สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Pantip ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทางทีมงาน Pantip Garage เราได้ รับเชิญจากทาง Mazda Sales
หลังจากเปิดตัวกันแค่ สัปดาห์เดียว ก็รีบจัดทริปทดสอบให้บรรดาสื่อมวลชนกันเลย
ซึ่งในครั้งนี้เราได้บินมาไกลกันถึงเชียงใหม่ และทดสอบโดยวิ่งไปยังเชียงราย ผ่านถนนทุกรูปแบบ ทั้งในเมือง/นอกเมืองที่ต้องใช้ความเร็ว การขับในทางคดเคี้ยว ต่างๆ
รวมถึงได้เป็นผู้นั่งโดยสารด้วย เพราะเนื่องจากเป็นรถครอบครัว ทาง Mazda จึงให้เรานั่งคันละ 4 คน ด้วยกัน
ก่อนอื่น จะขอเกริ่นกันสักนิดถึง CX-8 ที่ Mazda ได้มองเห็นโอกาส จึงนำเจ้า SUV 3 ที่นั่งคันนี้ มาทำตลาด
จากการทำผลสำรวจ พบว่า คนที่ซื้อรถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง มักจะซื้อรถ PPV เป็นสัดส่วนถึง 88%
แต่มันมีข้อด้อย คือ คันใหญ่ ไม่คล่องตัว ต่อการขับในเมือง, สูง ทำให้ก้าวขึ้น-ลง ลำบาก, ช่วงล่างแบบ Pick-Up ไม่นิ่มนวล
ทำให้ Mazda ได้มองเห็นช่องทางในการนำ CX-8 มาอุดข่องโหว่ เหล่านี้
ซึ่ง Mazda CX-8 ถือเป็นรถ SUV ไซส์ใหญ่สุดที่จำหน่ายในไทย ขณะนี้ โดยนำเข้าจากมาเลเซีย
เริ่มที่รูปลักษณ์ภายนอก
หน้าตาโดยรวม เป็นจิตวิญญาณ Kodo Design ซึ่งคล้ายกับ CX-5 เรียกว่าในช่วงท่อนหน้า แทบไม่แตกต่างกันเลยถ้าไม่สังเกต โดยลายของกระจังหน้า จะแตกต่างกันเล็กน้อย
นอกจากนั้น ในเรื่องมิติ ความกว้างนั้น เท่ากันกับ CX-5 ที่ 1,840 มม. เพื่อให้เป็น SUV ที่มีความคล่องตัว
แต่มีการดึงขยายฐานล้อตัวรถ เพื่อรองรับเบาะแถว 3 โดยยาวขึ้น 230 มม.
ประตูบานท้าย เปิดไฟฟ้า มีสปอยเลอร์ขนาดเล็กทางด้านบน
ส่วนไฟท้าย LED มีรูปทรงที่แตกต่างจาก CX-5
ล้ออัลลอย ลวดลายคล้ายแบรนด์หรู ขอบ 19” สีเงิน Metallic ดูโฉบเฉี่ยวพอตัว
ภายในห้องโดยสาร
CX-8 จะใช้วัสดุหนัง Nappa สีแดง Deep Red พร้อมด้วยการตกแต่ง Trim ลายไม้แบบ Real Wood
นอกจากนั้น รายละเอียดอื่นๆ ยังคงดูคล้ายคลึงกับ CX-5 ไม่ผิดเพี้ยน
ทั้งชุดคอนโซล จอ Mazda Connect รวมไปถึงชุดมาตรวัด ช่องแอร์ ก็ดูจะยกมาจากแพลตฟอร์มเดียวกัน ไม่มีผิดเพี้ยน
มาที่เบาะแถว 2 หลังจากที่ได้นั่งแล้ว พบว่า ความกว้างที่เท่ากันกับ CX-5 ระยะ Leg Room ทางทีม R&D ได้บอกว่าขนาดอาจจะเล็กกว่าเล็กน้อย เนื่องจากจะต้องมีการดีไซน์ให้ปรับพับ และเลื่อนสไลด์ได้ แต่ผมกลับรู้สึกว่าไม่ได้รู้สึก Leg Room แคบกว่า CX-5 จนรู้สึกอึดอัดแต่อย่างใด ยังนั่งได้แบบสบายๆ
