‘ชูวิทย์’ ชี้กฎหมายฉบับเดียวกัน ใช้ไม่เท่าเทียม คนธรรมดาได้แต่ก้มหน้ารับโทษ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3147829
‘ชูวิทย์’ ชี้กฎหมายฉบับเดียวกัน ใช้ไม่เท่าเทียม คนธรรมดาได้แต่ก้มหน้ารับโทษ
เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. นาย
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตหัวหน้าพรรครักประเทศไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กเป็นภาพ น.ส.
ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ และร.อ.
ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมระบุข้อความว่า
แข่งเรือ แข่งพาย แข่งได้ แข่งบุญ แข่งวาสนา อย่าหวังแข่ง
หลายครั้งหลายคราที่กฎหมายของไทยฉบับเดียวกัน แต่ใช้กับคนหลายระดับชั้นอย่างไม่เท่าเทียมกัน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือฝ่ายบริหาร คงมอง “ฝ่ายรัฐบาล” กับ “ฝ่ายค้าน” ต่างกัน มันเป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร ชีวิตการเมืองของผมเคยเป็นแต่ฝ่ายค้าน จึงไม่ทราบว่าการเป็นฝ่ายรัฐบาลได้สิทธิพิเศษอย่างไรหรือไม่?
ผมเคยคิดอยู่เสมอว่า ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน หากทำผิดกฎหมาย ต้องถูกลงโทษ ต่อมาเมื่อผมได้ชดใช้หนี้ความผิดตามกฎหมาย แต่กลับมองเห็น “คนมีอำนาจ” ไม่ต้องชดใช้ จึงได้สำนึกว่าผม “คิดผิด”
กฎหมายสำหรับคนธรรมดา กับกฎหมายของผู้มีเกียรติคงไม่เหมือนกัน เปรียบกับเรื่องรุกป่า หากเป็นคนธรรมดา ป่านนี้คงไม่มีโอกาสแม้แต่จะเถียง ได้แต่ก้มหน้ารับโทษ นึกแล้วอย่าได้ไปน้อยใจในวาสนา
คิดถึงผู้ใหญ่ที่เขาบอกไว้ว่า “แข่งเรือ แข่งพาย แข่งได้ แต่แข่งบุญ แข่งวาสนา มันแข่งกันไม่ได้” คงมีเส้นแบ่งอะไรสักอย่าง ที่ประชาชนคนธรรมดาอย่างผม ไม่ต้องพูด เพราะถึงพูดไป มันไม่มีความหมายอะไรในประเทศไทย
https://www.facebook.com/ChuvitKamolvisit/photos/a.725057480874317/2974216335958409/ฃ
ตะวันออกแล้งสุดรอบ 14 ปี เอกชนถกด่วน EEC ทุ่ม 8 หมื่นล. รับมือ
https://www.prachachat.net/economy/news-399242
ภาคตะวันออกระทึก น้ำแล้งสุดในรอบ 14 ปี “ระยอง -ชลบุรี” อ่วม ปริมาณน้ำในอ่าง “ประแสร์-คลองใหญ่-หนองปลาไหล-ดอกกราย” ฮวบ หอการค้า สภาอุตฯ ภาคท่องเที่ยว โรงแรมผวา นัดถกหน่วยงานรัฐด่วน “สทนช.” หวั่น ลามอีอีซีกระทบเชื่อมั่นลงทุน ชงของบ 8.8 หมื่นล้านปี’63-80 สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่ม 10 แห่ง พร้อมระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล
ปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศอย่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด ได้เแก่ ะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จากข้อเท็จจริงที่ว่า แหล่งน้ำในภาคตะวันออกมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องผันน้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูแล้งในปีหน้าน้ำน้อย ปริมาณต้นทุนต่ำ ซึ่งปัญหานี้กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
น้ำตะวันออกมีไม่ถึงครึ่งอ่าง
ผู้สื่อข่าว “
