5 มกราคม 2563
สถานการณ์ไฟป่าในออสเตรเลียยังคงไหม้อยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายสัปดาห์แล้ว โดยสถานการณ์ล่าสุดเริ่มเข้าสู่ระดับที่วิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา
ขนาดของไฟครอบคลุมพื้นที่ 60,000 ตารางกิโลเมตร สองเท่าของประเทศเบลเยียม เผาไหม้กระจายไปทั่วประเทศ เปรียบเทียบกับไฟป่าอเมซอนเมื่อเดือน ส.ค. ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 25,000 ตารางกิโลเมตรหรือไฟป่าแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2561 ที่ถือเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในฤดูไฟป่า กินพื้นที่เกือบ 8,000 ตารางกิโลเมตร
ซึ่งทางรัฐวิคตอเรียและนิวเซาท์เวลส์ ได้มีการประกาสสถานการณ์ฉุกเฉินในการจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าในครั้งนี้
ทางด้านของรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้น สถานการณ์ไฟป่าก็ยังคงรุนแรงจนทางการต้องออกมาเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือกับปัญหาไฟป่าในระดับที่รุนแรงที่สุด หากทางการยังไม่สามารถควบคุมไฟป่าที่เกิดขึ้นได้ โดยให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการอพยพครั้งใหญ่อีกด้วย
รายงานล่าสุด ยอดผู้เสียชีวิตแล้ว 23 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายมากกว่า 1,400 หลัง นอกจากนี้ยังมีรถยนต์อีกจำนวนมาก
ทางการได้ระดมกำลังทหารกองหนุนเข้าช่วยดับไฟอีกราว 3000 นาย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของออสเตรเลียที่มีการนำทหารเข้าช่วยเหลือพลเรือน ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทหารเรือได้เข้าช่วยเหลือ อพยพนักท่องเที่ยวและประชาชนราว 1000 คนที่คิดค้างอยู่บริเวณชายฝั่งรัฐวิคตอเรีย จากเหตุการไฟป่าที่ไหม้ล้อมพื้นที่ไว้ จนทำให้ไม่สามารถหนีไฟป่าออกมาได้
สภาพอากาศของออสเตรเลียนั้น คาดการว่า ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ระดับความรุนแรงของไฟป่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากคลื่นความร้อนและกระแสลมแรง ซึ่งไฟป่าที่รุนแรงนั้นทำให้สภาพอากาศของออสเตรเลียนั้นเกิดสภาพอากาศแปรปรวนได้เพิ่มขึ้นอีก สาเหตุจากควันไฟที่ลอยตัวขึ้นมาเย็นตัวลงจนไปผสมกันกลายเป็นเมฆ Pyrocumulonimbus (ไพโรคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนชนิดพิเศษที่ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากแรงยกตัวของกระแสอากาศร้อนที่เกิดจากไฟป่า)
ซึ่งทำให้เกิดพายุลมพัดในแนวดิ่ง ฝนฟ้าคะนอง และฟ้าผ่ารุนแรง ซึ่งการเกิดฟ้าผ่ารุนแรงนั้น อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดไฟป่าขึ้นในจุดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก จากสภาพอากาศที่แห้ง นอกจากนี้ ควันไฟที่เกิดขึ้น ยังทำให้คุณภาพอากาศของออสเตรเลียอยู่ในระดับเลวร้ายมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของออสเตรเลียถูกจัดอยู่สภาพอากาศแย่มาก อันดับที่ 3 ของโลก
มิหนำซ้ำพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียยังเจอภัยแล้งรุนแรงและยืดเยื้อ ฝนไม่ตกมานาน ประกอบกับลมแรงในฤดูไฟป่าช่วยโหมกระพือไฟลุกลามเป็นวงกว้าง นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุให้อากาศร้อนและแห้งแล้งยิ่งขึ้น ส่งผลให้ฤดูไฟป่ายาวนานและรุนแรงกว่าเดิม
ไฟมรณะในอดีต
หากย้อนไปในอดีต ปี 2552 ออสเตรเลียเกิดไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดที่รัฐวิกตอเรีย เรียกว่า “แบล็กแซทเทอร์เดย์” ประชาชนเสียชีวิต 173 คน
ก่อนหน้านั้นรัฐวิกตอเรียและเซาท์ออสเตรเลียที่อยู่ใกล้เคียงเคยเกิดไฟป่า “แอชเวนส์เดย์” เมื่อปี 2526 ประชาชนเสียชีวิตราว 75 คน ขณะที่ไฟป่าแบล็กฟรายเดย์ในรัฐวิกตอเรียคร่าชีวิตประชาชน 71 คน
