K2-18b
เมื่อ 11 ก.ย. 2562 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะของเราเป็นครั้งแรก โดยเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างออกไปถึง 111 ปีแสง
ทีมนักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลเป็นครั้งแรก ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้ที่มีชื่อว่า “K2-18b” อาจเป็นดาวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ข้อมูลการค้นพบดังกล่าวถูกเผยแพร่ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ (Nature Astronomy) โดยทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ตรวจสอบดาวเคราะห์ต่างๆ ที่พบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “ฮับเบิล” ในวงโคจรโลก ระหว่างปี 2016-2017 และระบุสารเคมีบางอย่างในชั้นบรรยากาศของดาวเหล่านี้ด้วยการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของแสงดาว ในขณะที่ดาวเคราะห์เหล่านั้นโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเอง และมีเพียงดาว K2-18b เท่านั้นที่แสดงให้เห็นหลักฐานโมเลกุลของน้ำ โดยคอมพิวเตอร์วิเคาะห์ว่า ราว 50% ของชั้นบรรยากาศอาจประกอบด้วยน้ำ
ศาสตราจารย์ โจวานนา ติเนตติ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน (UCL) ผู้นักทีมนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ ระบุว่า นี่เป็นการค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจ “นี่เป็นครั้งแรกที่เราตรวจพบน้ำบนดาวเคราะห์ที่ดาวเคราะห์ในเขตอาศัยได้รอบดาวฤกษ์ ที่อุณหภูมิอาจเหมาะต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต”
อนึ่ง เขตอาศัยได้คือ เขตพื้นที่รอบดาวฤกษ์ เช่น ดวงอาทิตย์ ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะให้นำคงสภาพเป็นของเหลวบนพื้นผิวของดาว ซึ่งโลกของเราก็เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตอาศัยได้เช่นกัน
ขณะที่ดาว K2-18b มีขนาดประมาณ 2 เท่าของโลก อุณหภูมิระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเย็นพอให้น้ำคงสภาพเป็นของเหลว แต่มันอยู่ห่างจากโลก 111 ปีแสง หรือประมาณ 650 ล้านล้านไมล์ ซึ่งไกลเกินกว่าที่จะส่งยานใดๆ ไปสำรวจ ทางเลือกเดียวตอนนี้คือต้องรอกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ที่จะถูกส่งออกสู่อวกาศในช่วงทศวรรษที่ 2020 เพื่อตรวจสอบแก๊สที่มีเพียงสิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่สร้างได้ ในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนี้
“นี่เป็นหนึ่งในคำถามใหญ่ที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ และเราก็สงสัยมาตลอดว่า เราอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาลหรือไม่” ดร.อินโก วาลด์มันน์ จาก UCL กล่าว “ภายใน 10 ปีข้างหน้า เราจะได้รู้ว่ามีสารเคมีที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนั้นหรือไม่”
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1658761
Trappist-1
(ภาพจำลองระบบสุริยะ Trappist-1 แสดงให้เห็นดาวแม่ของมันและดาวบริวาณ (ระยะห่างไม่เป็นตามจริง) ที่มา – NASA/JPL)
ล่าสุด NASA/JPL-Caltech ได้ออกรายงานว่าเป็นไปได้ว่าดาวในระบบสุริยะ Trappist-1 จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบและมีน้ำมากกว่ามหาสมุทรของโลกถึง 250 เท่า
สำหรับที่มาของการคาดคะเนในครั้งนี้เริ่มต้นมาจากการที่นักวิทยาศาสตร์ Simon Grimm จาก University of Bern ได้ทำการศึกษาพบว่า ดาวบริวารในระบบนี้นั้นอยู่ใกล้กันมากจนแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์แต่ละดวงส่งผลถึงกัน และเกิดการเปลี่ยนไปของวงโคจร ช้าลงหรือเร็วขึ้น ทำให้เราสามารถหา มวลของดาวแต่ละดวงได้