ประชาชาติธุรกิจ” รายงานสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกล่าสุดปรากฏ ณ วันที่ 6 ธ.ค. 2562 มีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 743 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 53 ซึ่งถือว่าต่ำมากในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่ยังเหลือเวลาอีก 6 เดือนกว่าจะเข้าฤดูฝนปี 2563 โดยอ่างเก็บน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่ปริมาณน้ำใช้การได้เกินกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ เขื่อนขุนด่านปราการชล 182 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 83 กับ เขื่อนนฤบดินทรจินดา 233 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 84 ส่วนอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำคลองสียัด (100 ล้าน ลบ.ม. 26%), บางพระ (49 ล้าน ลบ.ม. 46%), หนองปลาไหล (65 ล้าน ลบ.ม. 43%) และประแสร์(16 ล้าน ลบ.ม. 42%) ที่สำคัญคือทุกอ่างในภาคตะวันออกแทบไม่มีน้ำไหลลงอ่าง กรมชลประทานต้องบริหารจัดการน้ำด้วยการระบายน้ำออกจากอ่างน้อยที่สุด โดยน้ำที่ระบายออกจะใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคเท่านั้น
“หากคำนวณปริมาณน้ำที่ระบายออกมาในขณะนี้จะพบในอีก 5 เดือนข้างหน้า (เม.ย. 2563) เขื่อนขุนด่านปราการชลจะเหลือปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 54.5 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนนฤบดินทรจินดาเหลือน้ำใช้การได้ 81 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งถือว่าเสี่ยงมาก หากฤดูฝนในปี 2563 ล่าช้าออกไปจากเดือน พ.ค. ก็จะเกิดการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ EEC ที่จะเริ่มกิจกรรมก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่”
ปี’70-80 EEC ขาดแคลนน้ำแน่
นาย
สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญว่า ที่ประชุมเห็นชอบ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ปี 2563-2580)
“EEC มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ดังนั้นแผนหลักเพื่อรองรับการพัฒนาในระยะ 20 ปีที่ สทนช.ได้ทำการศึกษา ซึ่งจะใช้งบประมาณในการลงทุนมากกว่า 88,000 ล้านบาท จำเป็นต้องขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม เร่งจัดเตรียมการแผนงานทางเลือกให้มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยง”
จากการวิเคราะห์และประเมินความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ EEC พบว่ ในอนาคตปี 2580 EEC จะมีความต้องการใช้น้ำ 3,089 ล้าน ลบ.ม. จากปัจจุบันที่คาดว่าจะสามารถเพิ่มแหล่งน้ำอยู่ที่ 2,400 กว่าล้าน ลบ.ม. เท่านั้น เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 670 ล้าน ลบ.ม. จึงจำเป็นต้องมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติม แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนแบ่ง 2 ช่วง คือปี 2563-70 ได้แก่ ปรับปรุงเพิ่มความจุอ่างฯเดิม 6 แห่ง ก่อสร้างอ่างฯ ใหม่ 10 แห่ง ปรับปรุงระบบผันน้ำเดิม 2 ระบบ ก่อสร้างระบบผันน้ำใหม่ 2 ระบบ พัฒนาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นแก้มลิง ก่อสร้างระบบผลิตน้ำจืดจากทะเล เป็นต้น จะมีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 706.19 ล้าน ลบ.ม. ช่วงปี 2571-2580 ต้องทำโครงการก่อสร้างระบบสูบกลับ 2 ระบบ อุโมงค์ส่งน้ำอ่างฯ คลองพระสะทึง-คลองสียัด และระบบผันน้ำใหม่ 2 ระบบ จะมีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 166 ล้าน ลบ.ม.
