สวัสดีค่ะ ทิ้งช่วงจากกระทู้ที่แล้ว 6 เดือนพอดิบพอดี ...
เคยมีคนพูดว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีผงชูรส คนไทยทั้งประเทศต้องลงแดงแน่ ๆ เออ ก็คงจะจริง .... เพราะสมัยนี้ ผงชูรสอยู่รอบตัวเราจริง ๆ ลองนึกถึงก๋วยเตี๋ยว 1 ชามนะคะแม่ค้าเค้าใส่ผงชู่รสในไหนบ้าง น้ำก๋วยเตี๋ยว ไก่ตุ๋นหมูตุ๋น ในหมูสับที่รวน ใส่ชูรสอีกนิดในชามก่อนเสริฟ ชูรส 3 เด้งไปเลย!!!
แม้แต่ในครัวของบ้านเราเองก็ต้องใส่ไปนิดนึงเพื่อความอุ่นใจ 5555 ( เมื่อก่อนแหม่มก็เป็น )
จริง ๆ แล้วรสอูมามิในธรรมชาติเราก็มีนะคะ ซึ่งมีจากหลายที่ หนึ่งในนั้นก็คือ " เห็ดหอม " ของแห้งติดครัวที่มีกันทุกบ้าน
เห็ดหอมช่วยทำให้เจริญอาหาร โดยไม่ทำให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย มีโซเดียมต่ำ แต่ให้รสชาติที่อร่อยกลมกล่อม
(ส่วนใครไม่ทานเห็ดเพราะเห็ดเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งก็ข้ามกระทู้นี้ไปนะคะ )
มาถึงขั้นตอนวิธีทำนะคะ ก็ง่ายแสนง่าย ( แต่เราคิดไม่ถึง )
วิธีแรก คือ
นำเห็ดหอมแห้งอย่างดี ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามตลาดหรือซูเปอร์มาเก็ต
ไม่ต้องล้างน้ำนะคะ โยนเข้าเครื่องปั่นไปเลย ทั้งดอกและโคน
แล้วกดปั่นเลยค่ะ
ปั่นจนละเอียดแบบนี้ก็เสร็จ ( ง่ายจนต้องอุทานว่า แค่เนี้ยะอ่ะน๊ะ )
ใส่ต้ม ผัด แกง อาหารตุ๋น ใส่สปาเก็ตตี้ แกงกะหรี่ญี่ปุ่นได้หมด
ขออวดอาหารนิดนึง
วิธีที่สอง คือ
โยนเห็ดหอมแห้งเข้าเครื่องปั่น ใส่เกลือเพิ่ม อยากได้สารอาหารที่มากกว่าแนะนำเป็นเกลือหิมาลายัน ( เกลือสีชมพู แร่ธาตุเพียบ ) และพริกไท
เสร็จแล้วกดปั่นโลด ปั่นจนละเอียดเหมือนเดิม แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย
แบบที่ 2 นี้จะใส่ต้ม ผัด แกงก็ได้ จะโรยสเต็ก ไก่สเต็กก่อนปิ้งย่าง จะหอมอร่อย เริ่ด ๆ
เสร็จทั้งสองแบบเราก็หาภาชานะมาใส่ อยากใช้ตักก็หากระปุกเล็ก ๆ มาใส่ อยากใช้โรย ก็หาขวดมีรู้แบบกระปุกพริกไทยมาใส่ แค่นี้เองไม่ยุ่ง
เวลาทำไม่ต้องทำเยอะนะคะ เพราะขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก เราสามารถทำเองได้บ่อย ๆ อายุการเก็บรักษา ประมาณ 6 เดือนค่ะ
อวด ๆ
เป็นคลิปก็มีนะคะ เปิดดูได้ไม่ว่าค่ะ
ก่อนจากไปของกระทู้นี้ เรามาทำความรู้จัก เกลือหิมาลัย หรือเกลือสีชมพูกัน นะคะ
ทำความรู้จักกับเกลือหิมาลัย
เกลือหิมาลัย หรือเกลือหิมาลายัน มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาหิมาลัยในประเทศปากีสถาน มีสีชมพูเพราะมีไอเอิร์นออกไซด์ (Iron oxide) เป็นส่วนประกอบ เกลือหิมาลัยจัดว่าเป็นเกลือบริสุทธิ์ เชื่อกันว่าเกิดจากการระเหยและตกผลึกของน้ำทะเลยุคโบราณเมื่อหลายล้านปีก่อน ผ่านการสกัดด้วยมือและไม่มีการเติมสารเคมีหรือสารปรุงแต่งใดๆ จึงเป็นธรรมชาติและมีแร่ธาตุมากกว่าเกลือที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นอกจากจะใช้ประกอบอาหารแล้ว เกลือหิมาลัยยังนิยมนำมาทำเป็นโคมไฟหรือสร้างเป็นถ้ำเกลือหิมาลัยเพื่อช่วยขจัดเชื้อโรคในอากาศ ทำให้ปอดมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์สุขภาพอันโด่งดังของเกลือหิมาลัย
หลายคนเชื่อว่าการบริโภคเกลือหิมาลัยเป็นประจำจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น เพราะมีประโยชน์มากมาย ดังนี้
