ฝันร้ายจากอวกาศ

เกือบไม่รอด 


เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.2013 เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับนักบินอวกาศชาวอิตาเลียน ที่เกือบทำให้เขาต้องเสียชีวิตระหว่างเดินทางสำรวจอวกาศ เมื่อกระเป๋าเก็บน้ำที่ติดอยู่กับชุดอวกาศเกิดรั่วไหล จนทำให้น้ำไหลทะลักท่วมในหมวกของเขาถึง 1.5 ลิตร ปาร์มิตาโน เล่าว่าเขาเกือบต้องเลือกระหว่างยอมสำลักน้ำตายหรือจะตายเพราะขาดอากาศหายใจในห้วงสุญญากาศ
จากภารกิจท่องอวกาศมีกำหนด 6 ชม. ของ 2 นักบินอวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติ (ไอเอสเอส) ต้องยุติลงหลังดำเนินไปได้ไม่ถึง 1 ชม.ครึ่ง เนื่องจากมีน้ำซึมรั่วเข้าไปในหมวกครอบของนายลูกา ปาร์มิตาโน นักบินอวกาศชาวอิตาลี ทำให้เขาไม่สามารถมองเห็น ได้ยิน หรือพูดชั่วขณะ
และอาจมีอันตรายถึงชีวิต ถ้านายคริสโตเฟอร์ แคสซิดี้ นักบินอวกาศชาวอเมริกันคู่หู ไม่ช่วยนำตัวกลับเข้าไปในไอเอสเอส ขณะที่วิศวกรยังงุนงงว่าน้ำมาจากไหน แต่เป็นไปได้ว่าระบบทำความเย็นในชุดอวกาศขัดข้อง
Cr.tarsmanman.blogspot.com

 "ขยะอวกาศ" 


ไม่ใช่แค่บนโลกที่ได้รับมลพิษขยะ แม้แต่ในอวกาศดาวโลกยังโดนรายล้อมไปด้วยขยะ ดาวโลกถูกโอบล้อมไปด้วย "ขยะอวกาศ" หลายล้านชิ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นฝีมือมนุษย์ นับตั้งแต่ขีปนาวุธ ดาวเทียม และเศษซากอื่นๆ

หลังจากภารกิจนับไม่ถ้วนนอกชั้นบรรยากาศของโลก ก็ได้เหลือเศษซากขยะไว้มากมาย และเศษซากเหล่านี้เคลื่อนไหวด้วยความเร็วมากกว่า 17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งมันเป็นฝันร้ายสำหรับโลก นักบินอวกาศและดาวเทียม บางชิ้นจะหลุดเข้าไปในชั้นบรรยากาศของโลกเผาไหม้และกลายเป็นดาวตก  บางชิ้นอาจจะไปชนกับดาวเทียม หรือนักบินอวกาศขณะปฏิบัติภารกิจ

เพื่อให้มองเห็นภาพปัญหาขยะอวกาศอย่างชัดเจน Stuart Grey ศาตราจารย์มหาวิทยาลัยลอนดอนได้จัดทำคลิปวิดีโอความยาว 1 นาทีมาแสดงให้ดู ในปี 1957 จะเห็นว่ารอบๆโลกมีจุดขาวๆอยู่เพียง 2 จุด และเมื่อเทคโนโลยีได้รับการพัฒนา จุดขาวๆก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ขยะอวกาศได้โอบล้อมโลกเอาไว้แล้ว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Cr.liekr.com/

“แบคทีเรียชนิดใหม่”


ในอวกาศ ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายชีวิตมนุษย์ได้ ดังนั้นสำหรับที่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) สิ่งที่อันตรายต่อชีวิตนักบินอวกาศที่สุดอาจไม่ต้องเป็นอะไรน่ากลัวๆ อย่างเอเลียน  แต่สิ่งที่สร้างความลำบากใจให้กับนักวิทยาศาสตร์ของนาซามากที่สุดคือ “แบคทีเรียอวกาศ” ตัวเล็กๆ ที่อยู่บนยาน
จากการวิจัยล่าสุดของทาง NASA นี่เป็นแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบคทีเรีย “เอนเทอโรแบคเตอร์” ที่พบได้บ่อยๆ ในโรงพยาบาลของโลก  ซึ่งเป็นหนึ่งในแบคทีเรีย 5 ชนิดที่เคยมีการค้นพบในห้องน้ำของสถานี ISS และมีการตรวจสอบกันมาตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคมปี 2015

