เนื่องจากมีเพื่อนในกลุ่มไลน์ท่านหนึ่ง นิยมเติมลมยางแข็งๆ (38 psi ทั้ง 4 ล้อ) จากค่าปกติของรถรุ่นนั้นคือ หน้า 36 หลัง 33 ได้แชร์ประสบการณ์ว่าเมื่อเติมยางแข็งๆแล้วลมยางจะเพิ่มลดน้อยกว่าปกติ แล้วยังทำให้รถไหลดีขึ้นเมื่อยกคันเร่ง ทำให้ผมเองอยากลองทำตามดูบ้างครับ
เมื่อลองมาพิจารณาเหตุผล ก็ดูมีความเป็นไปได้อยู่ครับ นั่นคือ
1. เรื่องแรงดันที่เปลี่ยนน้อยลง เนื่องจากถ้าเติมลมยางให้แข็งขึ้น พื้นที่สัมผัสระหว่างหน้ายางกับพื้นถนนจะลดลง การบิดตัวของยางเวลาแตะพื้นถนนก็น่าจะน้อยลง อาจทำให้ยางร้อนน้อยลง เป็นผลให้แรงดันลมยางเพิ่มขึ้นน้อยลง
2. ปล่อยคันเร่งแล้วรถไหลขึ้น เนื่องจากพื้นที่สัมผัสระหว่างยางกับพื้นถนนลดลง เกิดแรงเสียดทานน้อยลง รถก็จะไหลได้ดีขึ้น (มีแรงฝืด แรงต้าน แรงที่จะชะลอรถน้อยลง)
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเติมลมยาง
Reference: https://www.justtyres.co.uk/pages/how-to-check-tyre-pressure
- เติมลมยางพอดี หน้ายางจะสัมผัสพื้นได้แนบดีที่สุด ยางจะสึกหรอเสมอกันดี สมรรถนะการเกาะถนนดีที่สุด นุ่มสบายพอดี
- เติมลมยางแข็งเกินไป หน้ายางจะสัมผัสพื้นได้น้อยลง โดยจะสัมผัสพื้นแค่ตรงกลาง ทำให้สึกตรงกลางมากกว่า การยึดเกาะถนนแย่ลง กระเด้งกระดอนเวลาขับใช้งาน
- เติมลมยางอ่อนเกินไป หน้ายางจะสัมผัสพื้นไม่แนบสนิท ยางจะสึกตรงขอบ การขับขี่จะนุ่มมากเกินปกติ มีอาการย้วย โครงสร้างยางเสียหายได้ง่ายขึ้น ยางเกิดการบิดตัวมากเวลาใช้งาน เกิดความร้อนมากขึ้น และเสี่ยงยางระเบิดมากขึ้น
เกี่ยวกับลมยางไนโตรเจน
1. ในอากาศปกติมี ก๊าซไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% คาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆรวมกันอีก 1%
2. ลมยางไนโตรเจนสำหรับรถยนต์ มีไนโตรเจนอยู่ประมาณ 93-99%
3. โมเลกุลของไนโตรเจนมีขนาดใหญ่ และจะรั่วซึมได้ยากกว่าลมยางธรรมดา (ไม่ต้องเติมบ่อยๆนั่นเอง) ซึ่ง
ซึมช้ากว่าออกซิเจนราว 6 เท่า
4. ลมยางไนโตรเจนมีความชื้นน้อยกว่า ซึ่งความชื้นนี้เองที่เป็นตัวการทำให้ลมยางขยายตัว/หดตัว
5. เมื่อลมยางลดลง 1 psi ทั้ง 4 ล้อ มีผลทำให้รถยนต์
เปลืองน้ำมันมากขึ้น 3.3% (ช็อคมาก!)
