ฉายาของสัตว์ต่างๆตามธรรมชาติ

 นกเลขานุการ เจ้าของฉายา “นักล่าขนตางอน”



นกเลขานุการ (Sagittarius Serpentarius) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่เป็นญาติกับเหยี่ยวและนกอินทรี มันได้รับชื่อนี้เนื่องจากขนนกบนหัวของมันมีลักษณะคล้ายกับขนนกที่เสมียนในศตวรรษที่ 18 ใช้เป็นปากกาหรือใช้ทัดหู นกตัวนี้มีลักษณะที่โดดเด่นคือ ขนตาที่ยาวงอนเหมือนกับติดขนตาปลอมนั่นเอง

Brian Connolly ช่างภาพที่ถ่ายภาพธรรมชาติมานานกว่า 10 ปี แม้เขาจะได้เห็นสัตว์มามากมาย แต่นกเลขานุการก็ยังทำให้เขาประทับใจได้ทุกครั้ง “จากสิ่งที่ผมเคยเห็น นกเลขานุการมีเอกลักษณ์อย่างมาก พวกมันล่างูบนพื้นดินด้วยการจับงูด้วยอุ้งเท้าและกรงเล็บ ดูคล้ายกับการจับเหยื่อของไดโนเสาร์”

นกชนิดนี้มีความแตกต่างจากนกล่าเหยื่อส่วนใหญ่ เนื่องจากพวกมันมักจะหากินตามพื้น ซึ่งพวกมันสามารถเดินทางได้ถึงวันละ 30 กม. เลยทีเดียว
นอกจากงู พวกมันยังกินกิ้งก่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ฟันแทะ และไข่นก โดยสัตว์ขนาดเล็กมักจะถูกกินทั้งตัว ในขณะที่เหยื่อที่ใหญ่กว่าจะถูกขย้ำจนตายก่อนที่จะถูกกิน
นกเลขานุการเป็นที่ชื่นชอบในแอฟริกาเนื่องจากรูปลักษณ์ที่โดดเด่นสวยงาม และความสามารถในการจัดการกับศัตรูพืชและงู จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศซูดานอีกด้วย
Cr.http://realmetro.com/

กวางมีเขี้ยวที่ได้รับฉายาว่า กวางแวมไพร์


หากพูดถึงกวาง ทุกคนคงนึกถึงสัตว์หน้าตาน่ารัก ดูไร้พิษภัย และไร้อาวุธ แต่เชื่อหรือไม่ว่าบนโลกของเรามีกวางที่มี “เขี้ยว” อยู่ด้วย แต่พวกมันมีไว้สู้กันเอง ไม่ได้ใช้หาอาหารหรือป้องกันตัวจากนักล่าเป็นวัตถุประสงค์หลัก

กวางชนิดแรกที่เราจะพาไปทำความรู้จักกัน คือ Water deer (ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydropotes inermis) หรือกวางน้ำ จัดเป็นกวางขนาดเล็ก มีถิ่นอาศัยในประเทศจีนและเกาหลี มีลักษณะลำตัวคล้ายกับกวางทั่วไป แต่มีจุดเด่นตรงที่พวกมันจะมีเขี้ยว 1 คู่ งอกยาวจากริมฝีปากด้านบน สำหรับใช้ในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอาณาเขตหรือคู่ครอง จนได้รับฉายาว่า กวางแวมไพร์

ชื่อของพวกมันมาจากพฤติกรรมที่ชอบออกหากินใกล้กับหนองน้ำหรือแม่น้ำ และเป็นนักว่ายน้ำที่เชี่ยวชาญ โดยสามารถว่ายน้ำได้ไกลหลายไมล์เพื่อไปยังเกาะกลางแม่น้ำ แต่ในปัจจุบันพวกมันกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ทั้งจากนักล่าตามธรรมชาติ และการล่าเพื่อเป็นกีฬา



กวางอีกชนิดหนึ่งที่มีเขี้ยวยาวคือ กวางมัสก์ (Musk deer หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Moschus) มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่าและเทือกเขาสูงทางตอนใต้ของเอเชีย โดยเฉพาะบนเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งในอดีตพวกมันถูกล่าอย่างหนักเนื่องจากความนิยมในการนำต่อมกลิ่นของมันไปทำเป็นน้ำหอม ปัจจุบันนี้พวกมันถือเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยากมากเนื่องจากพฤติกรรมรักสันโดษ และอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
Cr.http://realmetro.com

