คดีการเมือง กับหลักการพิสูจน์ให้ "สิ้นสงสัย"

อันว่าคดีความต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกนี้เกิดขึ้นมานับตั้งแต่มนุษย์ได้สร้างสังคมขึ้น

ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์ก็เริ่มมีข้อพิพาทและมีการฟ้องร้องตัดสินคดีความ โดยปรัชญาการตัดสินคดีความมีการพัฒนาไปเรื่อยไปตามการพัฒนาของสังคมโลกและปรัชญาการอำนวยความยุติธรรมให้แก่สังคม

เมื่อมีข้อพิพาทบางครั้งพยานหลักฐานก็ชัดเจนจนสิ้นสงสัยศาลท่านก็สามารถตัดสินได้ตามความจริงที่ปรากฏจนสิ้นสงสัยนั้น

แต่ในคดีความหลายคดีเป็นการยากที่จะหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์จนสิ้นสงสัยต่อการกระทำผิดของจำเลย ดังนั้นกฎหมายจึงให้อำนาจศาลในการใช้วิจารณญาณชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานต่างๆแล้วดูว่าน้ำหนักฝ่ายไหนมีน้ำหนักมากกว่ากันคำตัดสินของศาลเกิดจากการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยนั้น

หลักแห่งการพิจารณาคดีมีหลายแบบ 

ยกตัวอย่างในคดีอาญา

กฎหมายใช้หลักการว่าหากมีข้อสงสัยก็จะยกปรโยชน์ให้จำเลยกล่าวคือการลงโทษจำเลยในคดีอาญาจะกระทำได้เมื่อสามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้จนสิ้นสงสัยเท่านั้น ถึงแม้นว่าจำเลยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีความผิดแต่โจทย์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดจนสิ้นสงสัยเช่นกัน หากมีข้อสงสัยข้อเคลือบแคลงค้างคาอยู่ ศาลท่านก็จะยกประโยชน์ให้จำเลย

ยกตัวอย่างในคดียึดทรัพย์ของผู้ค้ายาเสพติดหรือร่ำรวยผิดปกติ

อันนี้กฎหมายใช้หลักการว่าหากมีข้อสงสัยก็จะยกประโยชน์ให้โจทก์ กล่าวคือหากมีข้อสงสัยว่าจำเลยได้เงินมาจากการค้ายาเสพติดหรือร่ำรวยผิดปกติ ถึงแม้โจทก์จะยังไม่สามารถพิสูจน์ที่มาของเงินที่จนสิ้นสงสัยได้แต่ถ้าหากจำเลยก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าฉันนั้นได้มาโดยสุจริตเช่นกัน ศาลท่านก็จะสั่งยึดทรัพย์จำเลยได้ (ท่านจะเว้นก็ต่อเมื่อจำเลยสามารถพิสูจน์ที่มาของทรัพย์นั้นได้)

ในทางการเมืองในปัจจุบันมีคดีความต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการยากที่จะมีพยานหลักฐานจนสามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้จนสิ้นสงสัยในบางคดี ดังนั้นสังคมก็อาจจะเกิดความสับสนมากมายว่าคดีความทางการเมืองต่างๆนั้น ศาลท่านจะใช้หลักใดในการลงโทษจำเลย ในกรณีที่ยังอาจจะไม่สิ้นสงสัย ก็ยัง จำเป็นต้องตัดสินตามพยานหลักฐานที่มีอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องในกระบวนการอำนวยความยุติธรรมให้แก่สังคม เพราะสังคมไม่สามารถทิ้งค้างคดีความเหล่านั้นโดยไม่ตัดสิน ..ดังนั้นศาลท่านจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายว่าน้ำหนักพยานหลักฐานใดมีน้ำหนักมากกว่าและศาลท่านก็จะต้องพิจารณาว่าหากมีการสงสัยอยู่จะใช้หลักใดในการยกประโยชน์การไม่สิ้นสงสัยนั้นให้แก่ฝ่ายจำเลยหรือฝ่ายโจทก์  หรือถ้าหากในกรณีที่พยานหลักฐานชัดเจนจนสิ้นสงสัยอันนั้นก็จะไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น

กระทู้นี้จะไม่ขอวิจารณ์คดีในทางการเมืองในปัจุจบัน

แต่จะลองสะกิดให้ท่านลองค้นคว้าในหลักการลงโทษ เมื่อสิ้นสงสัยในการพิสูจน์ความผิดนั้น มาให้ท่านผู้อ่าน ที่สนใจ  เป็นความรู้ในพื้นฐานจะลองค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวท่านเอง ในการพิจารณาเหตุการณ์ทางการเมือง ในอดีตและในอนาคต

ประเด็นหลักการว่าสิ้นสงสัยอย่างไรชั่งน้ำหนักอย่างไรมี google ให้ค้นคว้ามากมายก็อยากจะให้ท่านผู้อ่านลองค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวท่านเอง

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  กฎหมายการเมือง รัฐศาสตร์ กฎหมายอาญา (Criminal Law)
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่