เมื่อเรารู้มวลและขนาด เราก็จะสามารถหาความหนาแน่นของดาวได้ ด้วยสมการ D = m/V ข้อมูลพวกนี้ได้จากการศึกษาการ Transit ตัดหน้าดาวเคราะห์แม่ เหมือนกับเทคนิคที่ NASA ใช้ในการตรวจจับ Exo-Planet หรือดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะตามปกติ แต่ด้วยกัลกอริทึม “transit timing variations” ทำให้เราสามารถคำนวณหาข้อมูลข้างต้นนี้ได้อย่างแม่นยำ
ในการ Transit แต่ละครั้ง กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลยังสามารถตรวจจับการ shift ของคลืนในความถี่ต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถบอกถึงองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวบริวารแต่ละดวงได้ ในเดือนพฤษภาคม 2016 ข้อมูลจากฮับเบิลตรวจพบว่า Trappist-1 e ( ดวงที่สี่ ) มีความคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุด และมีโอกาสว่าบนดาวจะมีมหาสมุทรที่ใกล้เคียงกับมหาสมุทรของโลก แต่ด้วยปริมาณน้ำในหมาสมุทรที่มากกว่าถึง 250 เท่า นับเป็น 5% ของดาว ในขณะที่โลกมีน้ำเพียงแค่ 0.02% เท่านั้น
อ้างอิง
NASA/JPL – TRAPPIST-1 Planet Lineup – Updated Feb. 2018
NASA/JPL – New clues to compositions of TRAPPIST-1 planets
Cr.
https://spaceth.co/trappist-1-habor-250-times-earth-water/ โดย Nutn0n
WISE 0855
เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ได้พบหลักฐานที่แน่นหนาของเมฆน้ำบนวัตถุนอกระบบสุริยะ
Andrew Skemer นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ หนึ่งในทีมวิจัยเรื่องนี้แถลงข่าวว่า จากการสำรวจครั้งล่าสุดที่ดาว WISE 0855 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 7.2 ปีแสง พบว่าดาวแคระน้ำตาลที่เย็นยะเยือกดวงนี้มีเมฆน้ำหรือน้ำแข็งน้ำในชั้นบรรยากาศของมัน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ WISE 0855 ในปี 2014 มันมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 5 เท่า ทำให้มันเป็นดาวแคระน้ำตาลซึ่งหมายถึงวัตถุที่ใหญ่มากเกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ แต่เล็กเกินกว่าที่จะสามารถจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นภายในเพื่อเป็นดาวฤกษ์
WISE 0855 เป็นวัตถุที่เย็นที่สุดนอกระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และมองเห็นได้เพียงน้อยมากจนเกือบจะมองไม่เห็นภายใต้รังสีอินฟราเรด แต่ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคนิคการตรวจสอบโดยการวิเคราะห์สเปกตรัม นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวดวงนี้มีบางอย่างที่มีลักษณะน่าสนใจ คือ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยเมฆของไอน้ำ และนี่เป็นครั้งแรกที่เมฆน้ำได้ถูกตรวจพบนอกระบบสุริยะของเรา
Skemer และทีมงานของเขาใช้กล้องโทรทรรศน์ Gemini North ในฮาวาย เฝ้าสังเกตและศึกษา WISE 0855 กว่า 13 คืน รวมเวลาประมาณ 14 ชั่วโมง Gemini North ตั้งอยู่บนภูเขา Mauna Kea ที่สูงที่สุดของฮาวาย ซึ่งจะมีไอน้ำมารบกวนกล้องโทรทรรศน์น้อยมาก
“มันเลือนลางกว่าวัตถุอื่นถึงห้าเท่า” Skemer กล่าว “แต่ตอนนี้เรามีสเปกตรัมแล้ว เราสามารถเริ่มพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในดาวดวงนี้ สเปกตรัมแสดงให้เห็นว่า WISE 0855 ถูกครอบคลุมด้วยไอน้ำและเมฆ ด้วยลักษณะโดยรวมที่คล้ายกับดาวพฤหัสบดี”
สเปกตรัมของ WISE 0855 ปรากฏคุณสมบัติการดูดซึมน้ำคล้ายกับที่พบในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี แต่ยังมีความแตกต่างบางอย่าง เช่น ปริมาณของฟอสฟีน (สารประกอบของฟอสฟอรัสและไฮโดรเจน) ที่ดาวพฤหัสบดีมีอยู่จำนวนมาก แต่ WISE 0855 ไม่มี
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก space, universetoday
Cr.
