กาหลง : ต้นไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย
กาหลงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia acuminata Linn. อยู่ในวงศ์ Leguminosae (หรือบางแห่งว่า วงศ์ CaeSalpiniaceae) ซึ่งเป็นจำพวกถั่ว เช่นเดียวกับคูน จามจุรี ทองกวาว เป็นต้น เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่เกือบกลม โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าเข้าตามเส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ
ทำให้มองดูคล้ายเป็นใบแฝด ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้าง 9-13 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอด ของลำต้นและกิ่ง หรือบริเวณโคนใบ ตามข้อต้น มีช่อละ 5-8 ดอก
ทยอยกันบานครั้งละ 2-3 ดอก ดอกมีกลีบ สีขาว 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกันเกสรตัวผู้มีสีขาว 5 อัน
เกสรตัวเมียสีเขียวอ่อนอยู่กลางดอก ขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรตัวผู้ ขนาดดอกกว้างราว 5 เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อนๆ
ฝัก แบน 1.5-2 เซนติเมตรยาวราว 10 เซนติเมตร เมล็ดอยู่เรียงกันตามยาวเป็นช่องๆมีฝักละประมาณ
10 เมล็ด
กาหลงเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิด ในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศตั้งแต่อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น นับว่ามีถิ่นกำเนิดกว้างขวางกว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ที่เคยนำเสนอมาแล้ว ในประเทศไทยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณของทุกภาคของประเทศ
คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับกาหลงมานานหลายร้อยปีแล้ว ดังปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอน ต้นราว 600 ปีมาแล้ว นอกจากนั้นยังปรากฏชื่ออยู่ในวรรณคดีไทยเรื่อง ต่างๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ในนิราศของสุนทรภู่ เป็นต้น
ประโยชน์ของกาหลง
ในด้านสมุนไพรรักษาโรค คนไทยใช้ส่วนต่างๆ ของกาหลงดังนี้
ใบ : รักษาแผลในจมูก
ต้น : แก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ
ราก : แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด
ดอก : แก้ปวดศีรษะ ลดความ ดันเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะ แก้อาเจียนเป็นเลือด
ในด้านไม้ดอกไม้ประดับ กาหลงมีรูปร่างใบและทรงพุ่มงดงาม จัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ออกดอกได้ยาวนาน และปลูกดูแลรักษาได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกในบริเวณอาคารบ้านเรือน และที่สาธารณะปกติกาหลงผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) เริ่มแตกใบอ่อนในฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม)
และเริ่มออกดอกช่วงฤดูฝนกาหลงปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ไม่ต้องการปุ๋ยมาก เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถจับปุ๋ยจากอากาศได้เอง ชอบแดดจัดและขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งการตอนและเพาะเมล็ด หากปลูกจากเมล็ดใช้ เวลาราว 2-4 ปี ก็จะออกดอกติดฝักได้แล้ว
คนจีนในอดีตนิยมปลูกกาหลง ไว้ในบริเวณบ้านเชื่อว่าเป็นมงคลให้คุณแก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยท่านผู้อ่านที่มีบริเวณพอจะปลูกกาหลงได้ก็น่าจะหากาหลงมาปลูกเอาไว้บ้าง แม้ท่านจะไม่มีเชื้อสายคนจีน ก็คงได้รับสิ่งดีๆ จากกาหลงได้เช่นเดียวกัน
#ประวัติของกาหลงไว้ใช้แต่งค่ะ
#ขอบคุณค่ะ
ช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพดอกกาหลงให้หน่อยค่ะ
กาหลงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia acuminata Linn. อยู่ในวงศ์ Leguminosae (หรือบางแห่งว่า วงศ์ CaeSalpiniaceae) ซึ่งเป็นจำพวกถั่ว เช่นเดียวกับคูน จามจุรี ทองกวาว เป็นต้น เป็นไม้พุ่มผลัดใบขนาดเล็ก สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่เกือบกลม โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าเข้าตามเส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ
ทำให้มองดูคล้ายเป็นใบแฝด ขอบใบเรียบ ท้องใบมีขนละเอียดปกคลุม ขนาดกว้าง 9-13 เซนติเมตร ยาว 10-14 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอด ของลำต้นและกิ่ง หรือบริเวณโคนใบ ตามข้อต้น มีช่อละ 5-8 ดอก
ทยอยกันบานครั้งละ 2-3 ดอก ดอกมีกลีบ สีขาว 5 กลีบ เรียงซ้อนเหลื่อมกันเกสรตัวผู้มีสีขาว 5 อัน
เกสรตัวเมียสีเขียวอ่อนอยู่กลางดอก ขนาดใหญ่และยาวกว่าเกสรตัวผู้ ขนาดดอกกว้างราว 5 เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อนๆ
ฝัก แบน 1.5-2 เซนติเมตรยาวราว 10 เซนติเมตร เมล็ดอยู่เรียงกันตามยาวเป็นช่องๆมีฝักละประมาณ
10 เมล็ด
กาหลงเป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิด ในป่าเมืองร้อนของหลายประเทศตั้งแต่อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น นับว่ามีถิ่นกำเนิดกว้างขวางกว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ที่เคยนำเสนอมาแล้ว ในประเทศไทยพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณของทุกภาคของประเทศ
คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับกาหลงมานานหลายร้อยปีแล้ว ดังปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอน ต้นราว 600 ปีมาแล้ว นอกจากนั้นยังปรากฏชื่ออยู่ในวรรณคดีไทยเรื่อง ต่างๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ในนิราศของสุนทรภู่ เป็นต้น
ประโยชน์ของกาหลง
ในด้านสมุนไพรรักษาโรค คนไทยใช้ส่วนต่างๆ ของกาหลงดังนี้
ใบ : รักษาแผลในจมูก
ต้น : แก้โรคสตรี แก้ลักปิดลักเปิด แก้เสมหะ
ราก : แก้ไอ แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด
ดอก : แก้ปวดศีรษะ ลดความ ดันเลือด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะ แก้อาเจียนเป็นเลือด
ในด้านไม้ดอกไม้ประดับ กาหลงมีรูปร่างใบและทรงพุ่มงดงาม จัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ออกดอกได้ยาวนาน และปลูกดูแลรักษาได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกในบริเวณอาคารบ้านเรือน และที่สาธารณะปกติกาหลงผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) เริ่มแตกใบอ่อนในฤดูร้อน (เมษายน-พฤษภาคม)
และเริ่มออกดอกช่วงฤดูฝนกาหลงปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ไม่ต้องการปุ๋ยมาก เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถจับปุ๋ยจากอากาศได้เอง ชอบแดดจัดและขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งการตอนและเพาะเมล็ด หากปลูกจากเมล็ดใช้ เวลาราว 2-4 ปี ก็จะออกดอกติดฝักได้แล้ว
คนจีนในอดีตนิยมปลูกกาหลง ไว้ในบริเวณบ้านเชื่อว่าเป็นมงคลให้คุณแก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยท่านผู้อ่านที่มีบริเวณพอจะปลูกกาหลงได้ก็น่าจะหากาหลงมาปลูกเอาไว้บ้าง แม้ท่านจะไม่มีเชื้อสายคนจีน ก็คงได้รับสิ่งดีๆ จากกาหลงได้เช่นเดียวกัน
#ประวัติของกาหลงไว้ใช้แต่งค่ะ
#ขอบคุณค่ะ