ไม่รู้ว่ามีใครที่รอจนถึงเที่ยงคืนวันที่ซีรี่ส์เปิดตัวเพื่อรอดู
"เคว้ง - The Stranded" ออรินัล Netflix เรื่องแรกของไทยรึเปล่า
เราก็เป็นคนนึงที่นั่งถ่างตารอดูเลย เพราะส่วนตัวชอบแนว Survival Thriller Fantasy อะไรงี้อยู่แล้ว พอเที่ยงคืนปั๊บไม่รอช้าจ้า คลิกเข้าไปดูทันที
"เคว้ง - The Stranded" เป็นซีรี่ส์ที่พูดถึงชีวิตของ
"คราม" เด็กหนุ่มชาวใต้ชั้นม. 6 ที่ได้รับทุนให้เข้าไปเรียนในโรงเรียนนานาชาติสุดหรูอย่าง
"โรงเรียนหฤทัยสมุทร" และจุดเริ่มต้นของความหายนะก็คือวันสุดท้ายของการเป็นเด็กมัธยมของเขาและเพื่อน ๆ ร่วมชั้นกว่า 30 ชีวิต พวกเขาต้องเอาชีวิตรอดบน
"เกาะปินตู" เกาะเล็ก ๆ กลางทะเลอันดามัน และต้องพบเจอกับเรื่องราวลึกลับสุดคาดเดาที่ทยอยเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะชาติกำเนิดของครามที่ยังคงเป็นปริศนา
ในส่วนของโปรดัคชั่น ต้องบอกเลยว่ามีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ แต่จะพูดถึงนิดนึงละกัน เพราะมีคนพูดถึงโปรดัคชั่นค่อนข้างมาก ส่วนที่ชอบก็จะเป็นการแคสติ้งนักแสดงที่ทำได้ดีมาก พระเอกคมเข้มสมชายไทย นางเอก ตัวร้าย และตัวประกอบอื่น ๆ ดูมีความอินเตอร์และมีลูกครึ่งเยอะมาก (คิดว่าคงเพราะต้องการดึงดูดคนดูต่างชาติด้วย) และการผูกประเด็นน่าสนใจ ชอบการนำตำนานพื้นบ้านไทยมาผสมผสานกับโลกสมัยใหม่ ปมที่ทิ้งเอาไว้ให้คนดูคาใจหรือ
"เคว้ง" สมชื่อเรื่อง อาจจะเป็นการทำให้คนดูเข้าใจสิ่งที่ตัวละครกำลังประสบอยู่ ส่วนที่ไม่ชอบคือ บทพูดที่ดูล้น ๆ เกิน ๆ ไปหน่อย แต่ส่วนตัวพอดูเป็นพากย์อังกฤษแล้วโอเคขึ้น ไม่รู้ใครรู้สึกเหมือนกันรึเปล่า
และต่อจากนี้ไป ขอสปอยล์ วิเคราะห์ เจาะลึก สับแหลก ตามแบบของเราเลยนะจ๊ะ สิ่งที่วิเคราะห์วิจารณ์นี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจอะไรยังก็ขอโทษเอาไว้ตรงนี้ด้วยจ้า ใครอยากเสนออะไร ก็พูดคุยกันข้างล่างได้เลย ใครยังไม่ดูก็ปิดหน้านี้ไปก่อนแล้วค่อยกลับมาอ่านใหม่กันนะ เริ่ม!!!
