สวัสดีค่ะ 🤗
วันนี้จะมารีวิวการสมัคร สอบสัมภาษณ์และให้คำแนะนำ
สำหรับ TCAS รอบ1 สถาปัตย์ภายใน จุฬา
โดยจะแบ่งเป็น 3 ตอน
1. การเตรียมตัว
- เกรด
- CU-TEP
- portfolio
2. การสอบสัมภาษณ์
3. คำแนะนำในการตามหาตัวเองของน้อง ๆ มัธยม
แม้ว่าจะยังไม่ประกาศผล
แต่เราหวังว่าประสบการณ์นี้จะเป็นประโยชน์แก่น้องรุ่นต่อ ๆ ไป
เพราะก่อนเราไปสอบก็ไม่มีรีวิวไหนเล่าให้ฟังเหมือนกัน 555
ขออุทิศให้กับครอบครัวและการเติบโตค่ะ
🐾 🌻 ⭐️
———————————-
1. การเตรียมตัว
ตอนที่ระเบียบการรอบ1 ของสถาปัตย์ จุฬาออก เราค่อนข้างอึ้งนิดหน่อย
เพราะปีก่อน(2562) สถาปัตย์ไม่เปิดรอบ1 แต่ไปเน้นหนัก ๆ เลยที่รอบ3,4ค่ะ
สงสัยโชคจะเข้าข้างเรานะ 555
จากระเบียบการ คือ
- สถาปัตย์หลัก 10 คน
- สถาปัตย์ภายใน 5 คน
☀️ เกรด
ต้องมีเกรดวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หรือฟิสิกส์ ไม่น้อยกว่า 3.50
ข้อแนะนำ
ตั้งใจเรียนไปเถอะหนูจ๋า เกรดในสมุดพกของเราก็เหมือนกับใบเบิกทางเข้ามหาลัย ดี ๆ นี่แหละ
ตอนนี้อาจยังไม่เห็นค่า แต่หากกลายเป็น 1ในคุณสมบัติที่มหาลัยต้องการ
ก็จะเป็นข้อที่มีน้ำหนักเยอะมากเลยนะ
เราบอกตามตรงว่าที่เราได้รับสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะเกรด
มันเป็นเหมือนเครื่องสะท้อนความรับผิดชอบและความเพียรพยายามของเราอะ
มหาลัยบางแห่งเขาให้ความสำคัญกับข้อนี้
☁️ CU-TEP
คะแนนสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) ไม่ต่ำกว่า 80/120
กว่าจะผลสอบที่ผ่านเกณฑ์ เราไปสอบ 3 ครั้งค่ะ ใช่! 3ครั้ง
ค่าสมัครสอบก็ไม่ได้ถูก ๆ นะ
ระบบpaper(รอผล9วัน) 900บาท
ระบบe-testingในคอมพิวเตอร์(ได้ผลทันทีที่สอบเสร็จ ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายที่ทำให้คะแนนเราผ่านเกณฑ์) 2,500 บาท
ข้อแนะนำ
1. ควรมีความพร้อมในการไปสอบ เพราะถึงแม้ค่าสอบจะถูกกว่าสอบ IELTS TOEFLก็จริง แต่ก็เป็นเงินของคุณพ่อคุณแม่อะเนาะ
2. คนที่คิดว่าหูไม่ดี แนะนำให้สอบระบบe-testingเพราะจะได้ใช้หูฟัง
ส่วนระบบกระดาษเป็นการฟังจากลำโพงในห้องสโลปซึ่งเราว่าได้ยินไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร
3. ข้อสอบมี 3 พาร์ท คือ listening, reading และ writing(error detection) โดยมีสัดส่วน 30:30:60
ไม่แม่นช่วงไหนให้ฝึกทำเยอะ ๆ เลย ยิ่งคุ้นข้อสอบมากแค่ไหน ยิ่งจับหลักได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
4. เทคนิคสำคัญที่เราใช้กับพาร์ท reading คือ การskimming เป็นการอ่านแค่ 1-2 ประโยคของแต่ละย่อหน้า เพื่อจับทิศทางว่ามันพูดถึงเรื่องอะไร จะเก็บประเด็นได้เร็วขึ้น เอาไว้ใช้กับ long passage นะคะ
💥portfolio
พอร์ต10หน้า กำหนดหัวข้อ ประวัติในการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการอบรมทางศิลปะ /รางวัลในการแข่งขันศิลปะ /ผลงานทางศิลปะ
ส่วนพอร์ตตอนสัมภาษณ์ ให้ใส่เกียรติบัตรและผลงานจริง และหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงศักยภาพของเรา
ข้อแนะนำ
1. ฝึกทำผลงานแต่เนิ่น ๆ เลย เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเขียนแบบ
2. ในพอร์ตตอนสัมภาษณ์ใส่ผลงานเล่น ๆ ที่เป็นความสนใจของเราไปด้วยก็ดี เพราะจะได้เอาไว้คุยกับอาจารย์
อย่างเราใส่งานสีโปสเตอร์กาก ๆ งานนึงที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่อง You Who Came From The Star (ขอเสียงติ่งโทมินจุนหน่อย ฮิ้วววว)
3. พยายามทำผลงานด้วยตัวเอง เพราะตอนเข้าไปเรียนจริง ๆ ไม่มีใครมาจับดินสอทำให้เรานะ
4. ลองฝึกงานกราฟฟิกไปหน่อยก็ดี ของเรามีแต่งานทำมือ อาจารย์เลยแนะนำให้ไปฝึกงานคอมมาด้วย เพราะตอนปีสูง ๆ จะทำบนซอฟแวร์มากกว่า
แต่งานมือก็ถือเป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนสถาปัตย์
———————————-
2. การสอบสัมภาษณ์
ในบรรดาที่นั่งทั้ง 5 ของสถาปัตย์ภายใน มีชื่อเราประกาศอยู่คนเดียวค่ะ อย่างงง
ความเก๋คือ ได้ขึ้นตึกแบบยืนหนึ่ง และได้นั่งสัมภาษณ์คุยกับอาจารย์อยู่เกือบ 50 นาทีในห้องเล็ก ๆ ของภาควิชา
ไม่รู้ว่าที่อื่นเขาเป็นเหมือนกันรึเปล่า 555
ถึงจะเหงา แต่ก็ดีนะ ไม่กดดัน เหมือนมานั่งแลกเปลี่ยนความคิดกัน โม้ได้เต็มที่เลย ฮ่าๆๆๆ
อาจารย์จะเปิดพอร์ตทุกหน้าอย่างละเอียด แล้วถามคำถามที่มีแต่เจ้าของผลงานจะตอบได้ เช่น
1. รูปนี้วาดอย่างไร อธิบายวิธีลงสีให้ฟังหน่อย
2. รูปนี้วาดจากของจริง ภาพถ่าย หรือภาพผลงานคนอื่น
3. ระหว่างรูปนี้กับรูปนี้ ชอบรูปไหน ทำไมคิดแบบนั้น
4. ผลงานชิ้นไหนที่มาจากความคิดเรามากที่สุด ทำไมถึงทำสไตล์นี้
รวมถึงคำถามเกี่ยวกับตัวเรา
5. แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดของเราให้หน่อย
6. โรงเรียนของเราแตกต่างจากโรงเรียนในเครือเดียวกันอย่างไร
(เราตอบสั้นๆว่า ”โรงเรียนไม่มีรั้วค่ะ” ทำให้คุยกันยาวต่อไปหลายนาทีเลยทีเดียว)
7. ครูที่โรงเรียนแจกเกรดรึเปล่า
8. สถาปัตย์ภายในแตกต่างจากสถาปัตย์หลักอย่างไร ทำไมไม่เรียนหลักล่ะ
9. หลักสูตรของจุฬา แตกต่างจากลาดกระบัง ศิลปากร อย่างไร อธิบายสิ
10. ไม่ชอบเรียนวิชาอะไร
11. มาเรียนต่างจังหวัดแบบนี้ จะใช้ชีวิตอย่างไร
ข้อแนะนำ
คุณครูแนะแนวบอกเอาไว้ว่า วันสัมภาษณ์ = เดทแรกของเรากับคณะ
เหมือนเขาอยากมาสัมผัสตัวตนจริง ๆ ของเรา หลังจากที่ส่งพอร์ต 10 หน้าไป
เราเชื่อว่าคำตอบที่เป็นตัวของตัวเอง นอบน้อม และมีความเคารพอาจารย์ผู้สัมภาษณ์
จะทำให้เกิดความประทับใจแรกที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ
---------------------------------------------------
3. คำแนะนำถึงน้องที่ตามหาตัวเอง จากใจพี่แก่ ๆ คนหนึ่ง
พี่เชื่อในพลังแห่งความขยัน
เชื่อไหมว่าตลอดชีวิตการเป็นนักเรียน พี่ไม่เคยเรียนพิเศษเลย
(ถ้าไม่นับ เรียนกีต้าร์คลาสสิก ตอนม.2 กับ ติววาดรูปสถาปัตย์ ตอนม.6นะ)
พี่ตั้งใจเรียนในห้อง ทำการบ้าน ถึงช่วงสอบก็ทำช้อตโน้ตวิชาที่ชอบ
ไม่ได้ถูกบังคับ แต่ทำด้วยความตั้งใจของพี่เองทั้งหมดค่ะ
ความรู้ไม่ต้องรอให้ใครมาป้อนให้ เราไขว่คว้าได้เองทั้งจากสมุดหนังสือ และอินเทอร์เน็ต
นี่จึงทำให้พี่มีเวลานอกห้องเรียนมากกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน
แล้วพี่เอาเวลาที่ควรอยู่ในกวดวิชาไปทำอะไร?
