ขนคุด (Keratosis pilaris)
เป็นภาวะที่เจอได้บ่อยมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ขนคุดเองไม่ได้เป็นโรคอันตราย ไม่ติดต่อกัน
แต่จะมีผลต่อความสวยงามและความมั่นใจ เช่น ทำให้ไม่กล้าใส่แขนกุด หรือ ขาสั้น 😧😦😐
ลักษณะ เป็นตุ่มแข็งขนาดเล็กๆขึ้นตามรูขุมขน ลูบผิวแล้วจะรู้สึกขรุขระหรือสากๆ อาจจะมีสีแดงรอบๆตุ่ม หรือไม่แดงก็ได้
มักพบบริเวณต้นแขนด้านนอก ต้นขา ทำให้มองดูคล้าย’หนังไก่’(chicken skin) 🐣 🐓
บางครั้งอาจจะพบตรงบริเวณก้นก็ยังได้
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่ในบางคนอาจจะมีอาการคันเล็กน้อย
ปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร
แต่พบว่า ขนคุดมีความเกี่ยวข้องกับหลายอย่าง เช่น
- พันธุกรรม
- ฮอร์โมน
- ผิวแห้ง
- คนอ้วน
- ภูมิแพ้ผิวหนังชนิดอะโทปิก (atopic dermatitis)
- โรคหนังเกล็ดปลา (ichthyosis vulgaris)
- โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus)
- และยังพบขนคุดร่วมกับโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น โรคในกลุ่ม genodermatosis เป็นต้น
ถ้ามีผื่นที่คล้ายขนคุด (KP-liked eruption) ขึ้นพร้อมๆกันทีละมากๆ ให้เช็คประวัติยาที่ใช้อยู่ เพราะมีรายงานว่า พบผื่นคล้ายขนคุดหลังจากการใช้ยาบางชนิดได้
ธรรมชาติของโรคขนคุด ส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นหรือหายได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ แต่มีคนไข้ส่วนหนึ่งที่ยังคงเป็นต่อไป หรืออาการแย่ลง
การวินิจฉัย โดยการตรวจร่างกาย (ตรวจผิวหนัง ดูเส้นผม เล็บและฟัน เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่)
ถ้าส่องดูด้วยกล้องกำลังขยายสูง (dermoscope) อาจจะเห็น เส้นขนเล็กๆม้วนเป็นวงกลมขดอยู่ใต้ผิวหนัง (ใครอยากเห็นรูป กดดูใน comment ได้นะคะ)
การรักษา 🏥
1. เน้นที่การทำให้ผิวชุ่มชื้น 💧💦 เพราะเมื่อผิวแห้ง ขนคุดจะแย่ลง
- ทาครีมบำรุงบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ผิวนุ่มลื่น เช่น 10% urea cream
- ไม่อาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน
- อาบน้ำโดยใช้สบู่เหลวที่อ่อนโยนต่อผิว
- ไม่แกะเกา เพราะอาจจะทำให้กลายเป็นแผลจากรอยเกาได้
2. ทายาที่ช่วยละลายขุย (keratolytic agent)
เช่น ครีมกรดแลคติก (lactic acid), ครีมกรดซาลิไซลิก (salicylic acid), topical retinoid, AHA เป็นต้น แต่ยาทาในกลุ่มนี้ #ไม่ควรซื้อยามาลองใช้เอง เพราะ ครีมมีหลายความเข้มข้น ต้องเลือกความเข้มข้นที่เหมาะสมกับผิว และยาทาจะทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ถ้าหากทาไม่ถูกวิธี หรือไม่มีคุณหมอแนะนำวิธีการใช้ยา
3. การทำเลเซอร์บางอย่าง เช่น เลเซอร์กำจัดขน และ เลเซอร์ลดรอยแดง อาจจะช่วยให้ขนคุดดีขึ้นได้บ้าง เช่น ลดความแดงรอบๆ แต่ยังไม่สามารถทำให้ตุ่มๆเรียบเนียนเป็นผิวปกติได้ 100%
