เกริ่นก่อน กระทู้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้นนะครับ ^^
ผมมองว่าสถานการณ์ทีมไทยตอนนี้ คล้ายๆกับทีมเยอรมัน ปี 2016 ที่ไม่ไปโอลิมปิกเหมือนกัน และตัวหลักๆก็อายุเยอะเหมือนกัน ผมจึงมีความคิดว่าเราน่าจะลองเอาโมเดลของเยอรมันมาใช้ดีหรือไม่ ?
ถึงแม้ในปีนี้เยอรมันจะไม่ได้ไปโอลิมปิกโตเกียว แต่อย่างน้อยการปั้นทีมชุดนี้ของเขาก็ถือว่าประสบความสมเร็จพอสมควร ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 ปี เยอรมันก็ยังรักษาอันดับโลกไว้ได้ ใน Top15 แม้ไม่ได้อยู่ใน Top10 เหมือนสมัยก่อน แต้ไม่ได้ตกไปเยอะแบบโปแลนด์หรือคิวบาก่อนหน้านี้
ย้อนไป ต้นปี 2016 เยอรมันเรียกตัวหลักๆกลับมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเฟิร์ส โคซุส บีเออร์ บริงเกอร์ เอพิช เพื่อคัดโอลิมปิกริโอ แต่ก็คัดไม่ผ่าน
หลังจากนั้นผ่านไป 4-5 เดือน เริ่มทัวร์แรกของปี คือ WGP 2016 เยอรมันสร้างเซอร์ไพส์คือการประกาศรายชื่อนักกีฬาที่มีแต่เด็กๆยกทีม ไม่มีตัวหลักหรือรุ่นพี่ประคองทีมเลยแม้แต่คนเดียว ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นไปตามคาดคือเยอรมันตกชั้น WGP ในปีนั้น แพ้ไทยด้วยในปีนั้น
นี่คืออายุนักกีฬาของเยอรมันในปี 2016 นะครับ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวหลักในปัจจุบัน)
- Louisa Lippmann 21 ปี
- Jennifer Geerties 21 ปี
- Hanna Orthmann 18 ปี
- Marie Scholzel 19 ปี
- Denise Hanke 25 ปี
- Silge อายุ 20 ปี (แต่น้องเลิกเล่นไปแล้ว)
- Anna Pogany 21 ปี (แต่ไม่ได้อยู่ในชุด WGP2016)
- Camilla Wietzel 16 ปี (แต่ไม่ได้อยู่ในชุด WGP2016)
จากนั้นปี 2017 เยอรมันเล่นใน WGP D2 แล้วก็เลื่อนชั้นกลับมาอีกครั้ง เพราะ FIVB เปลี่ยนรูปแบบเป็น VNL2018 และในปีนั้นเยอรมันจบอันดับที่ 9 จาก 16 ทีม (ถ้าจำไม่ผิด) และพวกเธอชนะไทยด้วย ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้สิ่งที่ผมเห็นอีกอย่างคือ เยอรมันปลดโค้ชชาวอิตาลีออก (ไม่ใช่กุย) และเลือกใช้ Felix ซึ่งเป็นโค้ชชาวเยอรมัน และคุมทีมในลีคเยอรมันด้วย
Felix ใช้วิธีที่น่าสนใจมากคือ ดึงนักกีฬาดาวรุ่ง(ในตอนนั้น)ที่กล่าวไปข้างตน มาเล่นรวมกันในทีมของเขา เพื่อให้นักกีฬาได้ลงเล่นมากขึ้น เพราะหลายๆคนในตอนนั้นนั่งสำรองอยู่ทีมอื่นแทบหมดเลย ไม่ว่าจะเป็น Lippmann ก็สำรองอยู่อีกทีม (เพราะลีคเยอรมันส่วนใหญ่ใช้ต่างชาติไม่มีโควต้าต่างชาติ เด็กเยอรมันเลยไม่ค่อยได้ลง) และผลที่ออกมาคือพวกเขาได้แชมป์ลีคเยอรมัน เอาชนะทีมแชมป์เก่าและรองแชมป์ อย่าง เดรสเดน และ สตุ๊ทการ์ท (ปีที่วรรณาไปเล่น) หลังจากในปีนั้นก็เริ่มมีแมวมองจากทีมในลีคใหญ่ๆมาดึงตัวไปเล่น ซึ่งการออกไปเล่นลีคต่างประเทศนี่ก็เป็นการพัฒนานักกีฬาที่ดีอีกทางหนึ่ง
