9 เทคนิค! เปลี่ยนบ้านให้ประหยัดพลังงาน
คงช็อก! หนักมาก หากบิลล์รายจ่ายในบ้านในแต่ละเดือนของคุณ มีตัวเลขพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมด้วยวิธีเซฟคอร์สอันชาญฉลาด เรามีเทคนิคในการช่วยให้บ้านประหยัดพลังงานมาฝาก แม้คุณอาจต้องลงทุนก่อนก็ตาม แต่รับรองว่าได้ผล (อันใกล้) บางอย่างทำได้ทำเลย
หรือค่อยๆ ก้าวไปทีละสเต็ปจนครบก็ได้ เชื่อเถอะ ดีกว่ามัวนิ่งเฉยกว่าเยอะ
1. ลดทอนความร้อน สร้างความเป็นส่วนตัว ด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้รอบๆ บ้าน นอกจากนั้นจะช่วยลดอุณหภูมิแล้ว ต้นไม้ยังช่วยให้อากาศบริสุทธ์และให้ร่มเงาอีกด้วย แต่ควรระวังตำแหน่งในการปลูกอย่าให้
ศทางลมนะครับ หรืออาจสร้างบ่อน้ำให้ตั้งอยู่ในทิศทางลมพัดผ่าน เพื่อช่วยกระจายความเย็น ส่วนด้านที่รับแดดประจำ ควรติดตั้งกันสาด หรือติดตั้งเปลือกอาคาร (Façade) ไว้ด้วยยิ่งดี เพราะปัจจุบันฟาซาดไม่เพียงดีไซน์สวย แต่ยังมีให้เลือกแบบเลื่อนได้ เพื่อให้สามารถปรับหน้าบานไปตามทิศทางแดดได้ตามต้องการ
2.เลือกทาสีตัวบ้านด้วยโทนสีอ่อน เพราะเก็บความร้อนได้น้อยกว่าสีเข้ม ถ้าคิดว่าสีขาวดูจำเจ ลองเปลี่ยนลุคสร้างความสดใสมาชิมลางสีพาสเทล ก็มีให้เลือกหลากหลายเฉดเช่นกัน
3. เพราะหลังคาคือปราการแรกที่ต้องรับแดด พื้นที่ใต้หลังคาจึงเป็นแหล่งสะสมความร้อนชั้นดี ทำให้แอร์ทำงานหนัก ดังนั้นควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาหรือบนฝ้าเพดาน ก็จะสามารถลดทอนความร้อนสะสมที่เก็บกักไว้ให้เบาบางลงได้
4. ควรเลือกใช้ผ้าม่านแบบทึบแสง (Blackout) เพื่อสะท้อนความร้อน และกันแสง UV เข้าสู่ภายในบ้าน และถ้าคุณอยากทราบว่าม่านทึบแสงที่กำลังจะตัดสินใจซื้อมีคุณภาพดีหรือไม่ สามารถเช็คได้ง่ายๆ คือ… ลองใช้ไฟฉายส่องไปยังผ้าดู หากแสงไม่ทะลุผ่านเป็นอันว่าคุณภาพดี ใช้ได้
5. ตกแต่งบ้านด้วยกระจก เพิ่มแสงสว่างให้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นกระจกเงาหรือกระจกใส คุณสามารถนำมาตกแต่งบ้านเพื่อช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้นได้ คุณสมบัติของกระจก สามารถช่วยสะท้อนแสงเพื่อให้บ้านดูสว่างขึ้นได้
สำหรับหน้าต่าง หรือช่องแสงที่มีแสงเข้ามา ให้เลือกใช้กระจกชนิดพิเศษที่ช่วยลดรังสี UV ทำให้ความร้อนเข้ามาในบ้านน้อยลง เช่น กระจกฮีตมิลเลอร์ หรือกระจกฮีตสต๊อป เป็นต้น
6. ไม่ควรต่อเติมบ้านขวางทิศทางลม เพราะแม้คุณจะได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม แต่ก็จะทำให้บ้านทึบตัน อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้น้อย รวมถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เช่นกัน ควรคำนึงถึงตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่วางกั้นทางลมเข้า-ออกของประตูและหน้าต่าง เท่านี้ก็จะทำให้อยู่อาศัยแล้วไม่รู้สึกอึดอัด
7. ควรหมั่นถอดฟิลเตอร์แอร์มาล้างทำความสะอาดบ่อยๆ (ทำเองสักเดือนละครั้ง) เพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นละอองสะสม และทุกๆ 6 เดือนอย่าลืมนัดช่างแอร์มาล้างทำความสะอาดตัวเครื่องด้านในและด้านนอกด้วย เพื่อให้เครื่องปรับอากาศนั้นสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ ลดการสิ้นเปลืองการใช้พลังงานลงได้
8. ควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบบริเวณฝักบัว ก๊อกน้ำ ปั๊มน้ำ และข้อต่อท่อตามจุดต่างๆ ว่าเกิดรอยรั่วซึมหรือไม่ เพื่อที่จะทำการซ่อมแซมทันที โดยเฉพาะลูกลอยในชักโครก เมื่อเสียมักจะปล่อยน้ำไหลทิ้งตลอดเวลา ดังนั้นหากกรณีที่ได้ยินเสียงปั๊มน้ำทำงานเองโดยที่ไม่มีใครใช้น้ำ นั่นล่ะคือสัญญาณเตือนว่า… คุณต้องไล่เช็คตามจุดที่กล่าวมาข้างต้นทันที
9.เลือกใช้หลอดไฟ LED ในบ้าน
หลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) คือหลอดประหยัดไฟสูงสุดถึง 15%เมื่อเทียบกับหลอดไส้) และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป (เฉลี่ย 15,000 ชม.) รวมถึงไม่มีรังสีอินฟราเรด และรังสี UV ที่ทำอันตรายต่อผิวผู้ใช้งาน จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันหลายบ้านเริ่มหันมาใช้หลอดไฟ LED ประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใครที่มีแพลนอยากเปลี่ยน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เรามีหลักวิธีการเลือก LED มาฝาก รับรองไม่ยากอย่างที่คิด วิธีเลือกหลอดไฟ LED
สำหรับหลอดไฟ LED ช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึง 85% เมื่อเทียบกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขั้นตอนการติดตั้งง่าย หลอดไฟอายุการใช้งานหลอดไฟนาน ถึง 25,000 ชั่วโมง มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกทั้งหลอดไฟ LED T5,หลอดไฟ LED T8, หลอดไฟ LED A60 ชุดโคมไฟ LED ติดเพดาน และดาวน์ไลท์
9 เทคนิค! เปลี่ยนบ้านให้ประหยัดพลังงาน
9 เทคนิค! เปลี่ยนบ้านให้ประหยัดพลังงาน
คงช็อก! หนักมาก หากบิลล์รายจ่ายในบ้านในแต่ละเดือนของคุณ มีตัวเลขพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมด้วยวิธีเซฟคอร์สอันชาญฉลาด เรามีเทคนิคในการช่วยให้บ้านประหยัดพลังงานมาฝาก แม้คุณอาจต้องลงทุนก่อนก็ตาม แต่รับรองว่าได้ผล (อันใกล้) บางอย่างทำได้ทำเลย
หรือค่อยๆ ก้าวไปทีละสเต็ปจนครบก็ได้ เชื่อเถอะ ดีกว่ามัวนิ่งเฉยกว่าเยอะ
1. ลดทอนความร้อน สร้างความเป็นส่วนตัว ด้วยการปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้รอบๆ บ้าน นอกจากนั้นจะช่วยลดอุณหภูมิแล้ว ต้นไม้ยังช่วยให้อากาศบริสุทธ์และให้ร่มเงาอีกด้วย แต่ควรระวังตำแหน่งในการปลูกอย่าให้ศทางลมนะครับ หรืออาจสร้างบ่อน้ำให้ตั้งอยู่ในทิศทางลมพัดผ่าน เพื่อช่วยกระจายความเย็น ส่วนด้านที่รับแดดประจำ ควรติดตั้งกันสาด หรือติดตั้งเปลือกอาคาร (Façade) ไว้ด้วยยิ่งดี เพราะปัจจุบันฟาซาดไม่เพียงดีไซน์สวย แต่ยังมีให้เลือกแบบเลื่อนได้ เพื่อให้สามารถปรับหน้าบานไปตามทิศทางแดดได้ตามต้องการ
2.เลือกทาสีตัวบ้านด้วยโทนสีอ่อน เพราะเก็บความร้อนได้น้อยกว่าสีเข้ม ถ้าคิดว่าสีขาวดูจำเจ ลองเปลี่ยนลุคสร้างความสดใสมาชิมลางสีพาสเทล ก็มีให้เลือกหลากหลายเฉดเช่นกัน
3. เพราะหลังคาคือปราการแรกที่ต้องรับแดด พื้นที่ใต้หลังคาจึงเป็นแหล่งสะสมความร้อนชั้นดี ทำให้แอร์ทำงานหนัก ดังนั้นควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาหรือบนฝ้าเพดาน ก็จะสามารถลดทอนความร้อนสะสมที่เก็บกักไว้ให้เบาบางลงได้
