หนึ่งในสิ่งแรกๆ ที่หลายคนจะนึกถึง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด คือการที่พวกเขาผลักดันดาวรุ่งจากอะคาเดมี่ของตัวเองอย่างต่อเนื่อง และที่จริง "ปีศาจแดง" ก็ให้นักเตะจากอะคาเดมี่ของตัวเองมีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีกมา 3,999 นัดติดต่อกันแล้ว
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ตัวเลขด้านนั้นก็จะยังเดินหน้าต่อไปเป็น 4,000 เกม ในนัดที่ทีมของกุนซือ โอเล่ กุนนาร์ โซลชา มีคิวเปิดรัง โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด รับการมาเยือนของ เอฟเวอร์ตัน วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคมนี้ เพราะปัจจุบันมันก็มี มาร์คัส แรชฟอร์ด และ สกอตต์ แม็คโทมิเนย์ ที่มาจากอะคาเดมี่ของพวกเขาแล้วเป็นกำลังหลักของทีมในปัจจุบัน แถมมันยังมีโอกาสที่ เจสซี่ ลินการ์ด และ แบรนดอน วิลเลี่ยมส์ อีก 2 ผลผลิตจากอะคาเดมี่ของทีม จะได้ลงเล่นเหมือนกัน
ปัจจุบัน แมนฯ ยูไนเต็ด คือทีมที่ให้นักเตะที่จบจากอะคาเดมี่ของพวกเขาได้มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่ในเกมลีกติดต่อกันมากที่สุด ส่วนอันดับ 2 ก็ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น เอฟเวอร์ตัน คู่แข่งของพวกเขาในวันอาทิตย์นี้ ถึงกระนั้น ตัวเลขของ "ทอฟฟี่สีน้ำเงิน" ก็น้อยกว่าของ แมนฯ ยูไนเต็ด ถึงเกือบ 3,000 เกมเลยทีเดียว
หนึ่งในสิ่งที่เป็นหลักฐานชั้นเลิศว่า แมนฯ ยูไนเต็ด ยังยึดมั่นกับปรัชญาการผลักดันแข้งอะคาเดมี่ของพวกเขา ก็คือการที่พวกเขาใส่ชื่อแข้งจากอะคาเดมี่ของตัวเองอยู่ในรายชื่อทีมชุดที่ชนะ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ 2-1 ในเกมแมนเชสเตอร์ ดาร์บี้แมตช์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทั้งตัวจริงและตัวสำรองมากถึง 7 คน ประกอบด้วย 3 ตัวจริงอย่าง ลินการ์ด, แม็คโทมิเนย์ และ แรชฟอร์ด กับอีก 4 คนที่ออกสตาร์ตบนม้านั่งสำรองอย่าง อันเดรียส เปเรยร่า, อั๊กเซล ตวนเซเบ้, เมสัน กรีนวู้ด และ วิลเลี่ยมส์ โดยรายของ เปเรยร่า กับ ตวนเซเบ้ ถูกเปลี่ยนตัวลงสนามด้วย ซึ่งเรื่องราวการให้โอกาสแข้งเยาวชนของ แมนฯ ยูไนเต็ด มันก็ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
วันที่ 30 ตุลาคม ปี 1937 แมนฯ ยูไนเต็ด แพ้ ฟูแล่ม 0-1 แน่นอนว่าผลการแข่งขันมันถือว่าน่าผิดหวัง แต่ตอนนั้นก็ไม่มีใครคาดคิดว่านั่นจะเป็นเกมที่เป็นจุดเริ่มต้นของสถิติการให้แข้งจากอะคาเดมี่ของพวกเขาลงเล่นติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
นักเตะจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่ในวันนั้นคือ ทอม แมนลี่ย์ และ แจ็คกี้ วอลซอลล์ แน่นอนว่าทั้งคู่ไม่ใช่คนที่โด่งดังอะไร แต่พวกเขาก็กลายเป็นผู้บุกเบิกในการเป็นแข้งจากอะคาเดมี่ของทีมที่มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีกติดต่อกัน