เคยได้ยินคำว่า "เวลาเรียน เราเรียน เวลาเล่น เราเล่น" ไหม พี่ทำอะไรบ้างน่ะเหรอ
ฟอร์มวงดนตรี เที่ยวสงกรานต์ ดูซีรี่ส์ซับอังกฤษจบซีซั่น ร้องเพลงเป็นมู่หลานในsmule ไปคอนเสิร์ต ยืมหนังสือไร้สาระจากห้องสมุด
เป็นนางรำ ถ่ายหนังสั้น กินหมูจุ่มกับเพื่อน พาแม่ไปงานวันแม่ของโรงเรียน ตัดกระโปรง อัดวิดีโอvlog ลองไม่ใช้นาฬิกาปลุก
ออกกำลังกาย ฝึกพูดภาษาถิ่น แอบชอบเพื่อนห้องเดียวกัน ทำคัพเค้ก เขียนtime capsuleหาตัวเอง
เปิดคอนเสิร์ตส่วนตัวในห้องน้ำ ลองเป็นโอตาคุ ลองเป็นสาวกโอปป้า ลองมีแฟน
ลองร้องไห้กลางสายฝน ปลูกต้นไม้ ฝึกวาดภาพเหมือนไปดูแสงแรกของปี สวดมนต์แผ่เมตตา
ขับมอเตอร์ไซค์ล้ม สนุกyoutube บันเทิงกับเจ้าตูบ
และส่งจูบให้ตัวเองในกระจก เจ้ยยยยย ไม่เกี่ยว
ทำมันให้ครบ เอาให้สุดเหวี่ยงเลยยยย! เห็นไหม ชีวิตสนุกจะตาย
หลายคนอาจสงสัยละ ว่าถ้าเวลาเหลือจริง ทำไมถึงเพิ่งรู้ตัวว่าอยากเรียนสถาปัตย์ตอนม.6 ซึ่งช้ามาก ถ้าเทียบกับเด็กสายอาร์ตด้วยกัน
อืม ทำไมนะ..