เรารู้เรื่องอวกาศมากกว่า
เรื่องใต้ทะเลของเราซะอีก
เคว้ง คราม น้ำ ทะเล สัญญะที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้ชื่อ
สิ่งที่น่าสนใจคือชื่อของตัวละครและสถานที่ในเรื่อง ซึ่งถ้าลองมาวิเคราะห์กันดูดี ๆ เราจะเห็นความเชื่อมโยงกันมากมาย แต่ประเด็นหลักที่เรื่องต้องการนำเสนอคือ
"เบื้องลึกของจิตใจมนุษย์" โดย
"ทะเล" ถูกเปรียบเทียบกับ
"จิตใจ" ของมนุษย์ ซึ่งประสบกับความ
"เคว้ง" เมื่อไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ เหมือนในฉากที่ครามพูดกับเมย์ว่า รู้มั้ยว่า
มนุษย์เรารู้เรื่องอวกาศมากกว่าเรื่องใต้ทะเลซะอีก มันเป็นการบอกว่า คนเราอาจมีปม/เรื่องราว/ความลับ ที่ถูกปกปิดซ่อนไว้ในเบื้องลึกของจิตใจมากกว่าที่คิด เรามักอยากเรียนรู้เรื่องราวภายนอกมากกว่าที่จะค้นหาเรียนรู้ตัวตนของตัวเอง เพราะมันยากนักที่จะรู้ว่า จริง ๆ เรานั้นเป็นคนแบบไหน ต้องการอะไร
ชื่อตัวละครก็มีความเกี่ยวข้องเช่นกัน
คราม เป็นเฉดสีของน้ำทะเลที่หากมองเผินนั้นสวยงามสดชื่นสบายตา แต่เมื่อเริ่มออกห่างจากชายฝั่ง สีครามจะเข้มขึ้นตามระดับความลึกและกลายเป็นสีที่ดำมืดที่สุด สื่อถึงการพยายามค้นหาที่มาของตัวเองโดยดำดิ่งลงสู่ก้นทะเลหรือลงไปสู่ระดับจิตใต้สำนึก (แนะนำให้ฟังเพลง
คราม ของ บอดี้สแลม จะเข้าใจมากขึ้น) หรือแม้แต่
ไอซ์ (นักเลง) ก็ยังสามารถสื่อถึงก้อนน้ำแข็งที่จมอยู่ด้านล่างผืนน้ำ ก็เปรียบกับห้วงลึกของจิตใจมนุษย์นั่นเอง ส่วน
น้ำ (เราชอบตัวละครนี้ที่สุดละ) หญิงสาวที่มีจิตสัมผัสกับสิ่งลี้ลับ แต่เธอก็ได้ใช้ความสามารถของเธอช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ น้ำ สื่อถึงการชำระล้าง ความบริสุทธิ์ และพิธีกรรมที่คอยทำให้สะอาด เราจะเห็นได้ในฉากที่น้ำแกล้งทำพิธีปัดรังควานวิญญาณที่ตามติดตัวไอซ์ แม้จะเป็นการแกล้งหลอก แต่กลายเป็นว่า มันทำให้ไอซ์สบายใจขึ้นและเปลี่ยนเป็นคนละคน เหมือนเป็นการบำบัดจิตใจให้รู้สึกดีขึ้นนั่นเอง
หรือแม้แต่ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษของเคว้ง ซึ่งใช้คำว่า
The Stranded น่าสนใจมากเลย เพราะคำว่า
Strand ถ้าเป็นคำนาม จะแปลว่า ชายหาดหรือเส้นเชือกก็ได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ จะกลายเป็นคำว่า
Stranded ที่หมายถึง เกาะเกี่ยวไว้ด้วยกัน หรือหมายถึงการติดเกาะ/การเกยตื้นก็ได้ แสดงถึงการที่เด็ก ๆ กว่าสามสิบชีวิตต้องมาติดเกาะด้วยกัน ที่น่าสนใจคือ มันอาจแปลได้ทั้งแง่และแง่ลบก็ได้ การเกาะเกี่ยวไว้ด้วยกันสื่อถึงการร่วมมือร่วมใจกันคนละไม้ละมือหรือหมายถึงการถูกพันธนาการไว้ด้วยกันด้วยผลประโยชน์หรืออะไรบางอย่าง