แรกเริ่มเดิมทีนั้น แมนฯ ยูไนเต็ด ไม่ได้มีโครงสร้างด้านเยาวชนที่มีอะคาเดมี่เป็นรูปธรรม โดยตอนแรกในช่วงทศวรรษ 1930 เจมส์ ดับบลิว กิ๊บสัน ประธานของทีม กับ วอลเตอร์ คริคเมอร์ แค่มีแนวคิดว่าอยากสร้างทีมที่มีเฉพาะนักเตะจากเมืองแมนเชสเตอร์เท่านั้น จนทำให้พวกเขาส่งแมวมองไปตามเช็กฟอร์มของเหล่าแข้งดาวรุ่งในเมืองแมนเชสเตอร์
ไม่นานหลังจากนั้นมันก็มีการสร้างอะคาเดมี่ขึ้นมาจริงๆ ในชื่อ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จูเนียร์ แอธเลติก คลับ ซึ่งอะคาเดมี่ก็อยู่ที่สนามซ้อมของทีมชุดใหญ่เลย โดยในภายหลังสนามซ้อมแห่งนั้นก็กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ เดอะ คลิฟฟ์ (The Cliff) สนามเหย้าของทีมเยาวชน แมนฯ ยูไนเต็ด และทีมหญิงของพวกเขาในปัจจุบัน โดยแม้ว่าทีมชุดใหญ่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด จะโยกไปซ้อมที่ แคร์ริงตัน แทน แต่พวกเขาก็ยังไม่ทิ้ง เดอะ คลิฟฟ์ แต่อย่างใด และมันก็อยู่ห่างจาก โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด แค่ราว 5 ไมล์เท่านั้น
แมนฯ ยูไนเต็ด วางยุทธศาสตร์และการพัฒนาเยาวชนได้อย่างยอดเยี่ยมจนทำให้พวกเขาได้แชมป์ เอฟเอ ยูธ คัพ ได้ทั้ง 5 หนแรกที่มีการจัดทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว ในช่วงทศวรรษ 1950 และนักเตะหลายคนจากเยาวชนชุดนั้นก็ก้าวขึ้นไปเป็นกำลังหลักให้ เซอร์ แม็ตต์ บัสบี้ จนกลายเป็นกลุ่ม "บัสบี้ เบ็บส์" อันเลื่องชื่อ
ความสำเร็จของ บัสบี้ เบ็บส์ ทำให้การผลักดันเยาวชนกลายเป็นภาพลักษณ์อันยอดเยี่ยมของ เซอร์ แม็ตต์ บัสบี้ น่าเศร้าที่มันต้องเจอกับอุปสรรคที่ไม่มีใครคาดคิด นั่นคือโศกนาฏกรรมมิวนิคในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1958 ที่คร่าชีวิตคนไป 23 คน ในจำนวนนั้นเป็นนักเตะ แมนฯ ยูไนเต็ด 8 ราย และมีถึง 7 คนที่เป็นผลผลิตจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ไม่ว่าจะเป็น ดันแคน เอ็ดเวิร์ดส์, จอฟฟ์ เบนท์, โรเจอร์ เบิร์น, เอ็ดดี้ โคลแมน, มาร์ค โจนส์, เดวิด เป็กก์ และ เลียม วีแลน
อย่างไรก็ตาม แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังพยายามผลักดันนักเตะจากอะคาเดมี่ของพวกเขาขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่เรื่อยๆ และหลังจากรอมานาน นโยบายดังกล่าวก็ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในยุคของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน โดยอดีตบรมกุนซือชาวสกอตต์สร้างทีมด้วยการใช้แข้งดาวรุ่งจากอะคาเดมี่ของทีมเป็นแกนหลัก จนได้แชมป์มากมายก่ายกอง และทำให้ "คลาส ออฟ 92" กลายเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้