“สาเหตุที่ต้องเสนอปรับแผนบริหารน้ำ ส่วนหนึ่งประเมินว่า ปริมาณฝนตกค่าเฉลี่ยในภาคตะวันออกจะต่ำลงส่งผลให้ 3 จังหวัด EEC เสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต ส่วนพื้นที่นิคมอุตฯภาคตะวันออกพื้นที่ที่ต้องเพิ่มแหล่งน้ำให้มากขึ้นคือ จ.ระยอง และเทศบาลเมืองพัทยา” นาย
สมเกียรติกล่าว
“คณิศ” ยัน EEC น้ำกินน้ำใช้พอ
ด้านนาย
คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขา EEC) กล่าวว่า สกพอ.รับทราบถึงความกังวลของภาคเอกชนที่ประเมินว่าในพื้นที่ EEC มีความเสี่ยงจะขาดแคลนน้ำและอาจเป็นปัญหาในอนาคต จึงได้ประสานและหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ถึงสถานการณ์ดังกล่าวซึ่งได้รับการยืนยันว่า ปริมาณน้ำยังเพียงพออุปโภคบริโภคทั้งภาคประชาชน อุตสาหกรรม และได้มีแผนรองรับไว้แล้วปัจจุบัน EEC ดึงน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำรอบ ๆ 3-4 แห่ง”
มีรายงานว่าภาพรวมสถานการณ์น้ำใน EEC ปี 2560 ซึ่งจะใช้เป็นตัวเลขฐานในการคำนวณสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในปี 2570 กับ 2580 พบว่าปริมาณจากโครงการต่าง ๆ อยู่ที่ 1,368 ล้าน ลบ.ม. บวกกับน้ำจากแหล่งอื่น ๆ อาทิ น้ำบาดาล 597 ล้าน ลบ.ม. ความต้องการใช้ 2,419 ล้าน ลบ.ม. หากไม่ผันน้ำจากลุ่มน้ำอื่นมาช่วยมีความเสี่ยงจะขาดแคลนน้ำมาตั้งแต่ปี 2560 สอดคล้องกับปริมาณน้ำในปัจจุบัน (ปี 2562) พบว่าน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เกินครึ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แล้งหน้าชลบุรี-ระยองวิกฤตแน่
ด้านนาย
นพดล ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง กล่าวว่า ในปี 2563 ภาคตะวันออกโดยเฉพาะ ระยอง-ชลบุรี จะมีปัญหาน้ำแล้งรุนแรงเหมือนกับ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอ่างเก็บน้ำหลักในระยอง ซึ่งต้องส่งน้ำไปให้ชลบุรีด้วย ได้แก่ ประแสร์-คลองใหญ่-หนองปลาไหล-ดอกกราย ปริมาณน้ำต้นทุนเหลือเพียง 50% “
ซึ่งไม่เพียงพอแน่” เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อยไม่ถึง 1,000 ล้าน ลบ.ม. โดยปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดในภาคตะวันออกเป็นน้ำในภาคอุตสาหกรรม 60-70% ภาคเอกชนจึงได้นำเรื่องนี้หารือผู้ว่าฯระยอง และได้เร่งรัดกรมชลฯแก้ปัญหาในพื้นที่ แต่ทำได้เพียงรณรงค์ประหยัดน้ำเพื่อยืดเวลาใช้น้ำไปถึงเดือน มิ.ย. 2563 รวมถึงการเจาะบ่อบาดาลช่วย
นาย
มนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การประชุม กกร.ครั้งล่าสุด ภาคเอกชนเสนอภาครัฐเตรียมรับมือและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC เพราะเกรงว่าน้ำจะไม่พอต่อภาคอุตสาหกรรม
WHA มีบ่อสำรองใช้น้ำรีไซเคิล
น.ส.
จรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น หรือ WHA Group กล่าวว่าขณะนี้บริษัทได้ประสานงานร่วมกับภาครัฐติดตามประเมินสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด ไม่ให้กระทบผู้ประกอบการในนิคม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตอย่างมาก เช่น กลุ่มปิโตรเคมีและกลุ่มไฟฟ้า
ขณะที่นาย
สมชาย วราธนสิน นายกสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย (สมาคมมันภาคตะวันออก) กล่าวว่าขณะนี้มีนิคมอุตฯขยายพื้นที่เข้ามาทางภาคตะวันออกจำนวนมาก แต่ละรายต้องเตรียมน้ำสำรองไว้มาก
Eastwater ถกวอร์รูมน้ำ
นาย
