[CR] Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง #1: เมื่อลุงโดนหลอกไปดูหนัง
[CR] Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง #2: หนังฟีลกู๊ดที่รุ่มรวยช่องว่างแห่งจินตนาการ
[CR] Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง #3 รักใหม่ หัวใจดวงเดิม
หากเปรียบหนัง Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง เป็นเมนูอาหารในรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ คอร์สอาหารนี้จะเป็นรายการที่เชฟเอียนไม่กล้าเททิ้ง เพราะเป็นเมนูที่รังสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบชั้นเลิศอย่างพี่เคน เป็นตัวชูโรง แถมยังปรุงออกมาได้อย่างพิถีพิถันด้วยมุมภาพสวยๆ ดนตรีประกอบที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างดี และซีนต่างๆ ที่น่าจะเป็นไฮไลท์ของหนังได้ อาทิ ตอนที่ชัยใช้ผ้าเช็ดหน้าเช็ดแก้มให้น้ำหวาน ตอนที่น้ำหวานกระโดดจากหน้าผา หรือตอนที่พูดว่า “อย่ายิ้มสิ ใจบ่ดี”
ทว่า บทหนังและการลำดับเรื่องที่ลักลั่น กลับทำให้อาหารจากวัตถุดิบชั้นเลิศถูกจัดจานและนำเสนอออกมาแบบ ‘ไม่สุด’ ‘ไม่ถึง’ ‘ไม่พีค’ หรือพูดรวมๆ ว่า ‘ไม่น่าประทับใจ’
บทหนังที่ก้นลิ้นชัก
ในฐานะหนึ่งใน ‘คนเจ็นลุง’ หรือประชากรชายไทยวัยประมาณ 40 ปี ตามที่หนังได้กล่าวถึง ผมเห็นด้วยที่หนังถ่ายทอดบุคลิกความรอบคอบของชัยออกมาในฐานะ ‘ลุง’ หากแต่ไม่ใช่ลุงของคนวัยน้ำหวานที่อายุประมาณ 20 กว่าๆ ใน พ.ศ. นี้ แต่ควรจะเป็นลุงของคนวัยผม ในสมัยสักยี่สิบปีก่อน ตอนที่เรายังเป็นเด็กมหาวิทยาลัยเอ๊าะๆ ที่การทิ้งขยะลงบนพื้นถนนยังเป็นอะไรที่สามัญ ในขณะที่คนเจ็น Z ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งกว่าคนรุ่นไหนๆ การที่คนวัยน้ำหวานจะโยนถุงขยะทิ้งลงถนนนี้ เรียกว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
การเช็ครถก่อนออก ขับช้า หรือพกผ้าเช็ดหน้า เป็นเรื่องที่ชาชินสำหรับวัยเด็กของผม เพราะนั่นคือ สิ่งที่ ‘พ่อ’ ของผมเป็นจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งหมายถึงพ่อของคนอายุ 40 ปัจจุบันก็ต้องเป็นรุ่น ‘ปู่’ ที่อายุประมาณ 65-70 ปี ไม่ใช่ลำดับรุ่นลุงอย่างในหนัง... หรือจะเป็นไปได้ไหมว่า ทีมผู้สร้างได้นำพล็อตหนังจากนิยายสมัย 20 ปีก่อน เอามาปัดฝุ่น แล้วเติมรายละเอียดสีสันของยุคนี้ลงไป โดยหลงลืมไปว่าเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะร่วมของคนแต่ละวัยไปแล้วด้วยเหมือนกัน
มิติเวลาที่แบนราบ
เรื่องหนึ่งที่ผมเชื่อว่าคนที่ดูหนังมาแล้วน่าจะสงสัยคล้ายๆ กัน คือ ช่วงเวลาระหว่างแต่ละเหตุการณ์ในลำดับหนังที่ดูค่อนข้างไม่สมเหตุสมผล อาทิ ระหว่างที่เฟิร์นเสียไปจนถึงตอนที่ชัยตัดสินใจเดินทางมาเชียงใหม่ห่างกันกี่สัปดาห์หรือกี่เดือน ชัยพักอยู่ที่เชียงใหม่นานแค่ไหน และระหว่างชัยกับน้ำหวานใช้เวลาในการสานสัมพันธ์กันนานแค่ไหน หรือแม้แต่ตอนที่ชัยหนีน้ำหวานกับบ้าน จนถึงตอนที่ตามไปง้อน้ำหวานถึงเวียดนามห่างกันเท่าไหร่