โดยในคันนี้เป็น 7 ที่นั่ง จะไม่ใช่เบาะนั่งแบบ Captain Seat ซึ่งส่วนตัวผมชอบเบาะแบบปกติ นี้มากกว่า เพราะ ถ้าคนตัวใหญ่นั่งจะไม่ถูกรู้สึกบีบช่วงไหล่ จะนั่งได้แบบสบายๆ กว่า วัสดุเท้าแขน ถือว่าตำแหน่งระนาบค่อนข้างกำลังดี มีช่องจ่ายไฟ USB ให้ 2 ช่อง ด้วยไม่ต้องแย่งกันกับคนข้างๆ
ส่วนแอร์ตอนหลัง นั้น แอบรู้สึกว่าองศาในการเป่าลมแอร์ จะติดอยู่ในช่วงระดับเข่า จึงอาจจะไม่ค่อยรู้สึกเย็น ขึ้นลำตัว
ซึ่งถ้ามีการปรับตำแหน่งแอร์มาบริเวณเสา B หรือ ผนังเพดาน ได้แบบพวก PPV ก็จะทำให้ได้รับลมแอร์ได้ดีกว่านี้
ลองขยับไปนั่งแถว 3 ดู สักนิด พบว่า นั่งได้จริง ไม่เหมือนพวก PPV เมื่อ ขยับเบาะตอน 2 เลื่อนขึ้นหน้าหน่อย
ส่วนสูงผมอยู่ที่ 175 ซม. ก็ยังพอมี Leg Room เหลืออยู่บ้างแบบไม่บีบอึดอัดเกินไป นัก แต่ถ้านั่ง แถว 3 สองคน ก็อาจจะอึดอัดจากช่วงความกว้างเล็กน้อย
แต่ที่น่าเสียดาย เลย คือ มันไม่ช่องแอร์ ตอนหลังซึ่ง ก็จะค่อนข้างรู้สึกร้อนพอควร ยิ่งถ้าแสงส่องมาจากทางกระจกบานท้ายด้วยแล้ว
กับอีกจุด ก็คือ ลำโพง 6 ตำแหน่ง ที่ดูแล้วหากเทียบกับชุดเครื่องเสียง Bose ในรุ่นท๊อป แล้วล่ะก็ดูด้อยกว่าอย่างเห็นได้ขัด จนรู้สึกว่าเพลงที่เปิดฟังไม่ค่อยมีมิติ และออกก้องๆ กำลังขับต่ำไปหน่อยกับรถ 7 ที่นั่งเช่นนี้
ขุมพลังเครื่องยนต์ คันที่เราทดสอบ คือ 2.5 เบนซิน มีพละกำลัง 194 แรงม้า@6,000rpm แรงบิด 258Nm@4,000rpm
ส่งกำลังผ่านเกียร์ 6AT ลงสู่ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ หน้า เคลมอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 13.2 กม./ลิตร
ภาพรวมแล้ว ต้องบอกว่า ที่จริงบล็อก 2.5 นี้ก็ถือว่าแรง พอตัวแล้วล่ะ ขับใช้งานได้แบบ สบายๆ กำลังเหลือๆ เลย
แต่ก่อนอื่นเราต้องบอกก่อนว่า เนื่องจากทาง มาสด้า ได้จัดให้พวกเรานั่งกันถึง 4 คน และ บรรทุก สัมภาระ อีกด้วย
นั่นจึงไม่ได้รู้สึกว่าอัตราเร่งดูปรู๊ดปร๊าด แต่อย่างใด แต่ในจังหวะที่ต้องเร่งแซง รถก็มีย่านกำลังที่ช่วยให้ตัวรถพุ่งทะยานแซงได้ ไม่หวาดเสียว
แต่อาจมีข้อสังเกตเล็กน้อย คือ ในช่วงที่เราต้องแซงบนเลนสวน ช่วงทางขึ้น-ลงเขา นั้น เราได้ขับตามรถในขบวนเรา ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ 2.2 ดีเซล พบว่า ตีนต้น นั้นจะยังสู้ไม่ได้ เนื่องจาก ทอร์ค ของ ดีเซลมากกว่าที่ 450Nm และมาตั้งแต่รอบต่ำที่ 2,000rpm นั่นจึงทำให้ได้เปรียบเราอย่างเห็นได้ชัด ส่วนกำลังย่านปลายน้อยกว่า เบนซินเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็เรียกว่าไม่หนีกันเท่าไร
