American Factory (2019) : โรงงานจีน ฝันอเมริกัน
"Cultures Collide, Hope Survives"
สวัสดีครับ วันนี้ผมอยากจะมาแนะนำหนังดีจาก Netflix เรื่อง American Factory (2019) เรียกได้ว่า นอกจากจะมีชื่อเข้าชิงออสการ์ภาพยนต์สารคดีในปีนี้แล้ว ยังค่อนข้างมีโอกาสสูงที่จะคว้าไปได้ด้วย... เพราะประเด็นในหนังมีอิมแพ็คกับสังคมอเมริกันอย่างหนักหน่วง
เรื่องย่อ
American Factory | Trailer
- American Factory (2019) กำกับโดย Steven Bognar & Julia Reichert ว่าด้วยเรื่องราวหลังจากที่โรงงานประกอบรถยนต์ General Motors (GM) ปิดตัวลง จากการเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ชาวเมือง Dayton (รัฐ Ohio) ตกงานกันทั้งเมือง จนเปิดช่องทางให้นายทุนจากจีนเข้ามา Take over และทำโรงงานใหม่แทน โดยเปลี่ยนรูปแบบเป็นโรงงานผลิตกระจกสำหรับรถยนต์แทน ภายใต้แบรนด์ 'Fuyao'
- ปัญหาต่างๆ ของชาวเมืองดูเหมือนจะคลี่คลาย ชาวเมืองมีงานทำ มีเงินจับจ่ายใช้สอย ทว่ากลับเกิดปัญหาใหม่เพิ่มขึ้นมาคือวัฒนธรรมและวิธีการทำงานที่แตกต่างกันเกินไประหว่างชาวอเมริกันกับชาวจีนที่มีหน้าที่มา Training งาน เมื่อทั้งสองชนชาติต่างประสานเข้ากันไม่ได้ สถานการณ์อันตึงเครียดหลายๆ อย่างก็เลยตามมา...
เมื่อ 'American Dream' กำลังถูกสั่นคลอนด้วย 'Chinese Dream'
- เชื่อว่าตอนนี้ในหลายสังคมโดยเฉพาะชาวตะวันตกกำลังเผชิญกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมจากประเทศจีน ทั้งวิธีคิด ปรัชญาการทำงาน รวมถึงค่านิยมจีน หลังจากที่จีนเข้าไปลงทุนหรือมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ทั่วโลก
- ความรู้สึกหลังดูจบ ก็ค่อนข้างรู้สึกตลกร้าย เพราะตอนนี้ดูเหมือนว่า จีนกลายเป็นตัวแทนของฟากทุนนิยมเต็มตัวไปเสียแล้ว (แต่ใช้วิธีคิดแบบคอมมิวนิสต์) ในขณะเดียวกันชาวอเมริกันที่ทำงานในโรงงานที่มีเจ้าของเป็นคนจีน กลับต้องเรียกร้องสิทธิสวัสดิการ, ค่าจ้างที่มากกว่าเดิม, ความปลอดภัยในการทำงาน, สหภาพแรงงาน จากนายทุนจีน ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี เรื่องราวต่างๆ ในโลกจะกลับตาลปัตรกันได้ขนาดนี้ ชาวเมืองต่างโหยหาเรื่องราวความรุ่งเรืองในอดีต ซึ่งด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้
'American Dream' กำลังถูกสั่นคลอนด้วย
‘Chinese Dream’
Cao Dewang - Fuyao Chairman
-
American Dream ก็คือ หลักคิดหรือเป้าหมายสูงสุดที่ชาวอเมริกันหวังให้สังคมได้ไปถึงความฝันนั้น มหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนา ตีความ American Dream ในเชิงวัฒนธรรมผู้บริโภคเมื่อปี 2542 โดยแบ่งออกเป็น 4 อย่าง ส่วนใหญ่เน้นไปทางเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจและเสรีภาพในชีวิต ตามคติของประชาธิปไตยและเสรีนิยม
- ส่วน
Chinese Dream เป็นคำที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เคยกล่าวถึงไว้ในปี 2555 ถึงจุดหมายสูงสุดที่ประเทศจีนจะไปให้ถึง โดยเน้นไปที่ความมั่งคั่งของประเทศ ความกินดีอยู่ดีของคนในชาติ สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น รวมไปถึงกองทัพที่เข้มแข็ง สรุปรวมๆ จะโฟกัสจะเน้นไปทางความมั่งคั่งและความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก ผ่านคติแนวคิดแบบสังคมนิยม
ขณะที่เจ้าหน้าที่จีนชี้ว่า “ความฝันจีน” (Chinese Dream) ต่างจาก “ความฝันอเมริกัน” (American Dream) โดยความฝันอเมริกันนั้นมาจากจิตวิญญาณและพื้นฐานแนวคิดลัทธิปัจเจกชน (individualism) เป็นความฝันส่วนตัวของบุคคล ส่วนหัวใจของความฝันจีน คือการได้บรรลุคุณค่ารวมหมู่ (collectivism)ในความหมายของจีนคือการบรรลุฝันของประชาชาติทั้งหมดทั้งมวล
(รายละเอียดเต็มๆ อ่านจากในนี้ได้นะครับ