Reference: https://www.bridgestonetire.com/tread-and-trend/tire-talk/nitrogen-tire-inflation
รถที่ใช้ทดสอบ
รถที่ผมจะใช้ทดสอบเป็นคนละรุ่นของเพื่อนท่านนั้นครับ ผมใช้ Altis หน้าหมูในการทดสอบ ซึ่งตอนนี้ใส่ยาง Toyo C1S ค่าลมยางมาตรฐานของยางไซส์ 195/65/15 สำหรับรถ Altis คือ 30 psi ทุกล้อ แต่โดยปกติแล้วผมมักจะชอบเติม 32 psi ทุกล้อ (เติมมาแข็งๆ 35-36 ก่อน แล้วพอตอนเช้าค่อยวัดลมยางแล้วปล่อยจนเหลือ 32) แต่ในวันนี้ผมจะมาทำการทดลองโดยการเติมลมยางตามที่เพื่อนแนะนำมา คือ 38 psi ทุกล้อครับ
ยี่ห้อ/รุ่น: Altis 2004 วางเครื่อง 2zz-ge (187 แรงม้า ตามสเปค) เกียร์ธรรมดา 6 สปีด
ช่วงล่าง: สตรัท Monroe Monotube (custom)
ล้อแม็ก: Advanti N718 (หนักล้อละ 5.1 กก.)
ยาง: Toyo C1S (195/65/15)
ผมมีอุปกรณ์ 2 ตัวในการวัดแรงดันลมยางในการทดลองนี้นะครับ ก็คือ
(1) ที่วัดลมยางแบบพกพา และ
(2) TPMS เครื่องวัดลมยางอัตโนมัติ ซึ่งใช้มานานจนตัวที่วัดล้อขวาหลังพังไปแล้ว ซึ่งคงไม่ได้ใช้ตัวนี้ในการอ้างอิง
ส่วนลมยางที่ผมเติมจะเป็นลมไนโตรเจนของร้าน B-Quick ครับ
เริ่มแรก ผมตรงเข้า B-Quick บอกให้เติมลมหน้า 42 หลัง 41 เสร็จเรียบร้อยขับออกมาผ่านซอยรู้สึกว่ายางแข็งมากจริงๆครับ วิ่งตึงไปหมด ไม่เคยเติมลมแข็งขนาดนี้มาก่อน ผมเหลือบไปเห็นค่าลมใน TPMS ว่าค่าเกือบๆจะถึง 50 แทบทุกล้อเลย เลยรู้สึกแปลกใจว่าเครื่องวัดลมยางนี้ค่ามันเพี้ยนมากขนาดนั้นเลยเหรอ เติม 42-41 แต่อ่านค่าได้ตั้ง 46-48 ก็เลยแวะข้างทางลองใช้เครื่องวัดแบบพกพาวัดดู ปรากฎว่าค่าแรงดันเกือบๆ 50 psi จริงๆครับ อ้าวเอ๊ะ! ไม่แน่ใจว่าบีควิกเติมให้มากเกินไปหรือเพราะลมยางมันเพิ่งจะขยายหลังจากที่ผมขับรถออกมาจากบีควิกได้ กม. กว่าๆ แต่ยังไงก็ตาม ผมลดลงยางเหลือ 45 ก่อนขับรถกลับที่พักครับ
พอถึงตอนเช้าผมใช้ที่วัดลมยางแบบพกพาวัดลมยางใหม่อีกครั้ง และปล่อยลมทุกล้อให้เหลือประมาณ 38 psi ตามรูปครับ..
วันต่อมาผมมีทริปไปดอนหอยหลอด จึงได้ขับรถทดสอบเต็มที่ครับ ตลอดทางที่ขับมา ระยะทางประมาณร้อยกว่า กม. ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. จากรามอินทราไปดอนหอยหลอด ผ่านถนนดีบ้างแย่บ้าง (แต่ส่วนใหญ่จะแย่) ทางขรถขระก็เยอะ คอสะพาน และทางที่เป็นคลื่นๆ เรียกว่าได้ขับผ่านถนนที่ใช้ในชีวิตประจำวันครบเลยครับ ฟีลลิ่งที่ผมรับรู้หลังจากการเติมลมยางแข็งขึ้น (จาก 32 เป็น 38) คือ
1. ความนุ่มลดลงแต่ไม่มากอย่างที่คาดไว้ครับ ไมีความรู้สึกว่ายางกระเด้งกระดอนมากขึ้น นุ่มนวล ยวบยาบน้อยลง แต่ไม่ได้แข็งตึงตังแบบจุกท้อง
2. กดคันเร่งแล้วรู้สึกรถพุ่งดีขึ้นนิดนึง ความรู้สึกหนืดๆอืดๆมันลดลงเยอะเลยครับ เวลาค้างคันเร่งที่ความเร็วคงที่ กับเวลาถอนคันเร่งก็รู้สึกรถไหลได้นานขึ้นนิดหน่อยจริง
3. รู้สึกว่ารถมันโย่งๆลอยๆ เหมือนยางไม่ค่อยเกาะถนนครับ เวลาขับผ่านทางขรุขระ หรือถนนที่เป็นคลื่น รู้สึกเหมือนมันพร้อมที่จะลื่นหรือไถลได้ตลอดเวลา ถ้าเหม่อหรือประมาท (อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกนะครับ เพราะตลอดทางที่ขับไม่เคยมีอาการลื่น)
4. เข้าโค้งและขับเปลี่ยนเลนเสียวขึ้นมาก เป็นความรู้สึกแบบเดียวกับข้อ (3) ครับ ผมต้องใช้ความเร็วน้อยลง และใช้ความระมัดระวังมากขึ้น
5. การเบรครู้สึกว่าระยะเบรคน่าจะยาวขึ้นนะครับ แต่ไม่ได้รู้สึกชัดเจน ไม่กล้าขับเร็ว ไม่กล้าเบรคแรงครับ เสียวจริง
หลังจากที่ขับมาจนถึงที่หมายแล้ว ผมเหลือบไปดูเครื่องวัดลมยางอตโนมัติ (TMPS) ส่วนใหญ่แรงดันเพิ่มขึ้นไปถึง 42 psi ครับ พอใช้เครื่องวัดลมยางแบบพกพาก็ได้ค่าออกมาดังนี้..
หลังจากวัดผลเสร็จใช้เวลาไม่น่าเกิน 1-2 นาที เงยหน้าขึ้นมาดู TPMS แรงดันลมยางลดลงไปเหลือ 41 psi แล้ว จากเดิม 42 psi ถือว่าค่อนข้างลดลงเร็วอยู่เหมือนกันครับ..
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองขอสรุปว่า การเติมลมยางแข็งๆ (38 psi) ในตอนยางเย็น หลังจากผ่านการใช้งานจนยางอุ่นแล้ว ลมยางยังคงเพิ่มขึ้นประมาณ 4-6 psi (เป็น 42-44 psi) ซึ่งไม่ได้น้อยกว่าการเติมลมยางแบบปกติเลยครับ (ปกติผมเติมลมยาง 32 psi หลังจากใช้งานแล้วลมยางเพิ่มขึ้นมาเป็นราวๆ 35-36 psi)
อีกเรื่องที่อยากแชร์คือ ค่าลมยางแนะนำ (ตรงเพลทข้างประตู) เป็นค่าลมยางในขณะยางเย็น ซึ่งเมื่อใช้รถจนยางร้อนแล้วลมยางจะยายไปอีกอาจจะ 3-4 ปอนด์ครับ บางท่านไม่ทราบก็เข้าปั๊มไปตอนยางร้อนๆแล้วเติมลมตามค่าแนะนำ แบบนี้พอจอดรถที่บ้านจนยางเย็นแล้ว ลมยสงจะหดตัวลดลงไปอีก 3-4 ปอนด์ เท่ากับว่าเราเติมอ่อนไปกว่าค่าแนะนำถึง 3-4 ปอนด์ เป็นต้นครับ รู้อย่างนี้แล้วถ้าเติมลมตอนยางร้อนๆ ก็ให้บวกไปอีก 3-4 ปอนด์นะครับ หรือวิธีที่ชัวร์จริงๆคือ เติมมาแข็งๆ +5 ปอนด์ไปเลย หลังจากจอดรถข้ามคืนจนยางเย็นแล้ว ค่อยวัดลมยางแล้วปล่อยลมออกให้พอดีก็จะแม่นยำที่สุดครับ
สุดท้ายนี้ หวังว่าการทดลองนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนะครับ หากมีอะไรผิดพลาดจากการทดลองหรือการเขียนรีวิว ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ฝากกดไลค์เป็นกำลังใจ และติดตามผลงานได้ที่เพจ Need For Slow - ดังแต่ท่อ ล้อไม่หมุน ครับ:
https://www.facebook.com/Needforslow247/
[CR] รีวิวสามัญชน: เติมลมยางแข็งๆ แรงดันจะขยายตัวน้อยกว่าเติมลมแบบปกติ หรือไม่?
