จากความรู้ดั่งเดิมในการเปลี่ยนภาพให้กลายเป็นข้อมูลดิจิตอล ในยุดที่ดิจิตอลเฟื่องฟูนั้น เราเรียกจุดของภาพว่า Pixel จะเป็นจุดสีของภาพ โดยจุดสีหนึ่งจุดจะต้องประกอบด้วยค่าสี R G B ตามสัดส่วนเพื่อเป็นสีของภาพจุดๆนั้น ดังนั้นเซนเซอร์รับภาพจึงต้องอ่านค่าสีออกมาเป็นข้อมูลดิจิตอลให้ได้ แต่ในความเป็นจริงเซนเชอร์หนึ่งจุดไม่สามารถรับค่าแสงได้ครบทั้ง RGB เราจึงต้องใช้เทคนิคการจัดวางเซนเซอร์รับสี RGB ไว้ข้างๆกัน แล้วใช้โปรแกรมในการจำลอง สีข้างเคียงขึ้นมา มันจึงถูกมองว่าไม่ใช่ True Pixel จริงๆ Sigma ได้ซื้อเทคโนโลยีการวางเซนเซอร์ เรียงเป้น สามชั้นในทางแนวตั้งทำให้ในจุดสีของภาพหนึ่งจุดจะได้ค่า RGB มาครบ ซึ่งมันถูกให้ชื่อว่า Foveon พอเอามาทำเป็นกล้องจริงๆ พบปัญหาทางเทคนิคมากมาย จนกลายเป็นกล้องอินดี้ที่ใช้งานยากกล้องหนึ่งไปเลย ด้วยความที่มี DR ต่ำต้อยมาก มีสีรบกวนระหว่างชั้นเซนเซอร์ ได้ข้อมูลอันมหาศาล ทำให้ทำงานช้า WB ที่เพี้ยนสุดๆเมื่อดัน ISO สูงๆ แต่ข้อดีของมันคือ True pixel ที่คุณจะซุมแค่ไหน คุณก็ยังได้จุดของภาพ ที่ไม่ใช่กรอบเหลี่ยมๆ ไมโครดีเทลของภาพอันดีงาม รายละเอียดระดับที่ มีเดียมฟอแมชท์ยังต้องค้อนตากลับ มีโอกาศเป็นเจ้าของ Sigma DP2 Merrill เป็นกล้องคอมแพคที่มีเซนเซอร์ Foveon นำภาพมานำเสนอเพื่อนๆได้ชมกัน
เมื่อได้สัมผัส เซนเซอร์สามชั้นอย่าง Foveon ของ Sigma