เทสโก้ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจากประเทศอังกฤษ ออกแถลงการณ์วานนี้ ( 8 ธ.ค. ประมาณ 14.35 น. เวลาท้องถิ่น) ระบุว่า บริษัทกำลังเริ่มการพิจารณาทบทวนแผนธุรกิจหลังจากที่มีผู้ซื้อรายหนึ่งซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยนาม ติดต่อทาบทามซื้อกิจการของเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งหากการซื้อขายดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็จะเป็นการถอนยวงการลงทุนของเทสโก้ออกจากตลาดต่างประเทศที่เป็นที่มั่นสุดท้ายนอกเหนือจากภูมิภาคยุโรป
เดฟ ลูอิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทสโก้
“บริษัทขอยืนยันว่า จากความสนใจที่มีเข้ามาทำให้บริษัทเริ่มพิจารณาทางเลือกต่างๆที่เป็นไปได้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ธุรกิจในประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งรวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ของการขายธุรกิจเหล่านี้ออกไป” แถลงการณ์ของเทสโก้ระบุ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาดังกล่าวยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับอนาคตของเทสโก้ในไทยและมาเลเซีย และยังไม่ยืนยันว่าการซื้อขายดังกล่าวสุดท้ายแล้วจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ บริษัทดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2541 ภายใต้ชื่อ เทสโก้ โลตัส มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 1,967 สาขา ส่วนในมาเลเซียเริ่มดำเนินการในปี 2545 ปัจจุบันมี 74 สาขา มีจำนวนพนักงานรวมกันทั้งสิ้นมากกว่า 60,000 คน มีรายได้รวมกัน 4,900 ล้านปอนด์ในปีการเงินที่ผ่านมา (สิ้นสุด ณ สิ้นเดือนก.พ. 2562) และมีผลกำไรรวม 286 ล้านปอนด์ คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของผลกำไรรวมทั่วโลกของเทสโก้
ไคลฟ์ แบล๊ค นักวิเคราะห์บริษัท ชอร์ แคปปิตอล ให้ความเห็นว่า ธุรกิจของเทสโก้ในเอเชียเป็น สินทรัพย์มูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ด้วยความที่เทสโก้ในประเทศไทยนั้นอยู่ในสถานะผู้นำในตลาด ทั้งยังมีศักยภาพการเติบโตที่ดีเนื่องจากประเทศไทยมีการขยายตัวของชุมชนเมืองออกไปมากยิ่งขึ้น
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายเดฟ ลูอิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทสโก้ เพิ่งเน้นย้ำถึงโอกาสในการขยายการเติบโตของธุรกิจในเอเชีย ซึ่งรวมถึงแผนการเปิดสาขาใหม่อีก 750 แห่งในประเทศไทยโดยจะเป็นสาขาในรูปแบบร้านสะดวกซื้อ (convenience stores) ทั้งนี้ ธุรกิจของเทสโก้ในเอเชียมีการเติบโตรวดเร็วกว่าธุรกิจหลักในยุโรป อีกทั้งยังทำกำไรได้มากกว่า โดยมีมาร์จิ้นกำไรเฉลี่ยประมาณ 6% ขณะที่ธุรกิจของเทสโก้ในอังกฤษ ไอร์แลนด์ และยุโรปตอนกลาง (ซึ่งครอบคลุมประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเชก สโลวาเกีย และฮังการี) ทำได้ไม่ถึง 3%
เดอะ การ์เดี้ยน สื่อใหญ่ของอังกฤษรายงานว่า ถ้าหากบริษัทตัดสินใจขายธุรกิจในเอเชียออกไป นั่นก็หมายความว่า บริษัทจะเหลือธุรกิจในต่างประเทศ หรือธุรกิจนอกอังกฤษ (non-UK operations) ก็เพียงในไอร์แลนด์ และประเทศยุโรปตอนกลางดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะแตกต่างไปจากอาณาจักรเทสโก้ในยุคภายใต้การบริหารของเซอร์ เทอร์รี ลีฮี อดีตประธานบริษัทที่มีการขยายเครือข่ายธุรกิจออกไปอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทสโก้ได้ทยอยถอนการลงทุนออกจากตลาดใหญ่ในต่างแดนไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน หรือตุรกี
การถอนยวงการลงทุนออกจากต่างประเทศครั้งสำคัญล่าสุด คือในปี 2558 ซึ่งเป็นยุคของประธานเดฟ ลูอิส บริษัทขายธุรกิจในเกาหลีใต้ออกไปในราคา 4,000 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับบัญชีงบดุลของบริษัทให้แข็งแรงยิ่งขึ้นหลังผ่านพ้นวิกฤติข่าวฉาวเกี่ยวกับการทุจริตตกแต่งบัญชีบริษัทในปี 2557