F**k, Marry, Kill สามคำสั้น ๆ วัดใจ เปิดเผยความนัยส่วนลึก
ในตอนต้นเรื่อง โจอี้ได้ชวนครามไปค้นหายาในบ้านพักของผู้ใหญ่บ้าน และเขาได้ชวนครามเล่นเกมง่าย ๆ สามารถบอกใบ้อะไรเราได้หลายอย่าง นั่นก็คือเกม "F**k, Marry, Kill" โดยมีกติกาง่าย ๆ เพียงแค่เลือกว่าอยากมีอะไรกับใคร อยากแต่งงานกับใคร และอยากฆ่าใคร เกมนี้มีการเล่มกันอย่างแพร่หลายในฝั่งอเมริกา และปรากฏให้เห็นในวัฒนธรรมป๊อบต่าง ๆ มากมาย โดยเกมนี้สามารถเปิดเผยค่านิยมทางเพศของสังคมและรสนิยมในเรื่องความรักของตัวผู้เล่นได้ในระดับหนึ่ง อย่างเช่น ครามได้ตอบไปว่า เลือกมีอะไรกับหญิง เลือกฆ่าอริสา และอยากแต่งงานกับเมย์ ทำให้โจอี้รู้ว่าครามก็ชอบเมย์เหมือนเขานั่นเอง เรายังเห็นค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงในระบอบปิตาธิปไตย หรือ ชายเป็นใหญ่ด้วย เช่น ผู้หญิงที่ดูแรง ไม่รักนวลสงวนตัวเหมือนหญิง หรือเก่งกล้าสามารถเกินผู้ชายอย่างอริสา มักไม่ถูกเลือกเป็นคู่ครอง เพราะทำให้ปกครองยาก มีแนวโน้มที่จะอยู่กันไม่ยืด ผู้หญิงที่ดูอ่อนโยน บอบบาง และไม่มีปากมีเสียง ผู้ชายส่วนใหญ่จึงชอบ (คราม โจอี้ อนันต์ ต่างรุมชอบเมย์)
เมื่อ "กฏหมาย" ถูกท้าทายด้วย "กฎหมู่"
เคว้ง นอกจากจะสะท้อนภาพของโลกของมนุษย์ที่ล่มสลายแล้วยังสะท้อนศีลธรรมที่เสื่อมสลายของจิตใจมนุษย์ด้วย เมื่อธรรมชาติทำลายเทคโนโลยี มนุษย์จึงต้องย้อนกลับไปสู่การใช้ชีวิตแบบพื้นฐาน/โบราณ/ง่าย ๆ อีกครั้ง
(Back to Basic) เราจะได้เห็นการใช้ปืนยิงปลา
การก่อไฟให้แสงสว่าง การกรองน้ำโดยใช้เครื่องกรองน้ำแบบทำมือ เป็นต้น แม้กระทั่งกฎหมายที่เคยมีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมก็ถูก
"กฎหมู่" หรือ
"ศาลเตี้ย" ขึ้นมาแทน เพราะในสมัยโบราณ มนุษย์อาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และการกำหนดกฎเพื่อใช้ปกครองมักมาจากคนที่เป็นผู้นำเพียงคนเดียวหรือการตกลงกันในกลุ่ม
ที่น่าสนใจคือ กฎหมู่ตอบสนองด้านมืดในจิตใจมนุษย์ได้ดีกว่าและรวดเร็วกว่ากฎหมาย เช่น ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทำเพื่อการอยู่รอดและปากท้องโดยไม่สนใจคนกลุ่มอื่นหรือคนที่ไม่ได้มีประโยชน์กับตัวเอง เนื่องจากทรัพยาการซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับปากท้อง จึงมีการใช้กฎหมู่เพื่อแบ่งพรรคพวกระหว่างคนที่แข็งแกร่งและคนอ่อนแอเพราะเป็นตัวบอกว่า ใครสมควรได้ใช้ทรัพยาการ ใครสมควรอยู่หรือตาย การเกิดขึ้นของกฎหมู่คือมีบอกไว้ในเรื่อง เช่น ในฉากที่ครูหลินพูดถึง