(โคอาล่า สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์อันคุ้นตาอีกชนิดของออสเตรเลีย อาจไม่มีให้เห็นอีกต่อไปในอนาคต จากผลกระทบของไฟป่าครั้งประวัติการณ์ในออสเตรเลีย //ขอบคุณภาพจาก: VisionAiry Photography)
ผู้เชี่ยวชาญเผย ไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ที่ออสเตรเลียกำลังทำให้ทำให้โคอาล่า สัตว์ป่าสัญลักษณ์อีกชนิดของประเทศออสเตรเลีย จะต้องสูญสิ้นสายพันธุ์ในอีกไม่ช้า หลังจากโคอาล่ามากกว่า 1,000 ตัว ต้องตายในเปลวเพลิง พร้อมๆกับป่ายูคาลิปตัสถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันก็ถูกทำลายไปกว่า 80%
และแฮชแท็ก #PrayForAustralia ทะยานขึ้นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์เช้าวันที่ 5 มกราคม 2563
ภาพจาก SAEED KHAN / AFP
นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ประมาณการณ์คร่าว ๆ ว่า ขณะนี้มีสัตว์ตายไปในไฟป่ามากถึง 480 ล้านชีวิต ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก และสัตว์เลื้อยคลาน และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น จิงโจ้ , วอลลาบี้ ซึ่งเป็นจิงโจ้แคระ,วอมแบต และอิคิดนา หรือที่เรารู้จักกันว่า ตัวกินมดหนาม โดยพวกที่ไม่ตายก็ต้องหนีกระ
กระสนออกจากป่า มาหาที่หลบภัยยังบ้านคน
สัตว์ที่ได้รับความช่วยเหลือ
ตัวพอสซั่มหนีตายจากไฟป่าในออสเตรเลีย หอบลูกน้อยขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ ล่าสุดปลอดภัยทั้งคู่หลังถึงมือสัตว์แพทย์
ภาพถ่ายระยะใกล้จากอินฟราเรดคลื่นสั้นของดาวเทียม Maxar Technologies แสดงให้ไฟลุกลามไปทั่วทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2563
ภาพจาก HO / Satellite image ?2020 Maxar Technologies / AFP
ขณะที่ในโซเชียลมีเดีย พากันแชร์รูปภาพสุดสะเทือนใจที่เกิดขึ้นจากเหตุไฟป่าเพลิงแดงฉานปกคลุมทั่วท้องฟ้า สัตว์ป่าวิ่งหนีเอาชีวิตรอด จากเปลวไฟ ส่วนที่ไม่รอดก็ต้องตายลงในกองเพลิงอย่างน่าเวทนา หลายคนแห่ติดแฮชแท็ก #PrayforAustralia เพื่อสวดภาวนาให้ทุกชีวิตปลอดภัยให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลโดย Suthee C.
Cr.
https://news.mthai.com/general-news/787235.html
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/860729
Cr.
https://workpointnews.com/2020/01/05/prayforaustralia/
Cr.
https://tnnthailand.com/content/25154
Cr.
https://news.thaipbs.or.th/content/287632
ไฟป่าในออสเตรเลีย มหันตภัยไร้จุดจบ
สถานการณ์ไฟป่าในออสเตรเลียยังคงไหม้อยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายสัปดาห์แล้ว โดยสถานการณ์ล่าสุดเริ่มเข้าสู่ระดับที่วิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา
ขนาดของไฟครอบคลุมพื้นที่ 60,000 ตารางกิโลเมตร สองเท่าของประเทศเบลเยียม เผาไหม้กระจายไปทั่วประเทศ เปรียบเทียบกับไฟป่าอเมซอนเมื่อเดือน ส.ค. ครอบคลุมพื้นที่เกือบ 25,000 ตารางกิโลเมตรหรือไฟป่าแคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2561 ที่ถือเป็นครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในฤดูไฟป่า กินพื้นที่เกือบ 8,000 ตารางกิโลเมตร
ซึ่งทางรัฐวิคตอเรียและนิวเซาท์เวลส์ ได้มีการประกาสสถานการณ์ฉุกเฉินในการจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าในครั้งนี้
ทางด้านของรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้น สถานการณ์ไฟป่าก็ยังคงรุนแรงจนทางการต้องออกมาเตือนประชาชนให้เตรียมรับมือกับปัญหาไฟป่าในระดับที่รุนแรงที่สุด หากทางการยังไม่สามารถควบคุมไฟป่าที่เกิดขึ้นได้ โดยให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการอพยพครั้งใหญ่อีกด้วย
รายงานล่าสุด ยอดผู้เสียชีวิตแล้ว 23 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายมากกว่า 1,400 หลัง นอกจากนี้ยังมีรถยนต์อีกจำนวนมาก