กระเบนนก ฉายา "วิหคแห่งท้องทะเล"


กระเบนนก สัตว์หายากของโลกที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ขณะที่ในไทย เมื่อวันที่ 19 เม.ย.2561 เคยโผล่อวดโฉมและนักดำน้ำไทยถ่ายภาพได้ ที่เกาะพีพี จ.กระบี่  มีชื่อ สามัญว่า Spotted Eagle Ray ชื่อวิทยาศาสตร์: Aetobatus narinari

ปลากระเบนนก หรือ ปลากระเบนเนื้อดำ มีอีกชื่อว่าปลากระเบนจุดขาว หรือบางคนเรียกว่าปลากระเบนค้างคาว เป็นปลากระดูกอ่อนในวงศ์  Myliobatidae อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนใหญ่หากินตามพื้นท้องน้ำที่เป็นโคลนและบริเวณปากแม่น้ำ  กินอาหารพวกหอยและสัตว์จำพวกกุ้งปู โดยใช้ฟันลักษณะพิเศษบดเปลือกของเหยื่อให้แตก
ลักษณะลำตัวเป็นทรงขนมเปียกปูน มีจุดสีขาวกระจายทั่วไปบนหลัง ส่วนหางยาวมากเมื่อเทียบกับลำตัว ที่โคนหางมีเงี่ยง 2-6 อัน  ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะฟักในท้องแม่ก่อน จะคลอดออกมาเป็นตัวปลาเลยโดยศัพท์วิชาการเรียกกลุ่มนี้ว่า ovoviviparous โดยจะออกลูกครั้งละ 1-6 ตัว ขนาดโตเต็มที่ลำตัวมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร
ถิ่นที่อยู่อาศัยพบทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุรแอตแลนติก ศัตรูในธรรมชาติได้แก่ฉลามเสือ ฉลามหัวค้อน และฉลามอื่นๆ

สำหรับกระเบนนก มีคนตั้งฉายาว่า "วิหคแห่งท้องทะเล" เป็นชื่อเรียกของกระเบนในกลุ่มนี้ มีทั้งชนิด ที่เรียกว่า Aetobatus ocellatus ซึ่งมีสภานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) ในระดับโลก พบเห็นได้ยากในน่านน้ำไทย ส่วนอีกชนิด Aetobatus Narinari พบเฉพาะในแอตแลนติกในกลุ่มกระเบน ถูกจัดอยู่ในบัญชีแดง (Red List) ที่องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) ขึ้นสถานะ VU คือมีความเสี่ยงมากที่จะสูญพันธุ์ และทั้ง 2 ชนิดจัดอยู่ในสัตว์ที่มีปริมาณลดน้อยลง 
Cr.https://news.thaipbs.or.th

ตัวกินมดซิลกี้ ฉายา “หมีสีทอง” สัตว์สุดหายากจากป่าแอมะซอน


สัตวชนิดนี้มีชื่อว่า ตัวกินมดซิลกี้ (Silky Anteater) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclopes didactylus มีหน้าตาคล้ายกับหมีโคอาลา โดยฉายาของพวกมัน “หมีสีทอง” ก็มาจากมีขนสีทอง
สัตว์ชนิดนี้ถือเป็น ตัวกินมดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางเพียง 35-40 ซม. น้ำหนัก 400 กรัม ต่างกับตัวกินมดใหญ่ที่สุดในโลกมีความยาวมากถึง 2 เมตรเลยทีเดียว มักอาศัยอยู่ในป่าของทวีปอเมริกากลางจนถึงตอนเหนือของอเมริกาใต้ (เม็กซิโก โบลิเวีย และบราซิล)
พวกมันมีขนสีเหลืองทองมีลักษณะอ่อนนุ่มทั้งตัว ดวงตามีขนาดเล็กสีดำ มีกรงเล็บที่แหลมคมเพื่อใช้สำหรับปีนป่าย และเนื่องจากพวกมันเป็นตัวกินมดทำให้ต้องอาศัยหากินบนต้นไม้เป็นหลัก

หมีสีทองเป็นสัตว์หากินกลางคืน ขณะที่กลางวันพวกมันจะนอนหลับด้วยการขดตัวเป็นวงกลมเหมือนลูกบอล ซึ่งหางที่ยาวกว่า 20 เซนติเมตรนี้จะช่วยในการเกาะเกี่ยวกิ่งไม้ทำให้มันทรงตัวได้อย่างดีเยี่ยม หางนี้จึงเปรียบเสมือนขาที่ 5 ของมันเลยทีเดียว
 