โดยรวมแล้วมีกุนซือของพวกเขาทั้งหมด 15 คน ที่มีส่วนในการใส่ชื่อแข้งจากอะคาเดมี่อยู่ในรายชื่อทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีก 3,999 นัดติดต่อกัน และผู้จัดการทีมคนปัจจุบันของพวกเขาที่ชื่อว่า โซลชา ก็ให้ความสำคัญในด้านนี้เช่นกัน เพราะเขารู้ดีว่ามันเป็นดีเอ็นเอของทีม จากการที่ โซลชา เคยเล่นให้ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นเวลานาน นอกจากนี้ โซลชา ก็เคยเป็นกุนซือให้ทีมสำรองของ แมนฯ ยูไนเต็ด เหมือนกัน และมันก็ทำให้เขาได้ร่วมงานกับเยาวชนหลายคน
ความมุ่งมั่นในการผลักดันแข้งจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด สามารถมองได้จากกลุ่มสตาฟฟ์ของ โซลชา เช่นกัน อย่างเช่น ไมค์ ฟีแลน ที่มีประสบการณ์โชกโชนในการพัฒนาเยาวชน และ คีแรน แม็คเคนน่า อดีตสตาฟฟ์ของ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์
ฤดูกาล 2018-19 ถือเป็นซีซั่นที่น่าผิดหวังของ แมนฯ ยูไนเต็ด ถ้ามองถึงเรื่องผลงาน พวกเขาได้เพียงอันดับ 6 ในลีก, อดเล่น ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ในฤดูกาล 2019-20 และจบซีซั่นแบบมือเปล่า แต่ในด้านปรัชญาการผลักดันแข้งจากอะคาเดมี่ พวกเขายังไม่ได้ทิ้งมันไป
ในฤดูกาลที่แล้ว แมนฯ ยูไนเต็ด ให้โอกาสนักเตะที่จบจากอะคาเดมี่ของพวกเขาได้ลงเล่นในเกมลีกมากถึง 9,334 นาที มากกว่าทุกทีมใน พรีเมียร์ลีก ขณะที่จาก 65 ประตูในลีกที่พวกเขาทำได้นั้น มันก็มีถึง 30 ลูก ที่มาจากผลงานของผลผลิตจากอะคาเดมี่ของทีม คิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์จากประตูทั้งหมดที่พวเขาทำได้ และมันก็ทำลายสถิติเดิมของ คลาส ออฟ 92 ที่ยืนยาวมาตั้งแต่ฤดูกาล 1995-96 ได้ เพราะตอนนั้น แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ประตูจากแข้งในอะคาเดมี่ของพวกเขา 41 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประตูทั้งหมดที่ทีมยิงได้ในลีก
ขณะที่ในฤดูกาล 2016-17 กับ 2017-18 แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังให้โอกาสแข้งจากอะคาเดมี่มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีกอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าตอนนั้นผู้จัดการทีมของพวกเขาจะเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ที่มีภาพลักษณ์ว่าไม่ค่อยผลักดันแข้งดาวรุ่งเท่าไหร่ก็ตาม
หลังจากนี้แนวโน้มการให้โอกาสแข้งจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ดูเหมือนว่าจะยังไม่ผ่อนลงไป ไม่ว่าจะเป็น แรชฟอร์ด, แม็คโทมิเนย์, ปอล ป็อกบา หรือ ลินการ์ด ที่ได้ลงเล่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ฤดูกาลก่อนๆ และจะยังได้ลงเล่นต่อไปหลังจากนี้ (ในกรณีของ ป็อกบา ถ้าไม่ย้ายไปไหนซะก่อน) รวมถึงนักเตะอย่าง กรีนวู้ด, วิลเลี่ยมส์ และ ตวนเซเบ้ ที่ถือเป็นอะไหล่ลำดับต้นๆ จนน่าจะได้ลงเล่นหลายนัดในซีซั่นนี้ แถมยังมีคนอย่าง เจมส์ การ์เนอร์, อังเคล โกเมส และ ทาฮิธ ชอง ที่รอโอกาสอยู่ลึกๆ อีก