พี่เฝ้าหาคำตอบมาตลอดว่าตัวเองเหมาะที่จะทำอะไร
และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ อย่ามัวแต่มโนค่ะ
"เป็นหมอดีไหม" น้องไปสมัครค่ายหมอหรือไปฝึกงานในโรงพยาบาลเลย
ไปสัมผัสมันให้ถึงแก่น เอาตัวไปเกลือกกลิ้งกับมัน ชอบไหม นี่คือตัวฉันรึเปล่า
ถ้าไม่ใช่ เราก็แค่ถอยออกมาแล้วหาโอกาสอื่น ๆ ค่ะ ไม่มีคำว่าเสียเวลาในการค้นหาว่าเราคือใครหรอก
เป็นกำลังให้ทุกคนที่กำลังต่อสู้ ใช้ช่วงเวลาปัจจุบันให้เต็มที่ล่ะ
แล้วผลการคัดเลือกเป็นอย่างไร จะมาอัปเดตน้า
เจอกันกระทู้หน้านะคะ
[Dek'63] รีวิวสอบสัมภาษณ์ TCAS 1 สถาปัตย์ภายใน จุฬา + จากใจเด็กที่ค้นพบตัวเองตอนม.6เทอม2ถึงน้องๆทุกคน
วันนี้จะมารีวิวการสมัคร สอบสัมภาษณ์และให้คำแนะนำ
สำหรับ TCAS รอบ1 สถาปัตย์ภายใน จุฬา
โดยจะแบ่งเป็น 3 ตอน
1. การเตรียมตัว
- เกรด
- CU-TEP
- portfolio
2. การสอบสัมภาษณ์
3. คำแนะนำในการตามหาตัวเองของน้อง ๆ มัธยม
แม้ว่าจะยังไม่ประกาศผล
แต่เราหวังว่าประสบการณ์นี้จะเป็นประโยชน์แก่น้องรุ่นต่อ ๆ ไป
เพราะก่อนเราไปสอบก็ไม่มีรีวิวไหนเล่าให้ฟังเหมือนกัน 555
ขออุทิศให้กับครอบครัวและการเติบโตค่ะ
🐾 🌻 ⭐️
———————————-
1. การเตรียมตัว
ตอนที่ระเบียบการรอบ1 ของสถาปัตย์ จุฬาออก เราค่อนข้างอึ้งนิดหน่อย
เพราะปีก่อน(2562) สถาปัตย์ไม่เปิดรอบ1 แต่ไปเน้นหนัก ๆ เลยที่รอบ3,4ค่ะ
สงสัยโชคจะเข้าข้างเรานะ 555
จากระเบียบการ คือ
- สถาปัตย์หลัก 10 คน
- สถาปัตย์ภายใน 5 คน
☀️ เกรด
ต้องมีเกรดวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หรือฟิสิกส์ ไม่น้อยกว่า 3.50
ข้อแนะนำ
ตั้งใจเรียนไปเถอะหนูจ๋า เกรดในสมุดพกของเราก็เหมือนกับใบเบิกทางเข้ามหาลัย ดี ๆ นี่แหละ
ตอนนี้อาจยังไม่เห็นค่า แต่หากกลายเป็น 1ในคุณสมบัติที่มหาลัยต้องการ
ก็จะเป็นข้อที่มีน้ำหนักเยอะมากเลยนะ
เราบอกตามตรงว่าที่เราได้รับสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะเกรด
มันเป็นเหมือนเครื่องสะท้อนความรับผิดชอบและความเพียรพยายามของเราอะ
มหาลัยบางแห่งเขาให้ความสำคัญกับข้อนี้
☁️ CU-TEP
คะแนนสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency) ไม่ต่ำกว่า 80/120
กว่าจะผลสอบที่ผ่านเกณฑ์ เราไปสอบ 3 ครั้งค่ะ ใช่! 3ครั้ง
ค่าสมัครสอบก็ไม่ได้ถูก ๆ นะ
ระบบpaper(รอผล9วัน) 900บาท
ระบบe-testingในคอมพิวเตอร์(ได้ผลทันทีที่สอบเสร็จ ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายที่ทำให้คะแนนเราผ่านเกณฑ์) 2,500 บาท
ข้อแนะนำ
1. ควรมีความพร้อมในการไปสอบ เพราะถึงแม้ค่าสอบจะถูกกว่าสอบ IELTS TOEFLก็จริง แต่ก็เป็นเงินของคุณพ่อคุณแม่อะเนาะ
2. คนที่คิดว่าหูไม่ดี แนะนำให้สอบระบบe-testingเพราะจะได้ใช้หูฟัง
ส่วนระบบกระดาษเป็นการฟังจากลำโพงในห้องสโลปซึ่งเราว่าได้ยินไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร
3. ข้อสอบมี 3 พาร์ท คือ listening, reading และ writing(error detection) โดยมีสัดส่วน 30:30:60
ไม่แม่นช่วงไหนให้ฝึกทำเยอะ ๆ เลย ยิ่งคุ้นข้อสอบมากแค่ไหน ยิ่งจับหลักได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
4. เทคนิคสำคัญที่เราใช้กับพาร์ท reading คือ การskimming เป็นการอ่านแค่ 1-2 ประโยคของแต่ละย่อหน้า เพื่อจับทิศทางว่ามันพูดถึงเรื่องอะไร จะเก็บประเด็นได้เร็วขึ้น เอาไว้ใช้กับ long passage นะคะ
💥portfolio
