือนในเรื่องสิ่งแวดล้อม ภายใต้โจทย์หลักคือการนำขยะมาเป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องความยั่งยืนที่เป็นคอนเซปต์หลักในการจัดกิจกรรม ในที่สุดก็ได้ผู้ชนะการประกวดจากโครงการนี้ พร้อมขยายผลงานจากโมเดลที่ส่งเข้าในรอบแรก เป็นผลงานขนาดจริงซึ่งนำมาจัดแสดงเป็นประติมากรรมถาวรภายในบริเวณสถานทูตอีกด้วย
 
โดยผู้ชนะที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง ได้แก่ ญาโณทัย ตรีรัตน์โชติกุล และ ยมนา มหาบัณฑุ นิสิตปี 3 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ส่งผลงานชื่อ “38,000” งานศิลปะที่สร้างจากหลอดพลาสติกใช้แล้วทั้งหมดประมาณ 38,000 หลอด นำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วใช้ความร้อนทำให้เกิดสีและรูปร่างที่ต่างไป เกิดเป็นงานศิลปะที่เรียกความสนใจได้จากรูปทรงใหม่ที่เกิดขึ้น
ทั้งคู่กล่าวว่าได้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานมาจากจำนวนหลอดพลาสติกโดยเฉลี่ยที่คน 1 คนใช้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ หลอดพลาสติกยังเป็นขยะพลาสติกที่ยากต่อการนำมารีไซเคิล และเป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง 
(ชมภาพผลงานศิลปะอื่นๆ ที่ส่งมาร่วมประกวดงานศิลปะเพื่อสื่อสารถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ที่ www.dutchsustianbilitydays.com)
Cr.https://www.posttoday.com/pr/592096
 
 

Recycle Landscape: ซ่อมความงามแซมศิลปะคืนธรรมชาติด้วยซากขยะ


Mariah Reading ศิลปินชาวอเมริกันใช้ซากขยะเหลือทิ้งที่อยู่ในสวนสาธารณะหรืออุทยานทางธรรมชาติ นำมาสร้างผลงานแทนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่มีคุณค่าและความหมาย  ขวดพลาสติก, กระป๋องน้ำดื่ม, ตีนกบ, ซากล้อแม็ก หรือแม้แต่รองเท้า ฯลฯ ถูกเขียนภาพธรรมชาติลงไปแทนที่ พร้อมกับถ่ายภาพร่วมกับพื้นที่จริง ณ ตรงนั้น 
ในอุทยานที่ท่องเที่ยวทั้งหลายจะพบกับเศษซากวัสดุเหลือใช้ถูกทิ้งเป็นขยะไปหมดทุกที่ เช่นที่ Yosemite National Park มี 4,000 ถังบรรจุขยะจนล้นในทุกปี  และเธอตระเวนไปตามสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศเพื่อทำงานศิลปะ 

 ศิลปะของ Reading เป็นสิ่งที่ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายและเป็นการเปลี่ยนมุมมองด้วยการใช้ซากมลพิษมาซ่อมแซมธรรมชาติเสียเอง ทั้งนี้ก็เพราะศิลปิน ศิลปะ และสิ่งแวดล้อมล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน
อ้างอิง: www.mariahreadingart.com, she-explores.com, www.facebook.com, www.hcn.org
Cr.https://www.creativecitizen.com/recycle-landscape/ โดย  warunyu udomkanjananon

งานศิลปะจากขยะพลาสติก


(เพื่อชี้ให้เห็นว่า ขยะพลาสติกในมหาสมุทรมีอยู่รอบตัวเรา เธอขอให้คนเก็บและส่งขยะพลาสติกที่รู้จักกันดีที่สุดมาให้ นั่นคือฝาขวดนํ้าอัดลมโคคา-โคลา และได้รับฝานี้กว่า 3,000 ฝาที่เก็บได้จากชายหาดทั่วโลก บางฝามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ข้างใน / ภาพคอมโพสิตประกอบขึ้นจากภาพซ้อน 51 ภาพ)

ช่างภาพ แมนดี บาร์เกอร์ เกิดความคิดในการสร้าง งานศิลปะจากขยะพลาสติกจากการสังเกตเห็นภาพขยะที่เกลื่อนชายหาด เธอเริ่มจากการเก็บเศษขยะพลาสติกและนำมาถ่ายภาพบนฉากหลังเรียบ ๆ เพื่อตีแผ่ว่า พลาสติกมีอยู่รอบตัวเราและยังเดินทางได้ไกลเพียงใด เป็นต้นว่าตลับหมึกพิมพ์จากเรือในมหาสมุทรแอตแลนติกถูกคลื่นซัดไปสู่ชายหาดต่าง ๆ ตั้งแต่แอฟริกาเหนือไปจนถึงนอร์เวย์ หรือฝาขวดนํ้าที่ถูกโยนทิ้งจากขวดพลาสติกหลายพันล้านขวดที่ผลิตในแต่ละปี ไปปรากฏตามหาดและ ในกระเพาะอาหารของนกทั่วโลกอย่างไร