อย่างไรก็ดีเห็นคันใหญ่โตแบบนี้ขับทำความเร็วสูงที่ระดับ 180 กม./ชม. ด้วยการนั่ง 4 คนพร้อมสัมภาระ ก็ถือว่าทำได้สบายๆ แบบไม่ต้องเค้น ถือว่าไร้ข้อกังขา กับขุมพลังบล็อกนี้
มีจุดที่แอบเสียดายนิดหน่อย คือ ในช่วงที่เราขับในเขา ที่ต้องเข้าโค้ง ทางชัน การ Shift Down ลดเกียร์ช่วยก็ทำให้เราขับได้อย่างมั่นใจขึ้น แต่ ตระกูล CX ทุกรุ่นไม่ให้ Paddle Shift มาอยู่แล้วนั่นจึงทำให้เราต้องดันตำแหน่งคันเกียร์ และกด Shift Down เอาเอง ถ้ามีการใส่แป้น Paddle Shift มาด้วย น่าจะสะดวกมากขึ้น เพราะ SUV คู่แข่ง หรือ PPV หลายรุ่นก็มีมาให้
ด้านการเก็บเสียงในห้องโดยสารนั้น ก็ถือว่าทำได้ดีพอสมควรกับรถ SUV คันโต แบรนด์ญี่ปุ่นแล้ว เพราะ เสียงลมที่รู้สึกดังจนน่ารำคาญนั้น จะมาในช่วงความเร็วที่ระดับ 160+ ขึ้นไป
ระบบบังคับเลี้ยว
เป็นพวงมาลัยผ่อนแรงไฟฟ้า รัศมีวงเลี้ยว 5.8 ม.
ทางมาสด้า ได้บอกว่าใช้ลูกยางที่แข็งขึ้นสำหรับเฟืองพวงมาลัย ช่วยให้การตอบสนองแม่นยำดี
โดยรวมในการใช้งาน ถือว่า ยังคงให้การควบคุมที่ดี และคล่องตัวพอประมาณ น้ำหนักพวงมาลัยหนักกว่า CX-5
แต่ภาพรวม ก็ยังทำหน้าที่ได้ดี ตามแบบฉบับของมาสด้า คือ ให้ฟีลลิ่งที่ออกเป็นธรรมชาติ และมีความหนักแน่นในการบังคับเลี้ยว จนรู้สึกว่าแม้ขับที่ความเร็วต่ำๆ ยังรู้สึกว่าหนักมือไปเลย (อาจจะไม่ถูกใจคุณผู้หญิง)
ในช่วงที่เป็นเขา และมีโค้งให้เล่นต่อเนื่อง ผมรู้สึกว่ามันขับได้สนุก บังคับเลี้ยวได้อย่างแม่นยำ ไม่แพ้กับรถยนต์นั่งอย่าง Mazda3 สักเท่าใดนัก
แต่ก็อย่างที่บอกไป จังหวะที่เจอ โค้งต่อเนื่อง เยอะๆ รู้สึกว่าจะหนักมือไปเสียนิด
น้ำหนักพวงมาลัย คล้าย CX-5 แต่รุ่นนี้มีน้ำหนักมากกว่า ระยะฟรีมีเยอะกว่า เข้าโค้งด้วยความเร็วมีอาการโยนบ้างเล็กน้อย
ซึ่งถ้าเทียบว่ามันคือ SUV ขนาดใหญ่ ก็นับว่าเก็บอาการได้ดีระดับนึงเลยทีเดียว ช่วงล่างนุ่มกว่า CX-5 เล็กน้อย การเก็บเสียงรอบคันต้องยอมรับว่าทำได้ดียอดเยี่ยมจริง ๆ
ระบบช่วงล่าง อิสระ 4 ล้อ
แม้ว่าจะใช้ล้อขนาด 19” สวมยางไซส์ 225/55R19 แต่ภาพรวมถือว่าค่อนข้างนุ่มนั่งได้สบายกว่า CX-5 เลยล่ะ
มีการดูดซับแรงสะเทือนได้ดีทีเดียว คือ ไม่เด้ง ไม่อึดอัด แบบช่วงล่าง PPV ที่ ใช้พื้นฐาน Pick Up
ขณะที่การยึดเกาะนั้นก็ถือว่าทำได้ดีพอสมควร การเข้าโค้ง ในช่วงเขากับการนั่ง 4 คน พร้อมสัมภาระ ถือว่าทำได้ดีกว่าที่คิด
ซึ่งถ้าขับแบบคนใช้งานทั่วไปบอกเลยว่าเหลือๆ แต่ถ้าเข้าด้วยความเร็วสูงขึ้นมาละก็ ย่อมมีอาการโยนตัวออกมาให้เห็นบ้าง แต่สำหรับผมเอง ถือว่าไม่ติดขัดอะไร เพราะ มันออกมาดีเกินกว่าที่คาด เนื่องจากช่วงล่างที่ดูเป็นมิตร กับผู้นั่งโดยสารด้วยแล้ว
สรุป Mazda CX-8 2.5 SP รถอเนกประสงค์ เบาะ 3 แถว คันล่าสุด ในประเทศไทย
ที่นั่งเดินทางได้จริงทุกที่นั่ง ช่วงล่างนุ่มนวลกว่า CX-5 ให้การซับแรงดีพอตัว จึงช่วยให้นั่งเดินทางไกลโดยสารกันแบบครอบครัวทำได้ค่อนข้างสบาย
แถมยังขับได้สนุก ทั้งที่มาจากพละกำลังเครื่อง และ สมรรถนะช่วงล่าง + การควบคุมที่ดี
จนบางครั้งอาจจะลืมไปว่ากำลังขับรถโดยสารกันแบบครอบครัวอยู่ ซึ่งทางทีม R&D ก็ได้บอกกับเราเองว่าจุดเด่นของ CX-8 จะมีหลักๆ 3 เรื่อง คือ
1. เสถียรภาพการขับในเส้นทางตรง (ซึ่งทางโค้งผมว่า มันก็ทำได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่พวงมาลัยหนักไปหน่อยถ้าต้องเลี้ยวต่อเนื่อง นานๆ)
2. Ride comfort โดยรวมถ้าเทียบกับ PPV แน่นอน CX-8 ก็กินขาด หรือ SUV ในหลายรุ่นก็ให้ความสบายที่ดีกว่าเข่นกัน
3. NVH (Noise Vibration Harshness) เรื่องเสียงรบกวน การสั่นสะเทือน และสั่นสะท้าน ลดลง ดีขึ้นกว่า CX-5
แต่อย่างไรก็ดี ยังพอมีข้อสังเกตบ้าง คือ ออปชั่นบางอย่างที่น่าจะควรมีให้ อย่าง แอร์ตอน 3 ที่ยังไม่มี
หรือ ม่านบังแดด ที่มีให้เฉพาะในรุ่นท๊อปดีเซล ที่อย่างน้อยก็น่าจะให้มาในรุ่นท๊อปเบนซินนี้ด้วย
สำหรับราคา CX-8 นั้น มีด้วยกัน 4 รุ่น โดยแบ่งเป็นเครื่องยนต์ เบนซิน 2 และ ดีเซล 2 รุ่น คือ
Mazda CX-8 SKYACTIV-G 2.5 S ราคา 1,599,000 บาท
Mazda CX-8 SKYACTIV-G 2.5 SP ราคา 1,699,000 บาท
Mazda CX-8 เครื่องยนต์ดีเซล SKYACTIV-D XDL ราคา 1,899,000 บาท
Mazda CX-8 เครื่องยนต์ดีเซล SKYACTIV-D XDL Exclusive 4WD (6 ที่นั่ง) ราคา 2,069,000 บาท
โดยมีสีให้เลือก 6 สี ได้แก่ สีแดง โซล เรด คริสตัล (Soul Red Crystal), สีเทา แมชชีน เกรย์ (Machine Gray), สีขาว สโนว์เฟลก ไวท์ เพิร์ล (Snowflake White Pearl), สีดำ เจ็ท แบล็ก (Jet Black), สีน้ำเงิน ดีพ คริสตัล บลู (Deep Crystal Blue) และ สีเงิน โซนิค ซิลเวอร์ (Sonic Silver)