มันใช้จมูกในการดมกลิ่นและหาอาหาร อาหารจานโปรดของมันคือมดและปลวก ยืนยันจากสถิติการกินแมลงของมัน ที่ต้องกินมากถึงวันละ 5,000 ตัว  จึงจะพอต่อสารอาหารที่มันต้องการในแต่ละวัน  เพราะแมลงเหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ให้พลังงานต่ำนั่นเอง ปัจจุบันคาดว่าเหลือสัตว์ชนิดนี้อยู่เพียง 120-150 ตัวทั่วโลก
แท้จริงแล้ว “ตัวกินมด” มีหลายสายพันธุ์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างแปลกตา มีส่วนจมูกและปากยาวเหมือนท่อ พวกมันไม่มีฟันจึงไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ทำให้ต้องใช้ลิ้นที่เรียวยาวเคลือยด้วยน้ำลายเหนียวในการตวัดกินแมลงขนาดเล็ก
Cr.https://www.flagfrog.com

แมลงช้าง ฉายา " นักล่าแห่งท้องทะเลทราย "


แมลงช้างหนวดสั้นนั้นเป็นแมลงที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับแมลงปอ นั่นก็คือมีปีกยาวใส โดยเมื่อแมลงช้างโตเต็มวัยแล้ว พวกมันก็จะขุดหลุมในสถานที่ที่เป็นฝุ่นทรายเพื่อจะวางไข่ จากนั้นเมื่อหาที่เหมาะสมได้แล้วมันก็จะวางไข่หลุมละเพียงหนึ่งฟองเท่านั้น

หลังจากลูกๆ ของมันฟักตัวออกมาจากไข่แล้ว ตัวอ่อนเหล่านี้ก็จะขุดหลุมดักจับแมลงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหลุมที่ว่านี้จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับตัวของมัน 
เมื่อแมลงผู้โชคร้ายเช่นมด ปลวก เดินตกมายังหลุมที่มันขุดเอาไว้ แน่นอนว่ามีหรือที่เหยื่อมาถึงที่แล้วจะสามารถหลุดรอดออกไปได้ เพราะว่ามันได้วางแผนขุดหลุมที่มีความชันพอที่จะทำให้แมลงผู้โชคร้ายไม่สามารถปีนขึ้นไปได้
 
วงจรชีวิตช่วงที่เป็นนักล่าทะเลทรายนี้จะความยาวนานถึง 1-2 ปีเลยทีเดียว จากนั้นเหล่าตัวอ่อนก็จะเข้าสู่ระยะดักแด้ ด้วยการผลิตเส้นใยจากปลายส่วนท้องห่อหุ้มตัวยึดเม็ดทรายเข้ากับเส้นใยเสมือนเป็นเกราะกำบังให้กับตัวเอง ซึ่งระยะเก็บตัวนี้จะมีอายุประมาณ 28 วัน



 
จากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ขั้นโตเต็มวัยที่อาจใช้เวลาในระยะนี้ประมาณ 20-25 วัน และเมื่อแมลงช้างโตเต็มวัยแล้วมันก็จะออกจับแมลงที่เป็นศัตรูของพืชอย่าง หนอน เพลี้ยนอ่อน ไรแดง มาเป็นอาหาร
แมลงช้างเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่เป็นมิตรกับชาวเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยในประเทศแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกานิยมเพาะเลี้ยงเป็นอย่างมาก เพื่อให้พวกมันช่วยจับแมลงศัตรูพืชให้นั่นเอง
Cr.ที่มา: comeongreen

หมึกบลูริง ฉายา ’สวยประหาร’


(Cr. ภาพ pptvhd36.com)
หมึก Blue-ringed octopus (หมึกบลูริง หรือ หมึกสายวงน้ำเงิน) หมึกตัวเล็กที่มีฉายาว่า “สวยประหาร” เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดในโลก มีขนาดความยาวลำตัว 15-60 มม. พบได้มากทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน จุดเด่นอยู่ตรงที่ลายรูปวงแหวนสีน้ำเงินหรือสีฟ้าประทั่วตัว ความจริงแล้วพวกมันเป็นสัตว์รักสงบ มักจะแอบอยู่ตามรู ซอกหิน กอสาหร่าย ไม่ได้ออกมาเพ่นพ่าน ลอยสะเปะสะปะไปทั่วทะเลแบบแมงกะพรุน

