สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
การเรียนระดับปริญญา หรือ ระดับอื่น ๆ
ก็เพื่อว่าจะนำไปประกอบอาชีพในวันข้างหน้าครับ
เราลองมาแยกกันก่อน
ระหว่าง งานที่ต้องใช้วุฒิการศึกษา กับ งานที่ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา
- งานที่ต้องใช้วุฒิการศึกษา
คือ งานที่ต้องใช้ความรู้ทักษะทางวิชาการ ผู้ที่จะประกอบอาชีพได้ ต้องเรียนจบคุณวุฒิตามที่กำหนด เช่น
ทนาย, ผู้พิพากษา, แพทย์, บัญชี, เภสัช, นักโภชนาการ, พยาบาล, วิศวกร, สถาปนิก เป็นต้น
จะสังเกตได้ว่า งานจำพวกนี้ คนที่ไม่ได้เรียนมาตรงสาย จะประกอบอาชีพเหล่านี้ไม่ได้เลย
- งานที่ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา
คือ งานที่เน้นฝีมือ, ประสบการณ์ หรือแรงงาน มากกว่าวุฒิการศึกษา เช่น
พนักงานขับรถ, พ่อครัว, แม่ค้า, เกษตรกร, งานบริการ, ผู้จัดการร้านค้าปลีก, แม่บ้าน, คนสวน, รปภ., ช่างภาพ, จิตรกร, ช่างศิลป์ เป็นต้น
จะสังเกตได้ว่า งานจำพวกนี้ จะไม่ให้ความสำคัญที่วุฒิการศึกษา
แม้คนที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรือไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเลย ก็สามารถประกอบอาชีพประเภทนี้ได้
ถ้าไม่เรียน
ยกตัวอย่าง เช่น การที่เราจบ ม.6 โดยไม่เรียนต่อมหาลัย แต่ออกมาทำงานเลยนั้น
จะใช้ได้กับกรณี งานที่ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา หรือ งานที่เน้นฝีมือ, ประสบการณ์ หรือแรงงาน เท่านั้น เช่น
- พนักงานขับรถยนต์ ซึ่งเน้นทักษะและประสบการณ์ในการขับรถ ไม่ได้เน้นวุฒิการศึกษา
รถยนต์ เมื่อแยกตามประเภทใบขับขี่ จะมี 4 ประเภทหลักๆ (ขอแยกคร่าว ๆ) คือ
1. รถยนต์ (รถยนต์ 4 ล้อทั่วไป)
2. รถบรรทุก
3. รถพ่วง
4. รถบรรทุกสารอันตราย
คนที่จบ ม.6 มา และหัดขับรถทันที เมื่ออายุ 22 - 23 (เท่ากับเพื่อนรุ่นที่จบ ป.ตรี) ก็อาจจะฝึกฝนจนสามารถขับรถพ่วงได้แล้ว
- เชฟ ซึ่งเน้นทักษะและประสบการณ์งานครัว ไม่ได้เน้นวุฒิการศึกษา
คนที่จบ ม.6 และเริ่มทำงานครัวเลย ย่อมมีประสบการณ์มากกว่าคนที่ไม่มีประสบการณ์
เป็นต้น
แต่ เมื่อมองในแง่ของ งานที่ต้องใช้วุฒิการศึกษา นั้น
อย่างที่ผมยกตัวอย่างอาชีพ เช่น ทนาย, ผู้พิพากษา, แพทย์, บัญชี, เภสัช, นักโภชนาการ, พยาบาล, วิศวกร, สถาปนิก ฯลฯ
ลองพิจารณาดู จะพบว่า อาชีพเหล่านี้จะใช้ความรู้ระดับ ม.6 ไม่ได้เลย
หรือแม้แต่จะใช้ความรู้ระดับเดียวกันหรือสูงกว่า แต่ต่างสาขา ในบางอาชีพก็ใช้ไม่ได้
เพราะสาขาพวกนี้เป็นสาขาอาชีพเฉพาะทาง
ต่อให้คุณ เริ่มงานตั้งแต่อายุ 15 คุณก็จะเข้าสู่วงการอาชีพเหล่านี้ไม่ได้ครับ
ยังไม่รวมถึงงานทั่ว ๆ ไป ที่กำหนคคุณวุฒิ ทั้งงานในหน่วยงานของรัฐ หรืองานเอกชน ต่าง ๆ
เช่น พนักงานขายสารเคมีกำจัดแมลง ซึ่งจะเจาะจงรับคนที่จบเกษตร
แม้คุณเรียนจบ ป.เอก นิติศาสตร์ ก็ไม่รับ
หรือ ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ซึ่งกำหนดรับ ป.ตรี หลายสาขา
แม้คุณจะเป็นเกษตรกรเต็มขั้น ประสบการณ์ทำเกษตร 10 ปี ถ้าไม่จบ ป.ตรี ก็บรรจุไม่ได้ เพราะระเบียบกำหนดไว้
