สังคมไทยเริ่มโทษเกมส์ตั้งแต่เมื่อไหร่?
จากเหตุการณ์ปล้นชิงทอง ฆ่า 3 ศพ ที่จักหวัดลพบุรี มีสื่อต่างๆ หลายสำนักพาดหัวข่าวแทบจะไปในทิศทางเดียวกัน เหตุจูงใจอย่างหนึ่ง คือ "เลียนแบบพฤติกรรมเกมส์" (ก่อนจะมาแก้ข่าวในภายหลัง) แต่กระนั้นก็ไม่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของเกมส์ในสายตาผู้ปกครองที่ย่ำแย่อยู่แล้วดีขึ้นแต่อย่างใด
วันนี้อาจารย์โอมจะพาไปย้อนคดีแรก ที่สังคมยกให้เกมส์เป็นจำเลย ของคดีอาชญากรรมต่างๆ มาให้ฟังกันครับ
เด็ก ม.6 ปล้นแท็กซี่เลียนแบบเกม GTA (Grand Theft Auto) !!
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2551 ตำรวจได้จับกุม นายพลวัฒน์ ฉินโน อายุ 18 ปี ผู้ต้องหาคดีฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ นายควร โพธิ์แข็ง โดยหลังจากถูกจับกุม นายพลวัฒน์ ให้การรับสารภาพว่า “ผมยืนยันว่า ไม่ได้ติดยาเสพติด หรือติดการพนัน แต่สาเหตุที่ตัดสินใจทำ เพราะเห็นในเกมแล้วอยากลองทำดูบ้าง คิดว่ามันง่าย ทุกวันนี้ที่บ้านให้มาใช้วันละ 100 กว่าบาท แต่ก็ไม่พอ แต่ไม่ได้บอกให้ทางบ้านรู้ ประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาพครอบครัวที่พ่อชอบดื่มสุราจนเมามาย และมาตบตีทำร้ายแม่”
และนี่คือต้นตำนานของการมอบตำแหน่งผู้ร้ายของสังคมไทยให้ "เกมส์" อย่างเป็นทางการครั้งแรกนั่นเอง
ฝากไว้ให้คิดสำหรับสื่อและผู้ปกครอง หากวิเคราะห์จากคำให้การของ นายพลวัฒน์ แล้วเราพอจะมองออกได้อีกข้อ นั่นคือ ปัญหาครอบครัว "พ่อชอบดื่มสุราจนเมามาย และมาตบตีทำร้ายแม่" เรากำลังมองข้ามสิ่งเล็กๆ และเป็นจุดเริ่มต้นตอของปัญหา อย่าง"ปัญหาครอบครัว" แล้วมาโฟกัสกับคำว่าเลียนแบบพฤติกรรมเกมส์
"บางทีแล้วเราอาจจะเลือกให้เกมส์เป็นจำเลยของสังคม แล้วซ่อนความโสมมของปัญหาครอบครัวไว้ และทำการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดสักที"
Fanpage :
https://www.facebook.com/aomsenseistudio
สังคมไทยเริ่มโทษเกมส์ตั้งแต่เมื่อไหร่?
จากเหตุการณ์ปล้นชิงทอง ฆ่า 3 ศพ ที่จักหวัดลพบุรี มีสื่อต่างๆ หลายสำนักพาดหัวข่าวแทบจะไปในทิศทางเดียวกัน เหตุจูงใจอย่างหนึ่ง คือ "เลียนแบบพฤติกรรมเกมส์" (ก่อนจะมาแก้ข่าวในภายหลัง) แต่กระนั้นก็ไม่ช่วยให้ภาพลักษณ์ของเกมส์ในสายตาผู้ปกครองที่ย่ำแย่อยู่แล้วดีขึ้นแต่อย่างใด
วันนี้อาจารย์โอมจะพาไปย้อนคดีแรก ที่สังคมยกให้เกมส์เป็นจำเลย ของคดีอาชญากรรมต่างๆ มาให้ฟังกันครับ
เด็ก ม.6 ปล้นแท็กซี่เลียนแบบเกม GTA (Grand Theft Auto) !!
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2551 ตำรวจได้จับกุม นายพลวัฒน์ ฉินโน อายุ 18 ปี ผู้ต้องหาคดีฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ นายควร โพธิ์แข็ง โดยหลังจากถูกจับกุม นายพลวัฒน์ ให้การรับสารภาพว่า “ผมยืนยันว่า ไม่ได้ติดยาเสพติด หรือติดการพนัน แต่สาเหตุที่ตัดสินใจทำ เพราะเห็นในเกมแล้วอยากลองทำดูบ้าง คิดว่ามันง่าย ทุกวันนี้ที่บ้านให้มาใช้วันละ 100 กว่าบาท แต่ก็ไม่พอ แต่ไม่ได้บอกให้ทางบ้านรู้ ประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่ายกับสภาพครอบครัวที่พ่อชอบดื่มสุราจนเมามาย และมาตบตีทำร้ายแม่”
และนี่คือต้นตำนานของการมอบตำแหน่งผู้ร้ายของสังคมไทยให้ "เกมส์" อย่างเป็นทางการครั้งแรกนั่นเอง
ฝากไว้ให้คิดสำหรับสื่อและผู้ปกครอง หากวิเคราะห์จากคำให้การของ นายพลวัฒน์ แล้วเราพอจะมองออกได้อีกข้อ นั่นคือ ปัญหาครอบครัว "พ่อชอบดื่มสุราจนเมามาย และมาตบตีทำร้ายแม่" เรากำลังมองข้ามสิ่งเล็กๆ และเป็นจุดเริ่มต้นตอของปัญหา อย่าง"ปัญหาครอบครัว" แล้วมาโฟกัสกับคำว่าเลียนแบบพฤติกรรมเกมส์
"บางทีแล้วเราอาจจะเลือกให้เกมส์เป็นจำเลยของสังคม แล้วซ่อนความโสมมของปัญหาครอบครัวไว้ และทำการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดสักที"
Fanpage : https://www.facebook.com/aomsenseistudio