"จิตตสังขาร" ในอานาปาฯ คือ " จิต8คู่ " ใน มหาสติปัฏฐาน4 นั้นเอง !!!!



จากพระสูตร.... อานาปานสติ หมวดเวทนา ได้กล่าวถึง จิตตสังขาร  ว่า ให้รู้พร้อม และทำให้รำงับ
จขกท.ก็พอเข้าใจว่า สังขาร หมายถึง ความปรุงแต่ง แต่ทำนี้ เมื่อไปเจอคำอื่นๆ ที่มักจะอยู่ในประโยคเดียวกับ จิต 
มักทำให้เกิดความสงสัยเสมอๆว่า มันเกี่ยวกับจิตจริงหรือไม่ เรื่องจิตนั้น... ในอานาปาฯ จะมีแต่คำว่า จิต กับ จิตสังขาร 
ดังนั้น อานาปาฯ ให้รู้เกี่ยวกับจิตแค่นี้

ปัญหาคือการกำหนดกรอบ หรือจำกัดขอบเขตของ คำว่า จิตตสังขาร ที่อยู่ในหมวดเวทนา..... เราจะจัดว่าสิ่งไหนใช่และไม่ใช่ การเจริญอานาปาฯที่ถูกต้อง

จขกท. คิดว่าเราสามารถใช้หลัก เชื่อมโยงพระสูตรได้ ก็คือเชิ่มโยงกับ พระสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร 4 ซึ่งจัดว่ามีความใกล้เคียง คล้ายคลึงกัน ต่างกันตรงที่ มหาสติปัฏฐานสูตร ทั้ง4 หมวด จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า อานาปาฯ https://ppantip.com/topic/37907860/comment1-3 

จขกท. ก็นึกออกว่า ในมหาสติปัฏฐานสูตร หมวดจิตานุปัสสนา มีบรรพเดียวนี่หว่า...... และจิตก็มี แปดคู่ รวมเป็น สิบหกลักษณะจิต 
แต่ก็มีข้อน่าสังเกตว่า จิตตสังขาร อยู่ในอานาปาฯ หมวด เวทนา ส่วน จิตแปดคู่ อยู่ใน สติปัฏฐานสูตร หมวด จิต

ก็คืออยู่กันคนละหวด แต่ จขกท. ก็ยังสงสัยและมีความเชื่อว่า จิตตสังขาร ในอานาปาฯ อาจจะหมายถึง จิตแปดคู่ ในสติปัฏฐานสูตร แน่ๆ 
แต่ก็ยังไม่แน่ใจ 100% 
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
พอคอมเม้นท์ตอบคุณตองเก้าเท่านั้นแหละ จขกท.กลับนึกออกทันทีเลยถึง ความหมายที่แท้จริงของคำว่า จิตตสังขาร

จิตก็คือจิตนั้นแหละ จิตจะไม่เป็นจิตได้อย่างไร คุณตองเก้า คุณผีเสื้อพเนจร คุณทำหมู คุณเฉลิมศักดิ์
จิตก็คือนาม กายก็คือรูป นะนี่คือส่วนที่เราเห็นต่างกัน

แล้วเราจะบอกให้ว่า จิตตสังขาร หมายความว่าอะไร.... จิตสมาสกับคำว่า สังขาร มันก็ต้องขยายความซึ่งกันและกัน
ดังนั้นก็ต้องหมายถึงจิตปรุงแต่งได้ สิ จิตปรุงแต่งไม่ได้หรือไง


และก็เผอิญตอนตอบคุณตองเก้านึกออกพอดี ความหมายของสังขารก็คือ เจตนา, ผัสสะ, มนสิการ

ดังนั้นนะ ทุกคนจงรับทราบความหมายของ คำว่าจิตตสังขาร หมายถึง จิตเจตนา, จิตผัสสะ, จิตมนสิการ นั้นเอง เข้าใจยัง ??
ดีจังสามารถเชื่อมโยงพระสูตรเพิ่มได้อีกหนึ่งพระสูตรแร้ว ^__^



อ้อ อีกอย่างหนึ่งอย่าลืมว่า เมื่อเจริญอานาปาฯ บริบูรณ์แล้ว ย่อมได้สติปัฏฐาน4 นะ
ธรรมทั้งสองเป็นธรรมที่ไปทางเดียวกัน ไม่ได้แยกส่วนแล้วปฏิบัติสักกะหน่อย

ถึงแม้ว่าจะคนละหมวด แต่ความหมายก็ไปในทางเดียวกัน !!!!


อานาปาฯ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สติปัฏฐาน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

แต่ก็น่าสังเกตุว่า เวทนา มีสุข, ทุกข์, อทุกขสมสุข ที่ อิง และ ไม่อิงอามิส
ดังนั้น ถ้าจิตตสังขาร ซึ่งเท่ากับ เวทนา
และถ้าแปล จิตตสังขาร ว่าคือ จิตเจตนา, จิตผัสสะ, จิตมนสิการ ถ้า!!! เป็นไปตามนี้
ก็หมายความว่า เวทนา =   สุข, ทุกข์, อทุกขสมสุข ที่ อิง และ ไม่อิงอามิส = จิตตสังขาร = จิตเจตนา, จิตผัสสะ, จิตมนสิการ  @__@
การเชื่อมโยงพระสูตรกลายเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ไปได้ไงหว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่