สวัสดีค่ะ เราชื่อแบม เริ่มมาเรียนภาษาที่ออสเตรเลีย หนึ่งปีหลังจบ ม.6จากนั้นก็สมัครเข้าเรียนป.ตรี
ตอนที่เราเรียน เราก็ทำงานPart – time หารายได้เสริมไปด้วย แต่อยากบอกว่าการบริหารเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ
ต้องแบ่งเวลาให้ดีนะคะอย่าให้การทำงานมากระทบการเรียน มิฉนั้นเราจะได้ความรู้ไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียค่าเรียนไป
วันนี้อยากมาแชร์ความรู้พื้นฐานโดยรวมของการทำงานในร้านอาหารไทย ซึ่งเราทำงานมา 5 ปีเต็มในสายงานHospitality
ทั้งร้านอาหารไทย ฝรั่ง เลบานีส และคาเฟ่ เราเลยอยากมาแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่เริ่มต้นมาเรียนและ
ทำงานร้านอาหารไทยในออสเตรเลียนะคะ
ร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะแบ่งเป็น
2 ส่วนหลักๆคือ
หน้าบ้าน Front staffs และในครัว Kitchen
ตำแหน่งของหน้าบ้านจะแบ่งเป็น เด็กเสิร์ฟ แคชเชียร์และบาร์เครื่องดื่ม
สิ่งที่เด็กเสิร์ฟและคนทำตำแหน่งบาร์ควรมีคือใบ อนุญาตขายและเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเรียกสั้นๆว่า
RSA Responsible Service of Alcohol.
ซึ่งเด็กเสิร์ฟจะต้องเข้าอบรมหลักการเสิร์ฟแอลกอฮอล์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ห้ามจำหน่ายหรือเสิร์ฟบุคคลที่อายุต่ำกว่า18 ปีหรือคนที่มีอาการมึนเมาแล้วเพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเป็นอันตรายต่อลูกค้า
เด็กเสิร์ฟเป็นสื่อที่สำคัญระหว่างลูกค้าและเชฟ ควรรู้conditionของลูกค้าว่าแพ้อะไรไหม มีอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับอาหารแต่ละจานและลูกค้าแต่ละคน บางคนแพ้ถั่ว(
Nut allergic),แพ้อาหารทะเล (
Seafood allergic)ซึ่งแม้กระทั่งน้ำปลาหรือถามซอสหอยนางรมก็ไม่สามารถใช้ปรุงอาหารให้เค้าได้นะคะ ถ้าเกิดเราพลาดลูกค้าอาจจะช็อคเข้าโรงพยาบาลหรือ เสียชีวิตได้
เราต้องถามลูกค้าทุกครั้งว่าแพ้อะไรไหมและเราต้องเข้าใจเมนูในร้านให้ละเอียดด้วยน้า ^^
นอกจากนี้ยังมีคำว่า
Gluten free สภาวะร่างกายของลูกค้าไม่เอื้อต่อการรับประทานโปรตีนกลูเตน เช่น อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากข้าวสาลีหรือแป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวทริทิเคลี มอลต์ บริเวอร์ยีสต์ ข้าวโอ๊ตบางชนิด เนื่องจากมีโอกาสเจือปนกับเมล็ดพืชหรือธัญพืชอื่นที่มีกลูเตนในกระบวนการผลิตได้
Vegan ไม่ทานผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มาจากเนื้อสัตว์แม้กระทั่งนมหรือเนยหรือซอสปรุงรสต่าง ๆ
Vegetarian มังสวิรัติ ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่อาจจะทานบางผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ได้ บางคนอาจจะทานไข่ ควรถามทุกครั้ง