ทั้งนี้ ถ้าให้พูดถึงเกมลีกที่น่าชื่นใจมากที่สุดของ แมนฯ ยูไนเต็ด ในฤดูกาลนี้แล้วล่ะก็ บรรดา "เร้ด อาร์มี่" ก็อาจจะเลือกเกมที่ชนะ แมนฯ ซิตี้ คู่ปรับร่วมเมือง 2-1, นัดเฉือน สเปอร์ส 2-1 ที่เป็นการต้อนรับ มูรินโญ่ กลับสู่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด หรือนัดเปิดซีซั่นที่ชนะ เชลซี 4-0 แต่หนึ่งในเกมที่น่าสนใจอย่างมากคือเกมที่พวกเขาเสมอกับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด 3-3
สาเหตุก็เพราะในวันนั้นคนที่ทำประตูให้ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นผลผลิตในอะคาเดมี่ของพวกเขาเองทั้งหมด ประกอบด้วย วิลเลี่ยมส์, กรีนวู้ด และ แรชฟอร์ด ทำให้มันถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 1996 ที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ประตูในเกมลีกจากนักเตะที่จบจากอะคาเดมี่ของพวกเขา 3 ลูกขึ้นไป โดยหนนั้นเป็นเกมที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ชนะ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ 5-0 ซึ่งวันนั้น พอล สโคลส์, เดวิด เบ็คแฮม และ ไรอัน กิ๊กส์ ทำประตูให้ทีมได้
ในวันที่เสมอกับ เชฟฯ ยูไนเต็ด ถ้าเกิด "อะคาเดมี่" มันมีชีวิตเหมือนคนแล้วล่ะก็ เขาก็คงยิ้มอย่างมีความสุขในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
cr : www.soamsprot.cot.h
ก้าวสู่ 4,000 เกมติด แมนฯ ยูไนเต็ด กับปรัชญาด้านอะคาเดมี่ที่ไม่เสื่อมคลาย
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ตัวเลขด้านนั้นก็จะยังเดินหน้าต่อไปเป็น 4,000 เกม ในนัดที่ทีมของกุนซือ โอเล่ กุนนาร์ โซลชา มีคิวเปิดรัง โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด รับการมาเยือนของ เอฟเวอร์ตัน วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคมนี้ เพราะปัจจุบันมันก็มี มาร์คัส แรชฟอร์ด และ สกอตต์ แม็คโทมิเนย์ ที่มาจากอะคาเดมี่ของพวกเขาแล้วเป็นกำลังหลักของทีมในปัจจุบัน แถมมันยังมีโอกาสที่ เจสซี่ ลินการ์ด และ แบรนดอน วิลเลี่ยมส์ อีก 2 ผลผลิตจากอะคาเดมี่ของทีม จะได้ลงเล่นเหมือนกัน
ปัจจุบัน แมนฯ ยูไนเต็ด คือทีมที่ให้นักเตะที่จบจากอะคาเดมี่ของพวกเขาได้มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่ในเกมลีกติดต่อกันมากที่สุด ส่วนอันดับ 2 ก็ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น เอฟเวอร์ตัน คู่แข่งของพวกเขาในวันอาทิตย์นี้ ถึงกระนั้น ตัวเลขของ "ทอฟฟี่สีน้ำเงิน" ก็น้อยกว่าของ แมนฯ ยูไนเต็ด ถึงเกือบ 3,000 เกมเลยทีเดียว
