7 ข้อน่ารู้ความจริง วัดเจดีย์ & ไอ้ไข่ วัดสระสี่มุม ใครคือผู้สร้างคนแรก...? (Ai Kai Wat Chedi) มีคลิป

1.พ่อท่านเทิ่มท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์  สร้างเหรียญไอ้ไข่รุ่นแรกออกมา แล้วต่อมาท่านก็มาอยู่บูรณะวัดสระสี่มุม ที่เดิมทีเป็นวัดร้างอยู่ ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระสี่มุม ตั้งแต่ ปี พ.ศ 2528 แล้วก็เคยสร้างเหรียญไอ้ไข่ออกมา ท่านริเริ่มสร้างเหรียญรุ่นแรกไอ้ไข่ จนก่อให้เกิดกระแสแรงศรัทธามากมายเรียกว่า ระดับคลื่นมหาชนเลยทีเดียว 
และตอนนี้ชื่อเสียงความโด่งดัง ในเรื่องความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของไอ้ไข่ ที่เป็นตัวแทนของเด็กวัดเดินตามพระ คอยรับใช้ปรนบัติรับใช้ครูบาอาอาจารย์จนกระจายไปทั่วโลก เพราะไม่ว่าจะเป็นคนไทยที่อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ แม้แต่ในอเมริกา รวมไปถึงชาวต่างชาติ ต่างก็ให้การยอมรับเชื่อถือในความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ของไอ้ไข่

2.ท่านอยู่ที่นี่จวบจนมรณภาพ พ.ศ.2540  รวมระยะเวลาพัฒนาอยู่ที่วัดสระสี่มุม 12 ปี หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว ทางวัดสระสี่มุมก็เก็บรักษาสรีรสังขารของท่านเอาไว้บำเพ็ญกุศลอีก 3 ปี รวมทั้งสิ้น 15 ปี
     แต่ต้องยอมรับในอดีต บันทึกจากข้อมูลจริง บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์จริง ที่ร่วมสร้างตำนานกับ พ่อท่านเทิ่ม ที่วัดสระสี่มุม หาอ่านหาศึกษาได้ค่อนข้างยาก จน “โต สิชล” 
และ “อ๊อด สิชล” ผู้เคารพศรัทธาพ่อท่านเทิ่มกับวัดสระสี่มุมเป็นอย่างมาก เพิ่งจะรวบรวมเรื่องราวและภาพถ่ายเอาไว้อย่างเป็นระบบ ด้วยใจหวังว่า จะนำเรื่องราวในอดีตที่ถูกลืม ที่ถูกกลืนกิน ออกมาสู่สังคมวงกว้างอีกครั้ง…!?!
3.โดยเฉพาะการบนบานของโชคลาภ ทั้งในเรื่องการค้าขาย เรื่องตัวเลข เรื่องธุรกิจการงาน ฯลฯ หลายคนไม่มีผิดหวัง จุดแก้บนกันสนั่นหวั่นไหว โดยเฉพาะไอ้ไข่ วัดเจดีย์นั้นโด่งดังมาก แม้ว่าในยุคแรก การคมนาคมเข้าออกวัดเจดีย์สมัยก่อนค่อนข้างลำบาก แต่ด้วยความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของไอ้ไข่ที่ได้รับการยกย่องชื่นชมว่า “ขอได้ไหว้รับ” ทำให้วัดเจดีย์ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
4.ส่วนฆราวาสคนสำคัญที่มีส่วนร่วมในการจัดสร้างเหรียญไอ้ไข่รุ่นแรก ที่วัดเจดีย์ยอมรับกันว่า คือ คุณลุงเที่ยง หักเหล็ก ทำให้ “ไอ้ไข่พ่อท่านเทิ่ม” คำคำนี้โด่งดังขึ้นมา ยังพูดติดปากกันอยู่ของพี่น้องประชาชน เรียกว่าหลังจากยุคองค์พ่อ จตุคามรามเทพ แล้วจากนี้ไปก็ถึงยุคไอ้ไข่ เมืองคอน แล้วล่ะครับ
        ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกระแสความสนใจใคร่อยากมีบูชาพกพาติดตัวเหรียญไอ้ไข่นั้นมีมานานแล้ว ราคาก็ขยับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญที่ออกที่วัดเจดีย์ 
หรือที่วัดสระสี่มุม แต่ถ้าจะกล่าวสำหรับเหรียญวัดสระสี่มุมนั้นว่ากันว่า หลังจากที่พ่อท่านเทิ่มมาอยู่ที่วัดสระสี่มุมจนมรณภาพ และต่อมาได้มีงานพระราชทานเพลิงศพพ่อท่าน ที่วัดนาแล เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2543 ณ เมรุวัดสโมสรสันนิบาต หรือว่า นาแล ต.เสาเภา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ในงานนั้นได้นำเหรียญไอ้ไข่พิมพ์ย้อนยุคจัดสร้าง ณ วัดสระสี่มุม ที่จัดสร้างโดยพ่อท่านเทิ่ม ซึ่งทางวัดสระสี่มุมรับมอบมาจาก ลุงคลาย พุ่มเอี่ยม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ผู้ที่รับผิดชอบดูแลเหรียญทั้งหมด) มอบมายังวัดนาแล จำนวน 3  ถุง ประมาณ 900 เหรียญ
5.จนเมื่อเดือนมีนาคม 2546 ทางวัดสระสี่มุม ได้สร้างเมรุเผาศพ ด้วยงบประมาณ 700,000 บาท ทางวัดนาแลจึงได้นำเหรียญที่เก็บรักษาไว้ออกมาให้ร่วมทำบุญบริจาค เงิน เหรียญละ 500 บาท สบทบก่อสร้างเมรุ ณ วัดสระสี่มุม และในวันพฤหัสบดี ที่ 16 สิงหาคม 2550 ได้มีการจัดงานบำเพ็ญกุศล และพุทธาภิเษกรูปเหมือนพระครูเจติยาภิรักษ์ (เทิ่ม ชนุตฺตโม) ทางคณะกรรมการวัดสระสี่มุม ได้นำเหรียญไอ้ไข่ที่เก็บไว้มาให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมบริจาค ก็มีผู้ร่วมมาทำบุญเช่าบูชาเหรียญไอ้ไข่พิมพ์ดังกล่าวจากวัดสระสี่มุมจนหมด และเมื่อ พ.ศ.2558 ทางวัดนาแลจึงได้นำเหรียญดังกล่าวที่เก็บรักษาไว้ ร่วม 15 ปี ออกมาให้เช่าบูชา เหรียญทั้งหมดที่เหลือจากงานพระราชทานเพลิงศพ พ่อท่านเทิ่ม มีจำนวน 490 เหรียญ และหมดไปอย่างรวดเร็ว
6.ขณะเดียวกันบรรดานักสะสมผู้ศรัทธาในเหรียญไอ้ไข่ต่างออกมาชื่นชอบชื่นชม
 ถกเถียงกันถึงความสวยงามของรูปแบบ จนกลายเป็นกระแส ที่ผมเรียกว่าการเมืองเรื่องของคนข้างไข่นั้นแหละ เพราะบางกลุ่มก็ชื่นชมรูปแบบเหรียญยุคเก่าของพ่อท่านเทิ่ม ที่ออกวัดเจดีย์ ออกที่วัดสระสี่มุม มากกว่า ในขณะที่บางกลุ่มบางคนก็ชื่นชมเหรียญชุดใหม่ยุคใหม่ ที่เพิ่งมีการจัดสร้างขึ้นมาที่วัดสระสี่มุมและที่สร้างรุ่นใหม่ขึ้นมาที่วัดเจดีย์ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันมากกว่า
     การเมืองว่าด้วยเรื่องรูปแบบของเก่าหรือของใหม่แบบไหนดีกว่ากันก็ถกเถียงกันสนุกสนาน ซึ่งจะว่าไปแล้วผมว่าก็ดีทั้งหมดล่ะครับ เพราะล้วนเกิดจากเจตนาที่บริสุทธิ์
ในการจัดสร้าง เพื่อให้มีความเข้มขลัง สวยงามทั้งหมด เพราะเป็นการตามรอยครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ริเริ่มสร้างเอาไว้ เพื่อให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่พึ่งทางใจของผู้ที่เคารพศรัทธา
7.เรื่องกระแสความนิยมในเหรียญไอ้ไข่  แห่งดินแดนปักษ์ใต้เมืองนครศรีธรรมราช ในวันนี้แม้ว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับยุคจตุคามลามทุ่ง แต่เชื่อว่าในอนาคตคงจะค่อยเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนจากทั่วประเทศเริ่มหันมาให้ความสนใจกับวัตถุมงคลนามว่าไอ้ไข่มากขึ้น เพราะต่างเข้าใจว่า ความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากุมารทองในดินแดนอื่น ที่สำคัญถ้าวันใดเมื่อกระแสความศรัทธาไหลบ่ารุนแรงมากขึ้นเหมือนสมัยจตุคามรามเทพ ผมว่าบรรดานักธุรกิจ นักการเมือง หัวคะแนนทั้งหลายที่ต้องการฐานคะแนนเสียงก็จะเริ่มจับตามองและเข้าไปมีส่วนร่วม เข้าไปมีบทบาทมากขึ้น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่