ยกตัวอย่าง Hanna Orthmann ออกไปเล่นลีคอิตาลีตอนอายุ 19 ตอนนั้นตีบอลออกมือช้ามาก บอลแรกก็ค่อนข้างแย่เลยแหละ (เพราะอยู่ในช่วงย้ายตำแหน่งจาก OPP มา OH) ไปปีแรกนั่งสำรองแทบไม่ได้ลง (คนในบอร์ดตปท.หลายๆคนบอกว่าเธอที่คิดผิดที่รีบไปลีตนอก) แต่ปีต่อมาเชื่อไหมว่า Hanna Orthmann พาทีมจบอันดับที่ 4 ของอิตาลี และทำให้กลายเป็นตัวหลักของทีมชาติไปแล้วในตอนนี้ กราฟการพัฒนาพุ่งแบบก้าวโดด
สรุป จากที่กล่าวไปนะครับ ย้ำว่าเป็นความเห็นส่วนตัว
- ต่อจากนี้ ทีมไทยควรเดินหน้าต่อไปด้วยนักกีฬารุ่นใหม่ โดยไม่ควรรุ่นพี่ประคอง(ประคองมาหลายปีแล้ว) เวลานี้แหละผมว่าเหมาะมากๆ อายุ 21-26 กำลังดีเลย เพราะรุ่นพี่ก็อายุเยอะมากแล้ว แม้ว่าตอนนี้รุ่นน้องอาจจะเก่งไม่เท่า แต่ในอนาคตถ้าได้ลงเล่นเรื่อยๆต้องแกร่งขึ้นแน่ๆ
-ไม่ต้องกลัวผลลัพธ์ ทุกอย่างมันต้องมีการเริ่มต้น
-เน้นดาวรุ่งลงในลีค หรือสร้างทีมแบบ VCO Berlin ที่ให้ชุดเยาวชนทีมชาติลงเล่น จริงๆผมไม่ค่อยเห็นด้วยที่ทีมในไทยลีคดึงต่างชาติมาเล่น(แต่ก็เข้าใจว่ามันเป็นธุรกิจ) เพราะเหมือนเป็นการปิดโอกาสนักกีฬาไทยอีกทางหนึ่ง (ต่างชาติที่หลายๆทีมซื้อมาผมว่าบางคนศักยภาพไม่ได้ดีกว่านักกีฬาไทยมากเท่าไหร่ เผลอๆของเราดีกว่าด้วย อันนี้ไม่น่าช่วยพัฒนานักกีฬาเราเท่าไหร่)
- ออกไปเล่นลีคต่างประเทศเพื่อหาประสบการณ์
- โค้ชอาจจะใช้โค้ชไทยหรือโค้ชนอกก็ได้ แต่ผมชอบโค้ชที่มีเวลาให้กับทีมชาติแบบ Full Time ซึ่งควรต่างชาติส่วนใหญ่จะคุมลีคด้วย
จบครับ ขอบคุณครับ
โมเดลทีมเยอรมันี ปี 2016 กับ ทีมชาติไทยหลังจากนี้
ผมมองว่าสถานการณ์ทีมไทยตอนนี้ คล้ายๆกับทีมเยอรมัน ปี 2016 ที่ไม่ไปโอลิมปิกเหมือนกัน และตัวหลักๆก็อายุเยอะเหมือนกัน ผมจึงมีความคิดว่าเราน่าจะลองเอาโมเดลของเยอรมันมาใช้ดีหรือไม่ ?
ถึงแม้ในปีนี้เยอรมันจะไม่ได้ไปโอลิมปิกโตเกียว แต่อย่างน้อยการปั้นทีมชุดนี้ของเขาก็ถือว่าประสบความสมเร็จพอสมควร ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 ปี เยอรมันก็ยังรักษาอันดับโลกไว้ได้ ใน Top15 แม้ไม่ได้อยู่ใน Top10 เหมือนสมัยก่อน แต้ไม่ได้ตกไปเยอะแบบโปแลนด์หรือคิวบาก่อนหน้านี้
ย้อนไป ต้นปี 2016 เยอรมันเรียกตัวหลักๆกลับมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเฟิร์ส โคซุส บีเออร์ บริงเกอร์ เอพิช เพื่อคัดโอลิมปิกริโอ แต่ก็คัดไม่ผ่าน
หลังจากนั้นผ่านไป 4-5 เดือน เริ่มทัวร์แรกของปี คือ WGP 2016 เยอรมันสร้างเซอร์ไพส์คือการประกาศรายชื่อนักกีฬาที่มีแต่เด็กๆยกทีม ไม่มีตัวหลักหรือรุ่นพี่ประคองทีมเลยแม้แต่คนเดียว ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นไปตามคาดคือเยอรมันตกชั้น WGP ในปีนั้น แพ้ไทยด้วยในปีนั้น
นี่คืออายุนักกีฬาของเยอรมันในปี 2016 นะครับ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวหลักในปัจจุบัน)
- Louisa Lippmann 21 ปี
- Jennifer Geerties 21 ปี
- Hanna Orthmann 18 ปี