บดินทร์ อุดล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก หรือ Eastwater เปิดเผยว่า บริษัทได้ประชุมวอร์รูมร่วมกับกรมชลฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อย่างใกล้ชิด พบว่าภัยแล้งปีนี้ค่อนข้างท้าทายเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ เพราะปริมาณน้ำต้นทุนต่ำกว่ามาก ในส่วนของลูกค้า Eastwater แจ้งปริมาณความต้องการใช้น้ำล่วงหน้า 1 ปี (ตั้งแต่ 1 พ.ย. 62- พ.ย. 63) ปริมาณเฉลี่ย 308 ล้าน ลบ.ม. ทั้งในส่วนน้ำอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม
ถกด่วนแก้วิกฤตหนักสุดรอบ 14 ปี
แหล่งข่าวจากภาคตะวันออกเปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในภาคตะวันออกเทียบกับปี 2548 หรือเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ซึ่งวิกฤตแล้งเกิดขึ้นรุนแรง ถือว่าปีนี้น้ำลดลงต่ำกว่าปี 2548 เนื่องจากฝนตกน้อย ที่น่าห่วงคือหน้าแล้งปี 2563 เพราะหากฤดูฝนเดือน พ.ค. หรือ มิ.ย. 2563 ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ลากยาวเลยกลางปีจะมีปัญหา ดังนั้นวันที่ 12 ธ.ค. 2562 ภาครัฐและภาคเอกชนใน จ.ระยอง ชลบุรี ประกอบด้วยอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว, บริษัท อีสท์วอเตอร์, การประปาส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, สำนักงานชลประทานที่ 9 ชลประทานชลบุรี ชลประทานระยองประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณามาตรการและแนวทางรับมือ เบื้องต้นจะขอความร่วมมือทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำลง 10%
โดยเฉพาะบริษัทอีสท์วอเตอร์ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำหลัก นำไปกระจายต่อให้ภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคม จากปัจจุบันใช้น้ำ 750,000 ลบ.ม. จะเหลือน้ำให้ใช้ได้เพียง 650,000 ลบ.ม. ขณะที่ภาคเกษตรต้องลดการใช้น้ำลง 10% โดยลดพื้นที่ปลูกข้าวในครอปต่อไป
“ขณะนี้ค่อนข้างน่ากังวล เพราะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักมีปริมาณลดลงเหลือเพียง 40% เศษ ได้วางแผนแก้วิกฤตโดยผันน้ำจากคลองวังโตนด จ.จันทบุรี มาใช้ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แม้ระบบวางท่อผันน้ำจะดำเนินการเสร็จแล้ว เนื่องจากคณะกรรมการลุ่มน้ำในพื้นที่จันทบุรียังไม่ยินยอม ต้องการให้สร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งใหม่ในจันทบุรีแล้วเสร็จก่อน ให้มั่นใจได้ว่าจันทบุรีมีน้ำเพียงพอเหลือใช้ ค่อยแบ่งให้จังหวัดใกล้เคียง ขณะที่ จ.ระยอง ต้องแบ่งน้ำไปให้ จ.ชลบุรี ใช้ด้วย เมื่อต้นทางวิกฤต ชลบุรีจะวิกฤตหนักกว่า นี่ขนาด EEC ยังไม่เกิดยังวิกฤตขนาดนี้ ถ้ามีประชากร ภาคอุตสาหกรรมเข้ามาอีกจำนวนมากจะยิ่งน่าห่วง” แหล่งข่าวกล่าว
JJNY : ‘ชูวิทย์’ชี้กฎหมายฉบับเดียวกัน ใช้ไม่เท่าเทียมฯ/ตะวันออกแล้งสุดรอบ14ปีฯ/ชี้ค่าแรงขึ้นน้อยไม่กระตุ้นใช้จ่ายฯ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3147829
แข่งเรือ แข่งพาย แข่งได้ แข่งบุญ แข่งวาสนา อย่าหวังแข่ง
หลายครั้งหลายคราที่กฎหมายของไทยฉบับเดียวกัน แต่ใช้กับคนหลายระดับชั้นอย่างไม่เท่าเทียมกัน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือฝ่ายบริหาร คงมอง “ฝ่ายรัฐบาล” กับ “ฝ่ายค้าน” ต่างกัน มันเป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร ชีวิตการเมืองของผมเคยเป็นแต่ฝ่ายค้าน จึงไม่ทราบว่าการเป็นฝ่ายรัฐบาลได้สิทธิพิเศษอย่างไรหรือไม่?