https://www.takieng.com/stories/1206
ยูโรปา (Europa)
ยูโรปา (Europa) เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสฯฉายาคือ ราชินีแห่งมหาสมุทรน้ำแข็ง มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเพียงเล็กน้อย มีพื้นผิวปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ภายใต้เปลือกน้ำแข็ง เป็น มหาสมุทรซึ่งสันนิษฐานว่ามีน้ำมากกว่าโลกถึงสองเท่า นักชีวดาราศาสตร์เชื่อว่า ยูโรปามีศักยภาพที่จะเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับชีวิตบนโลกใต้ทะเลลึกซึ่งอาศัยความร้อนและธาตุอาหารจากภูเขาไฟ ใต้มหาสมุทร
• ข้อมูลการสำรวจใหม่
ต้นตอพลังงานอนุภาคที่มีประจุในสนามแม่เหล็กดาวพฤหัสบดีเข้าถล่มปะทะพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา แปลงธาตุกำมะถันของดวงจันทร์ไอโอและองค์ประกอบอื่นๆ กลายเป็นสารประกอบที่อุดมด้วยพลังงาน
และดวงจันทร์ยูโรปามีความเกร็งอยู่ตลอดเวลาโดย การผลักดัน น้ำขึ้น-น้ำลง จากการดึงดูดของดาวพฤหัสฯและดวงจันทร์ อื่นๆ ที่เป็นบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นการสร้างความร้อนช่วยให้น้ำ ที่อยู่ภายใต้น้ำแข็งลึกลงไปหลายร้อยกิโลเมตร เกิดเป็นของเหลวปฎิกิริยาความกดดันภายใน ทำให้น้ำแข็งละลาย เป็นน้ำพุ่งสูงออกไปในอากาศ สูง 10,000 เมตร และแผ่กว้างออกไปตามรอยแตกของพื้นน้ำแข็ง
น้ำบนดวงจันทร์ยูโรปาถูกฝังไว้ใต้พื้นน้ำแข็ง ผิวเปลือกน้ำแข็งเป็นตัวการล็อคน้ำไว้เบื้องลึก โดยทั่วไปเปลือกผิวมีความหนาประมาณ 3 กม. หรือบางแห่ง อาจหนากกว่านั้นนับร้อยกิโลเมตร ลักษณะคล้ายเป็นโพรง เก็บ น้ำใต้ดิน แต่รอยแตกเหล่านั้นทำให้องค์ประกอบทางเคมีสำหรับชีวิตทางชีวภาพถูกผลิต และส่งมอบไปยังน่านน้ำที่อยู่ภายใต้พื้นผิวของยูโรปาทำให้เกิดกลไกสร้าง ระบบชีวิตใหม่ และด้วยแสงแดดอ่อนๆ ทำให้เป็นตัวสนับสนุนอีกทางหนึ่ง
Cr.http://www.sunflowercosmos.org/Moon-004-europa-moon.html โดย ASTRO PETER SUNFLOWER
เอนเซลาดัส (Enceladus)
(ภาพจำลองน้ำพุที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์เอนเซลาดัส Photo: nasa.gov)
ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) เป็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์ที่พื้นผิวเป็นน้ำแข็งค่อนข้างเรียบและสะท้อนแสงได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้พื้นผิวของมันเย็นจัดถึง −198 องศาเซลเซียส เนื่องจากพลังงานถูกสะท้อนออกไป
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ดวงนี้ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1789 โดย วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษคนเดียวกับที่ค้นพบดาวยูเรนัส แต่ในขณะนั้นกล้องโทรทรรศน์ไม่สามารถเก็บรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับดวงจันทร์ดวงนี้มาได้มากนัก
จนกระทั่งราวๆ สองร้อยปีต่อมา ในปี ค.ศ. 2005 ยานอวกาศแคสสินี (Cassini spacecraft) ได้โคจรเข้าไปใกล้ดวงจันทร์ดวงนี้แล้วทำการเก็บภาพพื้นผิวของมันได้อย่างละเอียด จนได้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นคือ น้ำพุ และน้ำแข็งที่พุ่งออกมาจากผิวบริเวณขั้วใต้ โดยน้ำพุนั้นมีสารประเภทเกลือละลายอยู่ ยานอวกาศแคสสินีได้เข้าใกล้ดวงจันทร์ดวงนี้อีกหลายครั้งเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของมัน ข้อมูลต่างๆ บ่งชี้ว่ามันมีมหาสมุทรอยู่ภายใต้เปลือกน้ำแข็ง