หนึ่งในสิ่งที่เป็นหลักฐานชั้นเลิศว่า แมนฯ ยูไนเต็ด ยังยึดมั่นกับปรัชญาการผลักดันแข้งอะคาเดมี่ของพวกเขา ก็คือการที่พวกเขาใส่ชื่อแข้งจากอะคาเดมี่ของตัวเองอยู่ในรายชื่อทีมชุดที่ชนะ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ 2-1 ในเกมแมนเชสเตอร์ ดาร์บี้แมตช์ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทั้งตัวจริงและตัวสำรองมากถึง 7 คน ประกอบด้วย 3 ตัวจริงอย่าง ลินการ์ด, แม็คโทมิเนย์ และ แรชฟอร์ด กับอีก 4 คนที่ออกสตาร์ตบนม้านั่งสำรองอย่าง อันเดรียส เปเรยร่า, อั๊กเซล ตวนเซเบ้, เมสัน กรีนวู้ด และ วิลเลี่ยมส์ โดยรายของ เปเรยร่า กับ ตวนเซเบ้ ถูกเปลี่ยนตัวลงสนามด้วย ซึ่งเรื่องราวการให้โอกาสแข้งเยาวชนของ แมนฯ ยูไนเต็ด มันก็ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
วันที่ 30 ตุลาคม ปี 1937 แมนฯ ยูไนเต็ด แพ้ ฟูแล่ม 0-1 แน่นอนว่าผลการแข่งขันมันถือว่าน่าผิดหวัง แต่ตอนนั้นก็ไม่มีใครคาดคิดว่านั่นจะเป็นเกมที่เป็นจุดเริ่มต้นของสถิติการให้แข้งจากอะคาเดมี่ของพวกเขาลงเล่นติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
นักเตะจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่ในวันนั้นคือ ทอม แมนลี่ย์ และ แจ็คกี้ วอลซอลล์ แน่นอนว่าทั้งคู่ไม่ใช่คนที่โด่งดังอะไร แต่พวกเขาก็กลายเป็นผู้บุกเบิกในการเป็นแข้งจากอะคาเดมี่ของทีมที่มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีกติดต่อกัน
แรกเริ่มเดิมทีนั้น แมนฯ ยูไนเต็ด ไม่ได้มีโครงสร้างด้านเยาวชนที่มีอะคาเดมี่เป็นรูปธรรม โดยตอนแรกในช่วงทศวรรษ 1930 เจมส์ ดับบลิว กิ๊บสัน ประธานของทีม กับ วอลเตอร์ คริคเมอร์ แค่มีแนวคิดว่าอยากสร้างทีมที่มีเฉพาะนักเตะจากเมืองแมนเชสเตอร์เท่านั้น จนทำให้พวกเขาส่งแมวมองไปตามเช็กฟอร์มของเหล่าแข้งดาวรุ่งในเมืองแมนเชสเตอร์
ไม่นานหลังจากนั้นมันก็มีการสร้างอะคาเดมี่ขึ้นมาจริงๆ ในชื่อ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จูเนียร์ แอธเลติก คลับ ซึ่งอะคาเดมี่ก็อยู่ที่สนามซ้อมของทีมชุดใหญ่เลย โดยในภายหลังสนามซ้อมแห่งนั้นก็กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ เดอะ คลิฟฟ์ (The Cliff) สนามเหย้าของทีมเยาวชน แมนฯ ยูไนเต็ด และทีมหญิงของพวกเขาในปัจจุบัน โดยแม้ว่าทีมชุดใหญ่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด จะโยกไปซ้อมที่ แคร์ริงตัน แทน แต่พวกเขาก็ยังไม่ทิ้ง เดอะ คลิฟฟ์ แต่อย่างใด และมันก็อยู่ห่างจาก โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด แค่ราว 5 ไมล์เท่านั้น
แมนฯ ยูไนเต็ด วางยุทธศาสตร์และการพัฒนาเยาวชนได้อย่างยอดเยี่ยมจนทำให้พวกเขาได้แชมป์ เอฟเอ ยูธ คัพ ได้ทั้ง 5 หนแรกที่มีการจัดทัวร์นาเมนต์ดังกล่าว ในช่วงทศวรรษ 1950 และนักเตะหลายคนจากเยาวชนชุดนั้นก็ก้าวขึ้นไปเป็นกำลังหลักให้ เซอร์ แม็ตต์ บัสบี้ จนกลายเป็นกลุ่ม "บัสบี้ เบ็บส์" อันเลื่องชื่อ