Dairy free/ Non Dairy Products ไม่ทานผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่ทำจากนม
ในส่วนของเมนูอาหาร จะแบ่งเป็น
อาหารเสิร์ฟก่อนมื้อหลัก เรียกว่า อองเทร่ Entree
อาหารมื้อหลัก อาจแบ่งเป็น ประเภท ซุป เช่น ต้มยำ Tom Yum, ต้มข่า Tom Kha
ประเภทแกง Curry แกงเขียวหวาน Geen Curry, แกงแดง Red Curry, แกงมัสมั่น Massaman Curry , แกงพะแนง Panang Curry
แกงเหลือง Yellow Curry, แกงเป็ด Tropical Duck Curry (แล้วแต่ร้าน)
ประเภทผัด Wok/ Stir Fried ผักกะเพรา Basil Stir-fry, ผัดซอสหอยนางรม Oyster Sauce Stir-fry, ผัดเม็ดมะม่วง Cashew Nut Stir-fry
ผัดซอสสะเต๊ะ Satay Sauce Stir-fry
ก๋วยเตี๋ยวผัด Noodle Stir-fry ผัดไท Pad Thai, ผัดซีอิ้ว Pad See Ew, ผัดขี้เมา Spicy Noodle, ผัดเส้นใหญ่ซอสสะเต๊ะ Satay Noodle
บางเมนูลูกค้าสามารถเลือกเนื้อที่จะทานได้ เช่น ผัดไทไก่หรือกุ้งหรือเนื้อวัว เป็นต้น
ย่าง Grilled ไก่ย่าง Grilled Chicken, คอหมูย่าง Grilled Pork Neck, ซี่โครงแกะย่าง Grilled Lamb cutlets
นี่เป็นแค่ตัวอย่างเมนูอาหารเท่านั้นนะคะ แต่ละร้านจะไม่เหมือนกัน แบมแค่นำเสนอข้อมูลที่เป็นฐานให้เท่านั้นจ้า
สิ่งสำคัญสำหรับเด็กเสิร์ฟควรรู้รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุดิบ เครื่องปรุงแต่ละเมนู และถามลูกค้าทุกครั้งว่าแพ้อะไรไหม
หวังว่าแบมจะช่วยให้เพื่อนๆเข้าใจภาพรวมของร้านอาหารไทยในออสเตรเลียมากขึ้นนะคะ
นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ในงานร้านอาหาร โปรดติดตามในกระทู้ต่อไปจ้าาาาาาา
แชร์ประสบการณ์และความรู้พื้นฐานการทำงานร้านอาหารไทยที่ออสเตรเลีย
ตอนที่เราเรียน เราก็ทำงานPart – time หารายได้เสริมไปด้วย แต่อยากบอกว่าการบริหารเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ
ต้องแบ่งเวลาให้ดีนะคะอย่าให้การทำงานมากระทบการเรียน มิฉนั้นเราจะได้ความรู้ไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียค่าเรียนไป
วันนี้อยากมาแชร์ความรู้พื้นฐานโดยรวมของการทำงานในร้านอาหารไทย ซึ่งเราทำงานมา 5 ปีเต็มในสายงานHospitality
ทั้งร้านอาหารไทย ฝรั่ง เลบานีส และคาเฟ่ เราเลยอยากมาแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่เริ่มต้นมาเรียนและ
ทำงานร้านอาหารไทยในออสเตรเลียนะคะ
ร้านอาหารส่วนใหญ่มักจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆคือ หน้าบ้าน Front staffs และในครัว Kitchen
ตำแหน่งของหน้าบ้านจะแบ่งเป็น เด็กเสิร์ฟ แคชเชียร์และบาร์เครื่องดื่ม
สิ่งที่เด็กเสิร์ฟและคนทำตำแหน่งบาร์ควรมีคือใบ อนุญาตขายและเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเรียกสั้นๆว่า RSA Responsible Service of Alcohol.