เมื่อลองมาพิจารณาเหตุผล ก็ดูมีความเป็นไปได้อยู่ครับ นั่นคือ
1. เรื่องแรงดันที่เปลี่ยนน้อยลง เนื่องจากถ้าเติมลมยางให้แข็งขึ้น พื้นที่สัมผัสระหว่างหน้ายางกับพื้นถนนจะลดลง การบิดตัวของยางเวลาแตะพื้นถนนก็น่าจะน้อยลง อาจทำให้ยางร้อนน้อยลง เป็นผลให้แรงดันลมยางเพิ่มขึ้นน้อยลง
2. ปล่อยคันเร่งแล้วรถไหลขึ้น เนื่องจากพื้นที่สัมผัสระหว่างยางกับพื้นถนนลดลง เกิดแรงเสียดทานน้อยลง รถก็จะไหลได้ดีขึ้น (มีแรงฝืด แรงต้าน แรงที่จะชะลอรถน้อยลง)
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเติมลมยาง
Reference: https://www.justtyres.co.uk/pages/how-to-check-tyre-pressure
- เติมลมยางพอดี หน้ายางจะสัมผัสพื้นได้แนบดีที่สุด ยางจะสึกหรอเสมอกันดี สมรรถนะการเกาะถนนดีที่สุด นุ่มสบายพอดี
- เติมลมยางแข็งเกินไป หน้ายางจะสัมผัสพื้นได้น้อยลง โดยจะสัมผัสพื้นแค่ตรงกลาง ทำให้สึกตรงกลางมากกว่า การยึดเกาะถนนแย่ลง กระเด้งกระดอนเวลาขับใช้งาน
- เติมลมยางอ่อนเกินไป หน้ายางจะสัมผัสพื้นไม่แนบสนิท ยางจะสึกตรงขอบ การขับขี่จะนุ่มมากเกินปกติ มีอาการย้วย โครงสร้างยางเสียหายได้ง่ายขึ้น ยางเกิดการบิดตัวมากเวลาใช้งาน เกิดความร้อนมากขึ้น และเสี่ยงยางระเบิดมากขึ้น
เกี่ยวกับลมยางไนโตรเจน
1. ในอากาศปกติมี ก๊าซไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% คาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆรวมกันอีก 1%
2. ลมยางไนโตรเจนสำหรับรถยนต์ มีไนโตรเจนอยู่ประมาณ 93-99%
3. โมเลกุลของไนโตรเจนมีขนาดใหญ่ และจะรั่วซึมได้ยากกว่าลมยางธรรมดา (ไม่ต้องเติมบ่อยๆนั่นเอง) ซึ่งซึมช้ากว่าออกซิเจนราว 6 เท่า
4. ลมยางไนโตรเจนมีความชื้นน้อยกว่า ซึ่งความชื้นนี้เองที่เป็นตัวการทำให้ลมยางขยายตัว/หดตัว
5. เมื่อลมยางลดลง 1 psi ทั้ง 4 ล้อ มีผลทำให้รถยนต์ เปลืองน้ำมันมากขึ้น 3.3% (ช็อคมาก!)