"Psychogenic Illness" ซึ่งหมายถึงการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมแบบใหม่ขึ้นจากการเริ่มต้นอะไรบางอย่างของคนในสังคม ถ้ามีใครเริ่มทำก่อน คนอื่น ๆ ก็อาจเห็นด้วยและทำตาม จนกลายเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ผิดก็ตาม อย่างการที่เด็ก ๆ ในเรื่องเริ่มทะเลาะกัน ไล่ล่ากัน เมื่อความเห็นไม่ลงตัว และคนที่ซวยและโดนขับไล่คือ กลุ่มคนที่ไม่สามารถยอมรับหรือทำตามกรอบกฎของกลุ่มได้และถูกมองว่าเป็นคนชายขอบ เช่น คราม ตัวแทนคนท้องถิ่น/คนยากจน, เมย์ ตัวแทนผู้หญิงที่ไม่เชื่อฟัง/ไม่อยู่ในโอวาทผู้ชายและไม่อยู่ในกรอบผู้หญิงที่ดี, ไอซ์ ตัวแทนคนเสเพล นักเลง ชอบใช้ความรุนแรง, หญิง ตัวแทนผู้หญิงที่ไม่ดี แรง วัตถุทางเพศ, อริสา ตัวแทนผู้หญิงที่แกร่งเกินหญิง,
น้ำ ตัวแทนคนพิการ ป่วยจิต/เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น หรือคู่หูกันต์-ณัฐ ตัวแทนเนิร์ด/เกย์/เพศที่สาม เป็นต้น นี่เองจึงเป็นภาพสะท้อนของเบื้องลึก
ของจิตใจมนุษย์ที่สถานการณ์ยากลำบากจะช่วยเปิดเผยธาตุแท้ของแต่ละคนออกมาซึ่ง เคว้ง ได้นำเสนอประเด็นนี้ได้ชัดและน่าสนใจมาก ๆ
เป็นวัยรุ่นมัน "เหนื่อย" ... เป็นผู้ใหญ่ "เหนื่อยกว่า"
เคว้ง ยังเล่นกับประเด็น "การค้นหาตัวตนของเด็กวัยรุ่น" เราจะเห็นได้ว่า ตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่องจะพยายามค้นหาอะไรบางอย่าง เช่ย การค้นหาชาติกำเนิดของคราม การเข้าป่าไปค้นหาหอวิทยุของอริสา รวมไปถึงการหลีกหนีจากกลุ่มเพื่อนเพื่อไปพักผ่อนของเมย์ สะท้อนความต้องการที่จะค้นหาตัวตนและเป็นตัวของตัวเอง หรือแม้แต่อนันต์ซึ่งเป็นเด็กที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้ใหญ่/ผู้นำก่อนวัยอันควรผ่านการเป็นคอนดัคเตอร์ในวงออเครสตร้า การแบกรับความคาดหวังและความกดดันที่มากจนเกินไปทำให้แต่ละคนเกิดความเครียดและนำไปสู่ปมทางจิตที่ส่งผลร้าย เมื่อต้องมาเจอสถาการณ์ติดเกาะที่ทั้งบีบคั้น กดดันยิ่งกว่า พวกเขาจึงต้องพยายามเป็นผู้ใหญ่เพื่อเอาตัวรอดให้ได้ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว พวกเขาก็เป็นเพียงแค่เด็กม. ปลาย ที่ยังอยากสนุกกับชีวิตและยังไม่รู้แน่ชัดเกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง และจินตนาการว่า การพ้นจากรั้วโรงเรียนเพื่อไปใช้ชีวิตผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัย มันคงจะตื่นเต้น สนุกสนาน แต่จริง ๆ แล้ว โลกของผู้ใหญ่นั้นโหดร้ายและเต็มไปด้วยความเครียดมากกว่าที่พวกเขาเคยคิดฝันกัน การติดเกาะนี่เองจึงเสมือนการจำลองโลกแห่งความเป็นจริงที่พวกเขาต้องเจอ
