เคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่า “ความรัก” จริงๆ แล้วนิยามของมันที่แท้จริงคืออะไร หรือเราสามารถยินดีกับความเจ็บปวดกับความรักที่ต้องเผชิญได้อย่างเข้าใจ หรือเป็นผู้ให้ความรักกับใครสักคนได้อย่างหมดหัวใจได้อย่างไม่หวังอะไรตอบแทนได้หรือไม่
“ใครนิยาม” ความหมายหรือคำจำกัดความเหล่านั้น ความรู้สึกนั้นขึ้นมา ไม่มีใครบอกเราได้ แต่ทฤษฎีแห่งการจูงใจของมาร์ชโลว์ (Maslow) กล่าวถึง ความต้องการ (Need) ไว้ว่า มนุษย์มีความต้องการอย่างอื่นที่สูงขึ้นไป จะเริ่มปรากฏเมื่อความต้องการทางร่างกายได้รับการสนองตอบเพียงพอแล้วและความต้องการอย่างอื่นก็จะเข้ามาแทนที่ ความต้องการนี้มีอยู่ตลอดเวลาเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุดเริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยจะเรียกร้องความต้องการมากขึ้นไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคงไม่ต่างอะไรกับความรัก ที่เป็นความรู้สึกพื้นฐานเรามนุษย์อย่างเราๆ เรียกร้องที่จะได้รับ จะว่าไปแล้วมันทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจของเราว่า ความรักที่สมบูรณ์แบบโดยไม่มีการเรียกร้องความรักอีกนั้นมีจริงหรือไม่ หรือเราจะสามารถรักได้อย่างหมดหัวใจโดยไม่เรียกร้องใดๆ ยินดีรับความเจ็บปวดไว้แต่เพียงผู้เดียว
หากเอื้อนเอ่ยในมุมมองของความรัก ชีวิต ความเศร้าโศก แน่นอนว่านักปราชญ์ที่ทั่วโลกยกย่อง อย่าง คาลิล ยิบราน (Kahlil Gibran) ได้มอบตัวอักษร ไว้เป็นมรดกทางปัญญาแด่คนรุ่นหลังในการพบสัจจะแห่งชีวิต เอาไว้ว่า
“เมื่อความรักร้องเรียกเธอจงตามมันไป
แม้ว่าทางของมันนั้นจะขรุขระและชันเพียงไร
และเมื่อปีกของมันโอบรอบกายเธอ จงยอมทน
แม้ว่าหนามแหลมอันซ่อนอยู่ในปีกนั้นจะเสียดแทงเธอ
และเมื่อมันพูดกับเธอ จงเชื่อตาม
แม้ว่าเสียงของมันจะทำลายความฝันของเธอ
ดังลมเหนือพัดกระหน่ำสวนดอกไม้ให้แหลกลาญไปฉะนั้น”
////
“ความรักจะกระทำสิ่งทั้งหมดนี้แก่เธอ
เพื่อว่าเธอจะได้หยั่งรู้ความลับของดวงใจเธอเอง
และด้วยความรู้นั้นเธอก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งของดวงใจแห่งชีวิตอมตะ
แต่ถ้าหากด้วยความกลัว
เธอมุ่งแต่แสวงหาความสงบสุขและความสำราญจากความรัก
ก็จะเป็นการดีกว่าที่เธอควรจะปกคลุมความเปลือยเปล่าของตน
และหลีกหนีออกไปเสียจากลานบด ไปสู่โลกอันไร้ฤดูกาล
ที่ซึ่งเธอจะหัวเราะก็ไม่เต็มที่และจะร้องไห้ก็ไม่เต็มที่
ความรักไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากตนเอง
และก็ไม่รับเอาสิ่งใดนอกจากตนเอง
ความรักไม่ครอบครอง และก็ไม่ยอมให้ถูกครอบครอง
เพราะความรักนั้นเพียงพอแล้วสำหรับตอบความรัก”