[SR] รีวิว Mazda CX-8 2.5 SP เครื่องเบนซิน SUV 3 แถวที่นั่งได้จริง ขับสนุก ตามแบบฉบับ Fun to Drive
หลังจากเปิดตัวกันแค่ สัปดาห์เดียว ก็รีบจัดทริปทดสอบให้บรรดาสื่อมวลชนกันเลย
ซึ่งในครั้งนี้เราได้บินมาไกลกันถึงเชียงใหม่ และทดสอบโดยวิ่งไปยังเชียงราย ผ่านถนนทุกรูปแบบ ทั้งในเมือง/นอกเมืองที่ต้องใช้ความเร็ว การขับในทางคดเคี้ยว ต่างๆ
รวมถึงได้เป็นผู้นั่งโดยสารด้วย เพราะเนื่องจากเป็นรถครอบครัว ทาง Mazda จึงให้เรานั่งคันละ 4 คน ด้วยกัน
ก่อนอื่น จะขอเกริ่นกันสักนิดถึง CX-8 ที่ Mazda ได้มองเห็นโอกาส จึงนำเจ้า SUV 3 ที่นั่งคันนี้ มาทำตลาด
จากการทำผลสำรวจ พบว่า คนที่ซื้อรถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง มักจะซื้อรถ PPV เป็นสัดส่วนถึง 88%
แต่มันมีข้อด้อย คือ คันใหญ่ ไม่คล่องตัว ต่อการขับในเมือง, สูง ทำให้ก้าวขึ้น-ลง ลำบาก, ช่วงล่างแบบ Pick-Up ไม่นิ่มนวล
ทำให้ Mazda ได้มองเห็นช่องทางในการนำ CX-8 มาอุดข่องโหว่ เหล่านี้
ซึ่ง Mazda CX-8 ถือเป็นรถ SUV ไซส์ใหญ่สุดที่จำหน่ายในไทย ขณะนี้ โดยนำเข้าจากมาเลเซีย
เริ่มที่รูปลักษณ์ภายนอก
หน้าตาโดยรวม เป็นจิตวิญญาณ Kodo Design ซึ่งคล้ายกับ CX-5 เรียกว่าในช่วงท่อนหน้า แทบไม่แตกต่างกันเลยถ้าไม่สังเกต โดยลายของกระจังหน้า จะแตกต่างกันเล็กน้อย
นอกจากนั้น ในเรื่องมิติ ความกว้างนั้น เท่ากันกับ CX-5 ที่ 1,840 มม. เพื่อให้เป็น SUV ที่มีความคล่องตัว
แต่มีการดึงขยายฐานล้อตัวรถ เพื่อรองรับเบาะแถว 3 โดยยาวขึ้น 230 มม.
ประตูบานท้าย เปิดไฟฟ้า มีสปอยเลอร์ขนาดเล็กทางด้านบน
ส่วนไฟท้าย LED มีรูปทรงที่แตกต่างจาก CX-5
ล้ออัลลอย ลวดลายคล้ายแบรนด์หรู ขอบ 19” สีเงิน Metallic ดูโฉบเฉี่ยวพอตัว
ภายในห้องโดยสาร
CX-8 จะใช้วัสดุหนัง Nappa สีแดง Deep Red พร้อมด้วยการตกแต่ง Trim ลายไม้แบบ Real Wood
นอกจากนั้น รายละเอียดอื่นๆ ยังคงดูคล้ายคลึงกับ CX-5 ไม่ผิดเพี้ยน
ทั้งชุดคอนโซล จอ Mazda Connect รวมไปถึงชุดมาตรวัด ช่องแอร์ ก็ดูจะยกมาจากแพลตฟอร์มเดียวกัน ไม่มีผิดเพี้ยน
มาที่เบาะแถว 2 หลังจากที่ได้นั่งแล้ว พบว่า ความกว้างที่เท่ากันกับ CX-5 ระยะ Leg Room ทางทีม R&D ได้บอกว่าขนาดอาจจะเล็กกว่าเล็กน้อย เนื่องจากจะต้องมีการดีไซน์ให้ปรับพับ และเลื่อนสไลด์ได้ แต่ผมกลับรู้สึกว่าไม่ได้รู้สึก Leg Room แคบกว่า CX-5 จนรู้สึกอึดอัดแต่อย่างใด ยังนั่งได้แบบสบายๆ