ล่าสุดในวันที่ 13 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017 นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลจากยานอวกาศแคสสินีที่ทำการปล่อยคลื่นไมโครเวฟไปสำรวจดวงจันทร์เอนเซลาดัสมาวิเคราะห์จนพบว่าขั้วใต้ของดวงจันทร์ดวงนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าที่นักดาราศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ นั่นแปลว่ามหาสมุทรของมันน่าจะอยู่ลึกจากผิวลงไปเพียง 2 กิโลเมตร (จากที่เคยคิดว่าน่าจะลึก 5 กิโลเมตร) กล่าวคือ ถ้าเปลือกน้ำแข็งมีความหนามากๆ จนมหาสมุทรของมันอยู่ลึกสุดๆ ความร้อนจากภายในไม่น่าจะส่งขึ้นมาทำให้นักดาราศาสตร์ตรวจจับอุณหภูมิได้สูงเช่นนี้
อ้างอิง:
sci.esa.int/cassini-huygens/58877-enceladus-south-pole-is-warm-under-the-frost/
www.nasa.gov/jpl/the-solar-system-and-beyond-is-awash-in-water/
www.nasa.gov/sites/default/files/thumbnails/image/oceanworlds_infographic_full.jpg
Cr.
https://themomentum.co/successful-innovation-design-water-source-in-solar-system/ โดย INNOVATION
“TOI 700 d”
วันที่ 7 มกราคม 2020 สำนักข่าว Geek รายงานว่าดาวเทียม Transiting Exoplanet Survey Satellite (TESS) ของนาซ่าค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกดวงใหม่ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อให้มันว่า “TOI 700 d”
ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในระบบ TRAPPIST-1 ร่วมกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler space telescope) ของนาซ่า
“TESS ถูกออกแบบมาเพื่อค้นหาดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์โดยเฉพาะ การค้นพบ TOI 700 d คือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของ TESS” – พอล เฮิร์ทซ์ (Paul Hertz) ผู้อำนวยการฝ่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่นาซ่า กล่าวถึง TESS ที่ถูกปล่อยตัวในเดือนเมษายน 2018 เพื่อทำภารกิจตามล่าหาดาวเคราะห์ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ใกล้เคียง
TOI 700 d อยู่ห่างโลกออกไป 100 ปีแสงในทางตอนใต้กลุ่มดาวปลากระโทงแทง (Daroda) มีมวลและขนาดประมาณ 40% ของดวงอาทิตย์ และอุณหภูมิพื้นผิวประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์
“ในข้อมูลจาก 11 เดือน เราไม่เห็นเปลวไฟจากดาว ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้ TOI 700 d สามารถอยู่อาศัยได้และทำให้ง่ายต่อการจำลองสภาพบรรยากาศและพื้นผิวของมัน” เอมิลี่ กิลเบิร์ท นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าว
แหล่งน้ำนอกโลกที่ถูกค้นพบ
เมื่อ 11 ก.ย. 2562 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะของเราเป็นครั้งแรก โดยเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างออกไปถึง 111 ปีแสง
ทีมนักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ในเขตอาศัยได้ของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลเป็นครั้งแรก ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ทำให้ดาวเคราะห์ดวงนี้ที่มีชื่อว่า “K2-18b” อาจเป็นดาวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