พอร์ต10หน้า กำหนดหัวข้อ ประวัติในการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการอบรมทางศิลปะ /รางวัลในการแข่งขันศิลปะ /ผลงานทางศิลปะ
ส่วนพอร์ตตอนสัมภาษณ์ ให้ใส่เกียรติบัตรและผลงานจริง และหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงศักยภาพของเรา
ข้อแนะนำ
1. ฝึกทำผลงานแต่เนิ่น ๆ เลย เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเขียนแบบ
2. ในพอร์ตตอนสัมภาษณ์ใส่ผลงานเล่น ๆ ที่เป็นความสนใจของเราไปด้วยก็ดี เพราะจะได้เอาไว้คุยกับอาจารย์
อย่างเราใส่งานสีโปสเตอร์กาก ๆ งานนึงที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่อง You Who Came From The Star (ขอเสียงติ่งโทมินจุนหน่อย ฮิ้วววว)
3. พยายามทำผลงานด้วยตัวเอง เพราะตอนเข้าไปเรียนจริง ๆ ไม่มีใครมาจับดินสอทำให้เรานะ
4. ลองฝึกงานกราฟฟิกไปหน่อยก็ดี ของเรามีแต่งานทำมือ อาจารย์เลยแนะนำให้ไปฝึกงานคอมมาด้วย เพราะตอนปีสูง ๆ จะทำบนซอฟแวร์มากกว่า
แต่งานมือก็ถือเป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนสถาปัตย์
———————————-
2. การสอบสัมภาษณ์
ในบรรดาที่นั่งทั้ง 5 ของสถาปัตย์ภายใน มีชื่อเราประกาศอยู่คนเดียวค่ะ อย่างงง
ความเก๋คือ ได้ขึ้นตึกแบบยืนหนึ่ง และได้นั่งสัมภาษณ์คุยกับอาจารย์อยู่เกือบ 50 นาทีในห้องเล็ก ๆ ของภาควิชา
ไม่รู้ว่าที่อื่นเขาเป็นเหมือนกันรึเปล่า 555
ถึงจะเหงา แต่ก็ดีนะ ไม่กดดัน เหมือนมานั่งแลกเปลี่ยนความคิดกัน โม้ได้เต็มที่เลย ฮ่าๆๆๆ
อาจารย์จะเปิดพอร์ตทุกหน้าอย่างละเอียด แล้วถามคำถามที่มีแต่เจ้าของผลงานจะตอบได้ เช่น
1. รูปนี้วาดอย่างไร อธิบายวิธีลงสีให้ฟังหน่อย
2. รูปนี้วาดจากของจริง ภาพถ่าย หรือภาพผลงานคนอื่น
3. ระหว่างรูปนี้กับรูปนี้ ชอบรูปไหน ทำไมคิดแบบนั้น
4. ผลงานชิ้นไหนที่มาจากความคิดเรามากที่สุด ทำไมถึงทำสไตล์นี้
รวมถึงคำถามเกี่ยวกับตัวเรา
5. แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดของเราให้หน่อย
6. โรงเรียนของเราแตกต่างจากโรงเรียนในเครือเดียวกันอย่างไร
(เราตอบสั้นๆว่า ”โรงเรียนไม่มีรั้วค่ะ” ทำให้คุยกันยาวต่อไปหลายนาทีเลยทีเดียว)
7. ครูที่โรงเรียนแจกเกรดรึเปล่า
8. สถาปัตย์ภายในแตกต่างจากสถาปัตย์หลักอย่างไร ทำไมไม่เรียนหลักล่ะ
9. หลักสูตรของจุฬา แตกต่างจากลาดกระบัง ศิลปากร อย่างไร อธิบายสิ
10. ไม่ชอบเรียนวิชาอะไร
11. มาเรียนต่างจังหวัดแบบนี้ จะใช้ชีวิตอย่างไร
ข้อแนะนำ
คุณครูแนะแนวบอกเอาไว้ว่า วันสัมภาษณ์ = เดทแรกของเรากับคณะ
เหมือนเขาอยากมาสัมผัสตัวตนจริง ๆ ของเรา หลังจากที่ส่งพอร์ต 10 หน้าไป
เราเชื่อว่าคำตอบที่เป็นตัวของตัวเอง นอบน้อม และมีความเคารพอาจารย์ผู้สัมภาษณ์
จะทำให้เกิดความประทับใจแรกที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ
---------------------------------------------------
3. คำแนะนำถึงน้องที่ตามหาตัวเอง จากใจพี่แก่ ๆ คนหนึ่ง
พี่เชื่อในพลังแห่งความขยัน
เชื่อไหมว่าตลอดชีวิตการเป็นนักเรียน พี่ไม่เคยเรียนพิเศษเลย
(ถ้าไม่นับ เรียนกีต้าร์คลาสสิก ตอนม.2 กับ ติววาดรูปสถาปัตย์ ตอนม.6นะ)
พี่ตั้งใจเรียนในห้อง ทำการบ้าน ถึงช่วงสอบก็ทำช้อตโน้ตวิชาที่ชอบ
ไม่ได้ถูกบังคับ แต่ทำด้วยความตั้งใจของพี่เองทั้งหมดค่ะ
ความรู้ไม่ต้องรอให้ใครมาป้อนให้ เราไขว่คว้าได้เองทั้งจากสมุดหนังสือ และอินเทอร์เน็ต
นี่จึงทำให้พี่มีเวลานอกห้องเรียนมากกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน
แล้วพี่เอาเวลาที่ควรอยู่ในกวดวิชาไปทำอะไร?
