เมื่อกระดูกมีความเสื่อม หักเสียหาย หรือเกิดการบาดเจ็บซ้ำๆจนทำให้มีการอักเสบกิดขึ้น
ร่างกายจะทำการซ่อมแซมโดยการดึงแคลเซียมมาใช้งานและบางครั้งอาจเกิดการซ่อมแซมที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการสะสม
ของแคลเซียมในเนื้อเยื่อ ซึ่งเรียกว่า Osteophyte หรือ Bony spur โดยสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการ X-ray
และสามารถพบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคน อายุ 40-50ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการและอาการแสดง
1.ปวดรอบๆข้อไหล่ ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงปลายแขน หรือร้าวขึ้นต้นคอ
ซึ่งจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากใช้งานแขนมากๆ หรือมีอุบัติเหตุ
2.ปวดในเวลากลางคืน หรือ อากาศเย็น
3.การเคลื่อนไหวของข้อต่อหัวไหล่ลดลงรวมถึงมีการติดแข็งของข้อไหล่ ในบางรายอาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อน
การรักษา
1.ในระยะแรกที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมาก ควรลดการใช้งานของข้อไหล่ อาจใช้ผ้าคล้องแขนช่วยพยุง
และทำการประคบเย็น 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบ
2. รับประทานยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
3. หากอาการปวดลดลงแล้ว ควรพยายามเคลื่อนไหวข้อไหล่ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะข้อติด (Frozen Shoulder)
4. ในผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะเรื้อรังและมีข้อไหล่ติด แนะนำให้ทำกายภาพบำบัด โดยการขยับข้อต่อ อัลตร้าซาวด์ กระตุ้นไฟฟ้า
และการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้กลับสู่สภาพปกติ
5. การรักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด
6. การรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ทำการรักษาทั้งหมดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
บทความโดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาอาการปวดไหล่เนื่องจากมีหินปูนเกาะบริเวณข้อไหล่
ร่างกายจะทำการซ่อมแซมโดยการดึงแคลเซียมมาใช้งานและบางครั้งอาจเกิดการซ่อมแซมที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดการสะสม
ของแคลเซียมในเนื้อเยื่อ ซึ่งเรียกว่า Osteophyte หรือ Bony spur โดยสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการ X-ray
และสามารถพบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคน อายุ 40-50ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการและอาการแสดง
1.ปวดรอบๆข้อไหล่ ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงปลายแขน หรือร้าวขึ้นต้นคอ
ซึ่งจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากใช้งานแขนมากๆ หรือมีอุบัติเหตุ
2.ปวดในเวลากลางคืน หรือ อากาศเย็น
3.การเคลื่อนไหวของข้อต่อหัวไหล่ลดลงรวมถึงมีการติดแข็งของข้อไหล่ ในบางรายอาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อน
การรักษา
1.ในระยะแรกที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมาก ควรลดการใช้งานของข้อไหล่ อาจใช้ผ้าคล้องแขนช่วยพยุง
และทำการประคบเย็น 10-15 นาที เพื่อลดการอักเสบ
2. รับประทานยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
3. หากอาการปวดลดลงแล้ว ควรพยายามเคลื่อนไหวข้อไหล่ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะข้อติด (Frozen Shoulder)
4. ในผู้ป่วยที่เข้าสู่ระยะเรื้อรังและมีข้อไหล่ติด แนะนำให้ทำกายภาพบำบัด โดยการขยับข้อต่อ อัลตร้าซาวด์ กระตุ้นไฟฟ้า
และการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้กลับสู่สภาพปกติ
5. การรักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด
6. การรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ทำการรักษาทั้งหมดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
บทความโดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด