สวัสดีครับ อันนี้เป็นการเขียนครั้งเเรกของผม หากผิดพลาดประการใดขอคำชี้เเนะด้วยครับ
เริ่มต้นจากเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วผมเชื่อว่าใครหลายๆคน เมื่อจบ ม.6 แล้ว จะต้องเคร่งเครียดว่าจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อปริญญา เพราะใบปริญญาคือใบเบิกทางสู่การประกอบอาชีพในอนาคต เรามักจะถูกให้มองแบบนั้นมาตลอด ผมก็เป็นคนนึง ที่เดินเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อใบปริญญา เริ่มต้นการเรียนในระดับปริญญาตรีอย่างหนักหน่วง ขณะเรียนอยู่ผมก็เรียนกับอาจารย์ท่านนึง ท่านเป็นอาจารย์ที่เก่งมากและเป็นอาจารย์ที่สอนสนุกและสไตน์การสอนของอาจารย์ ไม่เหมือนใคร ความคิดนึงมันก็ผ่านมาในหัว ทำยังไงถึงจะได้เก่งแบบอาจารย์บ้าง ผมเลยตัดสินใจเรียนต่อ เพื่อเอาปริญญาอีก 1 ใบ เริ่มต้นการเรียนปริญญาโท แนวการเรียนที่เปลี่ยนเเปลง กระบวนการวิจัยเชิงลึก ได้ใช้เครื่องมือที่เคยได้เรียนเเต่ในทฤษฎีในระดับปริญญาตรี ผ่านการทำวิจัยอย่างเข้มข้น ประสบพบเจอกับปัญหาอุปสรรค์มากมาย วันเวลาผ่านไป 3 ปี จนในที่สุดก็ผมได้ใบปริญญาใบที่ 2 มาซึ่งในใจคิดว่าคงพอแล้ว กับการเรียน เพราะอยากออกไปหาประสบการณ์ในการทำงานกับคนอื่นเค้าบ้าง แต่ก็แอบลังเลอยู่ในใจว่าถ้าเรียนต่อก็ดีนะ และคิดว่ายังสนุกกับการเรียนอยู่ ผมเลยเลือกที่จะเรียนต่อในใบที่ 3 ในระดับปริญญาเอก โดย คิดว่า มันคงไม่ยากเกินกว่าที่เราเคยเจอมาแล้วละ เริ่มต้นก็เป็นไปได้ด้วยดี ในปีเเรก เพราะ ว่า ยังสนุกกับการเรียน ปีที่ 2 ยังพอได้ วันเวลาล่วงเลยมา ปีที่ 3-4 ทุกอย่าง มันเปลี่ยนไป สภาวะทุกอย่างเดินไปด้วยสภาวะที่ฝืนทนและเบื่อกับการเรียน เมื่อไหร่ จะได้จบๆสักที มันจบไม่ได้นี้สิถ้าผลแลปออกมายังไม่เป็นที่หน้าพอใจ ผมเข้าใจความหมาย ของจุดที่ว่า เก่งยังไงก็ไม่ได้ช่วยให้คุณผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้หากคุณไม่มีสติและอดทน กว่าจะผ่านจุดพีคในการเรียนนี้มาก็หนักหนาสาหัส ที่จะต้องเผชิญกับสภาวะกดดันรอบด้าน ทั้ง ทางบ้าน ตัวเอง แบกความคาดหวังบลาๆ คำถามที่มักโดนเพื่อนๆถามตลอด จบเมื่อไหร่ เราทำได้เพียงยิ้มแล้วก็เงียบไป ในขณะที่ต้องพันฝ่าอุปสรรคการเรียน ก็เห็นชีวิตเพื่อนที่ไม่ได้เรียนต่อ ไปไกลไหนถึงไหนกันละ เราก็มานั่งเรียนอยู่วันเวลาผ่านไปครึ่งชีวิต ทุกอย่างก็จบไปได้ แต่ก็เสียเวลา ไป2-3 ปีกับการหาทางออกให้กับงานวิจัยของตัวเอง (ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างสูงที่ช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาอย่างดีมาตลอด) สุดท้ายก็ได้สอบจบ สักที จากการเรียนปริญญา 3 ใบ ผมเลยตั้งชื่อเส้นทางการเรียนผมว่า" ทฤษฎีบันใด 3 ขั้น" ใช่เวลา เกือบ 10 ปีกว่ากับการปีนบันได 3 ขั้นนี้ขึ้นมาได้ ถึงยุคปัจจุบันกับการก้าวไปสู้การเริ่มต้นชีวิตของการทำงาน แต่ทำไมถึงรู้สึกว่าเราเริ่มช้าไป เราเอาเวลาไปทุ่มกับการเรียนมากมาย แต่เรามาอยู่ในยุคที่ใบที่ 3 ยังเป็นที่ต้องการในตลาดเเรงงานของสังคมปัจจุบันนี้จริงหรือ เเน่นอนว่า ทุกคนมักจะมองว่าจบเอกต้องเป็นอาจารย์มหาลัยสิ แต่ทำไมผมกลับรู้สึกว่ากระเเสการเรียนต่อมหาลัยไม่เหมือนเมื่อก่อน เด็กน้อยลง อาจารย์ก็ต้องรับผิดชอบงานอื่นมากขึ้น การเริ่มต้นขอทุนวิจัยก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายเนื่องจากการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับเเนวทางการวิจัยให้เป็นระบบระเบียบตามเเพลทฟอ์อมงานวิจัยจะต้องตอบโจทย์ การพัฒนาประเทศ ชุมชน เศษฐกิจฐานราก ปรับเเนวคิดงานให้ตอบโจทย์ภาคอุตสหกรรม เเนวทางเปลี่ยนเเปลงไป ในขณะเดียวกันยังต้องตีพิมพ์ในฐานที่ยอมรับอีกให้ได้ (อันนี้เป็นความสงสัยส่วนตัวนะครับ การตีพิมพ์จะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ความใหม่ในงานวิจัยเชิงลึก แต่ในขณะเดียวกัน แนวทางของทุนในปัจจุบันงานวิจัยต้องตอบโจทย์ ชุมชน การนำไปใช้ประโยชน์สามารถถ่ายทอดลงสู่ชุมชนหรือ ผู้ประกอบการได้ ต้องมีการทำโมเดลทางธุรกิจ เพื่อขอทุน ผมมองว่ามันเหมือนกับคนละทิศทาง ถ้าหากมุ่งเพื่อการตีพิมพ์ ก็จะต้องมีเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ แต่ถ้าจะตอบโจทย์ชุมชน เทคโนโลยีจะต้องจับต้องได้การลงทุนที่ไม่สูง)
ผมรู้สึกว่าการเริ่มต้นในยุคนี้มันยากขึ้นมาก ที่จะต้องปรับการเรียนรู้ศาสตร์อื่นเข้ามาร่วมกับการทำวิจัย เลยอยากถามว่า ถ้าเกิดว่าเราไม่เลือกเดินเส้นทางสายวิชาการนี้ เราจะเดินในเส้นทางไหนดีกับยุคปัจจุบัน
หรือสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นการทำงานในสายวิชาการ จะมีเเนวทางอย่างไรกับการทำงานในสายวิชาการโดยเฉพาะเด็กจบใหม่
เพราะ ณ จุดนี้ผมคิดว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มก้าวหรือกำลังเตรียมก้าวในเส้นทางสายนี้จะต้องประสบพบเจอเเน่นอน ขอบคุณครับ
ยุคของใบปริญญากำลังจะหมดไปจริงหรือ
เริ่มต้นจากเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วผมเชื่อว่าใครหลายๆคน เมื่อจบ ม.6 แล้ว จะต้องเคร่งเครียดว่าจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อปริญญา เพราะใบปริญญาคือใบเบิกทางสู่การประกอบอาชีพในอนาคต เรามักจะถูกให้มองแบบนั้นมาตลอด ผมก็เป็นคนนึง ที่เดินเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อใบปริญญา เริ่มต้นการเรียนในระดับปริญญาตรีอย่างหนักหน่วง ขณะเรียนอยู่ผมก็เรียนกับอาจารย์ท่านนึง ท่านเป็นอาจารย์ที่เก่งมากและเป็นอาจารย์ที่สอนสนุกและสไตน์การสอนของอาจารย์ ไม่เหมือนใคร ความคิดนึงมันก็ผ่านมาในหัว ทำยังไงถึงจะได้เก่งแบบอาจารย์บ้าง ผมเลยตัดสินใจเรียนต่อ เพื่อเอาปริญญาอีก 1 ใบ เริ่มต้นการเรียนปริญญาโท แนวการเรียนที่เปลี่ยนเเปลง กระบวนการวิจัยเชิงลึก ได้ใช้เครื่องมือที่เคยได้เรียนเเต่ในทฤษฎีในระดับปริญญาตรี ผ่านการทำวิจัยอย่างเข้มข้น ประสบพบเจอกับปัญหาอุปสรรค์มากมาย วันเวลาผ่านไป 3 ปี จนในที่สุดก็ผมได้ใบปริญญาใบที่ 2 มาซึ่งในใจคิดว่าคงพอแล้ว กับการเรียน เพราะอยากออกไปหาประสบการณ์ในการทำงานกับคนอื่นเค้าบ้าง แต่ก็แอบลังเลอยู่ในใจว่าถ้าเรียนต่อก็ดีนะ และคิดว่ายังสนุกกับการเรียนอยู่ ผมเลยเลือกที่จะเรียนต่อในใบที่ 3 ในระดับปริญญาเอก โดย คิดว่า มันคงไม่ยากเกินกว่าที่เราเคยเจอมาแล้วละ เริ่มต้นก็เป็นไปได้ด้วยดี ในปีเเรก เพราะ ว่า ยังสนุกกับการเรียน ปีที่ 2 ยังพอได้ วันเวลาล่วงเลยมา ปีที่ 3-4 ทุกอย่าง มันเปลี่ยนไป สภาวะทุกอย่างเดินไปด้วยสภาวะที่ฝืนทนและเบื่อกับการเรียน เมื่อไหร่ จะได้จบๆสักที มันจบไม่ได้นี้สิถ้าผลแลปออกมายังไม่เป็นที่หน้าพอใจ ผมเข้าใจความหมาย ของจุดที่ว่า เก่งยังไงก็ไม่ได้ช่วยให้คุณผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้หากคุณไม่มีสติและอดทน กว่าจะผ่านจุดพีคในการเรียนนี้มาก็หนักหนาสาหัส ที่จะต้องเผชิญกับสภาวะกดดันรอบด้าน ทั้ง ทางบ้าน ตัวเอง แบกความคาดหวังบลาๆ คำถามที่มักโดนเพื่อนๆถามตลอด จบเมื่อไหร่ เราทำได้เพียงยิ้มแล้วก็เงียบไป ในขณะที่ต้องพันฝ่าอุปสรรคการเรียน ก็เห็นชีวิตเพื่อนที่ไม่ได้เรียนต่อ ไปไกลไหนถึงไหนกันละ เราก็มานั่งเรียนอยู่วันเวลาผ่านไปครึ่งชีวิต ทุกอย่างก็จบไปได้ แต่ก็เสียเวลา ไป2-3 ปีกับการหาทางออกให้กับงานวิจัยของตัวเอง (ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างสูงที่ช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาอย่างดีมาตลอด) สุดท้ายก็ได้สอบจบ สักที จากการเรียนปริญญา 3 ใบ ผมเลยตั้งชื่อเส้นทางการเรียนผมว่า" ทฤษฎีบันใด 3 ขั้น" ใช่เวลา เกือบ 10 ปีกว่ากับการปีนบันได 3 ขั้นนี้ขึ้นมาได้ ถึงยุคปัจจุบันกับการก้าวไปสู้การเริ่มต้นชีวิตของการทำงาน แต่ทำไมถึงรู้สึกว่าเราเริ่มช้าไป เราเอาเวลาไปทุ่มกับการเรียนมากมาย แต่เรามาอยู่ในยุคที่ใบที่ 3 ยังเป็นที่ต้องการในตลาดเเรงงานของสังคมปัจจุบันนี้จริงหรือ เเน่นอนว่า ทุกคนมักจะมองว่าจบเอกต้องเป็นอาจารย์มหาลัยสิ แต่ทำไมผมกลับรู้สึกว่ากระเเสการเรียนต่อมหาลัยไม่เหมือนเมื่อก่อน เด็กน้อยลง อาจารย์ก็ต้องรับผิดชอบงานอื่นมากขึ้น การเริ่มต้นขอทุนวิจัยก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายเนื่องจากการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับเเนวทางการวิจัยให้เป็นระบบระเบียบตามเเพลทฟอ์อมงานวิจัยจะต้องตอบโจทย์ การพัฒนาประเทศ ชุมชน เศษฐกิจฐานราก ปรับเเนวคิดงานให้ตอบโจทย์ภาคอุตสหกรรม เเนวทางเปลี่ยนเเปลงไป ในขณะเดียวกันยังต้องตีพิมพ์ในฐานที่ยอมรับอีกให้ได้ (อันนี้เป็นความสงสัยส่วนตัวนะครับ การตีพิมพ์จะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ความใหม่ในงานวิจัยเชิงลึก แต่ในขณะเดียวกัน แนวทางของทุนในปัจจุบันงานวิจัยต้องตอบโจทย์ ชุมชน การนำไปใช้ประโยชน์สามารถถ่ายทอดลงสู่ชุมชนหรือ ผู้ประกอบการได้ ต้องมีการทำโมเดลทางธุรกิจ เพื่อขอทุน ผมมองว่ามันเหมือนกับคนละทิศทาง ถ้าหากมุ่งเพื่อการตีพิมพ์ ก็จะต้องมีเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ แต่ถ้าจะตอบโจทย์ชุมชน เทคโนโลยีจะต้องจับต้องได้การลงทุนที่ไม่สูง)
ผมรู้สึกว่าการเริ่มต้นในยุคนี้มันยากขึ้นมาก ที่จะต้องปรับการเรียนรู้ศาสตร์อื่นเข้ามาร่วมกับการทำวิจัย เลยอยากถามว่า ถ้าเกิดว่าเราไม่เลือกเดินเส้นทางสายวิชาการนี้ เราจะเดินในเส้นทางไหนดีกับยุคปัจจุบัน
หรือสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นการทำงานในสายวิชาการ จะมีเเนวทางอย่างไรกับการทำงานในสายวิชาการโดยเฉพาะเด็กจบใหม่
เพราะ ณ จุดนี้ผมคิดว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มก้าวหรือกำลังเตรียมก้าวในเส้นทางสายนี้จะต้องประสบพบเจอเเน่นอน ขอบคุณครับ