ผมเคยคิดอยู่เสมอว่า ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน หากทำผิดกฎหมาย ต้องถูกลงโทษ ต่อมาเมื่อผมได้ชดใช้หนี้ความผิดตามกฎหมาย แต่กลับมองเห็น “คนมีอำนาจ” ไม่ต้องชดใช้ จึงได้สำนึกว่าผม “คิดผิด”
กฎหมายสำหรับคนธรรมดา กับกฎหมายของผู้มีเกียรติคงไม่เหมือนกัน เปรียบกับเรื่องรุกป่า หากเป็นคนธรรมดา ป่านนี้คงไม่มีโอกาสแม้แต่จะเถียง ได้แต่ก้มหน้ารับโทษ นึกแล้วอย่าได้ไปน้อยใจในวาสนา
คิดถึงผู้ใหญ่ที่เขาบอกไว้ว่า “แข่งเรือ แข่งพาย แข่งได้ แต่แข่งบุญ แข่งวาสนา มันแข่งกันไม่ได้” คงมีเส้นแบ่งอะไรสักอย่าง ที่ประชาชนคนธรรมดาอย่างผม ไม่ต้องพูด เพราะถึงพูดไป มันไม่มีความหมายอะไรในประเทศไทย
https://www.facebook.com/ChuvitKamolvisit/photos/a.725057480874317/2974216335958409/ฃ
ตะวันออกแล้งสุดรอบ 14 ปี เอกชนถกด่วน EEC ทุ่ม 8 หมื่นล. รับมือ
https://www.prachachat.net/economy/news-399242
ภาคตะวันออกระทึก น้ำแล้งสุดในรอบ 14 ปี “ระยอง -ชลบุรี” อ่วม ปริมาณน้ำในอ่าง “ประแสร์-คลองใหญ่-หนองปลาไหล-ดอกกราย” ฮวบ หอการค้า สภาอุตฯ ภาคท่องเที่ยว โรงแรมผวา นัดถกหน่วยงานรัฐด่วน “สทนช.” หวั่น ลามอีอีซีกระทบเชื่อมั่นลงทุน ชงของบ 8.8 หมื่นล้านปี’63-80 สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่ม 10 แห่ง พร้อมระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล
ปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศอย่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด ได้เแก่ ะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จากข้อเท็จจริงที่ว่า แหล่งน้ำในภาคตะวันออกมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องผันน้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาไปช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูแล้งในปีหน้าน้ำน้อย ปริมาณต้นทุนต่ำ ซึ่งปัญหานี้กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
น้ำตะวันออกมีไม่ถึงครึ่งอ่าง
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกล่าสุดปรากฏ ณ วันที่ 6 ธ.ค. 2562 มีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 743 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 53 ซึ่งถือว่าต่ำมากในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่ยังเหลือเวลาอีก 6 เดือนกว่าจะเข้าฤดูฝนปี 2563 โดยอ่างเก็บน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่ปริมาณน้ำใช้การได้เกินกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ เขื่อนขุนด่านปราการชล 182 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 83 กับ เขื่อนนฤบดินทรจินดา 233 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 84 ส่วนอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ ปริมาณน้ำใช้การได้คงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำคลองสียัด (100 ล้าน ลบ.ม. 26%), บางพระ (49 ล้าน ลบ.ม. 46%), หนองปลาไหล (65 ล้าน ลบ.ม. 43%) และประแสร์(16 ล้าน ลบ.ม. 42%) ที่สำคัญคือทุกอ่างในภาคตะวันออกแทบไม่มีน้ำไหลลงอ่าง กรมชลประทานต้องบริหารจัดการน้ำด้วยการระบายน้ำออกจากอ่างน้อยที่สุด โดยน้ำที่ระบายออกจะใช้เพื่ออุปโภคและบริโภคเท่านั้น
“หากคำนวณปริมาณน้ำที่ระบายออกมาในขณะนี้จะพบในอีก 5 เดือนข้างหน้า (เม.ย. 2563) เขื่อนขุนด่านปราการชลจะเหลือปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 54.5 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนนฤบดินทรจินดาเหลือน้ำใช้การได้ 81 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งถือว่าเสี่ยงมาก หากฤดูฝนในปี 2563 ล่าช้าออกไปจากเดือน พ.ค. ก็จะเกิดการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ EEC ที่จะเริ่มกิจกรรมก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่”
ปี’70-80 EEC ขาดแคลนน้ำแน่
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญว่า ที่ประชุมเห็นชอบ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ปี 2563-2580) “EEC มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ดังนั้นแผนหลักเพื่อรองรับการพัฒนาในระยะ 20 ปีที่ สทนช.ได้ทำการศึกษา ซึ่งจะใช้งบประมาณในการลงทุนมากกว่า 88,000 ล้านบาท จำเป็นต้องขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม เร่งจัดเตรียมการแผนงานทางเลือกให้มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยง”
จากการวิเคราะห์และประเมินความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ EEC พบว่ ในอนาคตปี 2580 EEC จะมีความต้องการใช้น้ำ 3,089 ล้าน ลบ.ม. จากปัจจุบันที่คาดว่าจะสามารถเพิ่มแหล่งน้ำอยู่ที่ 2,400 กว่าล้าน ลบ.ม. เท่านั้น เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 670 ล้าน ลบ.ม. จึงจำเป็นต้องมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติม แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนแบ่ง 2 ช่วง คือปี 2563-70 ได้แก่ ปรับปรุงเพิ่มความจุอ่างฯเดิม 6 แห่ง ก่อสร้างอ่างฯ ใหม่ 10 แห่ง ปรับปรุงระบบผันน้ำเดิม 2 ระบบ ก่อสร้างระบบผันน้ำใหม่ 2 ระบบ พัฒนาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเป็นแก้มลิง ก่อสร้างระบบผลิตน้ำจืดจากทะเล เป็นต้น จะมีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 706.19 ล้าน ลบ.ม. ช่วงปี 2571-2580 ต้องทำโครงการก่อสร้างระบบสูบกลับ 2 ระบบ อุโมงค์ส่งน้ำอ่างฯ คลองพระสะทึง-คลองสียัด และระบบผันน้ำใหม่ 2 ระบบ จะมีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น 166 ล้าน ลบ.ม.