ช่วยรักษาระดับของเหลวในร่างกาย
ช่วยปรับสมดุลค่าความเป็นกรดด่าง (pH balance) ในเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์สมอง
ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และชะลอวัย
ช่วยดูดซึมอนุภาคอาหาร (food particles) ในลำไส้
ช่วยให้สมอง กล้ามเนื้อ และระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น
ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงสุขภาพไซนัสดีขึ้น
ช่วยควบคุมความดันโลหิต
ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
ป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว
กระตุ้นความต้องการทางเพศ
ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
ช่วยให้นอนหลับสนิท
แม้ประโยชน์บางข้อจะยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ออกมายืนยันว่าเป็นความจริงหรือไม่ แต่ก็ทำให้เกลือหิมาลัยได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นในปัจจุบัน
เกลือหิมาลัยดีกว่าเกลือบริโภคทั่วไปจริงหรือ
หลายคนเชื่อว่าเกลือหิมาลัยมีประโยชน์สุขภาพมากมาย เพราะมีแร่ธาตุและสารอาหารรองมากถึง 84 ชนิด มีปริมาณโปแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็กมากกว่าเกลือทั่วไป แต่มีปริมาณโซเดียมน้อยกว่า คือ ในปริมาณ 1 กรัมเท่ากัน เกลือทั่วไปมีโซเดียม 381 มิลลิกรัม ส่วนเกลือหิมาลัยโซเดียมน้อยกว่า คือ 368 กรัม นอกจากนี้ เกลือบริโภคทั่วไปบางยี่ห้อมีสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย เกลือหิมาลัยซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติจึงอาจปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากกว่า
ข้อควรระวังในการบริโภคเกลือหิมาลัย
ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ
ไอโอดีน คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพื่อให้อวัยวะส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ เกลือหิมาลัยนั้นมีปริมาณไอโอดีนน้อยกว่าเกลือป่นที่บริโภคกันทั่วไป ผู้ที่หันมาบริโภคเกลือหิมาลัยจึงอาจได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ และควรเสริมไอโอดีนด้วยการกินอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย สาหร่าย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน (Iodine Deficiency)
ได้รับโซเดียมมากเกินไป
แม้โซเดียมจะเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับโซเดียมมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ทั้งผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าควรควบคุมการบริโภคโซเดียมและผู้ที่ร่างกายแข็งแรงปกติไม่ควรบริโภคโซเดียมเกินที่ร่างกายต้องการ นั่นคือ ควรบริโภคน้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีผลยืนยันแน่ชัดว่าเกลือหิมาลัยดีกว่าเกลือทั่วไป แต่เกลือหิมาลัยก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่อยากบริโภคเกลือทั่วไปเพราะกลัวใส่สารเคมีหรือสารปรุงแต่ง แม้จะมีราคาแพงกว่าเกลือทั่วไปก็ตาม Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :เนตรนภา ปะวะคัง
ภาพ :iStock
พบกันใหม่กระทู้หน้า สวัสดีค่ะ
บอกลาผงชูรสด้วยผงเห็ดหอม...รสอูมามิจากธรรมชาติ