พิษของมันรุนแรงเป็นอย่างมาก เพียงตัวเดียวก็มีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 75 กก. จำนวน 10 คนเป็นอัมพาตได้ (เป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า) เหยื่อที่ถูกกัดจะรู้สึกตัวตลอดเวลาแต่จะไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ หลังจากนั้นจะหยุดหายใจภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง แต่หากได้รับพิษปริมาณน้อยผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชม. ซึ่งตอนนี้ยังไม่มียาแก้พิษชนิดนี้

 มีรายงานถึงการเสียชีวิตของผู้ที่เผลอกินหมึกชนิดนี้ทั้งออสเตรเลียและเวียดนาม ซึ่งผู้ที่เผลอบริโภคส่วนมาก 25% จะเสียชีวิตภายใน 2-5 นาที เพราะการนำมันไปประกอบอาหารจะทำให้ ต่อมน้ำลายพิษแตกออกเพิ่มขึ้น และแม้จะผ่านความร้อนก็ไม่เป็นผล

หมึกบลูริง และ ปลาปักเป้า (น้ำเค็ม) มีพิษอยู่เหมือนกันก็คือ เทโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) มีผลต่อระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาทโดยตรง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาตามอาการ และพิษจะถูกขับออกจากปัสสาวะ การให้ยาขับปัสสาวะจะช่วยให้พิษถูกขจัดออกได้เร็วขึ้น
Cr.https://www.flagfrog.com

Alpaca ฉายาอูฐมีขน หรือ แกะคอยาว


(Cr.ภาพ wikipedia.org)
 อัลปาก้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูลอูฐ ครอบคลุมถึงอูฐโหนกเดียว อูฐสองโหนก ลา และกัวนาโค และมีต้นกำเนิดในอเมริกาใต้ ในอดีตอัลปาก้าอาศัยอยู่แถบเทือกเขาแอนดีส ซึ่งชาวอินคานิยมเลี้ยงอัลปาก้าแล้วนำขนของพวกมันมาใช้ (เรียกกันว่า "เส้นใยจากพระเจ้า") 

ฝูงอัลปาก้ามักอาศัยอยู่กระจัดกระจายในบริเวณเชิงเขาและทุ่งหญ้า ในศตวรรษที่ 17 ผู้บุกรุกชาวสเปนเข่นฆ่าชาวอินคาและอัลปาก้าจำนวนมาก ทำให้ตัวที่เหลืออยู่รอดหลบหนีไปอยู่ในภูเขาสูงที่เรียกกันว่า 'อัลติพลาโน' เนื่องจากความสูงและภูมิประเทศ ทำให้ตัวที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้นที่อยู่รอด และพวกเขาได้กลายมาเป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์ที่ดีที่สุด ซึ่งมีความทนทาน และให้เส้นใยที่มีความหนาแน่นและมีคุณภาพสูง

อัลปาก้ามี 2 สายพันธุ์คือ huacaya (wah-KI-ah) และ suri (soo-ree) โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ของอัลปาก้าเป็นสายพันธุ์ huacaya มีลักษณะขนปุกปุยเหมือนกับก้อนเมฆ และส่วนที่เหลือเป็น Suri จะมีขนยาวและนุ่มเหมือนเส้นไหม ซึ่งโดยทั่วไปอัลปาก้าจะมีอายุ 15-20 ปี ความสูงเฉลี่ย 120 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 60-80 กิโลกรัม อัลปาก้าเป็นสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง แต่มีแค่สามกระเพาะไม่เหมือนพวกวัว พวกมันชอบกินหญ้าตามทุ่งหญ้าและหญ้าแห้ง ทำให้อาหารมีต้นทุนไม่สูงมาก
 ไฮไลท์คือขนของเจ้าอัลปาก้าที่ถือว่าเป็นเส้นใยจากพระเจ้า โดยอัลปาก้าสามารถตัดขนได้ปีละครั้ง ซึ่งจะได้ขนที่นุ่มและอบอุ่นครั้งละ 2-4 กิโลกรัม ซึ่งมักจะกลายเป็นเสื้อขนสัตว์ พรม ตุ๊กตา ผ้าพันคอ เครื่องประดับที่หรูหราสามารถสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาล

(ประเทศไทยมี Alpacahill ฟาร์มอัลปาก้าแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี)
Cr.https://storylog.co
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่