ทั้งเกาะชวา และ สุมาตรา ครั้งหนึ่งคือดินแดนที่รุ่งเรืองของพุทธศาสนาและฮินดู อารยธรรมที่รุ่งเรืองส่วนใหญ่ของโลกมลายู กำเนิดขึ้นในยุคนี้
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ศาสนาอิสลามได้เข้ามาในโลกมลายู และได้เปลี่ยนเกือบทั้งโลก ให้กลายเป็นรัฐมุสลิมเกือบหมด
ชาวชวา ซึ่งเป็น 1 ในชนเผ่าที่รับศาสนาอิสลามมา แม้จะยังรักษาวัฒนธรรม การเขียน และจารีตประเพณีบางอย่างได้ แต่ก็มีไม่น้อยที่สูญหายไป
ขณะที่ชาวบาหลี ยังสามารถรักษาศาสนาฮินดูไว้ได้อยู่ตลอดมา เหตุผลแรกคือ เจ้าผู้ครองไม่ได้เข้ารีตตาม อีกเหตุผลคือ รัฐสุลต่านรุกรานไปไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม มีชาวชวากลุ่มหนึ่ง ที่ยังสามารถรักษาศาสนาฮินดูมาตั้งแต่ยุคมัชปาหิตได้มาเป็นหลายร้อยปี พวกเขาคือ ชาวแตงแกร์ (Tengger)
เผ่าแตงแกร์ ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเขาโบรโมในชวาตะวันออก ซึ่งเคยเป็นดินแดนศูนย์ของอาณาจักรชวาฮินดูในยุคโบราณ ก่อนยุคอิสลาม
ตามความเชื่อของชาวแตงแกร์ เชื่อกันว่า บรรพบุรุษของพวกเขาคือ โจโก สะการ์ (Joko Seger) และ โรโร อันตัง (Roro Anteng)
โจโกนั้น เป็นเชื้อสายของพราหมณ์ ขณะที่โรโร อันตัง เป็นเชื้อสายราชวงศ์มัชปาหิต ทั้งคู่หนีการรุกรานของรัฐอิสลามมาอยู่เขาโบรโม
โจโกและโรโรตั้งเมืองอยู่ในเชิงเขาโบรโม แต่ปกครองมานานไม่มีลูก จึงขอเทพเจ้าขอให้มีลูก ต่อมาจึงได้มีลูกกัน 24 คน แต่ต้องสังเวยลูกคนหนึ่งให้
กาสุมะ ถูกสังเวยโดยการโยนเข้าปล่องภูเขาไฟ มีตำนานเล่ากันว่าก่อนลงไป กาสุมะ ขอร้องขอให้ทุกคนสังเวยอย่างอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ให้กับเทพเจ้า
วันที่ 14 เดือนกาโซโด ตามปฏิทินของแตงแกร์ คือการทำพิธีสังเวย ซึ่งในทุกๆ ปี ก็มีทั้งชาวแตงแกร์และนักท่องเที่ยว นักแสวงบุญ เข้าร่วมพิธีทุกปี
การสังเวยส่วนใหญ่ ใช้สัตว์เป็นๆ และพืชผัก โยนลงไปในบ่อภูเขาไฟ ที่ยังไม่ได้ดับมอดลงไป โดยมีการทำพิธีในบริเวณที่เป็น 'ทะเลทราย'
การทำพิธี จะทำกันหลายวัน และจะเริ่มจากบริเวณที่ราบก่อน โดยมีพราหมณ์นำพิธีและทำพิธี (สื่อตะวันตกบ้างก็เรียกว่า หมอผี หรือ คนทรง)
ผู้เข้าร่วมพิธี จะต้องมีความพร้อมทางร่างกายหน่อย เพราะต้องขึ้นเขาสูงชันโดยทางเดินล้วนๆ ทั้งยังไกล และอาจจะมีเถ้าควันจากภูเขาไฟอีก
พิธีนี้ จัดขึ้นทุกปี และทำกันมาตลอดหลายร้อยปี โดยแทบที่ไม่มีการรบกวนจากโลกภายนอกเลยแม้แต่น้อยในเวลาที่ผ่านมา ยกเว้นบางช่วง
หลายสิบปีก่อน มีชาวมาดูรา อพยพมาอยู่บริเวณที่อยู่ของชาวแตงแกร์ ด้วยเหตุผลหลักคือประชากรในเกาะมาดูราเริ่มเยอะขึ้นและหนาแน่นมากขึ้น
ชาวมาดูรา เป็นชนเผ่ามุสลิมที่ค่อนข้างเคร่งครัด แตกต่างกับทั้งชาวชวา ซุนดา โดยชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือศาสนาอิสลามที่เข้ามาด้วย
