วัฏจักรหุ้น กับ Richard Wyckoff

นี่เป็นบทความแรกในซีรีส์ย่อย 6 เรื่องที่เราจะนําเสนอเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) สําหรับการเทรด
บทความทั้ง 6 ตอน จะแนะนำ
(1) Wyckoff Cycle
(2) Trendlines and Moving Average (เส้นแนวโน้ม และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่)
(3) Japanese candlesticks
(4) Support/Resistance และ pivots (แนวรับ, แนวต้าน และจุดเปลี่ยน)
(5) Targets and Stops (เป้าหมายและจุดออกจากเทรด)
(6) การใช้การวิเคราะห์พื้นฐานมาสนับสนุนการวิเคราะห์ทางเทคนิค
มาเริ่มรู้จักนาย Richard Wyckoff เป็นนักลงทุนตลาดหุ้นที่ประสบความสําเร็จ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทางการเงินในอเมริกาเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ตลาดหุ้นเต็มไปด้วยการหลอกลวงและนักลงทุนรายใหญ่ทําเงินจากนักลงทุนรายย่อยที่หลงเชื่อง่าย Wyckoff ค้นพบว่า บ่อยครั้งราคาหุ้นมีรูปแบบเหมือนๆกันในลักษณะ “Pump and Dump” เขาได้ทําการศึกษาเพิ่มเติมและสรุปว่า แม้แต่ราคาหุ้นของบริษัทที่มั่นคงก็ยังไม่รอดพ้นจากอิทธิพลของนักลงทุนรายใหญ่ที่พยายามเพิ่มหรือลดการถือครองหุ้นเพื่อจุดประสงค์นี้ สิ่งนี้ยังคงเป็นจริงในปัจจุบันไม่ต่างจากอดีต


ดังนั้นเวลาเราเทรดหุ้น มันสมเหตุสมผลที่จะตั้งคําถามที่สําคัญที่สุด “เกิดอะไรกับหุ้นในตอนนี้” ผู้จัดการกองทุนระดับตำนาน อย่าง Jim Simons และ Ray Dalio ได้แบ่งพฤติกรรมตลาดเป็น 6,7,หรือ 8 รูปแบบ เช่น ตลาดกระทิงเงียบ (quiet bull market) หรือ ตลาดที่ไม่เป็นเทรนด์ ขึ้นๆ ลงๆ (noisy sideways market) เพื่อตัดสินว่าจะใช้ Indicator (ตัวบ่งชี้ตลาด) ตัวไหน และจะตั้ง stop loss อย่างไร ในขณะที่ Wcykoff ใช้วิธีที่เรียบง่ายกว่า โดยแบ่งพฤติกรรมตลาดเป็นแค่ 4 รูปแบบ
1. “ช่วงเก็บของ” (Accumulation): นักลงทุนรายใหญ่พยายามที่จะเก็บสะสมหุ้นเพิ่มขึ้น ข่าวอาจจะธรรมดา หรือ แย่, ปริมาณหุ้นที่เทรด (volume) ก็ทั่วๆไป, ราคาหุ้นอาจจะลดลงเล็กน้อย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรือไม่เคลื่อนเลย นักลงทุนทั่วไปจะรู้สึกหงุดหงิดกับหุ้นตัวนี้และอยากที่ซื้อหุ้นที่เป็นที่นิยมตัวอื่นมากกว่า ในขณะที่รายใหญ่ก็เก็บของไปเรื่อยๆ
2. “ช่วงทําราคา”(Markup): เมื่อรายใหญ่เก็บของพอแล้วหรือรู้สึกว่าไม่มีแรงขายออกมา หุ้นก็ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว ดึงดูดความสนใจของนักเทรดหุ้นระยะสั้น และทำให้นักเขียนวิเคราะห์หุ้นต้องปรับการประเมินราคาหุ้น
ช่วง Markup มักจะสั้นกว่าช่วง Accumulation แต่มีความผันผวนของราคาและโวลุ่มมากกว่า หากปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกเกิดขึ้นกับหุ้น ระยะนี้อาจกินเวลานานแต่ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ส่วนมากช่วง Mark up จะเริ่มต้นด้วยการ Break (ราคาจะเพิ่มขึ้นพร้อมความผันผวนและโวลุ่มที่มากกว่าปกติ) และจบลงด้วย Climax ราคาจะสูงขึ้นแบบฉุดไม่อยู่และโวลุ่มที่เพิ่มขึ้น


3. “ช่วงระบายของ” (distribution) : หลังจากที่ราคาขยับไปที่ฐานที่สูงขึ้นมากกว่าเดิม การซื้อขายจะชะลอตัวลงและแรงซื้อจะลดลง นักลงทุนรายใหญ่จะลดการถือครองอย่างเงียบๆ เพราะเริ่มมีความคิดที่แตกต่างผุดขึ้นมาว่าหุ้นจะวิ่งต่อหรือไม่
4. ช่วง Markdown: นักลงทุนรายใหญ่อยากกลับมาเล่นอีกทีแต่ราคายังสูง จึงหาทางให้หุ้นลงโดยปล่อยข่าวร้ายหรือมีบล็อกเทรดขนาดใหญ่ในวันที่ตลาดเงียบ ถือเป็นการตั้งเวทีสำหรับราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาต่อมา
วงจรเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยทั่วไปแล้วช่วงระบายของและ Markdown จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นกว่าช่วงเก็บของและ Markup โดยมีข้อยกเว้นที่โดดเด่นของ "Pump and Dump" ของ บริษัทที่แย่


ตอนนี้เราจำเป็นต้องพูดถึงประเด็นที่สำคัญที่สุดสองอย่างของการจำแนกวัฏจักร: จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อเฟสเปลี่ยนไปและจะทำอย่างไรกับความรู้นี้?
มาพูดคำถามที่สองกันก่อน หาก trader เข้าถือหุ้นในช่วงปลายๆ ของช่วงเก็บของหรือตอน break ของช่วง Mark up และถืออยู่จนถึงรอบต้นๆ ของ ช่วงระบายของหรือช่วง Climax ของ Mark up. การเทรดของเขาจะง่ายขึ้นมาก ความผิดพลาดของนักลงทุนแบบมือสมัครเล่น เช่น“ Catching a Falling knife” (การซื้อในช่วง Markdown), การขายเร็วเกินไปหรือ Overtrading ก็จะหลีกเลี่ยงได้ 

นอกจากนี้หาก trader ออกแบบสัญญาณการซื้อขายของตัวเอง เขาจะรู้ว่าหุ้นอยู่ที่ไหนในวงจร Wyckoff ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
Wyckoff เชื่อว่า ความพยายามที่จะเบรก support ในช่วงเก็บของที่ไม่สำเร็จ และ ความพยายามที่จะเบรก Resistanceในช่วง ระบายของที่ไม่สําเร็จ (ทั้งสองแบบเรียกว่า“ Spring”) ถือเป็นโอกาสในการเข้าถือหุ้นที่ดีที่สุด

วิธีที่ง่ายที่สุดในการระบุรอบตลาดคือการกำจัด ก่อนอื่นเราจะกำหนดเฟสของตลาดให้กับกราฟประวัติของหุ้นที่เราสนใจมองหา Breaks, Climax และการเปลี่ยนแปลง volume มาช่วยในการกำหนดเฟสเหล่านี้ได้แม่นยำยิ่งขึ้น บ่อยครั้งที่กระบวนการเหล่านี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าหุ้นอยู่ในช่วงเฟสใด ถ้ายังไม่ชัด อย่างน้อยเราสามารถกำจัด 2 ใน 4 ของเฟสที่หุ้นไม่ได้อยู่ในตอนนี้
ชอบบทความนี้ ช่วยกดไลค์เป็นกําลังใจให้เราด้วยที่ Facebook: @BarracudaStocks พาพันขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่