Reference: https://www.bridgestonetire.com/tread-and-trend/tire-talk/nitrogen-tire-inflation
รถที่ใช้ทดสอบ
รถที่ผมจะใช้ทดสอบเป็นคนละรุ่นของเพื่อนท่านนั้นครับ ผมใช้ Altis หน้าหมูในการทดสอบ ซึ่งตอนนี้ใส่ยาง Toyo C1S ค่าลมยางมาตรฐานของยางไซส์ 195/65/15 สำหรับรถ Altis คือ 30 psi ทุกล้อ แต่โดยปกติแล้วผมมักจะชอบเติม 32 psi ทุกล้อ (เติมมาแข็งๆ 35-36 ก่อน แล้วพอตอนเช้าค่อยวัดลมยางแล้วปล่อยจนเหลือ 32) แต่ในวันนี้ผมจะมาทำการทดลองโดยการเติมลมยางตามที่เพื่อนแนะนำมา คือ 38 psi ทุกล้อครับ
ยี่ห้อ/รุ่น: Altis 2004 วางเครื่อง 2zz-ge (187 แรงม้า ตามสเปค) เกียร์ธรรมดา 6 สปีด
ช่วงล่าง: สตรัท Monroe Monotube (custom)
ล้อแม็ก: Advanti N718 (หนักล้อละ 5.1 กก.)
ยาง: Toyo C1S (195/65/15)
ผมมีอุปกรณ์ 2 ตัวในการวัดแรงดันลมยางในการทดลองนี้นะครับ ก็คือ
(1) ที่วัดลมยางแบบพกพา และ
(2) TPMS เครื่องวัดลมยางอัตโนมัติ ซึ่งใช้มานานจนตัวที่วัดล้อขวาหลังพังไปแล้ว ซึ่งคงไม่ได้ใช้ตัวนี้ในการอ้างอิง
ส่วนลมยางที่ผมเติมจะเป็นลมไนโตรเจนของร้าน B-Quick ครับ
เริ่มแรก ผมตรงเข้า B-Quick บอกให้เติมลมหน้า 42 หลัง 41 เสร็จเรียบร้อยขับออกมาผ่านซอยรู้สึกว่ายางแข็งมากจริงๆครับ วิ่งตึงไปหมด ไม่เคยเติมลมแข็งขนาดนี้มาก่อน ผมเหลือบไปเห็นค่าลมใน TPMS ว่าค่าเกือบๆจะถึง 50 แทบทุกล้อเลย เลยรู้สึกแปลกใจว่าเครื่องวัดลมยางนี้ค่ามันเพี้ยนมากขนาดนั้นเลยเหรอ เติม 42-41 แต่อ่านค่าได้ตั้ง 46-48 ก็เลยแวะข้างทางลองใช้เครื่องวัดแบบพกพาวัดดู ปรากฎว่าค่าแรงดันเกือบๆ 50 psi จริงๆครับ อ้าวเอ๊ะ! ไม่แน่ใจว่าบีควิกเติมให้มากเกินไปหรือเพราะลมยางมันเพิ่งจะขยายหลังจากที่ผมขับรถออกมาจากบีควิกได้ กม. กว่าๆ แต่ยังไงก็ตาม ผมลดลงยางเหลือ 45 ก่อนขับรถกลับที่พักครับ
พอถึงตอนเช้าผมใช้ที่วัดลมยางแบบพกพาวัดลมยางใหม่อีกครั้ง และปล่อยลมทุกล้อให้เหลือประมาณ 38 psi ตามรูปครับ..
วันต่อมาผมมีทริปไปดอนหอยหลอด จึงได้ขับรถทดสอบเต็มที่ครับ ตลอดทางที่ขับมา ระยะทางประมาณร้อยกว่า กม. ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. จากรามอินทราไปดอนหอยหลอด ผ่านถนนดีบ้างแย่บ้าง (แต่ส่วนใหญ่จะแย่) ทางขรถขระก็เยอะ คอสะพาน และทางที่เป็นคลื่นๆ เรียกว่าได้ขับผ่านถนนที่ใช้ในชีวิตประจำวันครบเลยครับ ฟีลลิ่งที่ผมรับรู้หลังจากการเติมลมยางแข็งขึ้น (จาก 32 เป็น 38) คือ
1. ความนุ่มลดลงแต่ไม่มากอย่างที่คาดไว้ครับ ไมีความรู้สึกว่ายางกระเด้งกระดอนมากขึ้น นุ่มนวล ยวบยาบน้อยลง แต่ไม่ได้แข็งตึงตังแบบจุกท้อง