เคยได้ยินคำว่า "เวลาเรียน เราเรียน เวลาเล่น เราเล่น" ไหม พี่ทำอะไรบ้างน่ะเหรอ
ฟอร์มวงดนตรี เที่ยวสงกรานต์ ดูซีรี่ส์ซับอังกฤษจบซีซั่น ร้องเพลงเป็นมู่หลานในsmule ไปคอนเสิร์ต ยืมหนังสือไร้สาระจากห้องสมุด
เป็นนางรำ ถ่ายหนังสั้น กินหมูจุ่มกับเพื่อน พาแม่ไปงานวันแม่ของโรงเรียน ตัดกระโปรง อัดวิดีโอvlog ลองไม่ใช้นาฬิกาปลุก
ออกกำลังกาย ฝึกพูดภาษาถิ่น แอบชอบเพื่อนห้องเดียวกัน ทำคัพเค้ก เขียนtime capsuleหาตัวเอง
เปิดคอนเสิร์ตส่วนตัวในห้องน้ำ ลองเป็นโอตาคุ ลองเป็นสาวกโอปป้า ลองมีแฟน
ลองร้องไห้กลางสายฝน ปลูกต้นไม้ ฝึกวาดภาพเหมือนไปดูแสงแรกของปี สวดมนต์แผ่เมตตา
ขับมอเตอร์ไซค์ล้ม สนุกyoutube บันเทิงกับเจ้าตูบ
และส่งจูบให้ตัวเองในกระจก เจ้ยยยยย ไม่เกี่ยว
ทำมันให้ครบ เอาให้สุดเหวี่ยงเลยยยย! เห็นไหม ชีวิตสนุกจะตาย
หลายคนอาจสงสัยละ ว่าถ้าเวลาเหลือจริง ทำไมถึงเพิ่งรู้ตัวว่าอยากเรียนสถาปัตย์ตอนม.6 ซึ่งช้ามาก ถ้าเทียบกับเด็กสายอาร์ตด้วยกัน
อืม ทำไมนะ..
พี่เฝ้าหาคำตอบมาตลอดว่าตัวเองเหมาะที่จะทำอะไร
และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ อย่ามัวแต่มโนค่ะ
"เป็นหมอดีไหม" น้องไปสมัครค่ายหมอหรือไปฝึกงานในโรงพยาบาลเลย
ไปสัมผัสมันให้ถึงแก่น เอาตัวไปเกลือกกลิ้งกับมัน ชอบไหม นี่คือตัวฉันรึเปล่า
ถ้าไม่ใช่ เราก็แค่ถอยออกมาแล้วหาโอกาสอื่น ๆ ค่ะ ไม่มีคำว่าเสียเวลาในการค้นหาว่าเราคือใครหรอก
เป็นกำลังให้ทุกคนที่กำลังต่อสู้ ใช้ช่วงเวลาปัจจุบันให้เต็มที่ล่ะ
แล้วผลการคัดเลือกเป็นอย่างไร จะมาอัปเดตน้า
เจอกันกระทู้หน้านะคะ