เธอวางแผนโครงการต่าง ๆ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและบอกว่า ภาพถ่าย “ทำให้วิทยาศาสตร์มี นํ้าเสียงที่มองเห็นได้” โดยมุ่งสื่อให้คนรับรู้ถึงผลกระทบที่พลาสติกก่อขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ



(พลาสติกทุกชิ้นในภาพนี้พบในกระเพาะอาหารของลูกนกอัลบาทรอสเพียงตัวเดียว เศษพลาสติกที่กองอยู่นอกตัวนก ซึ่งตายเพราะพลาสติก มีตั้งแต่ฝาขวดนํ้าในแถวบนไปจนถึงเศษชิ้นส่วนเล็กๆ ในแถวล่าง)



(ตลับหมึกพิมพ์ถูกคลื่นซัดเกยหาดในยุโรปมาตั้งแต่ต้นปี 2014 หลังเรือสินค้าลำหนึ่งอับปางลงระหว่างเกิดพายุในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อเวลาผ่านไป ตลับหมึกผุพังกลายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สัตว์กินเข้าไปได้ งานศิลปะรูปกระแสวนของบาร์เกอร์กระตุ้นให้คนดูรับรู้ถึงพลังและผลกระทบของการรั่วไหลเพียงครั้งเดียว / ภาพคอมโพสิตประกอบขึ้นจากภาพถ่ายแปดภาพ)



(ในบรรดาขยะพลาสติกกว่าห้าล้านล้านชิ้นที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทร เราอาจพบชิ้นที่หยิกหยอยแบบนี้ บาร์เกอร์เห็นว่าเศษขยะเหล่านี้ดูเหมือนม้านํ้าและสัตว์นํ้าชนิดอื่นๆ และใช้เวลาห้าปีในการเก็บรวบรวมจากชายหาดในพื้นที่ห่างไกลต่างๆ / ภาพคอมโพสิตประกอบขึ้นจากภาพถ่ายห้าภาพ)

เรื่อง นาตาชา เดลี  ภาพถ่าย แมนดี บาร์เกอร์
Cr.https://ngthai.com/environment/11323/artfromplastictrash/

ภาพวาดชื่อดังในอดีตนี่ถูกนำมาสร้างสรรค์ใหม่ด้วยเศษพลาสติก


คนบางคนมองเห็นความสวยงามจากสิ่งของไร้ค่าที่ไม่มีใครสนใจ แต่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือการเปลี่ยนสิ่งของไร้ค่าเหล่านั้นให้กลายเป็นงานศิลปะ เหมือนอย่างที่ศิลปิน Jane Perkins ได้นำเอาเศษพลาสติกที่เขาได้เก็บสะสมมารังสรรค์ใหม่ให้เป็นงานศิลปะซึ่งเป็นรูปจำลองของภาพวาดของศิลปินชื่อดังในอดีต

ข้อมูล Profile ศิลปินของ Jane Perkins ได้ระบุว่าเขาเป็นนักสร้างสรรค์ผลงานแบบ re-Maker ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเศษวัสดุที่พบได้ทั่วๆ ไปแล้วนำเศษวัสดุเหล่านั้นมาสร้างให้เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งในครั้งนี้เขาได้เก็บรวบรวมเศษพลาสติกจากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าการกุศล ตลาดนัดเปิดท้าย ศูนย์รีไซเคิล ฯลฯ 
แล้วเปลี่ยนเศษพลาสติกเหล้านั้นให้กลายเป็นงานศิลปะชิ้นที่น่าทึ่งอย่างแท้จริง โดย Jane Perkins กล่าวว่า “งานในครั้งนี้มุ่งเน้นไปยังการสร้างรอยยิ้มให้กับผู้คนที่ได้ดูงานศิลปะ” แต่หากมองในด้านของสิ่งแวดล้อมแล้วละก็ งานศิลปะชุดนี้ย่อมสร้างรอยยิ้มเพิ่มขึ้นไปอีก เนื่องจากการนำขยะพลาสติกที่ไร้ค่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นเอง
ที่มา: onegreenplanet.org / http://goo.gl/igTJIh
Cr.http://plastic.oie.go.th/ReadArticle.aspx?id=15616

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทั้งหมดและอนุญาตนำมาลง

http://goo.gl/igTJIh
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่