เป็นต้น
อีกอย่างนึง
งานที่สามารถใช้วุฒิ ม.6 สมัครได้ ก็แปลว่างานนั้น ๆ ต้องการเพียงความรู้ระดับแค่วุฒิ ม.6
ประสบการณ์ที่ได้ ก็เป็นระดับงานความรู้ระดับ ม.6
สมมุติ คุณใช้วุฒิ ม.6 สมัครงานในโรงพยาบาล คุณก็จะได้ทำงานในความรู้ระดับ ม.6
คงไม่สามารถก้าวล่วงไปทำงานระดับปริญญาได้ (เช่น แพทย์, เภสัช, พยาบาล, รังสีเทคนิค เป็นต้น)
เช่น คุณทำหน้าที่พนักงานเข็นเตียง คุณก็มีประสบการณ์ในระดับพนักงานเข็นเตียง
ความก้าวหน้าก็อาจจะไปได้ถึง หัวหน้าพนักงานเข็นเตียง แล้วก็ตันอยู่แค่นั้น
จะขึ้นเป็นหัวหน้าแผนก, ผอ.โรงพยาบาล ฯลฯ ก็ไม่ได้
ถ้าอยากจะเป็น แพทย์, พยาบาล, เภสัช ก็ต้องเรียนต่อระดับปริญญา ในสาขานั้น ๆ
จะมาใช้ความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับตอนเป็นพนักงานเข็นเตียง เลื่อนขั้นเป็น แพทย์, พยาบาล, เภสัช เลยก็ไม่มีทาง
พอเห็นความสำคัญของการศึกษาบ้างรึยังครับ
หรือ สรุปสั้น ๆ
การศึกษา ไม่มีเสียเปล่าหรอกครับ
แม้การศึกษาจะไม่ใช่สิ่งรับประกันว่าจะต้องประสบความสำเร็จแน่ ๆ
แต่การศึกษา เป็นการเปิดเส้นทางสู่ความสำเร็จทางหนึ่งครับ
ถ้าอยากมีการมีงานดี ๆ ทำ แบบที่ไม่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ
แนะนำให้เรียนให้สูงที่สุดครับ
แต่ถ้าคุณมีฝีมือความสามารถ เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง วาดภาพ ประติมากรรม การแสดง ฯลฯ ที่เทพมาก ๆ
แบบนี้จะไม่ต้องเรียนหนังสือก็ได้ครับ
ก็เพื่อว่าจะนำไปประกอบอาชีพในวันข้างหน้าครับ
เราลองมาแยกกันก่อน
ระหว่าง งานที่ต้องใช้วุฒิการศึกษา กับ งานที่ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา
- งานที่ต้องใช้วุฒิการศึกษา
คือ งานที่ต้องใช้ความรู้ทักษะทางวิชาการ ผู้ที่จะประกอบอาชีพได้ ต้องเรียนจบคุณวุฒิตามที่กำหนด เช่น
ทนาย, ผู้พิพากษา, แพทย์, บัญชี, เภสัช, นักโภชนาการ, พยาบาล, วิศวกร, สถาปนิก เป็นต้น
จะสังเกตได้ว่า งานจำพวกนี้ คนที่ไม่ได้เรียนมาตรงสาย จะประกอบอาชีพเหล่านี้ไม่ได้เลย
- งานที่ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา
คือ งานที่เน้นฝีมือ, ประสบการณ์ หรือแรงงาน มากกว่าวุฒิการศึกษา เช่น
พนักงานขับรถ, พ่อครัว, แม่ค้า, เกษตรกร, งานบริการ, ผู้จัดการร้านค้าปลีก, แม่บ้าน, คนสวน, รปภ., ช่างภาพ, จิตรกร, ช่างศิลป์ เป็นต้น
จะสังเกตได้ว่า งานจำพวกนี้ จะไม่ให้ความสำคัญที่วุฒิการศึกษา
แม้คนที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรือไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาเลย ก็สามารถประกอบอาชีพประเภทนี้ได้
ถ้าไม่เรียน
ยกตัวอย่าง เช่น การที่เราจบ ม.6 โดยไม่เรียนต่อมหาลัย แต่ออกมาทำงานเลยนั้น
จะใช้ได้กับกรณี งานที่ไม่ต้องใช้วุฒิการศึกษา หรือ งานที่เน้นฝีมือ, ประสบการณ์ หรือแรงงาน เท่านั้น เช่น
- พนักงานขับรถยนต์ ซึ่งเน้นทักษะและประสบการณ์ในการขับรถ ไม่ได้เน้นวุฒิการศึกษา
รถยนต์ เมื่อแยกตามประเภทใบขับขี่ จะมี 4 ประเภทหลักๆ (ขอแยกคร่าว ๆ) คือ