ข้อมูลการค้นพบดังกล่าวถูกเผยแพร่ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ (Nature Astronomy) โดยทีมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ตรวจสอบดาวเคราะห์ต่างๆ ที่พบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “ฮับเบิล” ในวงโคจรโลก ระหว่างปี 2016-2017 และระบุสารเคมีบางอย่างในชั้นบรรยากาศของดาวเหล่านี้ด้วยการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของแสงดาว ในขณะที่ดาวเคราะห์เหล่านั้นโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเอง และมีเพียงดาว K2-18b เท่านั้นที่แสดงให้เห็นหลักฐานโมเลกุลของน้ำ โดยคอมพิวเตอร์วิเคาะห์ว่า ราว 50% ของชั้นบรรยากาศอาจประกอบด้วยน้ำ
ศาสตราจารย์ โจวานนา ติเนตติ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน (UCL) ผู้นักทีมนักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ ระบุว่า นี่เป็นการค้นพบที่น่าตื่นตาตื่นใจ “นี่เป็นครั้งแรกที่เราตรวจพบน้ำบนดาวเคราะห์ที่ดาวเคราะห์ในเขตอาศัยได้รอบดาวฤกษ์ ที่อุณหภูมิอาจเหมาะต่อการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต”
อนึ่ง เขตอาศัยได้คือ เขตพื้นที่รอบดาวฤกษ์ เช่น ดวงอาทิตย์ ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะให้นำคงสภาพเป็นของเหลวบนพื้นผิวของดาว ซึ่งโลกของเราก็เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตอาศัยได้เช่นกัน
ขณะที่ดาว K2-18b มีขนาดประมาณ 2 เท่าของโลก อุณหภูมิระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเย็นพอให้น้ำคงสภาพเป็นของเหลว แต่มันอยู่ห่างจากโลก 111 ปีแสง หรือประมาณ 650 ล้านล้านไมล์ ซึ่งไกลเกินกว่าที่จะส่งยานใดๆ ไปสำรวจ ทางเลือกเดียวตอนนี้คือต้องรอกล้องโทรทรรศน์รุ่นใหม่ที่จะถูกส่งออกสู่อวกาศในช่วงทศวรรษที่ 2020 เพื่อตรวจสอบแก๊สที่มีเพียงสิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่สร้างได้ ในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนี้
“นี่เป็นหนึ่งในคำถามใหญ่ที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ และเราก็สงสัยมาตลอดว่า เราอยู่อย่างโดดเดี่ยวในจักรวาลหรือไม่” ดร.อินโก วาลด์มันน์ จาก UCL กล่าว “ภายใน 10 ปีข้างหน้า เราจะได้รู้ว่ามีสารเคมีที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตในชั้นบรรยากาศของดาวดวงนั้นหรือไม่”
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1658761
Trappist-1
(ภาพจำลองระบบสุริยะ Trappist-1 แสดงให้เห็นดาวแม่ของมันและดาวบริวาณ (ระยะห่างไม่เป็นตามจริง) ที่มา – NASA/JPL)
ล่าสุด NASA/JPL-Caltech ได้ออกรายงานว่าเป็นไปได้ว่าดาวในระบบสุริยะ Trappist-1 จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบและมีน้ำมากกว่ามหาสมุทรของโลกถึง 250 เท่า
สำหรับที่มาของการคาดคะเนในครั้งนี้เริ่มต้นมาจากการที่นักวิทยาศาสตร์ Simon Grimm จาก University of Bern ได้ทำการศึกษาพบว่า ดาวบริวารในระบบนี้นั้นอยู่ใกล้กันมากจนแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์แต่ละดวงส่งผลถึงกัน และเกิดการเปลี่ยนไปของวงโคจร ช้าลงหรือเร็วขึ้น ทำให้เราสามารถหา มวลของดาวแต่ละดวงได้