นอกจากนี้ เคว้ง ยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และคุณค่า/ความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์อีกด้วย เช่น การที่ครามซึ่งเป็นเด็กยากจน แต่เรียนเก่ง จึงได้รับทุนให้เรียนในโรงเรียนอินเตอร์ เขาก็ยังต้องเจอกับการเหยียดหยามดูถูกจากอนันต์ที่เป็นคนรวยโดยกำเนิด หรือแม้แต่การที่พยายามจะเข้าหาเมย์ ก็สื่อถึงความพยายามที่จะก้าวข้ามให้พ้นสถานะคนชายขอบที่เขาเป็นอยู่เช่นกัน
จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ แต่ขอไปนั่งคิดก่อนนะคะ ถ้านึกออกจะกลับมาแก้ไข
วันนี้ขอตัวไปก่อนละค่ะ บายยย ^ ^ ใครนึกออกก็มาคุยกันได้นะ
(วิเคราะห์+รีวิว) เคว้ง (The Stranded) : เรารู้เรื่องอวกาศมากกว่าเรื่องใต้ทะเลซะอีก
เราก็เป็นคนนึงที่นั่งถ่างตารอดูเลย เพราะส่วนตัวชอบแนว Survival Thriller Fantasy อะไรงี้อยู่แล้ว พอเที่ยงคืนปั๊บไม่รอช้าจ้า คลิกเข้าไปดูทันที
"เคว้ง - The Stranded" เป็นซีรี่ส์ที่พูดถึงชีวิตของ "คราม" เด็กหนุ่มชาวใต้ชั้นม. 6 ที่ได้รับทุนให้เข้าไปเรียนในโรงเรียนนานาชาติสุดหรูอย่าง "โรงเรียนหฤทัยสมุทร" และจุดเริ่มต้นของความหายนะก็คือวันสุดท้ายของการเป็นเด็กมัธยมของเขาและเพื่อน ๆ ร่วมชั้นกว่า 30 ชีวิต พวกเขาต้องเอาชีวิตรอดบน "เกาะปินตู" เกาะเล็ก ๆ กลางทะเลอันดามัน และต้องพบเจอกับเรื่องราวลึกลับสุดคาดเดาที่ทยอยเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะชาติกำเนิดของครามที่ยังคงเป็นปริศนา
ในส่วนของโปรดัคชั่น ต้องบอกเลยว่ามีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ แต่จะพูดถึงนิดนึงละกัน เพราะมีคนพูดถึงโปรดัคชั่นค่อนข้างมาก ส่วนที่ชอบก็จะเป็นการแคสติ้งนักแสดงที่ทำได้ดีมาก พระเอกคมเข้มสมชายไทย นางเอก ตัวร้าย และตัวประกอบอื่น ๆ ดูมีความอินเตอร์และมีลูกครึ่งเยอะมาก (คิดว่าคงเพราะต้องการดึงดูดคนดูต่างชาติด้วย) และการผูกประเด็นน่าสนใจ ชอบการนำตำนานพื้นบ้านไทยมาผสมผสานกับโลกสมัยใหม่ ปมที่ทิ้งเอาไว้ให้คนดูคาใจหรือ "เคว้ง" สมชื่อเรื่อง อาจจะเป็นการทำให้คนดูเข้าใจสิ่งที่ตัวละครกำลังประสบอยู่ ส่วนที่ไม่ชอบคือ บทพูดที่ดูล้น ๆ เกิน ๆ ไปหน่อย แต่ส่วนตัวพอดูเป็นพากย์อังกฤษแล้วโอเคขึ้น ไม่รู้ใครรู้สึกเหมือนกันรึเปล่า
และต่อจากนี้ไป ขอสปอยล์ วิเคราะห์ เจาะลึก สับแหลก ตามแบบของเราเลยนะจ๊ะ สิ่งที่วิเคราะห์วิจารณ์นี้เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะ ไม่ถูกใจ ไม่พอใจอะไรยังก็ขอโทษเอาไว้ตรงนี้ด้วยจ้า ใครอยากเสนออะไร ก็พูดคุยกันข้างล่างได้เลย ใครยังไม่ดูก็ปิดหน้านี้ไปก่อนแล้วค่อยกลับมาอ่านใหม่กันนะ เริ่ม!!!