ซึ่งเด็กเสิร์ฟจะต้องเข้าอบรมหลักการเสิร์ฟแอลกอฮอล์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ห้ามจำหน่ายหรือเสิร์ฟบุคคลที่อายุต่ำกว่า18 ปีหรือคนที่มีอาการมึนเมาแล้วเพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเป็นอันตรายต่อลูกค้า
เด็กเสิร์ฟเป็นสื่อที่สำคัญระหว่างลูกค้าและเชฟ ควรรู้conditionของลูกค้าว่าแพ้อะไรไหม มีอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับอาหารแต่ละจานและลูกค้าแต่ละคน บางคนแพ้ถั่ว( Nut allergic),แพ้อาหารทะเล (Seafood allergic)ซึ่งแม้กระทั่งน้ำปลาหรือถามซอสหอยนางรมก็ไม่สามารถใช้ปรุงอาหารให้เค้าได้นะคะ ถ้าเกิดเราพลาดลูกค้าอาจจะช็อคเข้าโรงพยาบาลหรือ เสียชีวิตได้
เราต้องถามลูกค้าทุกครั้งว่าแพ้อะไรไหมและเราต้องเข้าใจเมนูในร้านให้ละเอียดด้วยน้า ^^
นอกจากนี้ยังมีคำว่า
Gluten free สภาวะร่างกายของลูกค้าไม่เอื้อต่อการรับประทานโปรตีนกลูเตน เช่น อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากข้าวสาลีหรือแป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวทริทิเคลี มอลต์ บริเวอร์ยีสต์ ข้าวโอ๊ตบางชนิด เนื่องจากมีโอกาสเจือปนกับเมล็ดพืชหรือธัญพืชอื่นที่มีกลูเตนในกระบวนการผลิตได้
Vegan ไม่ทานผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มาจากเนื้อสัตว์แม้กระทั่งนมหรือเนยหรือซอสปรุงรสต่าง ๆ
Vegetarian มังสวิรัติ ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่อาจจะทานบางผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ได้ บางคนอาจจะทานไข่ ควรถามทุกครั้ง
Dairy free/ Non Dairy Products ไม่ทานผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่ทำจากนม
ในส่วนของเมนูอาหาร จะแบ่งเป็น
อาหารเสิร์ฟก่อนมื้อหลัก เรียกว่า อองเทร่ Entree
อาหารมื้อหลัก อาจแบ่งเป็น ประเภท ซุป เช่น ต้มยำ Tom Yum, ต้มข่า Tom Kha
ประเภทแกง Curry แกงเขียวหวาน Geen Curry, แกงแดง Red Curry, แกงมัสมั่น Massaman Curry , แกงพะแนง Panang Curry
แกงเหลือง Yellow Curry, แกงเป็ด Tropical Duck Curry (แล้วแต่ร้าน)
ประเภทผัด Wok/ Stir Fried ผักกะเพรา Basil Stir-fry, ผัดซอสหอยนางรม Oyster Sauce Stir-fry, ผัดเม็ดมะม่วง Cashew Nut Stir-fry
ผัดซอสสะเต๊ะ Satay Sauce Stir-fry
ก๋วยเตี๋ยวผัด Noodle Stir-fry ผัดไท Pad Thai, ผัดซีอิ้ว Pad See Ew, ผัดขี้เมา Spicy Noodle, ผัดเส้นใหญ่ซอสสะเต๊ะ Satay Noodle
บางเมนูลูกค้าสามารถเลือกเนื้อที่จะทานได้ เช่น ผัดไทไก่หรือกุ้งหรือเนื้อวัว เป็นต้น
ย่าง Grilled ไก่ย่าง Grilled Chicken, คอหมูย่าง Grilled Pork Neck, ซี่โครงแกะย่าง Grilled Lamb cutlets
นี่เป็นแค่ตัวอย่างเมนูอาหารเท่านั้นนะคะ แต่ละร้านจะไม่เหมือนกัน แบมแค่นำเสนอข้อมูลที่เป็นฐานให้เท่านั้นจ้า
สิ่งสำคัญสำหรับเด็กเสิร์ฟควรรู้รายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุดิบ เครื่องปรุงแต่ละเมนู และถามลูกค้าทุกครั้งว่าแพ้อะไรไหม
หวังว่าแบมจะช่วยให้เพื่อนๆเข้าใจภาพรวมของร้านอาหารไทยในออสเตรเลียมากขึ้นนะคะ
นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ในงานร้านอาหาร โปรดติดตามในกระทู้ต่อไปจ้าาาาาาา