โดยในคันนี้เป็น 7 ที่นั่ง จะไม่ใช่เบาะนั่งแบบ Captain Seat ซึ่งส่วนตัวผมชอบเบาะแบบปกติ นี้มากกว่า เพราะ ถ้าคนตัวใหญ่นั่งจะไม่ถูกรู้สึกบีบช่วงไหล่ จะนั่งได้แบบสบายๆ กว่า วัสดุเท้าแขน ถือว่าตำแหน่งระนาบค่อนข้างกำลังดี มีช่องจ่ายไฟ USB ให้ 2 ช่อง ด้วยไม่ต้องแย่งกันกับคนข้างๆ
ส่วนแอร์ตอนหลัง นั้น แอบรู้สึกว่าองศาในการเป่าลมแอร์ จะติดอยู่ในช่วงระดับเข่า จึงอาจจะไม่ค่อยรู้สึกเย็น ขึ้นลำตัว
ซึ่งถ้ามีการปรับตำแหน่งแอร์มาบริเวณเสา B หรือ ผนังเพดาน ได้แบบพวก PPV ก็จะทำให้ได้รับลมแอร์ได้ดีกว่านี้
ลองขยับไปนั่งแถว 3 ดู สักนิด พบว่า นั่งได้จริง ไม่เหมือนพวก PPV เมื่อ ขยับเบาะตอน 2 เลื่อนขึ้นหน้าหน่อย
ส่วนสูงผมอยู่ที่ 175 ซม. ก็ยังพอมี Leg Room เหลืออยู่บ้างแบบไม่บีบอึดอัดเกินไป นัก แต่ถ้านั่ง แถว 3 สองคน ก็อาจจะอึดอัดจากช่วงความกว้างเล็กน้อย
แต่ที่น่าเสียดาย เลย คือ มันไม่ช่องแอร์ ตอนหลังซึ่ง ก็จะค่อนข้างรู้สึกร้อนพอควร ยิ่งถ้าแสงส่องมาจากทางกระจกบานท้ายด้วยแล้ว
กับอีกจุด ก็คือ ลำโพง 6 ตำแหน่ง ที่ดูแล้วหากเทียบกับชุดเครื่องเสียง Bose ในรุ่นท๊อป แล้วล่ะก็ดูด้อยกว่าอย่างเห็นได้ขัด จนรู้สึกว่าเพลงที่เปิดฟังไม่ค่อยมีมิติ และออกก้องๆ กำลังขับต่ำไปหน่อยกับรถ 7 ที่นั่งเช่นนี้
ขุมพลังเครื่องยนต์ คันที่เราทดสอบ คือ 2.5 เบนซิน มีพละกำลัง 194 แรงม้า@6,000rpm แรงบิด 258Nm@4,000rpm
ส่งกำลังผ่านเกียร์ 6AT ลงสู่ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ หน้า เคลมอัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ย 13.2 กม./ลิตร
ภาพรวมแล้ว ต้องบอกว่า ที่จริงบล็อก 2.5 นี้ก็ถือว่าแรง พอตัวแล้วล่ะ ขับใช้งานได้แบบ สบายๆ กำลังเหลือๆ เลย
แต่ก่อนอื่นเราต้องบอกก่อนว่า เนื่องจากทาง มาสด้า ได้จัดให้พวกเรานั่งกันถึง 4 คน และ บรรทุก สัมภาระ อีกด้วย
นั่นจึงไม่ได้รู้สึกว่าอัตราเร่งดูปรู๊ดปร๊าด แต่อย่างใด แต่ในจังหวะที่ต้องเร่งแซง รถก็มีย่านกำลังที่ช่วยให้ตัวรถพุ่งทะยานแซงได้ ไม่หวาดเสียว
แต่อาจมีข้อสังเกตเล็กน้อย คือ ในช่วงที่เราต้องแซงบนเลนสวน ช่วงทางขึ้น-ลงเขา นั้น เราได้ขับตามรถในขบวนเรา ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ 2.2 ดีเซล พบว่า ตีนต้น นั้นจะยังสู้ไม่ได้ เนื่องจาก ทอร์ค ของ ดีเซลมากกว่าที่ 450Nm และมาตั้งแต่รอบต่ำที่ 2,000rpm นั่นจึงทำให้ได้เปรียบเราอย่างเห็นได้ชัด ส่วนกำลังย่านปลายน้อยกว่า เบนซินเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็เรียกว่าไม่หนีกันเท่าไร