เหตุที่ต้องกล่าวถึงเรื่องของเวลา เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงความสัมพันธ์ของคนสองคนที่ก่อตัวขึ้นในตอนต้นเรื่อง และจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้งในตอนท้าย ซึ่งถ้าให้ผมเดาเอาเองตามท้องเรื่อง ก็คงจะประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งเป็นอะไรที่เร็วมากๆ สำหรับคนที่เพิ่งเสียคนรักไปจะกลับมาเริ่มใหม่กับใครบางคน จนบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้ว ชัยอาจจะไม่ได้รักเฟิร์นมากเท่าไหร่ก็ได้
ลุงชัยใช้เวลานั่งจ่อมอยู่ที่เกสท์เฮาส์กับตัวต่อรูบิคอย่างจริงจังเพียง 2-3 วัน หลังจากนั้นก็ถูกน้ำหวานหลอกล่อไปทำนู่นทำนี่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเอากันจริงๆ สำหรับผู้ชายวัย 40 เด็กสาววัยกำลังจะเรียนจบ ก็เป็นช่วงต่อของอายุที่กำลังน่ารัก เพราะจะว่าเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ใช่ เป็นเด็กก็ไม่เชิง ในขณะที่ด้านร่างกายก็อยู่ในช่วงวัยที่สมบูรณ์พอดี ยิ่งเป็นสาวน้อยที่หน้าตาน่ารักๆ อย่างน้ำหวาน ก็คงไม่แปลกที่ลุงชัยจะรีบควักผ้าเช็ดหน้ามาเช็ดน้ำลาย... เอ้ย เช็ดน้ำหวานให้แทบไม่ทัน พร้อมหยอดมุขโดนๆ อย่าง “ตอนนี้ก็พี่สินะ” กลับอย่างไม่ขวยเขิน เมื่อน้ำหวาน (ที่ตอนนั้นเพิ่งรู้จักกันแค่ 2-3 วัน) บ่นอุบอิบว่าปกติมีแต่พ่อที่ทำอะไรอย่างนี้ให้
ในทางตรงกันข้าม น้ำหวานก็ดูจะเป็นเด็กมัธยัสถ์จนเกินงาม เพราะขยันหยอดมุขใส่ลุงรัวๆ ชนิดที่ว่า ‘บาทสองบาทก็เอาแล้ว’... เอ๊ะ หรือจะเป็นเพราะความขยันของน้ำหวานกันแน่ ที่ทำให้กำแพงใจของลุงชัยพังทะลายลงอย่างรวดเร็วแบบนี้
จังหวะยังไม่จะโคน
ปัญหาอย่างหนึ่งของหนัง Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง น่าจะเป็นความยาวของหนังที่สั้นเกินไป บวกกับที่ต้องเบียดเวลาไทอินให้กับสปอนเซอร์ด้วย ทำให้ผู้กำกับไม่มีเวลาพอสำหรับปูเรื่องเพื่อปล่อยของออกมาในจังหวะที่พีคๆ โดนๆ หลายมุขที่ควรจะยิงออกมาแล้วสร้างอิมแพ็คกับคนดูได้ ก็เลยทำได้แค่ปล่อยออกมาเฉยๆ นัยว่ากลัวเสียของ โดยเฉพาะฉากที่ตัดออกมาเป็นทีเซอร์หนัง อย่าง ตอนที่น้ำหวานกระโดดหน้าผา ตอนผ้าเช็ดหน้า ตอนใจบ่ดี ที่น่าจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนอยากรู้ว่าชัยกับน้ำหวานเขาทำอะไรกันก่อนหน้านี้ ถึงได้เกิดเนื้อหาในตอนนี้ขึ้น ซึ่งสุดท้ายทำได้แค่นำมาแทรกในหนังเหมือนเป็นทางผ่าน โดยเฉพาะตอนใจบ่ดี คือ อยู่ๆ น้ำหวานก็พูดขึ้นมาเฉยๆ แบบ...
เนื้อเรื่องตอนแรกๆ อันที่จริงน่าจะสามารถตัดออกไปได้อีก อย่างตอนที่ซ้อนจักรยานยนต์เพื่อปล่อยมุขเต่าไล่งับล้อ อันนี้คือ บิลท์นานมาก เพื่ออะไร หรือตอนกินหมูกระทะที่มีผู้สาวมาแอ๊วลุงชัย และตอนที่ขับรถขึ้นเชียงดาว เพื่อปูเรื่องว่าชัยกลัวความสูง (หรือเปล่า) ตอนแรกก็ งง ว่า ขับรถเองเมาเองได้ด้วยเหรอว่ะ 555+ เอ๊ะ หรือชัยแพ้บรรยากาศที่ออกซิเจนเบาบางบนดอย
ก็นั่นแหละ อย่างที่บอกเอาไว้ตอนต้น ว่านี่เป็นหนังฟีลกู๊ดยุคใหม่ ที่ทำเอาไว้แค่เจ็ดส่วน อีกสามส่วนเปิดช่องให้ผู้ชมใช้จินตนาการเอาเอง ถ้ารักจะดูหนังเรื่องนี้ให้สนุก คงต้องทิ้งตรรกะวางกองเอาไว้ แล้วปล่อยจินตนาการให้ล่องลอยไปกับเส้นเรื่อง ดังที่ ไควกอน จินน์ ผู้แสวงปรมัตถ์แห่งวิถีเจได เคยกล่าวแก่เจ้าหนูสกายวอล์กเกอร์เอาไว้ว่า
“จงทิ้งสามัญสำนักไว้แล้วซึมซับด้วยความรู้สึก”
ไม่อย่างนั้น... รออีกสักสี่ห้าเดือน เราอาจจะได้ดูเวอร์ชั่นไดเร็คเตอร์คัทกันบน Netflix ซึ่งน่าจะถ่ายทอดออกมาได้สมบูรณ์กว่านี้ (ปล. นี่เป็นเพียงการคาดเดา)
(โปรดรอติดตามตอนจบ)
[CR] Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง #2: หนังฟีลกู๊ดที่รุ่มรวยช่องว่างแห่งจินตนาการ
[CR] Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง #2: หนังฟีลกู๊ดที่รุ่มรวยช่องว่างแห่งจินตนาการ
[CR] Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง #3 รักใหม่ หัวใจดวงเดิม
ทว่า บทหนังและการลำดับเรื่องที่ลักลั่น กลับทำให้อาหารจากวัตถุดิบชั้นเลิศถูกจัดจานและนำเสนอออกมาแบบ ‘ไม่สุด’ ‘ไม่ถึง’ ‘ไม่พีค’ หรือพูดรวมๆ ว่า ‘ไม่น่าประทับใจ’
บทหนังที่ก้นลิ้นชัก
ในฐานะหนึ่งใน ‘คนเจ็นลุง’ หรือประชากรชายไทยวัยประมาณ 40 ปี ตามที่หนังได้กล่าวถึง ผมเห็นด้วยที่หนังถ่ายทอดบุคลิกความรอบคอบของชัยออกมาในฐานะ ‘ลุง’ หากแต่ไม่ใช่ลุงของคนวัยน้ำหวานที่อายุประมาณ 20 กว่าๆ ใน พ.ศ. นี้ แต่ควรจะเป็นลุงของคนวัยผม ในสมัยสักยี่สิบปีก่อน ตอนที่เรายังเป็นเด็กมหาวิทยาลัยเอ๊าะๆ ที่การทิ้งขยะลงบนพื้นถนนยังเป็นอะไรที่สามัญ ในขณะที่คนเจ็น Z ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งกว่าคนรุ่นไหนๆ การที่คนวัยน้ำหวานจะโยนถุงขยะทิ้งลงถนนนี้ เรียกว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
การเช็ครถก่อนออก ขับช้า หรือพกผ้าเช็ดหน้า เป็นเรื่องที่ชาชินสำหรับวัยเด็กของผม เพราะนั่นคือ สิ่งที่ ‘พ่อ’ ของผมเป็นจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งหมายถึงพ่อของคนอายุ 40 ปัจจุบันก็ต้องเป็นรุ่น ‘ปู่’ ที่อายุประมาณ 65-70 ปี ไม่ใช่ลำดับรุ่นลุงอย่างในหนัง... หรือจะเป็นไปได้ไหมว่า ทีมผู้สร้างได้นำพล็อตหนังจากนิยายสมัย 20 ปีก่อน เอามาปัดฝุ่น แล้วเติมรายละเอียดสีสันของยุคนี้ลงไป โดยหลงลืมไปว่าเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะร่วมของคนแต่ละวัยไปแล้วด้วยเหมือนกัน
มิติเวลาที่แบนราบ
เรื่องหนึ่งที่ผมเชื่อว่าคนที่ดูหนังมาแล้วน่าจะสงสัยคล้ายๆ กัน คือ ช่วงเวลาระหว่างแต่ละเหตุการณ์ในลำดับหนังที่ดูค่อนข้างไม่สมเหตุสมผล อาทิ ระหว่างที่เฟิร์นเสียไปจนถึงตอนที่ชัยตัดสินใจเดินทางมาเชียงใหม่ห่างกันกี่สัปดาห์หรือกี่เดือน ชัยพักอยู่ที่เชียงใหม่นานแค่ไหน และระหว่างชัยกับน้ำหวานใช้เวลาในการสานสัมพันธ์กันนานแค่ไหน หรือแม้แต่ตอนที่ชัยหนีน้ำหวานกับบ้าน จนถึงตอนที่ตามไปง้อน้ำหวานถึงเวียดนามห่างกันเท่าไหร่
เหตุที่ต้องกล่าวถึงเรื่องของเวลา เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงความสัมพันธ์ของคนสองคนที่ก่อตัวขึ้นในตอนต้นเรื่อง และจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้งในตอนท้าย ซึ่งถ้าให้ผมเดาเอาเองตามท้องเรื่อง ก็คงจะประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งเป็นอะไรที่เร็วมากๆ สำหรับคนที่เพิ่งเสียคนรักไปจะกลับมาเริ่มใหม่กับใครบางคน จนบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้ว ชัยอาจจะไม่ได้รักเฟิร์นมากเท่าไหร่ก็ได้
ลุงชัยใช้เวลานั่งจ่อมอยู่ที่เกสท์เฮาส์กับตัวต่อรูบิคอย่างจริงจังเพียง 2-3 วัน หลังจากนั้นก็ถูกน้ำหวานหลอกล่อไปทำนู่นทำนี่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเอากันจริงๆ สำหรับผู้ชายวัย 40 เด็กสาววัยกำลังจะเรียนจบ ก็เป็นช่วงต่อของอายุที่กำลังน่ารัก เพราะจะว่าเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ใช่ เป็นเด็กก็ไม่เชิง ในขณะที่ด้านร่างกายก็อยู่ในช่วงวัยที่สมบูรณ์พอดี ยิ่งเป็นสาวน้อยที่หน้าตาน่ารักๆ อย่างน้ำหวาน ก็คงไม่แปลกที่ลุงชัยจะรีบควักผ้าเช็ดหน้ามาเช็ดน้ำลาย... เอ้ย เช็ดน้ำหวานให้แทบไม่ทัน พร้อมหยอดมุขโดนๆ อย่าง “ตอนนี้ก็พี่สินะ” กลับอย่างไม่ขวยเขิน เมื่อน้ำหวาน (ที่ตอนนั้นเพิ่งรู้จักกันแค่ 2-3 วัน) บ่นอุบอิบว่าปกติมีแต่พ่อที่ทำอะไรอย่างนี้ให้
ในทางตรงกันข้าม น้ำหวานก็ดูจะเป็นเด็กมัธยัสถ์จนเกินงาม เพราะขยันหยอดมุขใส่ลุงรัวๆ ชนิดที่ว่า ‘บาทสองบาทก็เอาแล้ว’... เอ๊ะ หรือจะเป็นเพราะความขยันของน้ำหวานกันแน่ ที่ทำให้กำแพงใจของลุงชัยพังทะลายลงอย่างรวดเร็วแบบนี้
จังหวะยังไม่จะโคน
ปัญหาอย่างหนึ่งของหนัง Heartbeat เสี่ยงนัก...รักมั้ยลุง น่าจะเป็นความยาวของหนังที่สั้นเกินไป บวกกับที่ต้องเบียดเวลาไทอินให้กับสปอนเซอร์ด้วย ทำให้ผู้กำกับไม่มีเวลาพอสำหรับปูเรื่องเพื่อปล่อยของออกมาในจังหวะที่พีคๆ โดนๆ หลายมุขที่ควรจะยิงออกมาแล้วสร้างอิมแพ็คกับคนดูได้ ก็เลยทำได้แค่ปล่อยออกมาเฉยๆ นัยว่ากลัวเสียของ โดยเฉพาะฉากที่ตัดออกมาเป็นทีเซอร์หนัง อย่าง ตอนที่น้ำหวานกระโดดหน้าผา ตอนผ้าเช็ดหน้า ตอนใจบ่ดี ที่น่าจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้คนอยากรู้ว่าชัยกับน้ำหวานเขาทำอะไรกันก่อนหน้านี้ ถึงได้เกิดเนื้อหาในตอนนี้ขึ้น ซึ่งสุดท้ายทำได้แค่นำมาแทรกในหนังเหมือนเป็นทางผ่าน โดยเฉพาะตอนใจบ่ดี คือ อยู่ๆ น้ำหวานก็พูดขึ้นมาเฉยๆ แบบ...
ก็นั่นแหละ อย่างที่บอกเอาไว้ตอนต้น ว่านี่เป็นหนังฟีลกู๊ดยุคใหม่ ที่ทำเอาไว้แค่เจ็ดส่วน อีกสามส่วนเปิดช่องให้ผู้ชมใช้จินตนาการเอาเอง ถ้ารักจะดูหนังเรื่องนี้ให้สนุก คงต้องทิ้งตรรกะวางกองเอาไว้ แล้วปล่อยจินตนาการให้ล่องลอยไปกับเส้นเรื่อง ดังที่ ไควกอน จินน์ ผู้แสวงปรมัตถ์แห่งวิถีเจได เคยกล่าวแก่เจ้าหนูสกายวอล์กเกอร์เอาไว้ว่า
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้