2. กดคันเร่งแล้วรู้สึกรถพุ่งดีขึ้นนิดนึง ความรู้สึกหนืดๆอืดๆมันลดลงเยอะเลยครับ เวลาค้างคันเร่งที่ความเร็วคงที่ กับเวลาถอนคันเร่งก็รู้สึกรถไหลได้นานขึ้นนิดหน่อยจริง
3. รู้สึกว่ารถมันโย่งๆลอยๆ เหมือนยางไม่ค่อยเกาะถนนครับ เวลาขับผ่านทางขรุขระ หรือถนนที่เป็นคลื่น รู้สึกเหมือนมันพร้อมที่จะลื่นหรือไถลได้ตลอดเวลา ถ้าเหม่อหรือประมาท (อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกนะครับ เพราะตลอดทางที่ขับไม่เคยมีอาการลื่น)
4. เข้าโค้งและขับเปลี่ยนเลนเสียวขึ้นมาก เป็นความรู้สึกแบบเดียวกับข้อ (3) ครับ ผมต้องใช้ความเร็วน้อยลง และใช้ความระมัดระวังมากขึ้น
5. การเบรครู้สึกว่าระยะเบรคน่าจะยาวขึ้นนะครับ แต่ไม่ได้รู้สึกชัดเจน ไม่กล้าขับเร็ว ไม่กล้าเบรคแรงครับ เสียวจริง
หลังจากที่ขับมาจนถึงที่หมายแล้ว ผมเหลือบไปดูเครื่องวัดลมยางอตโนมัติ (TMPS) ส่วนใหญ่แรงดันเพิ่มขึ้นไปถึง 42 psi ครับ พอใช้เครื่องวัดลมยางแบบพกพาก็ได้ค่าออกมาดังนี้..
หลังจากวัดผลเสร็จใช้เวลาไม่น่าเกิน 1-2 นาที เงยหน้าขึ้นมาดู TPMS แรงดันลมยางลดลงไปเหลือ 41 psi แล้ว จากเดิม 42 psi ถือว่าค่อนข้างลดลงเร็วอยู่เหมือนกันครับ..
สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองขอสรุปว่า การเติมลมยางแข็งๆ (38 psi) ในตอนยางเย็น หลังจากผ่านการใช้งานจนยางอุ่นแล้ว ลมยางยังคงเพิ่มขึ้นประมาณ 4-6 psi (เป็น 42-44 psi) ซึ่งไม่ได้น้อยกว่าการเติมลมยางแบบปกติเลยครับ (ปกติผมเติมลมยาง 32 psi หลังจากใช้งานแล้วลมยางเพิ่มขึ้นมาเป็นราวๆ 35-36 psi)
อีกเรื่องที่อยากแชร์คือ ค่าลมยางแนะนำ (ตรงเพลทข้างประตู) เป็นค่าลมยางในขณะยางเย็น ซึ่งเมื่อใช้รถจนยางร้อนแล้วลมยางจะยายไปอีกอาจจะ 3-4 ปอนด์ครับ บางท่านไม่ทราบก็เข้าปั๊มไปตอนยางร้อนๆแล้วเติมลมตามค่าแนะนำ แบบนี้พอจอดรถที่บ้านจนยางเย็นแล้ว ลมยสงจะหดตัวลดลงไปอีก 3-4 ปอนด์ เท่ากับว่าเราเติมอ่อนไปกว่าค่าแนะนำถึง 3-4 ปอนด์ เป็นต้นครับ รู้อย่างนี้แล้วถ้าเติมลมตอนยางร้อนๆ ก็ให้บวกไปอีก 3-4 ปอนด์นะครับ หรือวิธีที่ชัวร์จริงๆคือ เติมมาแข็งๆ +5 ปอนด์ไปเลย หลังจากจอดรถข้ามคืนจนยางเย็นแล้ว ค่อยวัดลมยางแล้วปล่อยลมออกให้พอดีก็จะแม่นยำที่สุดครับ
สุดท้ายนี้ หวังว่าการทดลองนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนะครับ หากมีอะไรผิดพลาดจากการทดลองหรือการเขียนรีวิว ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ฝากกดไลค์เป็นกำลังใจ และติดตามผลงานได้ที่เพจ Need For Slow - ดังแต่ท่อ ล้อไม่หมุน ครับ:
https://www.facebook.com/Needforslow247/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้