จอดรถหน้ากว้างๆ ไม่มีเสาหน้า

จอดรถหน้ากว้างๆ ไม่มีเสาหน้า | จับเข่า | ช่างโรจน์

ถ้าเรากำลังที่จะทำที่จอดรถขนาด 8.00x4.00ม. เราจะกังวลเรื่องอะไรบ้างครับ

นอกจาก "มันจะพังไหมครับ"

มีรายการ Inbox มาทางแฟนเพจ สอบถามเข้ามานะครับ.....ว่า

มีรายการ มีขนาดเหล็ก Inbox มาให้ทางช่างโรจน์ช่วยดูให้นะครับ ว่าตามรายการ ตามขนาดของโครงสร้างที่ให้มานี่พอไหวไหมครับ

ช่างโรจน์ก็เลยจัดให้ ตามรายการ Inbox มานะครับ

เป็นโครงสร้างขนาด หน้ากว้าง 8.00ม. ลึก 4.00ม. เป็นทรงโมเดริน (หรือทรงเพิงหมาแหงนนั้นเอง) ด้านหน้าสูง 4.00ม. ด้านหลังสูง 3.50ม.

ที่สำคํญไม่อยากได้เสาหน้า อยากได้ด้านหน้ากว้างๆ จอดรถสบายๆ แต่ด้านหลังเอาเสา 3 ต้นได้ และด้านหน้าเอาเป็นโครงถักได้ไหม จะได้ทำด้านหน้ากว้างๆได้
ขนาดเหล็กที่ให้มาเป็นข้อมูล

เสา 4x4 นิ้ว หนา 3.2 มม.
โครงถักใช้ 2*2 นิ้ว หนา 2.5 มม.
จันทันใช้ 4x2 นิ้ว หนา 2.5 มม.
แปใช้ 1x2 นิ้ว หนา 1.6 มม.

ก่อสร้างที่ภาคเหนือ และจะทำเป็นฐานแผ่ เพราะพื้นที่เป็นดินแข็งอยู่แล้ว

พอได้โจทย์มาก็ต้องมาตั้งสมมุติฐานก่อนว่า จะมีน้ำหนักอะไรที่ลงหลังคาบ้าง เอาแบบเบาๆ พออยู่ได้


 แต่สิ่งที่ต้องทกให้ช่างโรจน์คิดเผื่อไปต่อว่า โครงสร้างและขนาดเหล็กที่ให้มานี้นั้นน่าจะเป็นรูปทรงที่ผมเห็นประกอบกับตามท้องถิ่นทั่วๆ และคิดว่าน่าประกอบกันตามที่ผมคิดด้วย ก็เลยเอารูปทรงนี้มาลองทดลองคำนวณดู
 
แบบแรกคือ ตรงกลางไม่ใส่ค้ำยันด้านล่าง ซึ่งมันอาจเป็นไปได้ที่ช่างท้องถิ่น จะคิดว่ามันไม่จำเป็น ไหนๆก็มีจันทันด้านบนอยู่แล้ว

 ตรงกลางไม่ใส่ค้ำยันด้านล่าง
และการทีไม่ใส่ค้ำยันด้านล่าง ทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างเมื่อรับน้ำหนัก จะทำให้โครงถักด้านหน้าที่ยาว 8.00 ม. จะเกิดการบิดตัวและตกลง มากกว่าแบบที่ 2 ที่เราใส่ค้ำยันเข้าไปที่ท้องโครงถัก

 ตรงกลางใส่ค้ำยันด้านล่างโครงถัก
การที่ใส่ค้ำยันตรงกลางที่ท้องโครงถักจะช่วยให้โครงสร้างมีเสถียรภาพมากขึ้น ตัวค้ำยันที่ท้องจะช่วยดึงให้โครงถักที่ยาวและบาง ไม่เกิดการบิดตัว เสียรูปมากไป

ในคลิปเป็นการจำลองการเคลื่อนที่ของโครงหลังคาเมื่อรับน้ำหนักทั้ง 2 แบบ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
*** ในคลิปจะมีการจำลองการสั่น การเคลื่อนตัวของโครงหลังคา เมื่อรับนำหนัก แบบแรกไม่ใส่ค้ำยันด้านล่างไป ส่วนแบบที่ 2 ใส่คำยันด้านล่างเข้าไป จะเห็นการเคลื่อนตัวที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด

มันมีประโยชน์อะไร เช่นตอนที่เราต่อเติมหลังบ้าน ด้านที่เป็นด้านสูงก็จะต่อกับตัวบ้านเราใช่ไหมครับ คงไม่มีใครเอาหลังคาแทน้ำเข้าตัวบ้านหรอก

การที่เราใส่ค้ำยัน หรือโครงอาคารตรงกลางเข้าไป มันก็จะช่วยในการลดการเคลื่อนตัวของชายคาหลังคาได้มาก พอมันเคลื่อนตัวน้อย วัสดุที่อุดกันน้ำมันก็จะเคลื่อนที่น้อย เมื่อภาระมันน้อย มันก็ใช้งานได้นาน รอยต่อหลังคาเท่าก็อยู่ทนนาน น้ำไม่รั่ว


ใช่ครับ...มันไม่พังหรอก แต่ระยะยาวมันต้องซ่อม แล้วค่าซ่อมสุดท้ายมันก็จ่ายแพงกว่าที่ทำตั้งแต่ทีแรกทุกที
เมื่อเห็นแล้วว่า การที่เราใส่ค้ำยันด้านล่างเข้าไป เป็นผลดีต่อโครงหลังคาของเรา จากนั้นก็ลองมาจำลองโครงสร้างกันต่อในแบบที่ มีคำยันโครงถักด้านล่าง

 3D
โครงด้านหน้า

โครงด้านหลัง

โครงตัวริมทั้ง 2 ด้าน
โครงตัวกลาง

3D แสดงการถักตามแรงของชิ้นส่วนของโครงถัก
(มีอธิบายอย่างละเอียดในคลิป)

 
ระยะการจัดแป
เมื่อโครงหลังคาเสร็จ
 
อีกแบบหนึ่งที่มักจะเห็นในการประกอบโครงหลังคาแบบนี้ คือ การตัดเสามาแค่ระยะท้องโครงถัก แบ้วประกอบโครงถักมาตั้งบนหัวเสา แล้วเชื่อมเข้าที่ตัวเสา แบบนี้ก็ทำได้นะครับ แต่ขอให้การเชื่อมเข้าที่หัวเสาทำอย่างระมัดระวัง เพราะถ้าไม่เน่น ไม่แข็งแรงจริง โครงหลังคาอาจพลิกคว่ำลงมาได้ (มีอธิบายอย่างละเอียดในคลิป)

และเมื่อนำโครงสร้างที่ได้มาทำการถอดปริมาณ โดยคิดจากปริมาณวัสดุที่เห็นเท่านั้นนะครับ ไม่ได้คิดพวกงานสี งานอื่นๆเลยนะครับ คิดตามที่เห็นจริงๆ เป็นการประมาณราคาโครงสร้างอย่างเดียวก็ว่าได้ ราคาที่ได้อยู่ประมาณ 2000++ ต่อ ตร.ม.

ขอบคุณที่ติดตามมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ....เพี้ยนขอบคุณ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่