อย่างไรก็ดีเห็นคันใหญ่โตแบบนี้ขับทำความเร็วสูงที่ระดับ 180 กม./ชม. ด้วยการนั่ง 4 คนพร้อมสัมภาระ ก็ถือว่าทำได้สบายๆ แบบไม่ต้องเค้น ถือว่าไร้ข้อกังขา กับขุมพลังบล็อกนี้
มีจุดที่แอบเสียดายนิดหน่อย คือ ในช่วงที่เราขับในเขา ที่ต้องเข้าโค้ง ทางชัน การ Shift Down ลดเกียร์ช่วยก็ทำให้เราขับได้อย่างมั่นใจขึ้น แต่ ตระกูล CX ทุกรุ่นไม่ให้ Paddle Shift มาอยู่แล้วนั่นจึงทำให้เราต้องดันตำแหน่งคันเกียร์ และกด Shift Down เอาเอง ถ้ามีการใส่แป้น Paddle Shift มาด้วย น่าจะสะดวกมากขึ้น เพราะ SUV คู่แข่ง หรือ PPV หลายรุ่นก็มีมาให้
ด้านการเก็บเสียงในห้องโดยสารนั้น ก็ถือว่าทำได้ดีพอสมควรกับรถ SUV คันโต แบรนด์ญี่ปุ่นแล้ว เพราะ เสียงลมที่รู้สึกดังจนน่ารำคาญนั้น จะมาในช่วงความเร็วที่ระดับ 160+ ขึ้นไป
ระบบบังคับเลี้ยว
เป็นพวงมาลัยผ่อนแรงไฟฟ้า รัศมีวงเลี้ยว 5.8 ม.
ทางมาสด้า ได้บอกว่าใช้ลูกยางที่แข็งขึ้นสำหรับเฟืองพวงมาลัย ช่วยให้การตอบสนองแม่นยำดี
โดยรวมในการใช้งาน ถือว่า ยังคงให้การควบคุมที่ดี และคล่องตัวพอประมาณ น้ำหนักพวงมาลัยหนักกว่า CX-5
แต่ภาพรวม ก็ยังทำหน้าที่ได้ดี ตามแบบฉบับของมาสด้า คือ ให้ฟีลลิ่งที่ออกเป็นธรรมชาติ และมีความหนักแน่นในการบังคับเลี้ยว จนรู้สึกว่าแม้ขับที่ความเร็วต่ำๆ ยังรู้สึกว่าหนักมือไปเลย (อาจจะไม่ถูกใจคุณผู้หญิง)
ในช่วงที่เป็นเขา และมีโค้งให้เล่นต่อเนื่อง ผมรู้สึกว่ามันขับได้สนุก บังคับเลี้ยวได้อย่างแม่นยำ ไม่แพ้กับรถยนต์นั่งอย่าง Mazda3 สักเท่าใดนัก
แต่ก็อย่างที่บอกไป จังหวะที่เจอ โค้งต่อเนื่อง เยอะๆ รู้สึกว่าจะหนักมือไปเสียนิด
น้ำหนักพวงมาลัย คล้าย CX-5 แต่รุ่นนี้มีน้ำหนักมากกว่า ระยะฟรีมีเยอะกว่า เข้าโค้งด้วยความเร็วมีอาการโยนบ้างเล็กน้อย
ซึ่งถ้าเทียบว่ามันคือ SUV ขนาดใหญ่ ก็นับว่าเก็บอาการได้ดีระดับนึงเลยทีเดียว ช่วงล่างนุ่มกว่า CX-5 เล็กน้อย การเก็บเสียงรอบคันต้องยอมรับว่าทำได้ดียอดเยี่ยมจริง ๆ
ระบบช่วงล่าง อิสระ 4 ล้อ
แม้ว่าจะใช้ล้อขนาด 19” สวมยางไซส์ 225/55R19 แต่ภาพรวมถือว่าค่อนข้างนุ่มนั่งได้สบายกว่า CX-5 เลยล่ะ
มีการดูดซับแรงสะเทือนได้ดีทีเดียว คือ ไม่เด้ง ไม่อึดอัด แบบช่วงล่าง PPV ที่ ใช้พื้นฐาน Pick Up