นี่คือข้อความเพียงแค่บาส่วนจากหนังสือเรื่อง The Prophet หรือปรัชญาชีวิต ที่ถูกแปลโดย ระวี ภาวิไล ให้เราทำความเข้าใจความจริงที่เกี่ยวกับความรักที่สอดคล้องกับคติความรักของ ตือ โป๊ยก่ายในเรื่องไซอิ๋วว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ใจขื่นขม ระทมชั่วนิรันดร์” นั่นหมายความว่าต่อให้เรามีความรัก นอกจากความสุขจนเปี่ยมล้นแล้ว เรายังต้องพบเจอกับความทุกข์ ที่เกิดจากความคาดหวัง ความต้องการ ที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง แต่แท้จริงแล้วถ้าเราไม่คาดหวัง เราตื่นรู้ในเรื่องความรักแท้ และเข้าใจความหมายของมันอย่างลึกซึ่ง เราจะพบว่า ความรักไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน ไม่ต้องการการครอบครอง ไม่ยอมให้ถูกครองครอง เพราะความรักที่มีแต่การให้นั้นเพียงพอแล้วกับนิยามของความรักในตัวเอง
ลองมาดูความเห็นในมุมมองความรักของ พญ.พิยะดา หารชัยภูมิ หรือ หมอเอิ้น แพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และนักแต่งเพลงชื่อดังด้านความรักทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครอีกมากมาย และยังเป็นวิทยากรสร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization) ของ สสส. นอกจากนั้นแล้วเธอยังเป็นผู้บริหารโรงแรมเลยพาวิลเลี่ยน อีกด้วย หมอเอิ้นได้ให้ความเห็นต่อความรักในมุมมองที่กลมกล่อมเอาไว้ว่า
นิยามรัก
ความรักในแต่ละช่วงชีวิตของพี่แตกต่างกัน ตอนเด็กๆ ความรักคือการที่พ่อแม่กอด หอมหรือบอกว่ารัก โตมาช่วงวัยรุ่นความรักคือความรู้สึกตื่นเต้น คิดถึง วูบวาบ ปัจจุบัน เมื่อเราผ่านประสบการณ์มามากมายและศึกษาจริงจังในเรื่องจิตใจผ่านการเรียนเป็นจิตแพทย์ พบว่า ความรักที่แท้ คือความสุขสงบที่เกิดภายในใจเรา
ความรักที่แบบคู่ชีวิตที่ไม่ต้องการการตอบแทนมีจริงไหม ทำอย่างไรถึงจะทำให้ความรักไปถึงจุดนั้นได้
อาจจะมีนะคะ แต่นั้นหมายความว่าเราต้องมีการฝึกพัฒนาจิตใจของตัวเองถึงขั้นสูง เพราะในความสัมพันธ์ เรามักดึงดูดกันด้วยความเหมือนและเติมเต็มกันด้วยความต่าง จึงเป็นธรรมดาที่เราจะเผลอผิดหวังเวลาที่คู่รักของเราลืมเติม หรือเรารู้สึกว่าเราเติมให้เค้าอยู่ฝ่ายเดียว ถ้าเราทำได้แบบนั้นแต่แรกเราอาจจะไม่อยากมีชีวิตคู่ อยากบวชมากกว่า แต่ถ้าเรายังเป็นคนใช้ชีวิตแบบธรรมดา
สิ่งที่เราจะพอจะทำได้คือ หยุดวิ่งหนีความผิดหวัง (เพราะยิ่งหนีเรายิ่งเจอ)
1.ยอมรับ เพราะมันคือธรรมชาติของความสัมพันธ์
2.เรียนรู้ เพราะความผิดหวังนั้นมักมีความหมายซ่อนอยู่
3.ตัดสินใจ ว่าจะคงความสัมพันธ์นั้นไว้หรือไม่ เพราะความผิดหวังบางเรื่องควรค่ากับการยุติความสัมพันธ์ เช่น นอกใจ และความผิดหวังบางเรื่องทำให้เราเรียนรู้กันและรักกันมากขึ้น
4.ลงมือทำ เมื่อตัดสินใจแล้วเปลี่ยนจากความคิดเป็นการปฏิบัติความรักจึงจะดีขึ้น
คำที่เรามักปลอบใจความเจ็บปวดของตัวเองว่า "ถ้าไม่คาดหวังก็จะไม่ผิดหวัง" เราจะทำอย่างนั้นได้จริงไหม
