ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.share2trade.com/index.php?mod=news&file=view&id=4445
เลิกบ่น! กันซักที เมื่อไหร่จะชำระค่าโดยสารรถเมล์-รถไฟฟ้า ได้ในบัตรเดียวกัน ไม่ต้องพกบัตรรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ บัตรรถโดยสารรถเมล์สาธารณะ
เพราะเมื่อวันที่ 19 พ.ย.2562 ที่ผ่านมา บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ผู้ประกอบการรถประจำทางที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ได้เริ่มให้บริการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิท (Rabbit Card) ที่ใช้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มต้นนำร่อง 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 104 ปากเกร็ด–หมอชิต 2 และสาย 150 ปากเกร็ด–บางกะปิ โดยมอบส่วนลดทันที 2 บาทต่อเที่ยว จากปกติ 15-20-25 บาท ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2562 ถึง 31 มี.ค. 2563
ถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับคนกรุง ที่พึ่งพารถโดยสารสาธารณะ รถเมล์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้ใช้ชีวีตได้อย่างง่ายขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 8 แสนคน/วัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2 ล้านคนภายใน 2 ปีข้างหน้า
รูปแบบการชำระเงินของ”สมาร์ทบัส”ที่จับมือกับ”บัตรแรบบิท” ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เหมือนอย่างที่ขสมก. เคยทดลองใช้ E-Ticket และได้บอกยกเลิกโครงการเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-Ticket) มูลค่ารวม 1,665 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังคงเป็นเรื่องเป็นราว ฟ้องร้องกันระหว่างขสมก. กับผู้ประกอบการเอกชนที่เข้ารับงาน
สำหรับรูปแบบการจ่ายเงินของ “สมาร์ทบัส” ใช้วิธีการแตะจ่ายบัตรแรบบิท ให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางขึ้น (ด้านหน้ารถ) ทุกครั้ง
โดยที่บัตรต้องมีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุด (25 บาท) เมื่อถึงป้ายรถเมล์ที่ต้องการให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางลง ระบบจะคำนวณค่าโดยสารตามระยะทางที่กำหนด คือ 4 กิโลเมตรแรก 15 บาท, 4-16 กิโลเมตร 20 บาท และ 16 กิโลเมตรขึ้นไป 25 บาท หากลืมแตะบัตร ระบบจะหักค่าโดยสารในอัตราสูงสุด
สำหรับบัตรแรบบิทที่ใช้งานได้ คือ บัตรแรบบิทมาตรฐาน, บัตรแรบบิทพิเศษ (ลายการ์ตูนลิขสิทธิ์), บัตรแรบบิทสำหรับองค์กร, บัตรแรบบิทร่วมแบรนด์ เช่น บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ แรบบิท, บัตรบีเฟิสต์สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท, บัตรบีเฟิสต์สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราช ส่วนบัตรแรบบิทที่ผูกกับบริการแรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LinePay) เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถใช้งานได้
ปัจจุบัน สมาร์ทบัสมีรถประจำทางปรับอากาศให้บริการ 8 เส้นทาง ได้แก่ สาย 104, สาย 150, สาย 51 ปากเกร็ด–มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฝั่งถนนพหลโยธิน), สาย 52 ปากเกร็ด–บางซื่อ, สาย 69 ท่าอิฐ–บึงกุ่ม, สาย 147 วงกลม การเคหะธนบุรี–บางแค, สาย 167 การเคหะธนบุรี–สวนลุมพินี และสาย 558 การเคหะธนบุรี–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยปล่อยรถความถี่สูงสุดทุก 5 นาที ให้บริการตั้งแต่เวลา 04.00-23.00 น.
อนึ่ง ปัจจุบันบัตรแรบบิท จำหน่ายที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารบีทีเอสทุกสถานีราคา 200 บาท ในบัตรมีมูลค่าเริ่มต้นพร้อมใช้งาน 100 บาท นอกจากใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (สาทร–ราชพฤกษ์) แล้ว มีรถประจำทางรองรับ ได้แก่ สาย Y70E ศาลายา หมอชิต, รถเมล์ RTC นนทบุรี ซิตี้ บัส, รถเมล์ RTC เชียงใหม่ ซิตี้ บัส, ภูเก็ตสมาร์ทบัส, เรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ – ท่ามหาราช และเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ
ทั้งนี้ บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2561 ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ที่ตั้ง 199/18 หมู่ที่ 12 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย นางศุภรานันท์ ตันวิรัช, นายอนพัทย์ ทวีวิไลศิริกุล, นายธเนษฐ โลจนะโกสินทร์ และนางสาวอินทิรา ช่วยสนิท วัตถุประสงค์ การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางอื่นๆ
สำหรับนางศุภรานันท์ ตันวิรัช เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะส่งมอบหน้าที่ให้กับนายพุน ฉง กิต เมื่อเดือนมีนาคม 2561, นายอนพัทย์ ทวีวิไลศิริกุล เคยทำงานที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ส่วนนายธเนษฐ โลจนะโกสินทร์ เป็นกรรมการบริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) น้องชายนายปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แพลน บี มีเดีย และเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมี่ยม แมนเนจเมนท์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง และ น.ส.อินทิรา ช่วยสนิท เป็นประธานกรรมการ บริษัท โซลา แพลนเน็ท จำกัด
นอกจากนี้ ยังพบว่า นางสาวอินทิรา ช่วยสนิท หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ “สมาร์ทบัส” ได้เข้าไปถือหุ้นใน บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ในสัดส่วน 13.8897%
โดย NEX มีแผนขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์โดยสาร เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำและกำไรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต
เชื่อมกันได้ซักที! รถเมล์-รถไฟฟ้า-เรือ “สมาร์ทบัส”จัดให้ด้วยบัตรแรบบิท นำร่องสาย 104 และ 150