1. รถยนต์ (รถยนต์ 4 ล้อทั่วไป)
2. รถบรรทุก
3. รถพ่วง
4. รถบรรทุกสารอันตราย
คนที่จบ ม.6 มา และหัดขับรถทันที เมื่ออายุ 22 - 23 (เท่ากับเพื่อนรุ่นที่จบ ป.ตรี) ก็อาจจะฝึกฝนจนสามารถขับรถพ่วงได้แล้ว
- เชฟ ซึ่งเน้นทักษะและประสบการณ์งานครัว ไม่ได้เน้นวุฒิการศึกษา
คนที่จบ ม.6 และเริ่มทำงานครัวเลย ย่อมมีประสบการณ์มากกว่าคนที่ไม่มีประสบการณ์
เป็นต้น
แต่ เมื่อมองในแง่ของ งานที่ต้องใช้วุฒิการศึกษา นั้น
อย่างที่ผมยกตัวอย่างอาชีพ เช่น ทนาย, ผู้พิพากษา, แพทย์, บัญชี, เภสัช, นักโภชนาการ, พยาบาล, วิศวกร, สถาปนิก ฯลฯ
ลองพิจารณาดู จะพบว่า อาชีพเหล่านี้จะใช้ความรู้ระดับ ม.6 ไม่ได้เลย
หรือแม้แต่จะใช้ความรู้ระดับเดียวกันหรือสูงกว่า แต่ต่างสาขา ในบางอาชีพก็ใช้ไม่ได้
เพราะสาขาพวกนี้เป็นสาขาอาชีพเฉพาะทาง
ต่อให้คุณ เริ่มงานตั้งแต่อายุ 15 คุณก็จะเข้าสู่วงการอาชีพเหล่านี้ไม่ได้ครับ
ยังไม่รวมถึงงานทั่ว ๆ ไป ที่กำหนคคุณวุฒิ ทั้งงานในหน่วยงานของรัฐ หรืองานเอกชน ต่าง ๆ
เช่น พนักงานขายสารเคมีกำจัดแมลง ซึ่งจะเจาะจงรับคนที่จบเกษตร
แม้คุณเรียนจบ ป.เอก นิติศาสตร์ ก็ไม่รับ
หรือ ข้าราชการตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ซึ่งกำหนดรับ ป.ตรี หลายสาขา
แม้คุณจะเป็นเกษตรกรเต็มขั้น ประสบการณ์ทำเกษตร 10 ปี ถ้าไม่จบ ป.ตรี ก็บรรจุไม่ได้ เพราะระเบียบกำหนดไว้
เป็นต้น
อีกอย่างนึง
งานที่สามารถใช้วุฒิ ม.6 สมัครได้ ก็แปลว่างานนั้น ๆ ต้องการเพียงความรู้ระดับแค่วุฒิ ม.6
ประสบการณ์ที่ได้ ก็เป็นระดับงานความรู้ระดับ ม.6
สมมุติ คุณใช้วุฒิ ม.6 สมัครงานในโรงพยาบาล คุณก็จะได้ทำงานในความรู้ระดับ ม.6
คงไม่สามารถก้าวล่วงไปทำงานระดับปริญญาได้ (เช่น แพทย์, เภสัช, พยาบาล, รังสีเทคนิค เป็นต้น)
เช่น คุณทำหน้าที่พนักงานเข็นเตียง คุณก็มีประสบการณ์ในระดับพนักงานเข็นเตียง
ความก้าวหน้าก็อาจจะไปได้ถึง หัวหน้าพนักงานเข็นเตียง แล้วก็ตันอยู่แค่นั้น
จะขึ้นเป็นหัวหน้าแผนก, ผอ.โรงพยาบาล ฯลฯ ก็ไม่ได้
ถ้าอยากจะเป็น แพทย์, พยาบาล, เภสัช ก็ต้องเรียนต่อระดับปริญญา ในสาขานั้น ๆ
จะมาใช้ความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับตอนเป็นพนักงานเข็นเตียง เลื่อนขั้นเป็น แพทย์, พยาบาล, เภสัช เลยก็ไม่มีทาง
พอเห็นความสำคัญของการศึกษาบ้างรึยังครับ
หรือ สรุปสั้น ๆ
การศึกษา ไม่มีเสียเปล่าหรอกครับ
แม้การศึกษาจะไม่ใช่สิ่งรับประกันว่าจะต้องประสบความสำเร็จแน่ ๆ
แต่การศึกษา เป็นการเปิดเส้นทางสู่ความสำเร็จทางหนึ่งครับ
ถ้าอยากมีการมีงานดี ๆ ทำ แบบที่ไม่ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ
แนะนำให้เรียนให้สูงที่สุดครับ
แต่ถ้าคุณมีฝีมือความสามารถ เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง วาดภาพ ประติมากรรม การแสดง ฯลฯ ที่เทพมาก ๆ
แบบนี้จะไม่ต้องเรียนหนังสือก็ได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมเราจึงยอมเสียเงินหลักล้านเพื่อเงินเดือนละ 15000 ครับ
ทำไมการศึกษาไทยเราไม่เรียนวิธีการหาเงินกันครับ