อาคารสถานีฮาราจูกุ ซึ่งเป็นสถานีไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโตเกียวจะรื้อถอน หลังมหกรรมกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่ก็สร้างความเสียดายให้กับผู้คนในพื้นที่ไม่น้อย
ฮาราจูกุ ไม่เพียงเป็นแหล่งแฟชั่นล้ำสมัย ใจกลางกรุงโตเกียว และใกล้กับสถานที่สำคัญอย่าง ศาลเจ้าเมจิ แต่สถานีฮาราจูกุยังโดดเด่น และสวยงามด้วยรูปแบบอาคารแบบตะวันตก สร้างด้วยไม้และอิฐ มีกังหันรูปไก่อยู่บนหลังคาเป็นสัญลักษณ์โดดเด่น และเป็นอาคารสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในโตเกียว
สถานีฮาราจูกุเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2467 โดยสถานีแรกเริ่มอยู่ห่างจากสถานีในทุกวันนี้ไปราว 500 เมตร แต่หลังจากศาลเจ้าเมจิได้ขยายพื้นที่ ทำให้สถานีต้องย้ายมายังจุดปัจจุบัน ในสงครามโลกและเหตุแผ่นดินไหวใหญ่คันโต ที่อาคารในโตเกียวพังพินาศจำนวนมาก แต่สถานีฮาราจูกุรอดพ้นจากความเสียหายทั้งสองครั้งมาได้
ทุกวันนี้ สถานีฮาราจูกุมีผู้ใช้งานหนาแน่นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ที่บรรยายวัยรุ่นจะมาเดินเล่น และในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ที่ผู้คนจะมาสักการะศาลเจ้าเมจิหลายล้านคน จนต้องมีการทำชานชาลาและทางออกเฉพาะสำหรับศาลเจ้าเมจิ ซึ่งจะเปิดใช้งานเฉพาะวันที่ 31ธันวาคม ถึง 4 มกราคม เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังเคยมีการสร้างชานชาลาเฉพาะสำหรับสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น ซึ่งจะมาสักการะศาลเจ้าเมจิ แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว
บริษัทการรถไฟแห่งญี่ปุ่นภาคตะวันออก หรือ เจอาร์อีสต์ ระบุว่า อาคารหลังเก่าไม่สามารถทนไฟได้อย่างเพียงพอ และหนาแน่นอย่างมาก จึงจะสร้างอาคารสถานีใหม่ให้กว้างขวางกว่าเดิม โดยจะเป็นอาคาร 2 ชั้น มี 3 ทางออก ซึ่งจะมีทางออกหนึ่งที่เข้าถึงศาลเจ้าเมจิโดยตรง และเปิดใช้ตลอดทั้งปี รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงมหกรรมโอลิมปิก ชานชาลาและพื้นที่จะกว้างขวางขึ้นอย่างมาก และมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด้วย
อาคารสถานีหลังใหม่ที่อยู่ติดกับอาคารสถานีเดิม จะเสร็จสิ้นในวันที่ 21 มีนาคม ปีหน้า.
เครดิตคลิปจาก THE TIME TRAVELER
ข่าวจาก : MGR Online
ซาโยนาระ สถานี “ฮาราจูกุ” เก่าแก่ที่สุดในโตเกียว
ฮาราจูกุ ไม่เพียงเป็นแหล่งแฟชั่นล้ำสมัย ใจกลางกรุงโตเกียว และใกล้กับสถานที่สำคัญอย่าง ศาลเจ้าเมจิ แต่สถานีฮาราจูกุยังโดดเด่น และสวยงามด้วยรูปแบบอาคารแบบตะวันตก สร้างด้วยไม้และอิฐ มีกังหันรูปไก่อยู่บนหลังคาเป็นสัญลักษณ์โดดเด่น และเป็นอาคารสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดในโตเกียว
สถานีฮาราจูกุเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2467 โดยสถานีแรกเริ่มอยู่ห่างจากสถานีในทุกวันนี้ไปราว 500 เมตร แต่หลังจากศาลเจ้าเมจิได้ขยายพื้นที่ ทำให้สถานีต้องย้ายมายังจุดปัจจุบัน ในสงครามโลกและเหตุแผ่นดินไหวใหญ่คันโต ที่อาคารในโตเกียวพังพินาศจำนวนมาก แต่สถานีฮาราจูกุรอดพ้นจากความเสียหายทั้งสองครั้งมาได้
ทุกวันนี้ สถานีฮาราจูกุมีผู้ใช้งานหนาแน่นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ที่บรรยายวัยรุ่นจะมาเดินเล่น และในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ที่ผู้คนจะมาสักการะศาลเจ้าเมจิหลายล้านคน จนต้องมีการทำชานชาลาและทางออกเฉพาะสำหรับศาลเจ้าเมจิ ซึ่งจะเปิดใช้งานเฉพาะวันที่ 31ธันวาคม ถึง 4 มกราคม เท่านั้น
นอกจากนี้ ยังเคยมีการสร้างชานชาลาเฉพาะสำหรับสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่น ซึ่งจะมาสักการะศาลเจ้าเมจิ แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว
บริษัทการรถไฟแห่งญี่ปุ่นภาคตะวันออก หรือ เจอาร์อีสต์ ระบุว่า อาคารหลังเก่าไม่สามารถทนไฟได้อย่างเพียงพอ และหนาแน่นอย่างมาก จึงจะสร้างอาคารสถานีใหม่ให้กว้างขวางกว่าเดิม โดยจะเป็นอาคาร 2 ชั้น มี 3 ทางออก ซึ่งจะมีทางออกหนึ่งที่เข้าถึงศาลเจ้าเมจิโดยตรง และเปิดใช้ตลอดทั้งปี รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงมหกรรมโอลิมปิก ชานชาลาและพื้นที่จะกว้างขวางขึ้นอย่างมาก และมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด้วย
อาคารสถานีหลังใหม่ที่อยู่ติดกับอาคารสถานีเดิม จะเสร็จสิ้นในวันที่ 21 มีนาคม ปีหน้า.