เมื่อเรารู้มวลและขนาด เราก็จะสามารถหาความหนาแน่นของดาวได้ ด้วยสมการ D = m/V ข้อมูลพวกนี้ได้จากการศึกษาการ Transit ตัดหน้าดาวเคราะห์แม่ เหมือนกับเทคนิคที่ NASA ใช้ในการตรวจจับ Exo-Planet หรือดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะตามปกติ แต่ด้วยกัลกอริทึม “transit timing variations” ทำให้เราสามารถคำนวณหาข้อมูลข้างต้นนี้ได้อย่างแม่นยำ
ในการ Transit แต่ละครั้ง กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลยังสามารถตรวจจับการ shift ของคลืนในความถี่ต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถบอกถึงองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศของดาวบริวารแต่ละดวงได้ ในเดือนพฤษภาคม 2016 ข้อมูลจากฮับเบิลตรวจพบว่า Trappist-1 e ( ดวงที่สี่ ) มีความคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุด และมีโอกาสว่าบนดาวจะมีมหาสมุทรที่ใกล้เคียงกับมหาสมุทรของโลก แต่ด้วยปริมาณน้ำในหมาสมุทรที่มากกว่าถึง 250 เท่า นับเป็น 5% ของดาว ในขณะที่โลกมีน้ำเพียงแค่ 0.02% เท่านั้น
อ้างอิง
NASA/JPL – TRAPPIST-1 Planet Lineup – Updated Feb. 2018
NASA/JPL – New clues to compositions of TRAPPIST-1 planets
Cr.https://spaceth.co/trappist-1-habor-250-times-earth-water/ โดย Nutn0n
WISE 0855
เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ได้พบหลักฐานที่แน่นหนาของเมฆน้ำบนวัตถุนอกระบบสุริยะ
Andrew Skemer นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียซานตาครูซ หนึ่งในทีมวิจัยเรื่องนี้แถลงข่าวว่า จากการสำรวจครั้งล่าสุดที่ดาว WISE 0855 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 7.2 ปีแสง พบว่าดาวแคระน้ำตาลที่เย็นยะเยือกดวงนี้มีเมฆน้ำหรือน้ำแข็งน้ำในชั้นบรรยากาศของมัน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ WISE 0855 ในปี 2014 มันมีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 5 เท่า ทำให้มันเป็นดาวแคระน้ำตาลซึ่งหมายถึงวัตถุที่ใหญ่มากเกินกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ แต่เล็กเกินกว่าที่จะสามารถจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นภายในเพื่อเป็นดาวฤกษ์
WISE 0855 เป็นวัตถุที่เย็นที่สุดนอกระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และมองเห็นได้เพียงน้อยมากจนเกือบจะมองไม่เห็นภายใต้รังสีอินฟราเรด แต่ด้วยความเชี่ยวชาญในเทคนิคการตรวจสอบโดยการวิเคราะห์สเปกตรัม นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวดวงนี้มีบางอย่างที่มีลักษณะน่าสนใจ คือ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยเมฆของไอน้ำ และนี่เป็นครั้งแรกที่เมฆน้ำได้ถูกตรวจพบนอกระบบสุริยะของเรา
Skemer และทีมงานของเขาใช้กล้องโทรทรรศน์ Gemini North ในฮาวาย เฝ้าสังเกตและศึกษา WISE 0855 กว่า 13 คืน รวมเวลาประมาณ 14 ชั่วโมง Gemini North ตั้งอยู่บนภูเขา Mauna Kea ที่สูงที่สุดของฮาวาย ซึ่งจะมีไอน้ำมารบกวนกล้องโทรทรรศน์น้อยมาก
“มันเลือนลางกว่าวัตถุอื่นถึงห้าเท่า” Skemer กล่าว “แต่ตอนนี้เรามีสเปกตรัมแล้ว เราสามารถเริ่มพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในดาวดวงนี้ สเปกตรัมแสดงให้เห็นว่า WISE 0855 ถูกครอบคลุมด้วยไอน้ำและเมฆ ด้วยลักษณะโดยรวมที่คล้ายกับดาวพฤหัสบดี”