ชาวมาดูรา เข้ามาตั้งรกรากในที่ดินของชาวแตงแกร์ ทั้งยังเผยแพร่ศาสนาจนมีชาวแตงแกร์เข้ารีตถึงประมาณ 2%-3% (ประมาณ 10,000 คน)
ด้วยความหวั่นเกรงว่าวัฒนธรรมจะสูญหาย ชาวแตงแกร์จึงขอร้องให้ชาวบาหลี มาช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมแตงแกร์ จนมีความคล้ายคลึงกันในปัจจุบัน
ปัจจุบัน รัฐบาลอินโดนีเซีย ประกาศให้ดินแดนชาวแตงแกร์เป็นอุทยานแห่งชาติ ห้ามการตัดป่าไม้หรือรุกล้ำใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อป้องกันชาวแตงแกร์ไว้อีกที
ปัจจุบัน ชาวแตงแกร์ มีประชากรอยู่ประมาณ 100,000 - 500,000 คน ส่วนใหญ่ยังนับถือศาสนาฮินดู มีหมู่บ้านรอบเขาโบรโม 30 หมู่บ้าน ในอุทยาน
ชาวแตงแกร์ยังพูดภาษาชวาสำเนียงโบราณ ที่พูดกันในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต โดยเฉพาะสระอะ ที่ยังออกเสียงเป็น อะ อยู่ (ชวาปัจจุบันออกเสียง โอ)
มีการวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ชาวแตงแกร์ ยังสามารถรักษาศาสนาได้ เหตุผลหนึ่งเพราะดินแดนที่ตัดขาดจากโลกภายนอกแทบโดยสิ้นเชิงในเขาโบรโม
บริเวณเขาโบรโมและละแวกใกล้เคียง มีทัศนียภาพอันสวยงามให้ได้ชม บรรยากาศจะคล้ายๆ กับภาคเหนือไทย สลับกับทิเบต น่าตื่นตาตื่นใจมาก
ชาวแตงแกร์ทุกคนเป็นมิตร ต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน หากใครมาเมืองมาลัง (Malang) อินโดนีเซีย ก็สามารถแวะมาเยี่ยมชมบรรยากาศได้ครับ
แตงแกร์ (Tengger) ฮินดู-พุทธ พวกสุดท้ายในเกาะชวา
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ศาสนาอิสลามได้เข้ามาในโลกมลายู และได้เปลี่ยนเกือบทั้งโลก ให้กลายเป็นรัฐมุสลิมเกือบหมด
ชาวชวา ซึ่งเป็น 1 ในชนเผ่าที่รับศาสนาอิสลามมา แม้จะยังรักษาวัฒนธรรม การเขียน และจารีตประเพณีบางอย่างได้ แต่ก็มีไม่น้อยที่สูญหายไป
ขณะที่ชาวบาหลี ยังสามารถรักษาศาสนาฮินดูไว้ได้อยู่ตลอดมา เหตุผลแรกคือ เจ้าผู้ครองไม่ได้เข้ารีตตาม อีกเหตุผลคือ รัฐสุลต่านรุกรานไปไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม มีชาวชวากลุ่มหนึ่ง ที่ยังสามารถรักษาศาสนาฮินดูมาตั้งแต่ยุคมัชปาหิตได้มาเป็นหลายร้อยปี พวกเขาคือ ชาวแตงแกร์ (Tengger)
เผ่าแตงแกร์ ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเขาโบรโมในชวาตะวันออก ซึ่งเคยเป็นดินแดนศูนย์ของอาณาจักรชวาฮินดูในยุคโบราณ ก่อนยุคอิสลาม
ตามความเชื่อของชาวแตงแกร์ เชื่อกันว่า บรรพบุรุษของพวกเขาคือ โจโก สะการ์ (Joko Seger) และ โรโร อันตัง (Roro Anteng)
โจโกนั้น เป็นเชื้อสายของพราหมณ์ ขณะที่โรโร อันตัง เป็นเชื้อสายราชวงศ์มัชปาหิต ทั้งคู่หนีการรุกรานของรัฐอิสลามมาอยู่เขาโบรโม
โจโกและโรโรตั้งเมืองอยู่ในเชิงเขาโบรโม แต่ปกครองมานานไม่มีลูก จึงขอเทพเจ้าขอให้มีลูก ต่อมาจึงได้มีลูกกัน 24 คน แต่ต้องสังเวยลูกคนหนึ่งให้