สิ่งที่น่าสนใจคือชื่อของตัวละครและสถานที่ในเรื่อง ซึ่งถ้าลองมาวิเคราะห์กันดูดี ๆ เราจะเห็นความเชื่อมโยงกันมากมาย แต่ประเด็นหลักที่เรื่องต้องการนำเสนอคือ "เบื้องลึกของจิตใจมนุษย์" โดย "ทะเล" ถูกเปรียบเทียบกับ "จิตใจ" ของมนุษย์ ซึ่งประสบกับความ "เคว้ง" เมื่อไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ เหมือนในฉากที่ครามพูดกับเมย์ว่า รู้มั้ยว่า มนุษย์เรารู้เรื่องอวกาศมากกว่าเรื่องใต้ทะเลซะอีก มันเป็นการบอกว่า คนเราอาจมีปม/เรื่องราว/ความลับ ที่ถูกปกปิดซ่อนไว้ในเบื้องลึกของจิตใจมากกว่าที่คิด เรามักอยากเรียนรู้เรื่องราวภายนอกมากกว่าที่จะค้นหาเรียนรู้ตัวตนของตัวเอง เพราะมันยากนักที่จะรู้ว่า จริง ๆ เรานั้นเป็นคนแบบไหน ต้องการอะไร
ชื่อตัวละครก็มีความเกี่ยวข้องเช่นกัน คราม เป็นเฉดสีของน้ำทะเลที่หากมองเผินนั้นสวยงามสดชื่นสบายตา แต่เมื่อเริ่มออกห่างจากชายฝั่ง สีครามจะเข้มขึ้นตามระดับความลึกและกลายเป็นสีที่ดำมืดที่สุด สื่อถึงการพยายามค้นหาที่มาของตัวเองโดยดำดิ่งลงสู่ก้นทะเลหรือลงไปสู่ระดับจิตใต้สำนึก (แนะนำให้ฟังเพลง คราม ของ บอดี้สแลม จะเข้าใจมากขึ้น) หรือแม้แต่ ไอซ์ (นักเลง) ก็ยังสามารถสื่อถึงก้อนน้ำแข็งที่จมอยู่ด้านล่างผืนน้ำ ก็เปรียบกับห้วงลึกของจิตใจมนุษย์นั่นเอง ส่วน น้ำ (เราชอบตัวละครนี้ที่สุดละ) หญิงสาวที่มีจิตสัมผัสกับสิ่งลี้ลับ แต่เธอก็ได้ใช้ความสามารถของเธอช่วยคนอื่นให้พ้นทุกข์ น้ำ สื่อถึงการชำระล้าง ความบริสุทธิ์ และพิธีกรรมที่คอยทำให้สะอาด เราจะเห็นได้ในฉากที่น้ำแกล้งทำพิธีปัดรังควานวิญญาณที่ตามติดตัวไอซ์ แม้จะเป็นการแกล้งหลอก แต่กลายเป็นว่า มันทำให้ไอซ์สบายใจขึ้นและเปลี่ยนเป็นคนละคน เหมือนเป็นการบำบัดจิตใจให้รู้สึกดีขึ้นนั่นเอง
หรือแม้แต่ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษของเคว้ง ซึ่งใช้คำว่า The Stranded น่าสนใจมากเลย เพราะคำว่า Strand ถ้าเป็นคำนาม จะแปลว่า ชายหาดหรือเส้นเชือกก็ได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ จะกลายเป็นคำว่า Stranded ที่หมายถึง เกาะเกี่ยวไว้ด้วยกัน หรือหมายถึงการติดเกาะ/การเกยตื้นก็ได้ แสดงถึงการที่เด็ก ๆ กว่าสามสิบชีวิตต้องมาติดเกาะด้วยกัน ที่น่าสนใจคือ มันอาจแปลได้ทั้งแง่และแง่ลบก็ได้ การเกาะเกี่ยวไว้ด้วยกันสื่อถึงการร่วมมือร่วมใจกันคนละไม้ละมือหรือหมายถึงการถูกพันธนาการไว้ด้วยกันด้วยผลประโยชน์หรืออะไรบางอย่าง