ขณะที่การยึดเกาะนั้นก็ถือว่าทำได้ดีพอสมควร การเข้าโค้ง ในช่วงเขากับการนั่ง 4 คน พร้อมสัมภาระ ถือว่าทำได้ดีกว่าที่คิด
ซึ่งถ้าขับแบบคนใช้งานทั่วไปบอกเลยว่าเหลือๆ แต่ถ้าเข้าด้วยความเร็วสูงขึ้นมาละก็ ย่อมมีอาการโยนตัวออกมาให้เห็นบ้าง แต่สำหรับผมเอง ถือว่าไม่ติดขัดอะไร เพราะ มันออกมาดีเกินกว่าที่คาด เนื่องจากช่วงล่างที่ดูเป็นมิตร กับผู้นั่งโดยสารด้วยแล้ว
สรุป Mazda CX-8 2.5 SP รถอเนกประสงค์ เบาะ 3 แถว คันล่าสุด ในประเทศไทย
ที่นั่งเดินทางได้จริงทุกที่นั่ง ช่วงล่างนุ่มนวลกว่า CX-5 ให้การซับแรงดีพอตัว จึงช่วยให้นั่งเดินทางไกลโดยสารกันแบบครอบครัวทำได้ค่อนข้างสบาย
แถมยังขับได้สนุก ทั้งที่มาจากพละกำลังเครื่อง และ สมรรถนะช่วงล่าง + การควบคุมที่ดี
จนบางครั้งอาจจะลืมไปว่ากำลังขับรถโดยสารกันแบบครอบครัวอยู่ ซึ่งทางทีม R&D ก็ได้บอกกับเราเองว่าจุดเด่นของ CX-8 จะมีหลักๆ 3 เรื่อง คือ
1. เสถียรภาพการขับในเส้นทางตรง (ซึ่งทางโค้งผมว่า มันก็ทำได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่พวงมาลัยหนักไปหน่อยถ้าต้องเลี้ยวต่อเนื่อง นานๆ)
2. Ride comfort โดยรวมถ้าเทียบกับ PPV แน่นอน CX-8 ก็กินขาด หรือ SUV ในหลายรุ่นก็ให้ความสบายที่ดีกว่าเข่นกัน
3. NVH (Noise Vibration Harshness) เรื่องเสียงรบกวน การสั่นสะเทือน และสั่นสะท้าน ลดลง ดีขึ้นกว่า CX-5
แต่อย่างไรก็ดี ยังพอมีข้อสังเกตบ้าง คือ ออปชั่นบางอย่างที่น่าจะควรมีให้ อย่าง แอร์ตอน 3 ที่ยังไม่มี
หรือ ม่านบังแดด ที่มีให้เฉพาะในรุ่นท๊อปดีเซล ที่อย่างน้อยก็น่าจะให้มาในรุ่นท๊อปเบนซินนี้ด้วย
สำหรับราคา CX-8 นั้น มีด้วยกัน 4 รุ่น โดยแบ่งเป็นเครื่องยนต์ เบนซิน 2 และ ดีเซล 2 รุ่น คือ
Mazda CX-8 SKYACTIV-G 2.5 S ราคา 1,599,000 บาท
Mazda CX-8 SKYACTIV-G 2.5 SP ราคา 1,699,000 บาท
Mazda CX-8 เครื่องยนต์ดีเซล SKYACTIV-D XDL ราคา 1,899,000 บาท
Mazda CX-8 เครื่องยนต์ดีเซล SKYACTIV-D XDL Exclusive 4WD (6 ที่นั่ง) ราคา 2,069,000 บาท
โดยมีสีให้เลือก 6 สี ได้แก่ สีแดง โซล เรด คริสตัล (Soul Red Crystal), สีเทา แมชชีน เกรย์ (Machine Gray), สีขาว สโนว์เฟลก ไวท์ เพิร์ล (Snowflake White Pearl), สีดำ เจ็ท แบล็ก (Jet Black), สีน้ำเงิน ดีพ คริสตัล บลู (Deep Crystal Blue) และ สีเงิน โซนิค ซิลเวอร์ (Sonic Silver)
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้
ข้อมูลเพิ่มเติม