ความสำเร็จของ บัสบี้ เบ็บส์ ทำให้การผลักดันเยาวชนกลายเป็นภาพลักษณ์อันยอดเยี่ยมของ เซอร์ แม็ตต์ บัสบี้ น่าเศร้าที่มันต้องเจอกับอุปสรรคที่ไม่มีใครคาดคิด นั่นคือโศกนาฏกรรมมิวนิคในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1958 ที่คร่าชีวิตคนไป 23 คน ในจำนวนนั้นเป็นนักเตะ แมนฯ ยูไนเต็ด 8 ราย และมีถึง 7 คนที่เป็นผลผลิตจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ไม่ว่าจะเป็น ดันแคน เอ็ดเวิร์ดส์, จอฟฟ์ เบนท์, โรเจอร์ เบิร์น, เอ็ดดี้ โคลแมน, มาร์ค โจนส์, เดวิด เป็กก์ และ เลียม วีแลน
อย่างไรก็ตาม แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังพยายามผลักดันนักเตะจากอะคาเดมี่ของพวกเขาขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่เรื่อยๆ และหลังจากรอมานาน นโยบายดังกล่าวก็ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในยุคของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน โดยอดีตบรมกุนซือชาวสกอตต์สร้างทีมด้วยการใช้แข้งดาวรุ่งจากอะคาเดมี่ของทีมเป็นแกนหลัก จนได้แชมป์มากมายก่ายกอง และทำให้ "คลาส ออฟ 92" กลายเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้
โดยรวมแล้วมีกุนซือของพวกเขาทั้งหมด 15 คน ที่มีส่วนในการใส่ชื่อแข้งจากอะคาเดมี่อยู่ในรายชื่อทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีก 3,999 นัดติดต่อกัน และผู้จัดการทีมคนปัจจุบันของพวกเขาที่ชื่อว่า โซลชา ก็ให้ความสำคัญในด้านนี้เช่นกัน เพราะเขารู้ดีว่ามันเป็นดีเอ็นเอของทีม จากการที่ โซลชา เคยเล่นให้ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นเวลานาน นอกจากนี้ โซลชา ก็เคยเป็นกุนซือให้ทีมสำรองของ แมนฯ ยูไนเต็ด เหมือนกัน และมันก็ทำให้เขาได้ร่วมงานกับเยาวชนหลายคน
ความมุ่งมั่นในการผลักดันแข้งจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด สามารถมองได้จากกลุ่มสตาฟฟ์ของ โซลชา เช่นกัน อย่างเช่น ไมค์ ฟีแลน ที่มีประสบการณ์โชกโชนในการพัฒนาเยาวชน และ คีแรน แม็คเคนน่า อดีตสตาฟฟ์ของ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์
ฤดูกาล 2018-19 ถือเป็นซีซั่นที่น่าผิดหวังของ แมนฯ ยูไนเต็ด ถ้ามองถึงเรื่องผลงาน พวกเขาได้เพียงอันดับ 6 ในลีก, อดเล่น ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ในฤดูกาล 2019-20 และจบซีซั่นแบบมือเปล่า แต่ในด้านปรัชญาการผลักดันแข้งจากอะคาเดมี่ พวกเขายังไม่ได้ทิ้งมันไป