เคว้ง นอกจากจะสะท้อนภาพของโลกของมนุษย์ที่ล่มสลายแล้วยังสะท้อนศีลธรรมที่เสื่อมสลายของจิตใจมนุษย์ด้วย เมื่อธรรมชาติทำลายเทคโนโลยี มนุษย์จึงต้องย้อนกลับไปสู่การใช้ชีวิตแบบพื้นฐาน/โบราณ/ง่าย ๆ อีกครั้ง (Back to Basic) เราจะได้เห็นการใช้ปืนยิงปลา
การก่อไฟให้แสงสว่าง การกรองน้ำโดยใช้เครื่องกรองน้ำแบบทำมือ เป็นต้น แม้กระทั่งกฎหมายที่เคยมีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมก็ถูก "กฎหมู่" หรือ "ศาลเตี้ย" ขึ้นมาแทน เพราะในสมัยโบราณ มนุษย์อาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และการกำหนดกฎเพื่อใช้ปกครองมักมาจากคนที่เป็นผู้นำเพียงคนเดียวหรือการตกลงกันในกลุ่ม
ที่น่าสนใจคือ กฎหมู่ตอบสนองด้านมืดในจิตใจมนุษย์ได้ดีกว่าและรวดเร็วกว่ากฎหมาย เช่น ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทำเพื่อการอยู่รอดและปากท้องโดยไม่สนใจคนกลุ่มอื่นหรือคนที่ไม่ได้มีประโยชน์กับตัวเอง เนื่องจากทรัพยาการซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับปากท้อง จึงมีการใช้กฎหมู่เพื่อแบ่งพรรคพวกระหว่างคนที่แข็งแกร่งและคนอ่อนแอเพราะเป็นตัวบอกว่า ใครสมควรได้ใช้ทรัพยาการ ใครสมควรอยู่หรือตาย การเกิดขึ้นของกฎหมู่คือมีบอกไว้ในเรื่อง เช่น ในฉากที่ครูหลินพูดถึง "Psychogenic Illness" ซึ่งหมายถึงการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมแบบใหม่ขึ้นจากการเริ่มต้นอะไรบางอย่างของคนในสังคม ถ้ามีใครเริ่มทำก่อน คนอื่น ๆ ก็อาจเห็นด้วยและทำตาม จนกลายเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสิ่งที่ผิดก็ตาม อย่างการที่เด็ก ๆ ในเรื่องเริ่มทะเลาะกัน ไล่ล่ากัน เมื่อความเห็นไม่ลงตัว และคนที่ซวยและโดนขับไล่คือ กลุ่มคนที่ไม่สามารถยอมรับหรือทำตามกรอบกฎของกลุ่มได้และถูกมองว่าเป็นคนชายขอบ เช่น คราม ตัวแทนคนท้องถิ่น/คนยากจน, เมย์ ตัวแทนผู้หญิงที่ไม่เชื่อฟัง/ไม่อยู่ในโอวาทผู้ชายและไม่อยู่ในกรอบผู้หญิงที่ดี, ไอซ์ ตัวแทนคนเสเพล นักเลง ชอบใช้ความรุนแรง, หญิง ตัวแทนผู้หญิงที่ไม่ดี แรง วัตถุทางเพศ, อริสา ตัวแทนผู้หญิงที่แกร่งเกินหญิง,