ถ้าจริงคำถามนี้คงไม่เกิดขึ้นนะ ฮาๆๆ “ถ้าไม่คาดหวังก็จะไม่ผิดหวัง” เป็นความคิด เราไม่สามารถห้ามความคิดได้นะ เพราะถ้าห้ามได้เราก็คงไม่พาตัวเองมาจนถึงจุดนี้ เมื่อเราต้องพบกับความเจ็บปวด อย่าด่วนปฏิเสธ เพราะยิ่งเจ็บยิ่งมีความหมาย แล้วถ้าเราผ่านมันไปได้ชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
เราจะเป็นผู้ที่ให้จากความรักได้จริงหรือ แล้วต้องเริ่มคิดหรือทำอย่างไร
ได้สิ อยู่ที่ว่าเราจะเป็นผู้ให้แบบไหน แบบแรก ให้ความรักคนอื่น เพื่อรอรับความรักจากคนอื่น แบบสอง ให้ความรักกับตัวเองแล้วแบ่งปันให้คนอื่น ชีวิตเรา เราเลือกเอานะคะว่าเราจะให้ความรักแบบไหน
ความรักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมสวยงามเสมอ อยู่ที่มุมมองในการรักของเราเอง เมื่อใดก็ตามที่เราวิ่งตามความรัก อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไขว่คว้ารักนั้นมาเป็นของตน ก็คงไม่ต่างกับการวิ่งตามผีเสื้อ ที่ยิ่งวิ่งไล่จับก็ยิ่งบินไปไกลทุกที ร่วมกันทำความรักให้เป็นสิ่งสวยงามโดยเข้าใจธรรมชาติของความรัก ธรรมชาติของฉันและเธอ และยอมรับความเจ็บปวดแบบเรียนรู้ ทำให้ความเจ็บปวดนั้นมีความหมายต่อใจเป็นบทเรียนที่จะทำให้เราเข้าใจความรักที่แท้จริงได้
สำหรับหลายๆ คำถามในเรื่องความรักที่ส่งกันเข้ามาทาง Inbox เพจ สสส. หวังว่าคำตอบเหล่านี้จะพอช่วยคุณได้นะคะ และหากจะปรึกษาเรื่องความรัก ชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว สามารถสอบถามกันได้ที่ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สสส.
http://www.familynetwork.or.th/ ค่ะ
จาก สสส
ความรักของคุณเป็นอย่างไร
“ใครนิยาม” ความหมายหรือคำจำกัดความเหล่านั้น ความรู้สึกนั้นขึ้นมา ไม่มีใครบอกเราได้ แต่ทฤษฎีแห่งการจูงใจของมาร์ชโลว์ (Maslow) กล่าวถึง ความต้องการ (Need) ไว้ว่า มนุษย์มีความต้องการอย่างอื่นที่สูงขึ้นไป จะเริ่มปรากฏเมื่อความต้องการทางร่างกายได้รับการสนองตอบเพียงพอแล้วและความต้องการอย่างอื่นก็จะเข้ามาแทนที่ ความต้องการนี้มีอยู่ตลอดเวลาเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุดเริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยจะเรียกร้องความต้องการมากขึ้นไปอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคงไม่ต่างอะไรกับความรัก ที่เป็นความรู้สึกพื้นฐานเรามนุษย์อย่างเราๆ เรียกร้องที่จะได้รับ จะว่าไปแล้วมันทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจของเราว่า ความรักที่สมบูรณ์แบบโดยไม่มีการเรียกร้องความรักอีกนั้นมีจริงหรือไม่ หรือเราจะสามารถรักได้อย่างหมดหัวใจโดยไม่เรียกร้องใดๆ ยินดีรับความเจ็บปวดไว้แต่เพียงผู้เดียว
หากเอื้อนเอ่ยในมุมมองของความรัก ชีวิต ความเศร้าโศก แน่นอนว่านักปราชญ์ที่ทั่วโลกยกย่อง อย่าง คาลิล ยิบราน (Kahlil Gibran) ได้มอบตัวอักษร ไว้เป็นมรดกทางปัญญาแด่คนรุ่นหลังในการพบสัจจะแห่งชีวิต เอาไว้ว่า