ในฤดูกาลที่แล้ว แมนฯ ยูไนเต็ด ให้โอกาสนักเตะที่จบจากอะคาเดมี่ของพวกเขาได้ลงเล่นในเกมลีกมากถึง 9,334 นาที มากกว่าทุกทีมใน พรีเมียร์ลีก ขณะที่จาก 65 ประตูในลีกที่พวกเขาทำได้นั้น มันก็มีถึง 30 ลูก ที่มาจากผลงานของผลผลิตจากอะคาเดมี่ของทีม คิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์จากประตูทั้งหมดที่พวเขาทำได้ และมันก็ทำลายสถิติเดิมของ คลาส ออฟ 92 ที่ยืนยาวมาตั้งแต่ฤดูกาล 1995-96 ได้ เพราะตอนนั้น แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ประตูจากแข้งในอะคาเดมี่ของพวกเขา 41 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประตูทั้งหมดที่ทีมยิงได้ในลีก
ขณะที่ในฤดูกาล 2016-17 กับ 2017-18 แมนฯ ยูไนเต็ด ก็ยังให้โอกาสแข้งจากอะคาเดมี่มีชื่ออยู่ในทีมชุดใหญ่สำหรับการลงเล่นเกมลีกอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าตอนนั้นผู้จัดการทีมของพวกเขาจะเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ที่มีภาพลักษณ์ว่าไม่ค่อยผลักดันแข้งดาวรุ่งเท่าไหร่ก็ตาม
หลังจากนี้แนวโน้มการให้โอกาสแข้งจากอะคาเดมี่ของ แมนฯ ยูไนเต็ด ดูเหมือนว่าจะยังไม่ผ่อนลงไป ไม่ว่าจะเป็น แรชฟอร์ด, แม็คโทมิเนย์, ปอล ป็อกบา หรือ ลินการ์ด ที่ได้ลงเล่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ฤดูกาลก่อนๆ และจะยังได้ลงเล่นต่อไปหลังจากนี้ (ในกรณีของ ป็อกบา ถ้าไม่ย้ายไปไหนซะก่อน) รวมถึงนักเตะอย่าง กรีนวู้ด, วิลเลี่ยมส์ และ ตวนเซเบ้ ที่ถือเป็นอะไหล่ลำดับต้นๆ จนน่าจะได้ลงเล่นหลายนัดในซีซั่นนี้ แถมยังมีคนอย่าง เจมส์ การ์เนอร์, อังเคล โกเมส และ ทาฮิธ ชอง ที่รอโอกาสอยู่ลึกๆ อีก
ทั้งนี้ ถ้าให้พูดถึงเกมลีกที่น่าชื่นใจมากที่สุดของ แมนฯ ยูไนเต็ด ในฤดูกาลนี้แล้วล่ะก็ บรรดา "เร้ด อาร์มี่" ก็อาจจะเลือกเกมที่ชนะ แมนฯ ซิตี้ คู่ปรับร่วมเมือง 2-1, นัดเฉือน สเปอร์ส 2-1 ที่เป็นการต้อนรับ มูรินโญ่ กลับสู่ โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด หรือนัดเปิดซีซั่นที่ชนะ เชลซี 4-0 แต่หนึ่งในเกมที่น่าสนใจอย่างมากคือเกมที่พวกเขาเสมอกับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด 3-3
สาเหตุก็เพราะในวันนั้นคนที่ทำประตูให้ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นผลผลิตในอะคาเดมี่ของพวกเขาเองทั้งหมด ประกอบด้วย วิลเลี่ยมส์, กรีนวู้ด และ แรชฟอร์ด ทำให้มันถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 1996 ที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ประตูในเกมลีกจากนักเตะที่จบจากอะคาเดมี่ของพวกเขา 3 ลูกขึ้นไป โดยหนนั้นเป็นเกมที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ชนะ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ 5-0 ซึ่งวันนั้น พอล สโคลส์, เดวิด เบ็คแฮม และ ไรอัน กิ๊กส์ ทำประตูให้ทีมได้
ในวันที่เสมอกับ เชฟฯ ยูไนเต็ด ถ้าเกิด "อะคาเดมี่" มันมีชีวิตเหมือนคนแล้วล่ะก็ เขาก็คงยิ้มอย่างมีความสุขในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
cr : www.soamsprot.cot.h