ลูอิสเข้ามาดูแลการพลิกฟื้นภาพลักษณ์และผลประกอบการของเทสโก้ เขาเน้นลงทุนเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักในอังกฤษ ทยอยขายธุรกิจในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ลูอิสกำลังจะลงจากตำแหน่งในช่วงฤดูร้อนปีหน้า
แหล่งข่าววงในระบุว่า ถึงแม้ประธานของเทสโก้จะเคยออกมาให้สัญญาณว่า ยุคแห่งการขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่บริษัทก็ยังเปิดโอกาสในการที่จะพิจารณาข้อเสนอดีๆหากมีผู้เสนอซื้อเข้ามา โดยผู้ซื้ออาจจะเป็นได้ทั้งเครือบริษัทใหญ่ที่เป็นธุรกิจของกลุ่มตระกูล หรืออาจจะเป็นนักลงทุนหุ้นนอกตลาด แหล่งข่าวยังประเมินมูลค่าของการซื้อขายครั้งนี้หากเกิดขึ้นจริงน่าจะสูงกว่า 5,000 ล้านปอนด์ ขณะที่ดาวโจนส์รายงานว่า น่าจะอยู่ที่ระดับ 6,900 ล้านปอนด์ หรือราว 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การขายธุรกิจในเอเชียจะทำให้เทสโก้มีสภาพคล่องเงินสดมากขึ้นและช่วยให้ธุรกิจหลักของบริษัทในประเทศอังกฤษสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นด้วย นักวิเคราะห์กล่าวว่า เทสโก้ในอังกฤษกำลังประสบกับภาวะการแข่งขันที่ดุเดือดเข้มข้น ประกอบกับความนิยมหันไปช้อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้นทำให้บริษัทจำเป็นต้องปรับโครงสร้างธุรกิจ ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เทสโก้ประกาศจะปลดพนักงาน 4,500 ตำแหน่งในส่วนของ ‘เทสโก้ เมโทร’ ซึ่งมีสาขาอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อลดทอนค่าใช้จ่าย
https://www.thansettakij.com/content/world/416365?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=world
ยันข่าวจริง! เทสโก้รับอาจขายธุรกิจในไทย-มาเลเซีย
เทสโก้ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจากประเทศอังกฤษ ออกแถลงการณ์วานนี้ ( 8 ธ.ค. ประมาณ 14.35 น. เวลาท้องถิ่น) ระบุว่า บริษัทกำลังเริ่มการพิจารณาทบทวนแผนธุรกิจหลังจากที่มีผู้ซื้อรายหนึ่งซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยนาม ติดต่อทาบทามซื้อกิจการของเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งหากการซื้อขายดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก็จะเป็นการถอนยวงการลงทุนของเทสโก้ออกจากตลาดต่างประเทศที่เป็นที่มั่นสุดท้ายนอกเหนือจากภูมิภาคยุโรป
เดฟ ลูอิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทสโก้
“บริษัทขอยืนยันว่า จากความสนใจที่มีเข้ามาทำให้บริษัทเริ่มพิจารณาทางเลือกต่างๆที่เป็นไปได้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ธุรกิจในประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งรวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ของการขายธุรกิจเหล่านี้ออกไป” แถลงการณ์ของเทสโก้ระบุ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาดังกล่าวยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆเกี่ยวกับอนาคตของเทสโก้ในไทยและมาเลเซีย และยังไม่ยืนยันว่าการซื้อขายดังกล่าวสุดท้ายแล้วจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ บริษัทดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2541 ภายใต้ชื่อ เทสโก้ โลตัส มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 1,967 สาขา ส่วนในมาเลเซียเริ่มดำเนินการในปี 2545 ปัจจุบันมี 74 สาขา มีจำนวนพนักงานรวมกันทั้งสิ้นมากกว่า 60,000 คน มีรายได้รวมกัน 4,900 ล้านปอนด์ในปีการเงินที่ผ่านมา (สิ้นสุด ณ สิ้นเดือนก.พ. 2562) และมีผลกำไรรวม 286 ล้านปอนด์ คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 ของผลกำไรรวมทั่วโลกของเทสโก้