“สาเหตุที่ต้องเสนอปรับแผนบริหารน้ำ ส่วนหนึ่งประเมินว่า ปริมาณฝนตกค่าเฉลี่ยในภาคตะวันออกจะต่ำลงส่งผลให้ 3 จังหวัด EEC เสี่ยงขาดแคลนน้ำในอนาคต ส่วนพื้นที่นิคมอุตฯภาคตะวันออกพื้นที่ที่ต้องเพิ่มแหล่งน้ำให้มากขึ้นคือ จ.ระยอง และเทศบาลเมืองพัทยา” นายสมเกียรติกล่าว
“คณิศ” ยัน EEC น้ำกินน้ำใช้พอ
ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขา EEC) กล่าวว่า สกพอ.รับทราบถึงความกังวลของภาคเอกชนที่ประเมินว่าในพื้นที่ EEC มีความเสี่ยงจะขาดแคลนน้ำและอาจเป็นปัญหาในอนาคต จึงได้ประสานและหารือกับหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ถึงสถานการณ์ดังกล่าวซึ่งได้รับการยืนยันว่า ปริมาณน้ำยังเพียงพออุปโภคบริโภคทั้งภาคประชาชน อุตสาหกรรม และได้มีแผนรองรับไว้แล้วปัจจุบัน EEC ดึงน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำรอบ ๆ 3-4 แห่ง”
มีรายงานว่าภาพรวมสถานการณ์น้ำใน EEC ปี 2560 ซึ่งจะใช้เป็นตัวเลขฐานในการคำนวณสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในปี 2570 กับ 2580 พบว่าปริมาณจากโครงการต่าง ๆ อยู่ที่ 1,368 ล้าน ลบ.ม. บวกกับน้ำจากแหล่งอื่น ๆ อาทิ น้ำบาดาล 597 ล้าน ลบ.ม. ความต้องการใช้ 2,419 ล้าน ลบ.ม. หากไม่ผันน้ำจากลุ่มน้ำอื่นมาช่วยมีความเสี่ยงจะขาดแคลนน้ำมาตั้งแต่ปี 2560 สอดคล้องกับปริมาณน้ำในปัจจุบัน (ปี 2562) พบว่าน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เกินครึ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แล้งหน้าชลบุรี-ระยองวิกฤตแน่
ด้านนายนพดล ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง กล่าวว่า ในปี 2563 ภาคตะวันออกโดยเฉพาะ ระยอง-ชลบุรี จะมีปัญหาน้ำแล้งรุนแรงเหมือนกับ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอ่างเก็บน้ำหลักในระยอง ซึ่งต้องส่งน้ำไปให้ชลบุรีด้วย ได้แก่ ประแสร์-คลองใหญ่-หนองปลาไหล-ดอกกราย ปริมาณน้ำต้นทุนเหลือเพียง 50% “ซึ่งไม่เพียงพอแน่” เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อยไม่ถึง 1,000 ล้าน ลบ.ม. โดยปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดในภาคตะวันออกเป็นน้ำในภาคอุตสาหกรรม 60-70% ภาคเอกชนจึงได้นำเรื่องนี้หารือผู้ว่าฯระยอง และได้เร่งรัดกรมชลฯแก้ปัญหาในพื้นที่ แต่ทำได้เพียงรณรงค์ประหยัดน้ำเพื่อยืดเวลาใช้น้ำไปถึงเดือน มิ.ย. 2563 รวมถึงการเจาะบ่อบาดาลช่วย
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การประชุม กกร.ครั้งล่าสุด ภาคเอกชนเสนอภาครัฐเตรียมรับมือและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ EEC เพราะเกรงว่าน้ำจะไม่พอต่อภาคอุตสาหกรรม
WHA มีบ่อสำรองใช้น้ำรีไซเคิล
น.ส.จรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น หรือ WHA Group กล่าวว่าขณะนี้บริษัทได้ประสานงานร่วมกับภาครัฐติดตามประเมินสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด ไม่ให้กระทบผู้ประกอบการในนิคม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตอย่างมาก เช่น กลุ่มปิโตรเคมีและกลุ่มไฟฟ้า