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำให้แบคทีเรียตัวนี้อันตรายกว่าตัวอื่นๆ อยู่ที่ความเป็นไปได้ถึง 79 เปอร์เซนต์ที่มันจะก่อให้เกิดโรคในหมู่นักบิน และอาจจะอันตรายยิ่งขึ้นไปอีกหากมันดื้อยา  จริงอยู่ว่าในปัจจุบันแบคทีเรียตัวนี้จะยังไม่แข็งแรงพอที่จะทำให้มนุษย์ป่วยได้จริงๆ ก็ตาม แต่หากไม่ระวังให้ดี แบคทีเรียตัวนี้ก็อาจจะกลายเป็นฝันร้ายของนักบินอวกาศเลยก็เป็นได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ NASA ได้พยายามอย่างหนักในการตรวจสอบแบคทีเรียดังกล่าว และจะมีการสังเกตุการณ์และควบคุมความคืบหน้าของแบคทีเรียชนิดนี้อย่างใกล้ชิดกันต่อไป 
Cr.ที่มา mirror, unilad
 

ผลกระทบจากสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงในอวกาศ


ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง 0-G ร่างกายคุณจะเปลี่ยนแปลงไปคือ

"ตา" 
การมองเห็นจะด้อยลง เพราะของเหลวในลูกนัยน์ตาไม่มีแรงโน้มถ่วงเหนี่ยวรั้ง ลูกตาจะผิดรูป ภาพที่เห็นจะบิดเบือน ประสาทการมองเห็นจะผิดพลาด นักบินอวกาศแก้ปัญหานี้ด้วยการสวมใส่ชุดปรับแรงดันที่คล้ายๆ กางเกงที่โป่งได้เหมือนลูกบอลลูน

‘จิตใจ’ 
1 ปีอันโดดเดี่ยวในอวกาศนั้นทรมานอย่างขีดสุด คุณจะโหยหาบรรยากาศเดิมๆ ที่จากมา อาการซึมเศร้าจะเข้าครอบงำ การนับเวลาถอยหลังยิ่งทำให้คุณสติแตก นักบินอวกาศจึงต้องทำภารกิจเสริมเพื่อไม่ให้ตัวเองว่างนัก การอ่านอีเมล์ของเพื่อนสนิทและครอบครัวจึงช่วยลดความเปลี่ยวเหงาลงได้บ้าง

ศีรษะ’  
นักวิจัยต้องร่วมมือกันวิเคราะห์ที่มาของอาการเวียนหัว คลื่นไส้ อ่อนปวกเปียก ซึ่งนักบินอวกาศสวนใหญ่รายงานอาการนี้ตั้งแต่วันแรกที่กลับมาถึงพื้นโลก มันเลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อพวกเขาเจออาการ ‘บ้านหมุน’ ทุกครั้งที่ขยับหัว

 
‘เลือด’  
บนผิวโลก เลือดของเราจะแล่นขึ้นข้างบนเพื่อต่อต้านแรงโน้มถ่วง แต่ในอวกาศ หัวใจคุณจะต้องปรับตัวสักระยะ ความดันจะขึ้นๆ ลงๆ แต่หัวใจคุณจะเรียนรู้จังหวะการเต้นได้ใหม่อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งวิธีการให้หัวใจเรียนรู้เร็วที่สุด คือการออกกำลังกายอย่างมีวินัย

‘ระบบภูมิคุ้มกัน’ 
สภาพแวดล้อมแบบปิดของสถานีอวกาศ ทำให้ระบบภูมิต้านทางของร่างกายเกิดอาการขี้เกียจ เพราะมันไม่ต้องเผชิญกับไวรัส แบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมในอากาศ แต่นักบินอวกาศก็ต้องฉีดวัคซีนให้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันติดตัวตลอดเวลา

 
‘กระดูก’
พอไม่มีแรงโน้มถ่วง กระดูกเลยไม่ต้องแบกรับน้ำหนักตลอดเวลา มวลกระดูกจึงบางลง นักบินอวกาศสูญเสียมวลกระดูกจากร่างกายไป 1.5% ในแต่ละเดือน โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและกระดูกเชิงกราน จนอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายๆ จึงมีข้อบังคับพิลึกๆ ว่า ‘ห้ามกอดนักบินอวกาศที่เพิ่งกลับมา’ เพราะการกอดธรรมดาๆ ก็อาจบดขยี้ซี่โครงพวกเขาได้ 

 
‘ระบบการย่อย’ 
จุลินทรีย์ในลำไส้ทำหน้าที่ย่อยอาหารให้กับคุณ แต่เมื่ออยู่ในอวกาศ จุลินทรีย์จะถูกทำลายจากรังสีคอสมิก  ก็จะมีอาการท้องผูก อึดอัด และอาหารไม่ย่อย อาหารสด เช่น ผัก ผลไม้ที่ NASA ส่งไปให้เหล่านักบินจะช่วยทำให้พวกเขาสบายท้องขึ้น

 
‘กล้ามเนื้อ’ 
กล้ามเนื้อก็ต้องการแรงโน้มถ่วงเพื่อให้มันคงรูปด้วยเหมือนกัน การวิ่งบนลู่และออกกำลังส่วนขาจึงเป็นเรื่องที่นักบินอวกาศต้องทำอย่างยิ่งยวด

 
‘อายุขัย’ 
ปลายของโครโมโซม Telomeres จะสั้นลง เพราะมันจะถูกเผาผลาญเร็วขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลของรังสีและความเครียดของร่างกายภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก อายุขัยเราจึงสั้นลง
Cr.thematter.co/

ภัยรังสีจากนอกโลก


นับตั้งแต่การเดินทางหนีแรงโน้ม่ถ่วงของโลก ฝ่าชั้นบรรยากาศออกไป พบกับความอันตราย เช่น อุกาบาตที่พุ่งเข้าใส่ สภาวะไร้น้ำหนัก การขาดอากาศหายใจ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีทั้งหมดที่มนุษยชาติมี เพื่อจะอาศัยอยู่ในอวกาศหรือลงหลักปักฐานบนดาวเคราะห์ดวงอื่น มีสิ่งที่น่าสนใจรอการค้นหาอยู่มากมาย มากพอ ๆ กับอันตรายที่อาจพบเจอเช่นกัน แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดสิ่งหนึ่ง กลับเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น รังสี

รังสีที่อยู่ในอวกาศน่าอันตรายต่อตัวเรา เพราะว่าพวกเราไม่รู้จัก ไม่ได้ปรับตัวให้สามารถทนทานรังสีเหล่านั้นได้ เพราะว่า เรามีชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กโลกซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันคอยปกป้องสิ่งมีชีวิตในโลกให้รอดพ้นจากรังสีเหล่านั้น ตัวอย่างของรังสีที่เป็นภัยในอวกาศ เช่น Cosmic Ray รังสีคอสมิก ซึ่งเป็นรังสีที่มีพลังงานสูงมาก ถูกปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์ต่าง ๆ มันสามารถเดินทางมาได้ไกลพร้อมกับพลังงานมหาศาล มีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง และสามารถทำให้อนุภาคอื่น ๆ ถูกกระตุ้นและไม่เสถียรได้

หากได้รับรังสีคอสมิกมาก ๆ ยีนส์หรือดีเอ็นเอของเราอาจจะเปลี่ยนไป เกิดการผ่าเหล่า ผิดปกติ รวมถึงอาจจะเป็นการกระตุ้นให้เป็นมะเร็งได้ แม้ว่ารังสีคอสมิกจะอยู่ในอวกาศและเรามีชั้นบรรยากาศปกป้อง แต่บางส่วนก็สามารถหลุดลอดเข้ามาใต้ชั้นบรรยากาศได้ นักบินและพนักงานต้อนรับที่ทำงานบนเครื่องบินเองก็ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มที่ทำงานใกล้ชิดกับรังสีที่เป็นอันตราย Radiation Workers และมีความเสี่ยง อย่างไรก็ดีปริมาณรังสีที่ได้รับก็ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับที่อาจจะได้รับหากออกไปลอยตัวอยู่ในอวกาศ
Cr.trueplookpanya.com/

ชุดอวกาศที่ถูกเผาไหม้


ในปี ค.ศ.1980 ระหว่างการทดสอบชุดอวกาศสำหรับส่งกระสวยอวกาศครั้งแรกของนาซ่า ได้เกิดอุบัติเหตุเพลิงลุกไหม้ เมื่อออกซิเจนบริสุทธิ์ที่อยู่ในระบบยังชีพที่มีความดันสูงเกิดรั่วไหล เลยส่งผลให้ไฟทวีความร้อนมากขึ้น ถึงขนาดหลอมละลายอลูมิเนียมบริเวณนั้นให้หายไปในเวลาเพียงเสี้ยววินาที
ขณะเดียวกัน ชุดอวกาศที่เชื่อกันว่าสามารถทนความร้อนได้เกิดลุกไหม้ โชคดีที่ไม่มีใครสวมชุดดังกล่าว แต่ช่างเทคนิคที่ทำหน้าที่ควบคุมได้รับบาดเจ็บจากการถูกเส้นไยไนลอนของชุดสม็อคหลอมละลายเข้ากับผิวหนังของเขา
ภาพ : peterhardner.com
Cr.wtfintheworld.com/

RTLS โหมดยกเลิกภารกิจที่เป็นฝันร้ายของนักบินกระสวยอวกาศ


Return To Launch Site หรือ RTLS  เป็นการยกเลิกภารกิจในระยะเวลา 4 นาทีหลังจากการปล่อยยาน นั่นหมายความว่ายานยังอยู่ใกล้กับฐานปล่อยมาก ๆ แค่หันยานกลับมาอีกด้าน ลดความเร็วกับความสูงลงเพื่อกลับมาลงจอดอย่างปลอดภัย  ความเป็นจริงแล้วมันไม่ง่ายเลย

เริ่มตั้งแต่ Solid Rocket Booster หรือ SRB กันก่อน มันคือแท่งจรวดสีขาวสองแท่งที่ประกบอยู่ด้านข้างของกระสวยอวกาศ เมื่อจุดขึ้นมาไม่สามารถดับได้ และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามต้องรอให้มันเผาพลาญเชื้อเพลิงจนหมดไปก่อนแล้วถึงจะแยกตัวออกจากมันได้ 

เมื่อแยกตัวจาก SRB แล้ว มันเป็นไปได้ที่คุณจะดับเครื่องยนต์หลักของกระสวยอวกาศ (แต่เมื่อดับแล้วจะไม่สามารถติดเครื่องยนต์ใหม่ได้) รวมทั้งแยกตัวจากถัง External Tank หรือ ET ถังสีส้มขนาดใหญ่ ปัญหาก็คือมันยังเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงจำนวนมาก  ดังนั้นยานก็ยังคงต้องเผาพลาญเชื้อเพลิงจาก ET ต่อไป รวมทั้งตัว Orbital Maneuvering System หรือ OMS ก็ยังต้องช่วยเผาพลาญเพื่อปรับศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของยานให้เสถียรอีกด้วย
นั่นแปลว่าการทำ RTLS นั้นคือการพายานหนีห่างออกจากรันเวย์ลงจอดของมันไปเรื่อย ๆ เพื่อไปเจอกับความยากที่กำลังรอมันอยู่



จุดที่ยากที่สุดในภารกิจก็คือ Powered Pitch Down หรือ PPD ซึ่งคือการลดระดับองศาของยานลงมาเพื่อให้สามารถปลด ET ออกไปได้ ซึ่งมันไม่ง่ายเมื่อพูดถึงแรงดันอากาศและตัวแปรต่าง ๆ ที่กระทำต่อยานในตอนนั้น
แต่ถ้าตีความว่าทุกอย่างทำงานได้อย่างที่มันควรจะเป็น กระสวยอวกาศก็จะค่อย ๆ ทำการร่อนลงจอดที่รันเวย์ เป็นเวลา 25 นาทีหลังจากปล่อยยาน ซึ่งไม่รวมตัวแปรความเป็นไปได้ต่าง ๆ ที่อาจเสียหายระหว่างนั้น เพราะมันใช้งานได้ดีพอในระบบจำลอง
Cr.(อ่านฉบับเต็มได้ที่ ) https://spaceth.co/rtls-abort-mode/

'Pandorum' ฝันร้ายบนห้วงอวกาศของ 'เบน ฟอสเตอร์'


หนังทริลเลอร์-สยองขวัญที่ผสมผสานนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ บนห้วงอวกาศ  โดยพอล ดับบลิวเอส แอนเดอร์สัน ผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้าง มือทองของฮอลลีวู้ด สร้างความสะพรึงกลัวเมื่อมีสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์กลายพันธุ์ผิวซีดคอยล่ากลุ่มมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่   ที่ได้คำนิยามว่าเป็น "ฝันร้ายบนห้วงอวกาศ" 
กับเรื่องราวในอนาคต เมื่อวันสิ้นโลกเดินทางมาถึง มนุษยชาติกลุ่มสุดท้าย พยายามที่จะเดินทาง ไปในห้วงอวกาศ ค้นหาดวงเคราะห์ดวงใหม่ ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ แต่ละคนต้องเข้าสู่สภาพการจำศีล และเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาในยาน กลับพบว่า มีบางอย่างที่น่ากลัวกำลังรอคอยพวกเขาอยู่ 

Cr.thairath.co.th/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่