“ความฝันจีน” สู่การฟื้นฟูครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ, MGR Online )
- หนังได้เปรียบเทียบวิธีการทำงาน / วิธีคิดของคนงานของทั้งสองประเทศด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทำไมประเทศจีนถึงผงาดมาถึงจุดๆ นี้ได้ ด้วยวิธีคิดและการทำงานแบบจีนที่เคี่ยวเข็ญ ขยันอดทน เน้นประสิทธิภาพสูง ควบคู่คุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานธุรกิจที่วางไว้ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีน... เชื่อว่าถ้าดูจากแนวโน้มตอนนี้ ในอนาคตอีกไม่ช้า จีนคงจะขึ้นแท่นอันดับหนึ่งของโลกแทนสหรัฐ หากว่าไม่มีเหตุการณ์อะไรมาพลิกผัน, แล้วก็ไม่ได้มองในแง่ความสุข / สิทธิและสวัสดิภาพ / ความปลอดภัย / ความยืดหยุ่นในการทำงาน เพราะถ้ามองในแง่นี้ สหรัฐฯ ก็ยังคงชนะอยู่
- ในฉากสุดท้ายของเรื่อง เหล่าคนงานก็ต้องเผชิญกับความจริงอันเจ็บปวด เพราะเมื่อโรงงานไม่สามารถทำกำไรตามเป้าได้ และคนงานอเมริกันไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตมากพอ แถมค่าแรงชาวอเมริกันยังแพงกว่าประเทศอื่น ทางโรงงานก็นำหุ่นยนต์มาติดตั้งแทน พร้อมกับปลดคนงานออก ในอนาคตก็ยังคงมีแผนติดตั้งหุ่นยนต์ทดแทนคนงานมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- ดังนั้นก็อยากแนะนำให้ดูกัน American Factory (2019) ถือเป็นหนังเปิดโลกทัศน์ โดยเฉพาะภาพของสังคมอเมริกันหลังจากที่เศรษฐกิจอเมริกาไม่ได้ดีเหมือนแต่ก่อน การผงาดขึ้นของประเทศจีน จนไปถึงการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก พร้อมด้วย Life style ที่ต่างกันสุดขั้ว แถมจริงๆ ยังดูเหมือนหนังกำลังสะท้อนถึงการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ในอีกแง่มุมด้วย
- ทั้งหมดทั้งมวลก็เป็นไปตามคำโปรยที่ติดอยู่บน Poster หนัง
“Cultures Collide, Hope Survives”
“That's why they call it the American Dream, because you have to be asleep to believe it.”
"นี่คือสาเหตุว่าทำไมถึงเรียกมันว่า American Dream เพราะว่าคุณต้องหลับเพื่อเชื่อมัน"
― George Carlin
-
สุดท้ายนี้ก็ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ ไว้มีหนังเรื่องใหม่น่าสนใจเดี๋ยวจะมาแนะนำอีก ขอบคุณครับ
-------------------------------------------
[Netflix] American Factory (2019) - เมื่อ ‘American Dream’ กำลังถูกสั่นคลอนด้วย ‘Chinese Dream’
เมื่อ 'American Dream' กำลังถูกสั่นคลอนด้วย 'Chinese Dream'
- ความรู้สึกหลังดูจบ ก็ค่อนข้างรู้สึกตลกร้าย เพราะตอนนี้ดูเหมือนว่า จีนกลายเป็นตัวแทนของฟากทุนนิยมเต็มตัวไปเสียแล้ว (แต่ใช้วิธีคิดแบบคอมมิวนิสต์) ในขณะเดียวกันชาวอเมริกันที่ทำงานในโรงงานที่มีเจ้าของเป็นคนจีน กลับต้องเรียกร้องสิทธิสวัสดิการ, ค่าจ้างที่มากกว่าเดิม, ความปลอดภัยในการทำงาน, สหภาพแรงงาน จากนายทุนจีน ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี เรื่องราวต่างๆ ในโลกจะกลับตาลปัตรกันได้ขนาดนี้ ชาวเมืองต่างโหยหาเรื่องราวความรุ่งเรืองในอดีต ซึ่งด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ 'American Dream' กำลังถูกสั่นคลอนด้วย ‘Chinese Dream’
ขณะที่เจ้าหน้าที่จีนชี้ว่า “ความฝันจีน” (Chinese Dream) ต่างจาก “ความฝันอเมริกัน” (American Dream) โดยความฝันอเมริกันนั้นมาจากจิตวิญญาณและพื้นฐานแนวคิดลัทธิปัจเจกชน (individualism) เป็นความฝันส่วนตัวของบุคคล ส่วนหัวใจของความฝันจีน คือการได้บรรลุคุณค่ารวมหมู่ (collectivism)ในความหมายของจีนคือการบรรลุฝันของประชาชาติทั้งหมดทั้งมวล
(รายละเอียดเต็มๆ อ่านจากในนี้ได้นะครับ “ความฝันจีน” สู่การฟื้นฟูครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ, MGR Online )