“เมื่อความรักร้องเรียกเธอจงตามมันไป
แม้ว่าทางของมันนั้นจะขรุขระและชันเพียงไร
และเมื่อปีกของมันโอบรอบกายเธอ จงยอมทน
แม้ว่าหนามแหลมอันซ่อนอยู่ในปีกนั้นจะเสียดแทงเธอ
และเมื่อมันพูดกับเธอ จงเชื่อตาม
แม้ว่าเสียงของมันจะทำลายความฝันของเธอ
ดังลมเหนือพัดกระหน่ำสวนดอกไม้ให้แหลกลาญไปฉะนั้น”
////
“ความรักจะกระทำสิ่งทั้งหมดนี้แก่เธอ
เพื่อว่าเธอจะได้หยั่งรู้ความลับของดวงใจเธอเอง
และด้วยความรู้นั้นเธอก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งของดวงใจแห่งชีวิตอมตะ
แต่ถ้าหากด้วยความกลัว
เธอมุ่งแต่แสวงหาความสงบสุขและความสำราญจากความรัก
ก็จะเป็นการดีกว่าที่เธอควรจะปกคลุมความเปลือยเปล่าของตน
และหลีกหนีออกไปเสียจากลานบด ไปสู่โลกอันไร้ฤดูกาล
ที่ซึ่งเธอจะหัวเราะก็ไม่เต็มที่และจะร้องไห้ก็ไม่เต็มที่
ความรักไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากตนเอง
และก็ไม่รับเอาสิ่งใดนอกจากตนเอง
ความรักไม่ครอบครอง และก็ไม่ยอมให้ถูกครอบครอง
เพราะความรักนั้นเพียงพอแล้วสำหรับตอบความรัก”
นี่คือข้อความเพียงแค่บาส่วนจากหนังสือเรื่อง The Prophet หรือปรัชญาชีวิต ที่ถูกแปลโดย ระวี ภาวิไล ให้เราทำความเข้าใจความจริงที่เกี่ยวกับความรักที่สอดคล้องกับคติความรักของ ตือ โป๊ยก่ายในเรื่องไซอิ๋วว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ใจขื่นขม ระทมชั่วนิรันดร์” นั่นหมายความว่าต่อให้เรามีความรัก นอกจากความสุขจนเปี่ยมล้นแล้ว เรายังต้องพบเจอกับความทุกข์ ที่เกิดจากความคาดหวัง ความต้องการ ที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง แต่แท้จริงแล้วถ้าเราไม่คาดหวัง เราตื่นรู้ในเรื่องความรักแท้ และเข้าใจความหมายของมันอย่างลึกซึ่ง เราจะพบว่า ความรักไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน ไม่ต้องการการครอบครอง ไม่ยอมให้ถูกครองครอง เพราะความรักที่มีแต่การให้นั้นเพียงพอแล้วกับนิยามของความรักในตัวเอง
ลองมาดูความเห็นในมุมมองความรักของ พญ.พิยะดา หารชัยภูมิ หรือ หมอเอิ้น แพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และนักแต่งเพลงชื่อดังด้านความรักทั้งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครอีกมากมาย และยังเป็นวิทยากรสร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization) ของ สสส. นอกจากนั้นแล้วเธอยังเป็นผู้บริหารโรงแรมเลยพาวิลเลี่ยน อีกด้วย หมอเอิ้นได้ให้ความเห็นต่อความรักในมุมมองที่กลมกล่อมเอาไว้ว่า
นิยามรัก
ความรักในแต่ละช่วงชีวิตของพี่แตกต่างกัน ตอนเด็กๆ ความรักคือการที่พ่อแม่กอด หอมหรือบอกว่ารัก โตมาช่วงวัยรุ่นความรักคือความรู้สึกตื่นเต้น คิดถึง วูบวาบ ปัจจุบัน เมื่อเราผ่านประสบการณ์มามากมายและศึกษาจริงจังในเรื่องจิตใจผ่านการเรียนเป็นจิตแพทย์ พบว่า ความรักที่แท้ คือความสุขสงบที่เกิดภายในใจเรา