ไคลฟ์ แบล๊ค นักวิเคราะห์บริษัท ชอร์ แคปปิตอล ให้ความเห็นว่า ธุรกิจของเทสโก้ในเอเชียเป็น สินทรัพย์มูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของนักลงทุน ด้วยความที่เทสโก้ในประเทศไทยนั้นอยู่ในสถานะผู้นำในตลาด ทั้งยังมีศักยภาพการเติบโตที่ดีเนื่องจากประเทศไทยมีการขยายตัวของชุมชนเมืองออกไปมากยิ่งขึ้น
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายเดฟ ลูอิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทสโก้ เพิ่งเน้นย้ำถึงโอกาสในการขยายการเติบโตของธุรกิจในเอเชีย ซึ่งรวมถึงแผนการเปิดสาขาใหม่อีก 750 แห่งในประเทศไทยโดยจะเป็นสาขาในรูปแบบร้านสะดวกซื้อ (convenience stores) ทั้งนี้ ธุรกิจของเทสโก้ในเอเชียมีการเติบโตรวดเร็วกว่าธุรกิจหลักในยุโรป อีกทั้งยังทำกำไรได้มากกว่า โดยมีมาร์จิ้นกำไรเฉลี่ยประมาณ 6% ขณะที่ธุรกิจของเทสโก้ในอังกฤษ ไอร์แลนด์ และยุโรปตอนกลาง (ซึ่งครอบคลุมประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเชก สโลวาเกีย และฮังการี) ทำได้ไม่ถึง 3%
เดอะ การ์เดี้ยน สื่อใหญ่ของอังกฤษรายงานว่า ถ้าหากบริษัทตัดสินใจขายธุรกิจในเอเชียออกไป นั่นก็หมายความว่า บริษัทจะเหลือธุรกิจในต่างประเทศ หรือธุรกิจนอกอังกฤษ (non-UK operations) ก็เพียงในไอร์แลนด์ และประเทศยุโรปตอนกลางดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจะแตกต่างไปจากอาณาจักรเทสโก้ในยุคภายใต้การบริหารของเซอร์ เทอร์รี ลีฮี อดีตประธานบริษัทที่มีการขยายเครือข่ายธุรกิจออกไปอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทสโก้ได้ทยอยถอนการลงทุนออกจากตลาดใหญ่ในต่างแดนไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน หรือตุรกี
การถอนยวงการลงทุนออกจากต่างประเทศครั้งสำคัญล่าสุด คือในปี 2558 ซึ่งเป็นยุคของประธานเดฟ ลูอิส บริษัทขายธุรกิจในเกาหลีใต้ออกไปในราคา 4,000 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับบัญชีงบดุลของบริษัทให้แข็งแรงยิ่งขึ้นหลังผ่านพ้นวิกฤติข่าวฉาวเกี่ยวกับการทุจริตตกแต่งบัญชีบริษัทในปี 2557
ลูอิสเข้ามาดูแลการพลิกฟื้นภาพลักษณ์และผลประกอบการของเทสโก้ เขาเน้นลงทุนเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลักในอังกฤษ ทยอยขายธุรกิจในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ลูอิสกำลังจะลงจากตำแหน่งในช่วงฤดูร้อนปีหน้า
แหล่งข่าววงในระบุว่า ถึงแม้ประธานของเทสโก้จะเคยออกมาให้สัญญาณว่า ยุคแห่งการขายสินทรัพย์บางส่วนออกไปได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่บริษัทก็ยังเปิดโอกาสในการที่จะพิจารณาข้อเสนอดีๆหากมีผู้เสนอซื้อเข้ามา โดยผู้ซื้ออาจจะเป็นได้ทั้งเครือบริษัทใหญ่ที่เป็นธุรกิจของกลุ่มตระกูล หรืออาจจะเป็นนักลงทุนหุ้นนอกตลาด แหล่งข่าวยังประเมินมูลค่าของการซื้อขายครั้งนี้หากเกิดขึ้นจริงน่าจะสูงกว่า 5,000 ล้านปอนด์ ขณะที่ดาวโจนส์รายงานว่า น่าจะอยู่ที่ระดับ 6,900 ล้านปอนด์ หรือราว 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การขายธุรกิจในเอเชียจะทำให้เทสโก้มีสภาพคล่องเงินสดมากขึ้นและช่วยให้ธุรกิจหลักของบริษัทในประเทศอังกฤษสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นด้วย นักวิเคราะห์กล่าวว่า เทสโก้ในอังกฤษกำลังประสบกับภาวะการแข่งขันที่ดุเดือดเข้มข้น ประกอบกับความนิยมหันไปช้อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้นทำให้บริษัทจำเป็นต้องปรับโครงสร้างธุรกิจ ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เทสโก้ประกาศจะปลดพนักงาน 4,500 ตำแหน่งในส่วนของ ‘เทสโก้ เมโทร’ ซึ่งมีสาขาอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อลดทอนค่าใช้จ่าย
https://www.thansettakij.com/content/world/416365?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=world