เลิกบ่น! กันซักที เมื่อไหร่จะชำระค่าโดยสารรถเมล์-รถไฟฟ้า ได้ในบัตรเดียวกัน ไม่ต้องพกบัตรรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ บัตรรถโดยสารรถเมล์สาธารณะ
เพราะเมื่อวันที่ 19 พ.ย.2562 ที่ผ่านมา บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ผู้ประกอบการรถประจำทางที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ได้เริ่มให้บริการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิท (Rabbit Card) ที่ใช้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มต้นนำร่อง 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 104 ปากเกร็ด–หมอชิต 2 และสาย 150 ปากเกร็ด–บางกะปิ โดยมอบส่วนลดทันที 2 บาทต่อเที่ยว จากปกติ 15-20-25 บาท ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2562 ถึง 31 มี.ค. 2563
ถือเป็นการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับคนกรุง ที่พึ่งพารถโดยสารสาธารณะ รถเมล์ไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้ใช้ชีวีตได้อย่างง่ายขึ้นและสะดวกยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้โดยสารเฉลี่ย 8 แสนคน/วัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2 ล้านคนภายใน 2 ปีข้างหน้า
รูปแบบการชำระเงินของ”สมาร์ทบัส”ที่จับมือกับ”บัตรแรบบิท” ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เหมือนอย่างที่ขสมก. เคยทดลองใช้ E-Ticket และได้บอกยกเลิกโครงการเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-Ticket) มูลค่ารวม 1,665 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังคงเป็นเรื่องเป็นราว ฟ้องร้องกันระหว่างขสมก. กับผู้ประกอบการเอกชนที่เข้ารับงาน
สำหรับรูปแบบการจ่ายเงินของ “สมาร์ทบัส” ใช้วิธีการแตะจ่ายบัตรแรบบิท ให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางขึ้น (ด้านหน้ารถ) ทุกครั้ง
โดยที่บัตรต้องมีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุด (25 บาท) เมื่อถึงป้ายรถเมล์ที่ต้องการให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางลง ระบบจะคำนวณค่าโดยสารตามระยะทางที่กำหนด คือ 4 กิโลเมตรแรก 15 บาท, 4-16 กิโลเมตร 20 บาท และ 16 กิโลเมตรขึ้นไป 25 บาท หากลืมแตะบัตร ระบบจะหักค่าโดยสารในอัตราสูงสุด
สำหรับบัตรแรบบิทที่ใช้งานได้ คือ บัตรแรบบิทมาตรฐาน, บัตรแรบบิทพิเศษ (ลายการ์ตูนลิขสิทธิ์), บัตรแรบบิทสำหรับองค์กร, บัตรแรบบิทร่วมแบรนด์ เช่น บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ แรบบิท, บัตรบีเฟิสต์สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท, บัตรบีเฟิสต์สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราช ส่วนบัตรแรบบิทที่ผูกกับบริการแรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LinePay) เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถใช้งานได้
ปัจจุบัน สมาร์ทบัสมีรถประจำทางปรับอากาศให้บริการ 8 เส้นทาง ได้แก่ สาย 104, สาย 150, สาย 51 ปากเกร็ด–มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฝั่งถนนพหลโยธิน), สาย 52 ปากเกร็ด–บางซื่อ, สาย 69 ท่าอิฐ–บึงกุ่ม, สาย 147 วงกลม การเคหะธนบุรี–บางแค, สาย 167 การเคหะธนบุรี–สวนลุมพินี และสาย 558 การเคหะธนบุรี–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยปล่อยรถความถี่สูงสุดทุก 5 นาที ให้บริการตั้งแต่เวลา 04.00-23.00 น.
อนึ่ง ปัจจุบันบัตรแรบบิท จำหน่ายที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารบีทีเอสทุกสถานีราคา 200 บาท ในบัตรมีมูลค่าเริ่มต้นพร้อมใช้งาน 100 บาท นอกจากใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (สาทร–ราชพฤกษ์) แล้ว มีรถประจำทางรองรับ ได้แก่ สาย Y70E ศาลายา หมอชิต, รถเมล์ RTC นนทบุรี ซิตี้ บัส, รถเมล์ RTC เชียงใหม่ ซิตี้ บัส, ภูเก็ตสมาร์ทบัส, เรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ – ท่ามหาราช และเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ
ทั้งนี้ บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2561 ทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ที่ตั้ง 199/18 หมู่ที่ 12 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย นางศุภรานันท์ ตันวิรัช, นายอนพัทย์ ทวีวิไลศิริกุล, นายธเนษฐ โลจนะโกสินทร์ และนางสาวอินทิรา ช่วยสนิท วัตถุประสงค์ การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางอื่นๆ
สำหรับนางศุภรานันท์ ตันวิรัช เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์แอด จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะส่งมอบหน้าที่ให้กับนายพุน ฉง กิต เมื่อเดือนมีนาคม 2561, นายอนพัทย์ ทวีวิไลศิริกุล เคยทำงานที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ส่วนนายธเนษฐ โลจนะโกสินทร์ เป็นกรรมการบริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) น้องชายนายปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แพลน บี มีเดีย และเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมี่ยม แมนเนจเมนท์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง และ น.ส.อินทิรา ช่วยสนิท เป็นประธานกรรมการ บริษัท โซลา แพลนเน็ท จำกัด
นอกจากนี้ ยังพบว่า นางสาวอินทิรา ช่วยสนิท หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ “สมาร์ทบัส” ได้เข้าไปถือหุ้นใน บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) (NEX) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ในสัดส่วน 13.8897%
โดย NEX มีแผนขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์โดยสาร เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำและกำไรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต