ผลประกอบการของบริษัท บีอีซี เวิลด์ หรือ กลุ่มช่อง 3 ในไตรมาสที่ 3 ของปั 2562 ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมาพบว่า ยังเป็นอีกไตรมาสที่รายได้จากค่าโฆษณาของธุรกิจทีวีดิจิทัลยังคงถดถอยลงอย่างมาก และมีผลกระทบต่อผลประกอบการโดยรวม แต่มาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลในการให้เงินชดเชยในการคืนใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งกลุ่มช่อง 3 คืนไป 2 ช่อง มีรายได้ในส่วนนี้ถึง 344.3 ล้านบาทในไตรมาสนี้ ทำให้ผลประกอบการจากขาดทุนกลายเป็นกำไรทันที 93.6 ล้านบาท
รายได้โฆษณาทีวี 1,685 ลบ. ลด 23.3%
ข้อมูลที่บีอีซี รายงานนั้นระบุว่า ไตรมาส 3/ 2562 นี้ ทั้งกลุ่มมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,169.8 ล้านบาท ลดลง 436.3 ล้านบาท หรือ 16.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 2,606.1 ล้านบาท โดยที่รายได้หลักที่ลดลงอย่างมากได้แก่ รายได้จากค่าค่าโฆษณาทางทีวี ในไตรมาส 3/ 2562 มีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 1,685 ล้านบาท ลดลงถึง 511.4 ล้านบาท หรือลดลง 23.3% เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีรายได้โฆษณาทีวีอยู่ที่ 2,196.5 ล้านบาท ซึ่งรายได้จากโฆษณาคิดเป็น 77.7% ของรายได้รวม
ทั้งนี้ตัวเลขรายได้จากค่าโฆษณาของไตรมาสนี้ นับว่าเป็นการลดลงสูงสุดของปีนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี ซึ่งไตรมาส 1 ลดลง 18.7% และ ไตรมาส 2 ลดลง 23% โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ มีรายได้ค่าโฆษณาอยู่ที่ 1,718.5 ล้านบาท และไตรมาสที่ 2 ของปีมีรายได้โฆษณาอยู่ที่ 1,814.8 ล้านบาท รายได้จากค่าโฆษณาในทุกไตรมาสมีมูลค่าต่ำกว่า 2 พันล้านบาทไปแล้ว
จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ตลาดโฆษณาของธุรกิจทีวีกำลังถดถอยลงอย่างมากในทุกๆไตรมาส ที่มีเหตุผลมาทั้งภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ และการแข่งขันจากคอนเทนต์ออนไลน์ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากนีลเส็น มีการรายงานว่าในไตรมาส 3 ปีนี้ เม็ดเงินโฆษณาทีวี อยู่ที่ 17,090 ล้านบาทลดลง 1.7% จากไตรมาสท่ี 2/2562 และลดลง 1.5% จากไตรมาสที่ 3/2561 ชึ่งบีอีซี ระบุไว้ว่า รายได้ส่วนนี้ ยังไม่ได้หักผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของ รายการ Home Shopping ที่มีมูลค่าสูงเกินจริงในการรายงานการใช้เม็ดเงินโฆษณาในทีวี ทั้งนี้ ถ้าหักมูลค่า Home Shopping ออกจากเม็ดเงินโฆษณาในทีวี ก็จะเห็นว่าเม็ดเงินโฆษณาในทีวี ลดลงมากกว่าน้ี
รายได้ลิขสิทธิ์ ออนไลน์ เติบโตแค่ 3.8%
สำหรับรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ และธุรกิจออนไลน์ ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มช่อง 3 โดยทีมงานผู้บริหารใหม่ เน้นย้ำมาโดยตลอดว่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ที่คาดว่าจะมีการเติบโต แต่ในไตรมาสนี้ยังมีการเติบโตไม่สูงมากนัก โตแค่เพียง 3.8% เท่านั้น โดยมีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 216.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้ 208.7 ล้านบาท แต่ลดลง 12% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 /2562 ที่แจ้งรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 246.2 ล้านบาท โดยที่สัดส่วนของรายได้ลิขสิทธิ์และออนไลน์คิดเป็น 10% ของรายได้รวมของกลุ่ม
บีอีซี ชี้แจงว่า ในไตรมาสที่ 3/62 นี้ มีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ละครไทยไปยังเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกผ่านบริษัท JKN ที่เป็นผู้แทน และรายได้จากออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ละคร “ลิขิตรักข้ามดวงดาว My Love From Another Star” ไปยังไต้หวันเพียงบางส่วน และจะรับรู้รายได้ส่วนที่เหลือตามจำนวนตอนที่ออกอากาศในต่างประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ละคร “ทองเอก หมอยาท่าโฉลง” และ “บุพเพสันนิวาส” ให้กับ Netflixและยังมีอีกหลายดีลที่กำลังเจรจาซื้อขาย อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเน้นที่ตลาดเอเชียก่อน เนื่องจากมีวัฒนธรรม เนื้อหาละครใกล้เคียงกัน รวมไปถึงนักแสดงของบริษิทฯถือว่าถูกจริตเพื่อนบ้าน
ภาพรวมยังขาดทุนกว่า 250 ล้านบาท หากไม่มีเงินช่วยรัฐ
ในไตรมาสนี้ บีอีซีมีรายได้พิเศษที่เพิ่มมาจำนวน 344.3ล้านบาท จากการคืนช่อง 3Family และ ช่อง 3SD ที่กสทช.ได้สรุปว่าได้เงินชดเชยรวม 820.2 ล้านบาท แบ่งเป็นช่อง 3Family จำนวน 158.6 ล้านบาท และช่อง 3SD จำนวน 660.63 ล้านบาท แต่บีอีซีได้ลงบัญชีรายได้ในไตรมาสนี้จำนวน 344.5 ล้านบาท
ทั้งนี้มีรายงานว่า ภาพรวมของธุรกิจบีอีซี ในไตรมาสมาสนี้ มีรายได้โฆษณาลดลงอย่างมาก ทำให้ภาพรวมผลประกอบการขาดทุนกว่า 250 ล้านบาท แต่เมื่อมีเงินชดเชยเข้ามา ทำให้สามารถพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ โดยแสดงยอดกำไรของไตรมาส 3/ 62 อยู่ที่ 93.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.3 ล้านบาทหรือ 19.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไร 78.3 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามบีอีซีชี้แจงว่า จะเริ่มเห็นการขับเคลื่อนของกลุ่มบีอีซี ภายใต้กลยุทธ์ใหม่ที่จะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปีหน้า โดยในยุค Disruption ทุกอุตสาหกรรมไม่มีการแบ่งเป็น offline และ online อีกต่อไป แต่จะเป็นโลกของ Ommi Channel ที่ offline และ online อยู่ด้วยกัน ซึ่งบริษัทจะปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มนี้ ซึ่งจะใช้ช่อง 3HD Ch3 Thailand Mello และเป็นพันธมิตรกับ Digital Platforms หลักๆ อาทิ Youtube และ LINE TV เพื่อทำรายได้ให้มากที่สุด
https://www.tvdigitalwatch.com/ch3-performance-report-trimas3-62/
Q3/ 62 กลุ่มช่อง 3 รายได้โฆษณาหด 23 % โชคดีได้เงินคืนช่องจากรัฐ ทำกำไร 93.6 ล้านบาท
ผลประกอบการของบริษัท บีอีซี เวิลด์ หรือ กลุ่มช่อง 3 ในไตรมาสที่ 3 ของปั 2562 ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมาพบว่า ยังเป็นอีกไตรมาสที่รายได้จากค่าโฆษณาของธุรกิจทีวีดิจิทัลยังคงถดถอยลงอย่างมาก และมีผลกระทบต่อผลประกอบการโดยรวม แต่มาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลในการให้เงินชดเชยในการคืนใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งกลุ่มช่อง 3 คืนไป 2 ช่อง มีรายได้ในส่วนนี้ถึง 344.3 ล้านบาทในไตรมาสนี้ ทำให้ผลประกอบการจากขาดทุนกลายเป็นกำไรทันที 93.6 ล้านบาท
รายได้โฆษณาทีวี 1,685 ลบ. ลด 23.3%
ข้อมูลที่บีอีซี รายงานนั้นระบุว่า ไตรมาส 3/ 2562 นี้ ทั้งกลุ่มมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,169.8 ล้านบาท ลดลง 436.3 ล้านบาท หรือ 16.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 2,606.1 ล้านบาท โดยที่รายได้หลักที่ลดลงอย่างมากได้แก่ รายได้จากค่าค่าโฆษณาทางทีวี ในไตรมาส 3/ 2562 มีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 1,685 ล้านบาท ลดลงถึง 511.4 ล้านบาท หรือลดลง 23.3% เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีรายได้โฆษณาทีวีอยู่ที่ 2,196.5 ล้านบาท ซึ่งรายได้จากโฆษณาคิดเป็น 77.7% ของรายได้รวม
ทั้งนี้ตัวเลขรายได้จากค่าโฆษณาของไตรมาสนี้ นับว่าเป็นการลดลงสูงสุดของปีนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี ซึ่งไตรมาส 1 ลดลง 18.7% และ ไตรมาส 2 ลดลง 23% โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ มีรายได้ค่าโฆษณาอยู่ที่ 1,718.5 ล้านบาท และไตรมาสที่ 2 ของปีมีรายได้โฆษณาอยู่ที่ 1,814.8 ล้านบาท รายได้จากค่าโฆษณาในทุกไตรมาสมีมูลค่าต่ำกว่า 2 พันล้านบาทไปแล้ว
จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ตลาดโฆษณาของธุรกิจทีวีกำลังถดถอยลงอย่างมากในทุกๆไตรมาส ที่มีเหตุผลมาทั้งภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ และการแข่งขันจากคอนเทนต์ออนไลน์ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากนีลเส็น มีการรายงานว่าในไตรมาส 3 ปีนี้ เม็ดเงินโฆษณาทีวี อยู่ที่ 17,090 ล้านบาทลดลง 1.7% จากไตรมาสท่ี 2/2562 และลดลง 1.5% จากไตรมาสที่ 3/2561 ชึ่งบีอีซี ระบุไว้ว่า รายได้ส่วนนี้ ยังไม่ได้หักผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของ รายการ Home Shopping ที่มีมูลค่าสูงเกินจริงในการรายงานการใช้เม็ดเงินโฆษณาในทีวี ทั้งนี้ ถ้าหักมูลค่า Home Shopping ออกจากเม็ดเงินโฆษณาในทีวี ก็จะเห็นว่าเม็ดเงินโฆษณาในทีวี ลดลงมากกว่าน้ี
รายได้ลิขสิทธิ์ ออนไลน์ เติบโตแค่ 3.8%
สำหรับรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ และธุรกิจออนไลน์ ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มช่อง 3 โดยทีมงานผู้บริหารใหม่ เน้นย้ำมาโดยตลอดว่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ ที่คาดว่าจะมีการเติบโต แต่ในไตรมาสนี้ยังมีการเติบโตไม่สูงมากนัก โตแค่เพียง 3.8% เท่านั้น โดยมีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 216.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้ 208.7 ล้านบาท แต่ลดลง 12% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 /2562 ที่แจ้งรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 246.2 ล้านบาท โดยที่สัดส่วนของรายได้ลิขสิทธิ์และออนไลน์คิดเป็น 10% ของรายได้รวมของกลุ่ม
บีอีซี ชี้แจงว่า ในไตรมาสที่ 3/62 นี้ มีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ละครไทยไปยังเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกผ่านบริษัท JKN ที่เป็นผู้แทน และรายได้จากออกอากาศคู่ขนาน (Simulcast) ละคร “ลิขิตรักข้ามดวงดาว My Love From Another Star” ไปยังไต้หวันเพียงบางส่วน และจะรับรู้รายได้ส่วนที่เหลือตามจำนวนตอนที่ออกอากาศในต่างประเทศในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ละคร “ทองเอก หมอยาท่าโฉลง” และ “บุพเพสันนิวาส” ให้กับ Netflixและยังมีอีกหลายดีลที่กำลังเจรจาซื้อขาย อย่างไรก็ตาม บริษัทจะเน้นที่ตลาดเอเชียก่อน เนื่องจากมีวัฒนธรรม เนื้อหาละครใกล้เคียงกัน รวมไปถึงนักแสดงของบริษิทฯถือว่าถูกจริตเพื่อนบ้าน
ภาพรวมยังขาดทุนกว่า 250 ล้านบาท หากไม่มีเงินช่วยรัฐ
ในไตรมาสนี้ บีอีซีมีรายได้พิเศษที่เพิ่มมาจำนวน 344.3ล้านบาท จากการคืนช่อง 3Family และ ช่อง 3SD ที่กสทช.ได้สรุปว่าได้เงินชดเชยรวม 820.2 ล้านบาท แบ่งเป็นช่อง 3Family จำนวน 158.6 ล้านบาท และช่อง 3SD จำนวน 660.63 ล้านบาท แต่บีอีซีได้ลงบัญชีรายได้ในไตรมาสนี้จำนวน 344.5 ล้านบาท
ทั้งนี้มีรายงานว่า ภาพรวมของธุรกิจบีอีซี ในไตรมาสมาสนี้ มีรายได้โฆษณาลดลงอย่างมาก ทำให้ภาพรวมผลประกอบการขาดทุนกว่า 250 ล้านบาท แต่เมื่อมีเงินชดเชยเข้ามา ทำให้สามารถพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ โดยแสดงยอดกำไรของไตรมาส 3/ 62 อยู่ที่ 93.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.3 ล้านบาทหรือ 19.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไร 78.3 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามบีอีซีชี้แจงว่า จะเริ่มเห็นการขับเคลื่อนของกลุ่มบีอีซี ภายใต้กลยุทธ์ใหม่ที่จะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปีหน้า โดยในยุค Disruption ทุกอุตสาหกรรมไม่มีการแบ่งเป็น offline และ online อีกต่อไป แต่จะเป็นโลกของ Ommi Channel ที่ offline และ online อยู่ด้วยกัน ซึ่งบริษัทจะปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มนี้ ซึ่งจะใช้ช่อง 3HD Ch3 Thailand Mello และเป็นพันธมิตรกับ Digital Platforms หลักๆ อาทิ Youtube และ LINE TV เพื่อทำรายได้ให้มากที่สุด
https://www.tvdigitalwatch.com/ch3-performance-report-trimas3-62/