สเปกตรัมของ WISE 0855 ปรากฏคุณสมบัติการดูดซึมน้ำคล้ายกับที่พบในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี แต่ยังมีความแตกต่างบางอย่าง เช่น ปริมาณของฟอสฟีน (สารประกอบของฟอสฟอรัสและไฮโดรเจน) ที่ดาวพฤหัสบดีมีอยู่จำนวนมาก แต่ WISE 0855 ไม่มี
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก space, universetoday
Cr.https://www.takieng.com/stories/1206
ยูโรปา (Europa)
ยูโรปา (Europa) เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสฯฉายาคือ ราชินีแห่งมหาสมุทรน้ำแข็ง มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเพียงเล็กน้อย มีพื้นผิวปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ภายใต้เปลือกน้ำแข็ง เป็น มหาสมุทรซึ่งสันนิษฐานว่ามีน้ำมากกว่าโลกถึงสองเท่า นักชีวดาราศาสตร์เชื่อว่า ยูโรปามีศักยภาพที่จะเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับชีวิตบนโลกใต้ทะเลลึกซึ่งอาศัยความร้อนและธาตุอาหารจากภูเขาไฟ ใต้มหาสมุทร
• ข้อมูลการสำรวจใหม่
ต้นตอพลังงานอนุภาคที่มีประจุในสนามแม่เหล็กดาวพฤหัสบดีเข้าถล่มปะทะพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา แปลงธาตุกำมะถันของดวงจันทร์ไอโอและองค์ประกอบอื่นๆ กลายเป็นสารประกอบที่อุดมด้วยพลังงาน
และดวงจันทร์ยูโรปามีความเกร็งอยู่ตลอดเวลาโดย การผลักดัน น้ำขึ้น-น้ำลง จากการดึงดูดของดาวพฤหัสฯและดวงจันทร์ อื่นๆ ที่เป็นบริวารของดาวพฤหัสบดี เป็นการสร้างความร้อนช่วยให้น้ำ ที่อยู่ภายใต้น้ำแข็งลึกลงไปหลายร้อยกิโลเมตร เกิดเป็นของเหลวปฎิกิริยาความกดดันภายใน ทำให้น้ำแข็งละลาย เป็นน้ำพุ่งสูงออกไปในอากาศ สูง 10,000 เมตร และแผ่กว้างออกไปตามรอยแตกของพื้นน้ำแข็ง
น้ำบนดวงจันทร์ยูโรปาถูกฝังไว้ใต้พื้นน้ำแข็ง ผิวเปลือกน้ำแข็งเป็นตัวการล็อคน้ำไว้เบื้องลึก โดยทั่วไปเปลือกผิวมีความหนาประมาณ 3 กม. หรือบางแห่ง อาจหนากกว่านั้นนับร้อยกิโลเมตร ลักษณะคล้ายเป็นโพรง เก็บ น้ำใต้ดิน แต่รอยแตกเหล่านั้นทำให้องค์ประกอบทางเคมีสำหรับชีวิตทางชีวภาพถูกผลิต และส่งมอบไปยังน่านน้ำที่อยู่ภายใต้พื้นผิวของยูโรปาทำให้เกิดกลไกสร้าง ระบบชีวิตใหม่ และด้วยแสงแดดอ่อนๆ ทำให้เป็นตัวสนับสนุนอีกทางหนึ่ง
Cr.http://www.sunflowercosmos.org/Moon-004-europa-moon.html โดย ASTRO PETER SUNFLOWER
เอนเซลาดัส (Enceladus)
(ภาพจำลองน้ำพุที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์เอนเซลาดัส Photo: nasa.gov)
ดวงจันทร์เอนเซลาดัส (Enceladus) เป็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์ที่พื้นผิวเป็นน้ำแข็งค่อนข้างเรียบและสะท้อนแสงได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้พื้นผิวของมันเย็นจัดถึง −198 องศาเซลเซียส เนื่องจากพลังงานถูกสะท้อนออกไป
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ดวงนี้ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1789 โดย วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษคนเดียวกับที่ค้นพบดาวยูเรนัส แต่ในขณะนั้นกล้องโทรทรรศน์ไม่สามารถเก็บรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับดวงจันทร์ดวงนี้มาได้มากนัก