4. ควรเลือกใช้ผ้าม่านแบบทึบแสง (Blackout) เพื่อสะท้อนความร้อน และกันแสง UV เข้าสู่ภายในบ้าน และถ้าคุณอยากทราบว่าม่านทึบแสงที่กำลังจะตัดสินใจซื้อมีคุณภาพดีหรือไม่ สามารถเช็คได้ง่ายๆ คือ… ลองใช้ไฟฉายส่องไปยังผ้าดู หากแสงไม่ทะลุผ่านเป็นอันว่าคุณภาพดี ใช้ได้
5. ตกแต่งบ้านด้วยกระจก เพิ่มแสงสว่างให้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นกระจกเงาหรือกระจกใส คุณสามารถนำมาตกแต่งบ้านเพื่อช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้นได้ คุณสมบัติของกระจก สามารถช่วยสะท้อนแสงเพื่อให้บ้านดูสว่างขึ้นได้
สำหรับหน้าต่าง หรือช่องแสงที่มีแสงเข้ามา ให้เลือกใช้กระจกชนิดพิเศษที่ช่วยลดรังสี UV ทำให้ความร้อนเข้ามาในบ้านน้อยลง เช่น กระจกฮีตมิลเลอร์ หรือกระจกฮีตสต๊อป เป็นต้น
6. ไม่ควรต่อเติมบ้านขวางทิศทางลม เพราะแม้คุณจะได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม แต่ก็จะทำให้บ้านทึบตัน อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้น้อย รวมถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เช่นกัน ควรคำนึงถึงตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่วางกั้นทางลมเข้า-ออกของประตูและหน้าต่าง เท่านี้ก็จะทำให้อยู่อาศัยแล้วไม่รู้สึกอึดอัด
7. ควรหมั่นถอดฟิลเตอร์แอร์มาล้างทำความสะอาดบ่อยๆ (ทำเองสักเดือนละครั้ง) เพื่อไม่ให้เกิดฝุ่นละอองสะสม และทุกๆ 6 เดือนอย่าลืมนัดช่างแอร์มาล้างทำความสะอาดตัวเครื่องด้านในและด้านนอกด้วย เพื่อให้เครื่องปรับอากาศนั้นสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ ลดการสิ้นเปลืองการใช้พลังงานลงได้
8. ควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบบริเวณฝักบัว ก๊อกน้ำ ปั๊มน้ำ และข้อต่อท่อตามจุดต่างๆ ว่าเกิดรอยรั่วซึมหรือไม่ เพื่อที่จะทำการซ่อมแซมทันที โดยเฉพาะลูกลอยในชักโครก เมื่อเสียมักจะปล่อยน้ำไหลทิ้งตลอดเวลา ดังนั้นหากกรณีที่ได้ยินเสียงปั๊มน้ำทำงานเองโดยที่ไม่มีใครใช้น้ำ นั่นล่ะคือสัญญาณเตือนว่า… คุณต้องไล่เช็คตามจุดที่กล่าวมาข้างต้นทันที
9.เลือกใช้หลอดไฟ LED ในบ้าน
หลอดไฟ LED (Light Emitting Diode) คือหลอดประหยัดไฟสูงสุดถึง 15%เมื่อเทียบกับหลอดไส้) และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป (เฉลี่ย 15,000 ชม.) รวมถึงไม่มีรังสีอินฟราเรด และรังสี UV ที่ทำอันตรายต่อผิวผู้ใช้งาน จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันหลายบ้านเริ่มหันมาใช้หลอดไฟ LED ประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใครที่มีแพลนอยากเปลี่ยน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เรามีหลักวิธีการเลือก LED มาฝาก รับรองไม่ยากอย่างที่คิด วิธีเลือกหลอดไฟ LED
สำหรับหลอดไฟ LED ช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึง 85% เมื่อเทียบกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขั้นตอนการติดตั้งง่าย หลอดไฟอายุการใช้งานหลอดไฟนาน ถึง 25,000 ชั่วโมง มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกทั้งหลอดไฟ LED T5,หลอดไฟ LED T8, หลอดไฟ LED A60 ชุดโคมไฟ LED ติดเพดาน และดาวน์ไลท์