น้ำ ตัวแทนคนพิการ ป่วยจิต/เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น หรือคู่หูกันต์-ณัฐ ตัวแทนเนิร์ด/เกย์/เพศที่สาม เป็นต้น นี่เองจึงเป็นภาพสะท้อนของเบื้องลึก
ของจิตใจมนุษย์ที่สถานการณ์ยากลำบากจะช่วยเปิดเผยธาตุแท้ของแต่ละคนออกมาซึ่ง เคว้ง ได้นำเสนอประเด็นนี้ได้ชัดและน่าสนใจมาก ๆ
เคว้ง ยังเล่นกับประเด็น "การค้นหาตัวตนของเด็กวัยรุ่น" เราจะเห็นได้ว่า ตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่องจะพยายามค้นหาอะไรบางอย่าง เช่ย การค้นหาชาติกำเนิดของคราม การเข้าป่าไปค้นหาหอวิทยุของอริสา รวมไปถึงการหลีกหนีจากกลุ่มเพื่อนเพื่อไปพักผ่อนของเมย์ สะท้อนความต้องการที่จะค้นหาตัวตนและเป็นตัวของตัวเอง หรือแม้แต่อนันต์ซึ่งเป็นเด็กที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้ใหญ่/ผู้นำก่อนวัยอันควรผ่านการเป็นคอนดัคเตอร์ในวงออเครสตร้า การแบกรับความคาดหวังและความกดดันที่มากจนเกินไปทำให้แต่ละคนเกิดความเครียดและนำไปสู่ปมทางจิตที่ส่งผลร้าย เมื่อต้องมาเจอสถาการณ์ติดเกาะที่ทั้งบีบคั้น กดดันยิ่งกว่า พวกเขาจึงต้องพยายามเป็นผู้ใหญ่เพื่อเอาตัวรอดให้ได้ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว พวกเขาก็เป็นเพียงแค่เด็กม. ปลาย ที่ยังอยากสนุกกับชีวิตและยังไม่รู้แน่ชัดเกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง และจินตนาการว่า การพ้นจากรั้วโรงเรียนเพื่อไปใช้ชีวิตผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัย มันคงจะตื่นเต้น สนุกสนาน แต่จริง ๆ แล้ว โลกของผู้ใหญ่นั้นโหดร้ายและเต็มไปด้วยความเครียดมากกว่าที่พวกเขาเคยคิดฝันกัน การติดเกาะนี่เองจึงเสมือนการจำลองโลกแห่งความเป็นจริงที่พวกเขาต้องเจอ
นอกจากนี้ เคว้ง ยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และคุณค่า/ความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์อีกด้วย เช่น การที่ครามซึ่งเป็นเด็กยากจน แต่เรียนเก่ง จึงได้รับทุนให้เรียนในโรงเรียนอินเตอร์ เขาก็ยังต้องเจอกับการเหยียดหยามดูถูกจากอนันต์ที่เป็นคนรวยโดยกำเนิด หรือแม้แต่การที่พยายามจะเข้าหาเมย์ ก็สื่อถึงความพยายามที่จะก้าวข้ามให้พ้นสถานะคนชายขอบที่เขาเป็นอยู่เช่นกัน
จริง ๆ แล้วยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ แต่ขอไปนั่งคิดก่อนนะคะ ถ้านึกออกจะกลับมาแก้ไข
วันนี้ขอตัวไปก่อนละค่ะ บายยย ^ ^ ใครนึกออกก็มาคุยกันได้นะ