จนกระทั่งราวๆ สองร้อยปีต่อมา ในปี ค.ศ. 2005 ยานอวกาศแคสสินี (Cassini spacecraft) ได้โคจรเข้าไปใกล้ดวงจันทร์ดวงนี้แล้วทำการเก็บภาพพื้นผิวของมันได้อย่างละเอียด จนได้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง นั่นคือ น้ำพุ และน้ำแข็งที่พุ่งออกมาจากผิวบริเวณขั้วใต้ โดยน้ำพุนั้นมีสารประเภทเกลือละลายอยู่ ยานอวกาศแคสสินีได้เข้าใกล้ดวงจันทร์ดวงนี้อีกหลายครั้งเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในของมัน ข้อมูลต่างๆ บ่งชี้ว่ามันมีมหาสมุทรอยู่ภายใต้เปลือกน้ำแข็ง
ล่าสุดในวันที่ 13 มีนาคม ปี ค.ศ. 2017 นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลจากยานอวกาศแคสสินีที่ทำการปล่อยคลื่นไมโครเวฟไปสำรวจดวงจันทร์เอนเซลาดัสมาวิเคราะห์จนพบว่าขั้วใต้ของดวงจันทร์ดวงนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าที่นักดาราศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ นั่นแปลว่ามหาสมุทรของมันน่าจะอยู่ลึกจากผิวลงไปเพียง 2 กิโลเมตร (จากที่เคยคิดว่าน่าจะลึก 5 กิโลเมตร) กล่าวคือ ถ้าเปลือกน้ำแข็งมีความหนามากๆ จนมหาสมุทรของมันอยู่ลึกสุดๆ ความร้อนจากภายในไม่น่าจะส่งขึ้นมาทำให้นักดาราศาสตร์ตรวจจับอุณหภูมิได้สูงเช่นนี้
อ้างอิง:
sci.esa.int/cassini-huygens/58877-enceladus-south-pole-is-warm-under-the-frost/
www.nasa.gov/jpl/the-solar-system-and-beyond-is-awash-in-water/
www.nasa.gov/sites/default/files/thumbnails/image/oceanworlds_infographic_full.jpg
Cr.https://themomentum.co/successful-innovation-design-water-source-in-solar-system/ โดย INNOVATION
“TOI 700 d”
วันที่ 7 มกราคม 2020 สำนักข่าว Geek รายงานว่าดาวเทียม Transiting Exoplanet Survey Satellite (TESS) ของนาซ่าค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกดวงใหม่ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งพวกเขาตั้งชื่อให้มันว่า “TOI 700 d”
ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในระบบ TRAPPIST-1 ร่วมกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ (Kepler space telescope) ของนาซ่า
“TESS ถูกออกแบบมาเพื่อค้นหาดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์โดยเฉพาะ การค้นพบ TOI 700 d คือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของ TESS” – พอล เฮิร์ทซ์ (Paul Hertz) ผู้อำนวยการฝ่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่นาซ่า กล่าวถึง TESS ที่ถูกปล่อยตัวในเดือนเมษายน 2018 เพื่อทำภารกิจตามล่าหาดาวเคราะห์ที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ใกล้เคียง
TOI 700 d อยู่ห่างโลกออกไป 100 ปีแสงในทางตอนใต้กลุ่มดาวปลากระโทงแทง (Daroda) มีมวลและขนาดประมาณ 40% ของดวงอาทิตย์ และอุณหภูมิพื้นผิวประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์
“ในข้อมูลจาก 11 เดือน เราไม่เห็นเปลวไฟจากดาว ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสให้ TOI 700 d สามารถอยู่อาศัยได้และทำให้ง่ายต่อการจำลองสภาพบรรยากาศและพื้นผิวของมัน” เอมิลี่ กิลเบิร์ท นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าว