ความรักที่แบบคู่ชีวิตที่ไม่ต้องการการตอบแทนมีจริงไหม ทำอย่างไรถึงจะทำให้ความรักไปถึงจุดนั้นได้
อาจจะมีนะคะ แต่นั้นหมายความว่าเราต้องมีการฝึกพัฒนาจิตใจของตัวเองถึงขั้นสูง เพราะในความสัมพันธ์ เรามักดึงดูดกันด้วยความเหมือนและเติมเต็มกันด้วยความต่าง จึงเป็นธรรมดาที่เราจะเผลอผิดหวังเวลาที่คู่รักของเราลืมเติม หรือเรารู้สึกว่าเราเติมให้เค้าอยู่ฝ่ายเดียว ถ้าเราทำได้แบบนั้นแต่แรกเราอาจจะไม่อยากมีชีวิตคู่ อยากบวชมากกว่า แต่ถ้าเรายังเป็นคนใช้ชีวิตแบบธรรมดา
สิ่งที่เราจะพอจะทำได้คือ หยุดวิ่งหนีความผิดหวัง (เพราะยิ่งหนีเรายิ่งเจอ)
1.ยอมรับ เพราะมันคือธรรมชาติของความสัมพันธ์
2.เรียนรู้ เพราะความผิดหวังนั้นมักมีความหมายซ่อนอยู่
3.ตัดสินใจ ว่าจะคงความสัมพันธ์นั้นไว้หรือไม่ เพราะความผิดหวังบางเรื่องควรค่ากับการยุติความสัมพันธ์ เช่น นอกใจ และความผิดหวังบางเรื่องทำให้เราเรียนรู้กันและรักกันมากขึ้น
4.ลงมือทำ เมื่อตัดสินใจแล้วเปลี่ยนจากความคิดเป็นการปฏิบัติความรักจึงจะดีขึ้น
คำที่เรามักปลอบใจความเจ็บปวดของตัวเองว่า "ถ้าไม่คาดหวังก็จะไม่ผิดหวัง" เราจะทำอย่างนั้นได้จริงไหม
ถ้าจริงคำถามนี้คงไม่เกิดขึ้นนะ ฮาๆๆ “ถ้าไม่คาดหวังก็จะไม่ผิดหวัง” เป็นความคิด เราไม่สามารถห้ามความคิดได้นะ เพราะถ้าห้ามได้เราก็คงไม่พาตัวเองมาจนถึงจุดนี้ เมื่อเราต้องพบกับความเจ็บปวด อย่าด่วนปฏิเสธ เพราะยิ่งเจ็บยิ่งมีความหมาย แล้วถ้าเราผ่านมันไปได้ชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
เราจะเป็นผู้ที่ให้จากความรักได้จริงหรือ แล้วต้องเริ่มคิดหรือทำอย่างไร
ได้สิ อยู่ที่ว่าเราจะเป็นผู้ให้แบบไหน แบบแรก ให้ความรักคนอื่น เพื่อรอรับความรักจากคนอื่น แบบสอง ให้ความรักกับตัวเองแล้วแบ่งปันให้คนอื่น ชีวิตเรา เราเลือกเอานะคะว่าเราจะให้ความรักแบบไหน
ความรักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมสวยงามเสมอ อยู่ที่มุมมองในการรักของเราเอง เมื่อใดก็ตามที่เราวิ่งตามความรัก อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไขว่คว้ารักนั้นมาเป็นของตน ก็คงไม่ต่างกับการวิ่งตามผีเสื้อ ที่ยิ่งวิ่งไล่จับก็ยิ่งบินไปไกลทุกที ร่วมกันทำความรักให้เป็นสิ่งสวยงามโดยเข้าใจธรรมชาติของความรัก ธรรมชาติของฉันและเธอ และยอมรับความเจ็บปวดแบบเรียนรู้ ทำให้ความเจ็บปวดนั้นมีความหมายต่อใจเป็นบทเรียนที่จะทำให้เราเข้าใจความรักที่แท้จริงได้
สำหรับหลายๆ คำถามในเรื่องความรักที่ส่งกันเข้ามาทาง Inbox เพจ สสส. หวังว่าคำตอบเหล่านี้จะพอช่วยคุณได้นะคะ และหากจะปรึกษาเรื่องความรัก ชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัว สามารถสอบถามกันได้ที่ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สสส. http://www.familynetwork.or.th/ ค่ะ
จาก สสส