กาสุมะ ถูกสังเวยโดยการโยนเข้าปล่องภูเขาไฟ มีตำนานเล่ากันว่าก่อนลงไป กาสุมะ ขอร้องขอให้ทุกคนสังเวยอย่างอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ให้กับเทพเจ้า
วันที่ 14 เดือนกาโซโด ตามปฏิทินของแตงแกร์ คือการทำพิธีสังเวย ซึ่งในทุกๆ ปี ก็มีทั้งชาวแตงแกร์และนักท่องเที่ยว นักแสวงบุญ เข้าร่วมพิธีทุกปี
การสังเวยส่วนใหญ่ ใช้สัตว์เป็นๆ และพืชผัก โยนลงไปในบ่อภูเขาไฟ ที่ยังไม่ได้ดับมอดลงไป โดยมีการทำพิธีในบริเวณที่เป็น 'ทะเลทราย'
การทำพิธี จะทำกันหลายวัน และจะเริ่มจากบริเวณที่ราบก่อน โดยมีพราหมณ์นำพิธีและทำพิธี (สื่อตะวันตกบ้างก็เรียกว่า หมอผี หรือ คนทรง)
ผู้เข้าร่วมพิธี จะต้องมีความพร้อมทางร่างกายหน่อย เพราะต้องขึ้นเขาสูงชันโดยทางเดินล้วนๆ ทั้งยังไกล และอาจจะมีเถ้าควันจากภูเขาไฟอีก
พิธีนี้ จัดขึ้นทุกปี และทำกันมาตลอดหลายร้อยปี โดยแทบที่ไม่มีการรบกวนจากโลกภายนอกเลยแม้แต่น้อยในเวลาที่ผ่านมา ยกเว้นบางช่วง
หลายสิบปีก่อน มีชาวมาดูรา อพยพมาอยู่บริเวณที่อยู่ของชาวแตงแกร์ ด้วยเหตุผลหลักคือประชากรในเกาะมาดูราเริ่มเยอะขึ้นและหนาแน่นมากขึ้น
ชาวมาดูรา เป็นชนเผ่ามุสลิมที่ค่อนข้างเคร่งครัด แตกต่างกับทั้งชาวชวา ซุนดา โดยชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือศาสนาอิสลามที่เข้ามาด้วย
ชาวมาดูรา เข้ามาตั้งรกรากในที่ดินของชาวแตงแกร์ ทั้งยังเผยแพร่ศาสนาจนมีชาวแตงแกร์เข้ารีตถึงประมาณ 2%-3% (ประมาณ 10,000 คน)
ด้วยความหวั่นเกรงว่าวัฒนธรรมจะสูญหาย ชาวแตงแกร์จึงขอร้องให้ชาวบาหลี มาช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมแตงแกร์ จนมีความคล้ายคลึงกันในปัจจุบัน
ปัจจุบัน รัฐบาลอินโดนีเซีย ประกาศให้ดินแดนชาวแตงแกร์เป็นอุทยานแห่งชาติ ห้ามการตัดป่าไม้หรือรุกล้ำใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อป้องกันชาวแตงแกร์ไว้อีกที
ปัจจุบัน ชาวแตงแกร์ มีประชากรอยู่ประมาณ 100,000 - 500,000 คน ส่วนใหญ่ยังนับถือศาสนาฮินดู มีหมู่บ้านรอบเขาโบรโม 30 หมู่บ้าน ในอุทยาน
ชาวแตงแกร์ยังพูดภาษาชวาสำเนียงโบราณ ที่พูดกันในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต โดยเฉพาะสระอะ ที่ยังออกเสียงเป็น อะ อยู่ (ชวาปัจจุบันออกเสียง โอ)
มีการวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ชาวแตงแกร์ ยังสามารถรักษาศาสนาได้ เหตุผลหนึ่งเพราะดินแดนที่ตัดขาดจากโลกภายนอกแทบโดยสิ้นเชิงในเขาโบรโม
บริเวณเขาโบรโมและละแวกใกล้เคียง มีทัศนียภาพอันสวยงามให้ได้ชม บรรยากาศจะคล้ายๆ กับภาคเหนือไทย สลับกับทิเบต น่าตื่นตาตื่นใจมาก
ชาวแตงแกร์ทุกคนเป็นมิตร ต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน หากใครมาเมืองมาลัง (Malang) อินโดนีเซีย ก็สามารถแวะมาเยี่ยมชมบรรยากาศได้ครับ