# ฮาวทูซิง (How to Sing)
เนื่องจากประเด็นลิปซิงค์ เป็นเรื่องที่นำมาวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในสื่อ SNS ต่างๆ และคอมเม้นท์ช่อง Youtube การแสดงสด
ว่าวงนั้น วงนี้ ลิปซิงค์หรือไม่ อย่างไร ??
สิ่งที่เราจะอธิบายต่อไปเต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคที่ใช้กันในวงการซาวด์เอ็นจิเนียร์ ซึ่งเราพยายามจะอธิบายออกมาให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด
เพราะน้อยคนนักจะได้สัมผัสการทำงานเบื้องหลังการมิกซ์เสียงจริงๆ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
อนึ่ง เราต้องขออภัยแฟนคลับ TXT และพี่น้องค่ายตึกเช่าทุกท่านด้วยที่จะต้องยกเคส "น้องวงนั้น" มาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งก็โดนพาดพิงในประเด็นหมิ่นเหม่แบบนี้สาหัสไม่แพ้วงอื่นๆ เช่นกัน
อันดับแรกในการดูว่า วงนั้นวงนี้มาร้องสดหรือลิปซิงค์ ก็จะมีตารางงานที่เรียกว่า
"เซ็ตลิสต์" หรือ แผนงานสำหรับ Staff ทุกคนนั่นแหล่ะ
(หาดูได้ก่อนงานจะเริ่ม เพราะเราเห็นชาวเคป๊อบชอบแชร์กันเยอะมาก แทบจะทุกโชว์)
สำหรับคนทำงานด้านเสียงนั้น เซ็ตลิสต์หลักๆจะประกอบไปด้วย ประเภทไมค์ / จำนวนที่ใช้ และ ประเภทของ Backing Track
โดยหลักๆ ที่นิยมใช้ในวงการเคป๊อบมี 2 อย่าง ได้แก่ MR และ AR
-
MR : Music Recorded แปลตามตัวเลยก็คือ แทร็คที่มีแต่เสียงเครื่องดนตรี หรือภาษาชาวบ้านก็ ไฟล์เพลงคาราโอเกะนั่นแหล่ะ อันเดียวกัน
-
AR : All Recorded นี่ก็ตรงตัว แปลว่า ไฟล์เพลงที่อัดเสียงทุกอย่างมาหมดแล้ว ทั้งเสียงร้องและเสียงดนตรี
สรุปง่ายๆ MR เอาไว้สำหรับร้องสดเท่านั้น และอาจประกอบไปด้วยเสียงร้องบางท่อน แอดลิป หรือคอรัส คือจะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่จะดีไซด์เลย
รูป เซ็ตลิสต์ งาน KBS Kayo 2019 : (ตัดมาเฉพาะส่วน)
- จะเห็นว่า ของ TXT เขียนกำกับว่า
MR ส่วนช่องถัดมามีเลข 5 ก็น่าจะหมายถึง ใช้ไมค์แบบหนีบหัว (Head set) 5 ตัว และ อินเอียร์มอนิเตอร์ 5 ตัว
- ส่วนของวงอื่นด้านบนใช้แทร็คเพลงแบบ Live
AR มีคำว่า Live ด้วยแปลว่า เปิดไมค์ด้วยนะ แต่ ศลป. จะร้องแบบไม่ออกเสียง
การใช้เทคนิค Live AR ก็เพื่อให้มีเสียงบรรยากาศ หรือเสียงลมหายใจเข้าไมค์บ้าง จะได้ดูเหมือนว่ากำลังร้องสดอยู่ แต่ความจริงนั้นไม่ใช่ !
# ทีนี้ประเด็นที่วิจารณ์ถัดมาก็คือ วงนี้เขียน MR กำกับอยู่จริง แต่เสียงร้องก็ยังนิ่งเหมือนลิปซิงค์อยู่ ทั้งที่เต้นแรงขนาดนั้น มันเป็นไปได้อย่างไร ?
หรือ KBS เขียนเซ็ตลิสต์ไม่ตรงกับความจริง ค่ายเพลงสมรู้ร่วมคิด จริงๆแล้ว TXT ใช้แทร็คเพลงแบบ AR ไม่ใช่ MR นี่มันแหกตาชัดๆ !
KBS คุณหลอกดาว !! ....
ซึ่งทั้งหมดที่เขียนมาข้างบน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ คุณคิดว่าระดับ KBS จะมาเขียนเซ็ตลิสต์เล่นๆ โดยไม่สามารถปฎิบัติงานได้จริงอย่างนั้นหรอ
ตัดเรื่องคิดไปเองพวกนี้ออกก่อนนะ เพราะเราเพิ่งเจอหลักฐานมายืนยันว่า การแสดงของ TXT นั้น ยังใช้แทร็คแบบ MR นั่นแหล่ะ
เพียงแต่มันมีอย่างอื่นที่มากกว่านั้น
# ฮาวทูมิกซ์ (How to Mix)
ต่อไปนี้ เราจะอธิบายระบบการมิกซ์เสียงเพื่อออกอากาศแบบคร่าวๆให้คุณฟัง เปรียบเสมือนว่า
ถ้าไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง เสียงก็จะดีขึ้นก็ต้องมีอุปกรณ์เมคอัพเช่นกัน .. เอ้า ก็ไม่ผิดนี่ ทีคุณยังแต่งหน้าได้ พวกเราก็แต่งเสียงได้เช่นกัน
ก่อนจะมาเข้าคอร์สแต่งเสียง เราขอแนะนำ Workflow แบบย่อของ Sound production ตั้งแต่เริ่มต้นจนออกอากาศ
นักร้องร้องเพลงใส่ไมค์โครโฟน ---> สัญญาณเสียงวิ่งเข้า
มิกเซอร์ตัวที่ 1 : ของซาวด์เอ็นจิเนียร์ ---->
---> ซาวด์เอ็นมิกซ์เสียงร้องผสมกับ Backing Track -----> ซาวด์เอ็นส่งสัญญาณต่อไปยัง
มิกเซอร์ตัวที่ 2 : มิกเซอร์สำหรับออกอากาศ
จากขั้นตอนด้านบน คุณจะเห็นว่าจะมีมิกเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งเสียงอยู่ด้วยกัน 2 ตัวตามที่ขีดเส้นใต้ไว้ด้านบน
ซึ่งสัญญาณ Output หรือ เสียงเพลงที่ได้จากการปรับแต่งจากมิกเซอร์ทั้งสองตัวนั้น
"
เมื่อเปรียบเทียบฟังแล้วจะให้เสียงแตกต่างกัน "
ที่เราบอกเมื่อกี้ว่า เจอหลักฐานยืนยันว่า TXT ร้องเพลง Replay แบบไลฟ์สด (MR) ไม่ใช่ลิปซิงค์นั้น ก็มาจากคลิปแฟนแคมจากของ Studio K
รายการมิวสิคแบงค์ ช่อง KBS ถือว่าเป็นไฟล์ภาพและเสียงแบบ Official แน่นอน
จากประสบการณ์การทำงาน .. เสียงเพลงในคลิป Studio K นี้ เป็นสัญญาณเสียง Output จาก
มิกเซอร์ตัวที่ 1 : ของซาวเอ็นจิเนียร์
ต่อไปนี้ขอให้คุณใส่หูฟัง หรือเปิดฟังผ่านลำโพงดีๆ อย่าฟังผ่านลำโพงมือถือนะ เพราะคุณจะได้ยินรายละเอียดไม่ชัดเจน
**ควรดูที่ระดับความชัด 720p ขึ้นไปเพราะจะได้คุณภาพเสียงที่ดี ใครเปิด 8K ได้ก็เปิดเลยฮะ !
คลิปด้านบน เป็นเสียงเพลงที่ได้จากการปรับแต่งจากมิกเซอร์ตัวที่ 1 ของซาวด์เอ็นจิเนียร์
เมื่อโฟกัสฟังให้ดีแล้ว จะพบว่า เนื้อเสียงร้องหนา มีเสียงเบสเยอะ ได้ยินเสียงลมหายใจชัดเจน ยิ่งถ้าคุณใส่หูฟัง จะได้ยินเสียงร้องของทุกคนนั้น
ถูกแพนไว้อยู่ตรงกลางพอดี (Center) เพราะเป็นกฏของซาวด์เอ็นจิเนียร์ทุกคนที่จะมิกซ์เสียงร้องไว้ตรงกลางเสมอ
ส่วนเสียงเครื่องดนตรี เสียงคอรัสอื่นๆ จะถูกแพนออกไปทางซ้ายและขวา เพื่อสร้างมิติสเตอริโอทางการฟัง
เสียงคอรัสที่เป็นท่อนสร้อย เช่น รีเพลย์ รีเพลย์ หรือ อ๊ะๆๆๆ เสียงนี้มันถูกอัดอยู่ในแทร็คเพลงตั้งแต่แรกแล้ว เหมือนคุณไปร้องคาราโอเกะอ่ะ
คุณก็ไม่จำเป็นต้องร้องคอรัสเองทั้งหมด ในที่นี้ เราก็จะเน้นไปที่ท่อนร้องต่างๆ ในพาร์ทของแต่ละคนเป็นสำคัญ
สิ่งที่ยืนยันว่าเปิดไมค์อีกอย่าง เช่น ลองสังเกตจังหวะกระโดด นาทีที่ 1.04 ที่จะได้ยินเสียงมือกระแทกไมค์ดังคลิ๊กชัดเจน หรือแม้แต่ตอนตบมือ
เสียงก็ยังเข้าไมค์บางๆ
สำหรับการแสดงเซ็ตนี้ ส่วนตัวมองว่าไมค์ของบอมกยูกับยอนจุนจะค่อนข้างเบากว่าเพื่อน ขณะที่ของแทฮยอนและฮยูหนิงไคนั้น ดังชัดเจนดี
และเมื่อคุณฟังซาวด์เพลงจากคลิปด้านบนไปแล้ว ทีนี้เราอยากจะให้กลับไปฟังซาวด์จากคลิปที่ใช้ออกอากาศสดกันบ้าง
เพราะซาวด์ที่ได้นั้น มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ... เอ้า ใส่หูฟังๆเลย ! >>>
เสียงเพลงที่ได้จากคลิปช่อง KBS World นั้น Output มาจาก
มิกเซอร์ตัวที่ 2 : มิกซ์เซอร์สำหรับออกอากาศ
ซึ่งจะมีการปรับเสียงต่อจากมิกเซอร์ตัวที่ 1 ด้วยเหตุผลทางเทคนิคในการส่งสัญญาณออกอากาศ
สิ่งแรกก็คือ จะมีแปลงไฟล์ทำให้บิตเรตลดลง ส่งผลให้คุณภาพเสียงแย่กว่าคลิป Studio K ที่เป็นเสมือน Raw File (ไฟล์เสียงตั้งต้น)
กล่าวคือ เสียงจะแบน แห้ง แตก ฟังแล้วไม่ค่อยมีน้ำมีนวลเท่ากับคลิปแรก (ของ Studio K) ... ตรงนี้ให้คุณลองฟังสลับกันไปมา
สิ่งที่แตกต่างอย่างที่ 2 ก็คือ คุณจะไม่ค่อยได้ยินเสียงลมหายใจ หรือเสียงไมค์กระแทกชัดเจนเท่ากับคลิปแรก
เพราะเสียงเหล่านี้จะถูกกรองออกด้วย Filter ชนิดหนึ่ง เพื่อกำจัดเสียงรบกวน เปรียบไปก็เหมือนการทำงานของ Noise Reduction ในโปรแกรมต่างๆ
ซึ่งคนฟังทั่วไป พอไม่ได้ยินเสียงลมหายใจ หรือเสียงไมค์กระแทก ก็คิดว่าว่า อ้าว ไม่ได้ร้องสดนี่นา ... ทั้งๆที่มันเป็นคนละเรื่องกันเลย !
แล้ววิธีการที่ว่านี้ จะทำให้เสียงร้องบางลงไปอีก เพราะมันจะลดเสียงเบสในเนื้อร้องออกไปด้วย ทำให้เสียงไม่นุ่มเหมือนคลิป Studio K
แต่ก็แลกมากับซาวด์ที่สะอาดขึ้น เพราะตัดเสียงรบกวนที่ว่าออกไป !
อีกอย่างนึงที่เราสันนิษฐานว่า ขั้นตอนมิกซ์ออกอากาศใส่เพิ่มลงไปคือ Plugin ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Multiband Compressor
คำว่า คอมเพรสเซอร์ แปลว่า "บีบอัด" เค้าใส่เพื่อทำให้สัญญาณเสียงมีความดังสม่ำเสมอกันมากขึ้นระหว่างออกอากาศ
ซึ่งเจ้า Plugin ตัวนี้ ก็จะยิ่งบีบอัดให้ซาวด์เพลงที่ได้นิ่งขึ้นไปอีกด้วย
จุดๆนี้แหล่ะที่ทำให้เวลาคุณฟังซาวด์จากรายการเพลงมันนิ่ง ต่อให้นักร้องจะแหกปากดังแค่ไหน มันก็จะฟังดูไม่ดังไปมากกว่านี้
เสียงจะฟังดู stable - เสถียร อย่างที่หลายๆคนชอบพูด ก็มาจากกระบวนการนี้แหล่ะฮะ
จนเป็นที่มาของคำว่า เต้นสะบัดขนาดนั้นแต่ทำไมเสียงถึงยังนิ่งได้ ก็เพราะผลลัพธ์จาก Processes ทั้งหมดนี้รวมๆกันนั่นเอง !!
ความจริง การปรับแต่งซาวด์ของคนคุมมิกซ์สำหรับออกอากาศนั้น เป็นอะไรที่ซาวด์เอ็นมิกซ์เพลงไม่ชอบเลย
เพราะว่ามันตัดเนื้อเสียงร้องหนาๆออกไป (เสียงเบส เสียงฮัมเพลงต่ำๆ ลูกคอนุ่มๆ) และการบีบอัดจาก Plugin ที่ว่า
ก็ยังทำให้เพลงสูญเสียความเป็นอคูสติคทางดนตรี ฟังแล้วทื่อ-แบน ทำลายไดนามิก - ความหนักเบาในการร้องเพลงออกไปเสียเกือบหมด
แม้ว่าเสียงจากคลิป Studio K มันมีเสียงรบกวนเยอะก็จริง แต่ข้อดีก็คือฟังแล้วก็มีความเป็นดนตรีมากกว่า เสียงร้องหนากว่ามากมาย ...
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าการได้ร้องสด ก็คือการร้องออกมาให้ดี เพราะวัตถุดิบที่ดีย่อมมีชัยไปแล้วเกินครึ่ง
ถ้าฝึกซ้อมมาไม่ดีพอ ร้องสดก็เหมือนกับประจานความไม่พร้อมตัวเองไปเช่นกัน ... ของแบบนี้เหมือนดาบสองคม !
ปล. เราไม่วิจารณ์การร้องเพลงของ TXT ในคลิปนี้นะ ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ เป็นรสนิยมส่วนตัว ทุกคนมีมุมมองของตัวเองอยู่แล้ว
แต่ข้อสรุปของคำถามที่ว่า TXT คัฟเวอร์เพลง Replay แล้วลิปซิงค์หรือไม่ คำตอบคือ
ไม่ ! ตามเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมดด้วยประการละชะนี้
ฝึกฟังรายละเอียดเพลงกันเยอะๆนะฮะ ชาวเคป๊อบที่ร้าก ^^
***แก้ไขคำผิด
TXT คัฟเวอร์ Shinee - Replay ในรายการ KBS Song Festival นั้น ร้องสดหรือลิปซิงค์ : by ไลฟ์ซาวด์เอ็นจิเนียร์
เนื่องจากประเด็นลิปซิงค์ เป็นเรื่องที่นำมาวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในสื่อ SNS ต่างๆ และคอมเม้นท์ช่อง Youtube การแสดงสด
ว่าวงนั้น วงนี้ ลิปซิงค์หรือไม่ อย่างไร ??
สิ่งที่เราจะอธิบายต่อไปเต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคที่ใช้กันในวงการซาวด์เอ็นจิเนียร์ ซึ่งเราพยายามจะอธิบายออกมาให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด
เพราะน้อยคนนักจะได้สัมผัสการทำงานเบื้องหลังการมิกซ์เสียงจริงๆ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
อนึ่ง เราต้องขออภัยแฟนคลับ TXT และพี่น้องค่ายตึกเช่าทุกท่านด้วยที่จะต้องยกเคส "น้องวงนั้น" มาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งก็โดนพาดพิงในประเด็นหมิ่นเหม่แบบนี้สาหัสไม่แพ้วงอื่นๆ เช่นกัน
อันดับแรกในการดูว่า วงนั้นวงนี้มาร้องสดหรือลิปซิงค์ ก็จะมีตารางงานที่เรียกว่า "เซ็ตลิสต์" หรือ แผนงานสำหรับ Staff ทุกคนนั่นแหล่ะ
(หาดูได้ก่อนงานจะเริ่ม เพราะเราเห็นชาวเคป๊อบชอบแชร์กันเยอะมาก แทบจะทุกโชว์)
สำหรับคนทำงานด้านเสียงนั้น เซ็ตลิสต์หลักๆจะประกอบไปด้วย ประเภทไมค์ / จำนวนที่ใช้ และ ประเภทของ Backing Track
โดยหลักๆ ที่นิยมใช้ในวงการเคป๊อบมี 2 อย่าง ได้แก่ MR และ AR
- MR : Music Recorded แปลตามตัวเลยก็คือ แทร็คที่มีแต่เสียงเครื่องดนตรี หรือภาษาชาวบ้านก็ ไฟล์เพลงคาราโอเกะนั่นแหล่ะ อันเดียวกัน
- AR : All Recorded นี่ก็ตรงตัว แปลว่า ไฟล์เพลงที่อัดเสียงทุกอย่างมาหมดแล้ว ทั้งเสียงร้องและเสียงดนตรี
สรุปง่ายๆ MR เอาไว้สำหรับร้องสดเท่านั้น และอาจประกอบไปด้วยเสียงร้องบางท่อน แอดลิป หรือคอรัส คือจะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่จะดีไซด์เลย
รูป เซ็ตลิสต์ งาน KBS Kayo 2019 : (ตัดมาเฉพาะส่วน)
- จะเห็นว่า ของ TXT เขียนกำกับว่า MR ส่วนช่องถัดมามีเลข 5 ก็น่าจะหมายถึง ใช้ไมค์แบบหนีบหัว (Head set) 5 ตัว และ อินเอียร์มอนิเตอร์ 5 ตัว
- ส่วนของวงอื่นด้านบนใช้แทร็คเพลงแบบ Live AR มีคำว่า Live ด้วยแปลว่า เปิดไมค์ด้วยนะ แต่ ศลป. จะร้องแบบไม่ออกเสียง
การใช้เทคนิค Live AR ก็เพื่อให้มีเสียงบรรยากาศ หรือเสียงลมหายใจเข้าไมค์บ้าง จะได้ดูเหมือนว่ากำลังร้องสดอยู่ แต่ความจริงนั้นไม่ใช่ !
# ทีนี้ประเด็นที่วิจารณ์ถัดมาก็คือ วงนี้เขียน MR กำกับอยู่จริง แต่เสียงร้องก็ยังนิ่งเหมือนลิปซิงค์อยู่ ทั้งที่เต้นแรงขนาดนั้น มันเป็นไปได้อย่างไร ?
หรือ KBS เขียนเซ็ตลิสต์ไม่ตรงกับความจริง ค่ายเพลงสมรู้ร่วมคิด จริงๆแล้ว TXT ใช้แทร็คเพลงแบบ AR ไม่ใช่ MR นี่มันแหกตาชัดๆ !
KBS คุณหลอกดาว !! ....
ซึ่งทั้งหมดที่เขียนมาข้างบน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ คุณคิดว่าระดับ KBS จะมาเขียนเซ็ตลิสต์เล่นๆ โดยไม่สามารถปฎิบัติงานได้จริงอย่างนั้นหรอ
ตัดเรื่องคิดไปเองพวกนี้ออกก่อนนะ เพราะเราเพิ่งเจอหลักฐานมายืนยันว่า การแสดงของ TXT นั้น ยังใช้แทร็คแบบ MR นั่นแหล่ะ
เพียงแต่มันมีอย่างอื่นที่มากกว่านั้น
# ฮาวทูมิกซ์ (How to Mix)
ต่อไปนี้ เราจะอธิบายระบบการมิกซ์เสียงเพื่อออกอากาศแบบคร่าวๆให้คุณฟัง เปรียบเสมือนว่า
ถ้าไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง เสียงก็จะดีขึ้นก็ต้องมีอุปกรณ์เมคอัพเช่นกัน .. เอ้า ก็ไม่ผิดนี่ ทีคุณยังแต่งหน้าได้ พวกเราก็แต่งเสียงได้เช่นกัน
ก่อนจะมาเข้าคอร์สแต่งเสียง เราขอแนะนำ Workflow แบบย่อของ Sound production ตั้งแต่เริ่มต้นจนออกอากาศ
นักร้องร้องเพลงใส่ไมค์โครโฟน ---> สัญญาณเสียงวิ่งเข้า มิกเซอร์ตัวที่ 1 : ของซาวด์เอ็นจิเนียร์ ---->
---> ซาวด์เอ็นมิกซ์เสียงร้องผสมกับ Backing Track -----> ซาวด์เอ็นส่งสัญญาณต่อไปยัง มิกเซอร์ตัวที่ 2 : มิกเซอร์สำหรับออกอากาศ
จากขั้นตอนด้านบน คุณจะเห็นว่าจะมีมิกเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งเสียงอยู่ด้วยกัน 2 ตัวตามที่ขีดเส้นใต้ไว้ด้านบน
ซึ่งสัญญาณ Output หรือ เสียงเพลงที่ได้จากการปรับแต่งจากมิกเซอร์ทั้งสองตัวนั้น
"เมื่อเปรียบเทียบฟังแล้วจะให้เสียงแตกต่างกัน "
ที่เราบอกเมื่อกี้ว่า เจอหลักฐานยืนยันว่า TXT ร้องเพลง Replay แบบไลฟ์สด (MR) ไม่ใช่ลิปซิงค์นั้น ก็มาจากคลิปแฟนแคมจากของ Studio K
รายการมิวสิคแบงค์ ช่อง KBS ถือว่าเป็นไฟล์ภาพและเสียงแบบ Official แน่นอน
จากประสบการณ์การทำงาน .. เสียงเพลงในคลิป Studio K นี้ เป็นสัญญาณเสียง Output จาก มิกเซอร์ตัวที่ 1 : ของซาวเอ็นจิเนียร์
ต่อไปนี้ขอให้คุณใส่หูฟัง หรือเปิดฟังผ่านลำโพงดีๆ อย่าฟังผ่านลำโพงมือถือนะ เพราะคุณจะได้ยินรายละเอียดไม่ชัดเจน
**ควรดูที่ระดับความชัด 720p ขึ้นไปเพราะจะได้คุณภาพเสียงที่ดี ใครเปิด 8K ได้ก็เปิดเลยฮะ !
คลิปด้านบน เป็นเสียงเพลงที่ได้จากการปรับแต่งจากมิกเซอร์ตัวที่ 1 ของซาวด์เอ็นจิเนียร์
เมื่อโฟกัสฟังให้ดีแล้ว จะพบว่า เนื้อเสียงร้องหนา มีเสียงเบสเยอะ ได้ยินเสียงลมหายใจชัดเจน ยิ่งถ้าคุณใส่หูฟัง จะได้ยินเสียงร้องของทุกคนนั้น
ถูกแพนไว้อยู่ตรงกลางพอดี (Center) เพราะเป็นกฏของซาวด์เอ็นจิเนียร์ทุกคนที่จะมิกซ์เสียงร้องไว้ตรงกลางเสมอ
ส่วนเสียงเครื่องดนตรี เสียงคอรัสอื่นๆ จะถูกแพนออกไปทางซ้ายและขวา เพื่อสร้างมิติสเตอริโอทางการฟัง
เสียงคอรัสที่เป็นท่อนสร้อย เช่น รีเพลย์ รีเพลย์ หรือ อ๊ะๆๆๆ เสียงนี้มันถูกอัดอยู่ในแทร็คเพลงตั้งแต่แรกแล้ว เหมือนคุณไปร้องคาราโอเกะอ่ะ
คุณก็ไม่จำเป็นต้องร้องคอรัสเองทั้งหมด ในที่นี้ เราก็จะเน้นไปที่ท่อนร้องต่างๆ ในพาร์ทของแต่ละคนเป็นสำคัญ
สิ่งที่ยืนยันว่าเปิดไมค์อีกอย่าง เช่น ลองสังเกตจังหวะกระโดด นาทีที่ 1.04 ที่จะได้ยินเสียงมือกระแทกไมค์ดังคลิ๊กชัดเจน หรือแม้แต่ตอนตบมือ
เสียงก็ยังเข้าไมค์บางๆ
สำหรับการแสดงเซ็ตนี้ ส่วนตัวมองว่าไมค์ของบอมกยูกับยอนจุนจะค่อนข้างเบากว่าเพื่อน ขณะที่ของแทฮยอนและฮยูหนิงไคนั้น ดังชัดเจนดี
และเมื่อคุณฟังซาวด์เพลงจากคลิปด้านบนไปแล้ว ทีนี้เราอยากจะให้กลับไปฟังซาวด์จากคลิปที่ใช้ออกอากาศสดกันบ้าง
เพราะซาวด์ที่ได้นั้น มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ... เอ้า ใส่หูฟังๆเลย ! >>>
เสียงเพลงที่ได้จากคลิปช่อง KBS World นั้น Output มาจาก มิกเซอร์ตัวที่ 2 : มิกซ์เซอร์สำหรับออกอากาศ
ซึ่งจะมีการปรับเสียงต่อจากมิกเซอร์ตัวที่ 1 ด้วยเหตุผลทางเทคนิคในการส่งสัญญาณออกอากาศ
สิ่งแรกก็คือ จะมีแปลงไฟล์ทำให้บิตเรตลดลง ส่งผลให้คุณภาพเสียงแย่กว่าคลิป Studio K ที่เป็นเสมือน Raw File (ไฟล์เสียงตั้งต้น)
กล่าวคือ เสียงจะแบน แห้ง แตก ฟังแล้วไม่ค่อยมีน้ำมีนวลเท่ากับคลิปแรก (ของ Studio K) ... ตรงนี้ให้คุณลองฟังสลับกันไปมา
สิ่งที่แตกต่างอย่างที่ 2 ก็คือ คุณจะไม่ค่อยได้ยินเสียงลมหายใจ หรือเสียงไมค์กระแทกชัดเจนเท่ากับคลิปแรก
เพราะเสียงเหล่านี้จะถูกกรองออกด้วย Filter ชนิดหนึ่ง เพื่อกำจัดเสียงรบกวน เปรียบไปก็เหมือนการทำงานของ Noise Reduction ในโปรแกรมต่างๆ
ซึ่งคนฟังทั่วไป พอไม่ได้ยินเสียงลมหายใจ หรือเสียงไมค์กระแทก ก็คิดว่าว่า อ้าว ไม่ได้ร้องสดนี่นา ... ทั้งๆที่มันเป็นคนละเรื่องกันเลย !
แล้ววิธีการที่ว่านี้ จะทำให้เสียงร้องบางลงไปอีก เพราะมันจะลดเสียงเบสในเนื้อร้องออกไปด้วย ทำให้เสียงไม่นุ่มเหมือนคลิป Studio K
แต่ก็แลกมากับซาวด์ที่สะอาดขึ้น เพราะตัดเสียงรบกวนที่ว่าออกไป !
อีกอย่างนึงที่เราสันนิษฐานว่า ขั้นตอนมิกซ์ออกอากาศใส่เพิ่มลงไปคือ Plugin ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Multiband Compressor
คำว่า คอมเพรสเซอร์ แปลว่า "บีบอัด" เค้าใส่เพื่อทำให้สัญญาณเสียงมีความดังสม่ำเสมอกันมากขึ้นระหว่างออกอากาศ
ซึ่งเจ้า Plugin ตัวนี้ ก็จะยิ่งบีบอัดให้ซาวด์เพลงที่ได้นิ่งขึ้นไปอีกด้วย
จุดๆนี้แหล่ะที่ทำให้เวลาคุณฟังซาวด์จากรายการเพลงมันนิ่ง ต่อให้นักร้องจะแหกปากดังแค่ไหน มันก็จะฟังดูไม่ดังไปมากกว่านี้
เสียงจะฟังดู stable - เสถียร อย่างที่หลายๆคนชอบพูด ก็มาจากกระบวนการนี้แหล่ะฮะ
จนเป็นที่มาของคำว่า เต้นสะบัดขนาดนั้นแต่ทำไมเสียงถึงยังนิ่งได้ ก็เพราะผลลัพธ์จาก Processes ทั้งหมดนี้รวมๆกันนั่นเอง !!
ความจริง การปรับแต่งซาวด์ของคนคุมมิกซ์สำหรับออกอากาศนั้น เป็นอะไรที่ซาวด์เอ็นมิกซ์เพลงไม่ชอบเลย
เพราะว่ามันตัดเนื้อเสียงร้องหนาๆออกไป (เสียงเบส เสียงฮัมเพลงต่ำๆ ลูกคอนุ่มๆ) และการบีบอัดจาก Plugin ที่ว่า
ก็ยังทำให้เพลงสูญเสียความเป็นอคูสติคทางดนตรี ฟังแล้วทื่อ-แบน ทำลายไดนามิก - ความหนักเบาในการร้องเพลงออกไปเสียเกือบหมด
แม้ว่าเสียงจากคลิป Studio K มันมีเสียงรบกวนเยอะก็จริง แต่ข้อดีก็คือฟังแล้วก็มีความเป็นดนตรีมากกว่า เสียงร้องหนากว่ามากมาย ...
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าการได้ร้องสด ก็คือการร้องออกมาให้ดี เพราะวัตถุดิบที่ดีย่อมมีชัยไปแล้วเกินครึ่ง
ถ้าฝึกซ้อมมาไม่ดีพอ ร้องสดก็เหมือนกับประจานความไม่พร้อมตัวเองไปเช่นกัน ... ของแบบนี้เหมือนดาบสองคม !
ปล. เราไม่วิจารณ์การร้องเพลงของ TXT ในคลิปนี้นะ ดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ เป็นรสนิยมส่วนตัว ทุกคนมีมุมมองของตัวเองอยู่แล้ว
แต่ข้อสรุปของคำถามที่ว่า TXT คัฟเวอร์เพลง Replay แล้วลิปซิงค์หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ ! ตามเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมดด้วยประการละชะนี้
ฝึกฟังรายละเอียดเพลงกันเยอะๆนะฮะ ชาวเคป๊อบที่ร้าก ^^
***แก้ไขคำผิด