- Marie Scholzel 19 ปี
- Denise Hanke 25 ปี
- Silge อายุ 20 ปี (แต่น้องเลิกเล่นไปแล้ว)
- Anna Pogany 21 ปี (แต่ไม่ได้อยู่ในชุด WGP2016)
- Camilla Wietzel 16 ปี (แต่ไม่ได้อยู่ในชุด WGP2016)
จากนั้นปี 2017 เยอรมันเล่นใน WGP D2 แล้วก็เลื่อนชั้นกลับมาอีกครั้ง เพราะ FIVB เปลี่ยนรูปแบบเป็น VNL2018 และในปีนั้นเยอรมันจบอันดับที่ 9 จาก 16 ทีม (ถ้าจำไม่ผิด) และพวกเธอชนะไทยด้วย ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้สิ่งที่ผมเห็นอีกอย่างคือ เยอรมันปลดโค้ชชาวอิตาลีออก (ไม่ใช่กุย) และเลือกใช้ Felix ซึ่งเป็นโค้ชชาวเยอรมัน และคุมทีมในลีคเยอรมันด้วย
Felix ใช้วิธีที่น่าสนใจมากคือ ดึงนักกีฬาดาวรุ่ง(ในตอนนั้น)ที่กล่าวไปข้างตน มาเล่นรวมกันในทีมของเขา เพื่อให้นักกีฬาได้ลงเล่นมากขึ้น เพราะหลายๆคนในตอนนั้นนั่งสำรองอยู่ทีมอื่นแทบหมดเลย ไม่ว่าจะเป็น Lippmann ก็สำรองอยู่อีกทีม (เพราะลีคเยอรมันส่วนใหญ่ใช้ต่างชาติไม่มีโควต้าต่างชาติ เด็กเยอรมันเลยไม่ค่อยได้ลง) และผลที่ออกมาคือพวกเขาได้แชมป์ลีคเยอรมัน เอาชนะทีมแชมป์เก่าและรองแชมป์ อย่าง เดรสเดน และ สตุ๊ทการ์ท (ปีที่วรรณาไปเล่น) หลังจากในปีนั้นก็เริ่มมีแมวมองจากทีมในลีคใหญ่ๆมาดึงตัวไปเล่น ซึ่งการออกไปเล่นลีคต่างประเทศนี่ก็เป็นการพัฒนานักกีฬาที่ดีอีกทางหนึ่ง
ยกตัวอย่าง Hanna Orthmann ออกไปเล่นลีคอิตาลีตอนอายุ 19 ตอนนั้นตีบอลออกมือช้ามาก บอลแรกก็ค่อนข้างแย่เลยแหละ (เพราะอยู่ในช่วงย้ายตำแหน่งจาก OPP มา OH) ไปปีแรกนั่งสำรองแทบไม่ได้ลง (คนในบอร์ดตปท.หลายๆคนบอกว่าเธอที่คิดผิดที่รีบไปลีตนอก) แต่ปีต่อมาเชื่อไหมว่า Hanna Orthmann พาทีมจบอันดับที่ 4 ของอิตาลี และทำให้กลายเป็นตัวหลักของทีมชาติไปแล้วในตอนนี้ กราฟการพัฒนาพุ่งแบบก้าวโดด
สรุป จากที่กล่าวไปนะครับ ย้ำว่าเป็นความเห็นส่วนตัว
- ต่อจากนี้ ทีมไทยควรเดินหน้าต่อไปด้วยนักกีฬารุ่นใหม่ โดยไม่ควรรุ่นพี่ประคอง(ประคองมาหลายปีแล้ว) เวลานี้แหละผมว่าเหมาะมากๆ อายุ 21-26 กำลังดีเลย เพราะรุ่นพี่ก็อายุเยอะมากแล้ว แม้ว่าตอนนี้รุ่นน้องอาจจะเก่งไม่เท่า แต่ในอนาคตถ้าได้ลงเล่นเรื่อยๆต้องแกร่งขึ้นแน่ๆ
-ไม่ต้องกลัวผลลัพธ์ ทุกอย่างมันต้องมีการเริ่มต้น
-เน้นดาวรุ่งลงในลีค หรือสร้างทีมแบบ VCO Berlin ที่ให้ชุดเยาวชนทีมชาติลงเล่น จริงๆผมไม่ค่อยเห็นด้วยที่ทีมในไทยลีคดึงต่างชาติมาเล่น(แต่ก็เข้าใจว่ามันเป็นธุรกิจ) เพราะเหมือนเป็นการปิดโอกาสนักกีฬาไทยอีกทางหนึ่ง (ต่างชาติที่หลายๆทีมซื้อมาผมว่าบางคนศักยภาพไม่ได้ดีกว่านักกีฬาไทยมากเท่าไหร่ เผลอๆของเราดีกว่าด้วย อันนี้ไม่น่าช่วยพัฒนานักกีฬาเราเท่าไหร่)
- ออกไปเล่นลีคต่างประเทศเพื่อหาประสบการณ์
- โค้ชอาจจะใช้โค้ชไทยหรือโค้ชนอกก็ได้ แต่ผมชอบโค้ชที่มีเวลาให้กับทีมชาติแบบ Full Time ซึ่งควรต่างชาติส่วนใหญ่จะคุมลีคด้วย
จบครับ ขอบคุณครับ