ขณะที่นายสมชาย วราธนสิน นายกสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย (สมาคมมันภาคตะวันออก) กล่าวว่าขณะนี้มีนิคมอุตฯขยายพื้นที่เข้ามาทางภาคตะวันออกจำนวนมาก แต่ละรายต้องเตรียมน้ำสำรองไว้มาก
Eastwater ถกวอร์รูมน้ำ
นายบดินทร์ อุดล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก หรือ Eastwater เปิดเผยว่า บริษัทได้ประชุมวอร์รูมร่วมกับกรมชลฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) อย่างใกล้ชิด พบว่าภัยแล้งปีนี้ค่อนข้างท้าทายเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ เพราะปริมาณน้ำต้นทุนต่ำกว่ามาก ในส่วนของลูกค้า Eastwater แจ้งปริมาณความต้องการใช้น้ำล่วงหน้า 1 ปี (ตั้งแต่ 1 พ.ย. 62- พ.ย. 63) ปริมาณเฉลี่ย 308 ล้าน ลบ.ม. ทั้งในส่วนน้ำอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม
ถกด่วนแก้วิกฤตหนักสุดรอบ 14 ปี
แหล่งข่าวจากภาคตะวันออกเปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในภาคตะวันออกเทียบกับปี 2548 หรือเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ซึ่งวิกฤตแล้งเกิดขึ้นรุนแรง ถือว่าปีนี้น้ำลดลงต่ำกว่าปี 2548 เนื่องจากฝนตกน้อย ที่น่าห่วงคือหน้าแล้งปี 2563 เพราะหากฤดูฝนเดือน พ.ค. หรือ มิ.ย. 2563 ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ลากยาวเลยกลางปีจะมีปัญหา ดังนั้นวันที่ 12 ธ.ค. 2562 ภาครัฐและภาคเอกชนใน จ.ระยอง ชลบุรี ประกอบด้วยอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว, บริษัท อีสท์วอเตอร์, การประปาส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, สำนักงานชลประทานที่ 9 ชลประทานชลบุรี ชลประทานระยองประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณามาตรการและแนวทางรับมือ เบื้องต้นจะขอความร่วมมือทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำลง 10%
โดยเฉพาะบริษัทอีสท์วอเตอร์ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำหลัก นำไปกระจายต่อให้ภาคอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคม จากปัจจุบันใช้น้ำ 750,000 ลบ.ม. จะเหลือน้ำให้ใช้ได้เพียง 650,000 ลบ.ม. ขณะที่ภาคเกษตรต้องลดการใช้น้ำลง 10% โดยลดพื้นที่ปลูกข้าวในครอปต่อไป
“ขณะนี้ค่อนข้างน่ากังวล เพราะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักมีปริมาณลดลงเหลือเพียง 40% เศษ ได้วางแผนแก้วิกฤตโดยผันน้ำจากคลองวังโตนด จ.จันทบุรี มาใช้ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แม้ระบบวางท่อผันน้ำจะดำเนินการเสร็จแล้ว เนื่องจากคณะกรรมการลุ่มน้ำในพื้นที่จันทบุรียังไม่ยินยอม ต้องการให้สร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งใหม่ในจันทบุรีแล้วเสร็จก่อน ให้มั่นใจได้ว่าจันทบุรีมีน้ำเพียงพอเหลือใช้ ค่อยแบ่งให้จังหวัดใกล้เคียง ขณะที่ จ.ระยอง ต้องแบ่งน้ำไปให้ จ.ชลบุรี ใช้ด้วย เมื่อต้นทางวิกฤต ชลบุรีจะวิกฤตหนักกว่า นี่ขนาด EEC ยังไม่เกิดยังวิกฤตขนาดนี้ ถ้ามีประชากร ภาคอุตสาหกรรมเข้ามาอีกจำนวนมากจะยิ่งน่าห่วง” แหล่งข่าวกล่าว