ทางการได้ระดมกำลังทหารกองหนุนเข้าช่วยดับไฟอีกราว 3000 นาย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของออสเตรเลียที่มีการนำทหารเข้าช่วยเหลือพลเรือน ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทหารเรือได้เข้าช่วยเหลือ อพยพนักท่องเที่ยวและประชาชนราว 1000 คนที่คิดค้างอยู่บริเวณชายฝั่งรัฐวิคตอเรีย จากเหตุการไฟป่าที่ไหม้ล้อมพื้นที่ไว้ จนทำให้ไม่สามารถหนีไฟป่าออกมาได้
สภาพอากาศของออสเตรเลียนั้น คาดการว่า ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ระดับความรุนแรงของไฟป่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากคลื่นความร้อนและกระแสลมแรง ซึ่งไฟป่าที่รุนแรงนั้นทำให้สภาพอากาศของออสเตรเลียนั้นเกิดสภาพอากาศแปรปรวนได้เพิ่มขึ้นอีก สาเหตุจากควันไฟที่ลอยตัวขึ้นมาเย็นตัวลงจนไปผสมกันกลายเป็นเมฆ Pyrocumulonimbus (ไพโรคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนชนิดพิเศษที่ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากแรงยกตัวของกระแสอากาศร้อนที่เกิดจากไฟป่า)
ซึ่งทำให้เกิดพายุลมพัดในแนวดิ่ง ฝนฟ้าคะนอง และฟ้าผ่ารุนแรง ซึ่งการเกิดฟ้าผ่ารุนแรงนั้น อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดไฟป่าขึ้นในจุดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก จากสภาพอากาศที่แห้ง นอกจากนี้ ควันไฟที่เกิดขึ้น ยังทำให้คุณภาพอากาศของออสเตรเลียอยู่ในระดับเลวร้ายมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของออสเตรเลียถูกจัดอยู่สภาพอากาศแย่มาก อันดับที่ 3 ของโลก
มิหนำซ้ำพื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียยังเจอภัยแล้งรุนแรงและยืดเยื้อ ฝนไม่ตกมานาน ประกอบกับลมแรงในฤดูไฟป่าช่วยโหมกระพือไฟลุกลามเป็นวงกว้าง นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุให้อากาศร้อนและแห้งแล้งยิ่งขึ้น ส่งผลให้ฤดูไฟป่ายาวนานและรุนแรงกว่าเดิม
ไฟมรณะในอดีต
หากย้อนไปในอดีต ปี 2552 ออสเตรเลียเกิดไฟป่าครั้งเลวร้ายที่สุดที่รัฐวิกตอเรีย เรียกว่า “แบล็กแซทเทอร์เดย์” ประชาชนเสียชีวิต 173 คน
ก่อนหน้านั้นรัฐวิกตอเรียและเซาท์ออสเตรเลียที่อยู่ใกล้เคียงเคยเกิดไฟป่า “แอชเวนส์เดย์” เมื่อปี 2526 ประชาชนเสียชีวิตราว 75 คน ขณะที่ไฟป่าแบล็กฟรายเดย์ในรัฐวิกตอเรียคร่าชีวิตประชาชน 71 คน
(โคอาล่า สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์อันคุ้นตาอีกชนิดของออสเตรเลีย อาจไม่มีให้เห็นอีกต่อไปในอนาคต จากผลกระทบของไฟป่าครั้งประวัติการณ์ในออสเตรเลีย //ขอบคุณภาพจาก: VisionAiry Photography)
ผู้เชี่ยวชาญเผย ไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ที่ออสเตรเลียกำลังทำให้ทำให้โคอาล่า สัตว์ป่าสัญลักษณ์อีกชนิดของประเทศออสเตรเลีย จะต้องสูญสิ้นสายพันธุ์ในอีกไม่ช้า หลังจากโคอาล่ามากกว่า 1,000 ตัว ต้องตายในเปลวเพลิง พร้อมๆกับป่ายูคาลิปตัสถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันก็ถูกทำลายไปกว่า 80%
และแฮชแท็ก #PrayForAustralia ทะยานขึ้นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์เช้าวันที่ 5 มกราคม 2563
ภาพจาก HO / Satellite image ?2020 Maxar Technologies / AFP
ขณะที่ในโซเชียลมีเดีย พากันแชร์รูปภาพสุดสะเทือนใจที่เกิดขึ้นจากเหตุไฟป่าเพลิงแดงฉานปกคลุมทั่วท้องฟ้า สัตว์ป่าวิ่งหนีเอาชีวิตรอด จากเปลวไฟ ส่วนที่ไม่รอดก็ต้องตายลงในกองเพลิงอย่างน่าเวทนา หลายคนแห่ติดแฮชแท็ก #PrayforAustralia เพื่อสวดภาวนาให้ทุกชีวิตปลอดภัยให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลโดย Suthee C.
Cr.https://news.mthai.com/general-news/787235.html
Cr.https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/860729
Cr.https://workpointnews.com/2020/01/05/prayforaustralia/
Cr.https://tnnthailand.com/content/25154
Cr.https://news.thaipbs.or.th/content/287632