ใครอยากเห็นรูปขนคุด สามารถค้นได้จากกูเกิ้ลนะคะ
พิมพ์คำว่า keratosis pilaris แล้วกดค้นหารูปภาพค่ะ
เพจ Dr. Yui คุยทุกเรื่องผิว ❤️
Reference
1. American Journal of Clinical Dermatology (2018) 19:733–757.
2. J Am Acad Dermatol. 2015 ;72(5):890-900. (ภาพประกอบ ใน comment)
สาเหตุและวิธีรักษาขนคุด 📌
ขนคุด (Keratosis pilaris)
เป็นภาวะที่เจอได้บ่อยมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ขนคุดเองไม่ได้เป็นโรคอันตราย ไม่ติดต่อกัน
แต่จะมีผลต่อความสวยงามและความมั่นใจ เช่น ทำให้ไม่กล้าใส่แขนกุด หรือ ขาสั้น 😧😦😐
ลักษณะ เป็นตุ่มแข็งขนาดเล็กๆขึ้นตามรูขุมขน ลูบผิวแล้วจะรู้สึกขรุขระหรือสากๆ อาจจะมีสีแดงรอบๆตุ่ม หรือไม่แดงก็ได้
มักพบบริเวณต้นแขนด้านนอก ต้นขา ทำให้มองดูคล้าย’หนังไก่’(chicken skin) 🐣 🐓
บางครั้งอาจจะพบตรงบริเวณก้นก็ยังได้
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่ในบางคนอาจจะมีอาการคันเล็กน้อย
ปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร
แต่พบว่า ขนคุดมีความเกี่ยวข้องกับหลายอย่าง เช่น
- พันธุกรรม
- ฮอร์โมน
- ผิวแห้ง
- คนอ้วน
- ภูมิแพ้ผิวหนังชนิดอะโทปิก (atopic dermatitis)
- โรคหนังเกล็ดปลา (ichthyosis vulgaris)
- โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus)
- และยังพบขนคุดร่วมกับโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น โรคในกลุ่ม genodermatosis เป็นต้น
ถ้ามีผื่นที่คล้ายขนคุด (KP-liked eruption) ขึ้นพร้อมๆกันทีละมากๆ ให้เช็คประวัติยาที่ใช้อยู่ เพราะมีรายงานว่า พบผื่นคล้ายขนคุดหลังจากการใช้ยาบางชนิดได้
ธรรมชาติของโรคขนคุด ส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นหรือหายได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ แต่มีคนไข้ส่วนหนึ่งที่ยังคงเป็นต่อไป หรืออาการแย่ลง
การวินิจฉัย โดยการตรวจร่างกาย (ตรวจผิวหนัง ดูเส้นผม เล็บและฟัน เพื่อดูว่ามีความผิดปกติอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่)
ถ้าส่องดูด้วยกล้องกำลังขยายสูง (dermoscope) อาจจะเห็น เส้นขนเล็กๆม้วนเป็นวงกลมขดอยู่ใต้ผิวหนัง (ใครอยากเห็นรูป กดดูใน comment ได้นะคะ)
การรักษา 🏥
1. เน้นที่การทำให้ผิวชุ่มชื้น 💧💦 เพราะเมื่อผิวแห้ง ขนคุดจะแย่ลง
- ทาครีมบำรุงบ่อยๆ เพื่อช่วยให้ผิวนุ่มลื่น เช่น 10% urea cream
- ไม่อาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน
- อาบน้ำโดยใช้สบู่เหลวที่อ่อนโยนต่อผิว
- ไม่แกะเกา เพราะอาจจะทำให้กลายเป็นแผลจากรอยเกาได้
2. ทายาที่ช่วยละลายขุย (keratolytic agent)
เช่น ครีมกรดแลคติก (lactic acid), ครีมกรดซาลิไซลิก (salicylic acid), topical retinoid, AHA เป็นต้น แต่ยาทาในกลุ่มนี้ #ไม่ควรซื้อยามาลองใช้เอง เพราะ ครีมมีหลายความเข้มข้น ต้องเลือกความเข้มข้นที่เหมาะสมกับผิว และยาทาจะทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ถ้าหากทาไม่ถูกวิธี หรือไม่มีคุณหมอแนะนำวิธีการใช้ยา
3. การทำเลเซอร์บางอย่าง เช่น เลเซอร์กำจัดขน และ เลเซอร์ลดรอยแดง อาจจะช่วยให้ขนคุดดีขึ้นได้บ้าง เช่น ลดความแดงรอบๆ แต่ยังไม่สามารถทำให้ตุ่มๆเรียบเนียนเป็นผิวปกติได้ 100%
ใครอยากเห็นรูปขนคุด สามารถค้นได้จากกูเกิ้ลนะคะ
พิมพ์คำว่า keratosis pilaris แล้วกดค้นหารูปภาพค่ะ
เพจ Dr. Yui คุยทุกเรื่องผิว ❤️
Reference
1. American Journal of Clinical Dermatology (2018) 19:733–757.
2. J Am Acad Dermatol. 2015 ;72(5):890-900. (ภาพประกอบ ใน comment)