ศาลเจ้ากวนอู (บู่เบี้ย) จังหวัดเชียงใหม่
..........โดยทั่วไปในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย
ชาวจีนมักจะสร้างศาลเจ้าเพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาและขอพรในการทำการค้าขายและพรอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับครอบครัว
เหมือนกับคนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศก็จะมีการสร้างวัดไทยขึ้นมา
เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีต่าง ๆ ของชาวพุทธในย่านกาดหลวง-กาดเก๊าลำไย
ในย่านกาดหลวง เชียงใหม่มีศาลเจ้า 2 แห่ง
แห่งแรกหันหน้าสู่แม่น้ำปิงมีชื่อว่าศาลเจ้าปุงเถ่ากง-ม่า ตั้งอยู่ที่ถนนไปรษณีย์ใกล้กับแม่น้ำปิง
เพราะว่าในช่วงต้นของการค้าขายของคนจีนการเดินทางและขนส่งสินค้าจะเป็นทางเรือ จึงนิยมตั้งศาลเจ้าอยู่ริมแม่น้ำ
ศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งคือศาลเจ้ากวนอู อยู่ในกองเหล่าโจ๊ว (ปัจจุบันเรียกตรอกเล่าโจ๊วหรือถนนข่วงเมรุ)
ในที่นี้จะกล่าวถึงศาลเจ้ากวนอูเพียงแห่งเดียว
..........ศาลเจ้ากวนอูมีชื่อทางจีนว่า บู่เบี้ย ตั้งอยู่เลขที่ 95 ตรอกข่วงเมรุหรือตรอกเหล่าโจ๊ว ทางทิศตะวันตกของตลาดวโรรส
โดยหันหน้าศาลเจ้าไปทางตะวันออก ด้านเหนือของอาคารศาลเจ้าติดกับถนนซอยที่ไปทะลุถนนราชวงศ์ซึ่งในอดีตเรียกว่าย่านศรีนครพิงค์
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าศาลเจ้าแห่งนี้สร้างเมื่อใด
แต่ในบทความ "ศาลเจ้าหลวงเชียงใหม่ในศาลเจ้าชาวจีน"
โดย ปลายอ้อ ทองสวัสดิ์ ในหนังสือ เจ้าหลวงเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 12 เมษายน 2539
ซึ่งมีเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เป็นบรรณาธิการ
ได้เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของ นายค่าย อาภาวัชรุตม์ ผู้จัดการศาลเจ้าในเวลานั้น ซึ่งคาดว่าศาลเจ้าบู่เบี้ย มีอายุไม่น้อยกว่า 120 ปี
ถ้านับถึงปัจจุบันก็เป็น 130 ปี
(นางสุพิศ ตันรัตนกุล ซึ่งอาศัยอยู่ติดศาลเจ้า เล่าว่า ช่วงนั้นนายค่ายไม่ได้เป็นผู้จัดการศาลเจ้า แต่มีตำแหน่งเป็นผู้ตรวจตราศาลเจ้า ผู้จัดการศาลเจ้าคือ นายอารักษ์ ปักษาสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการศาลเจ้ากวนอู และคิดว่าศาลเจ้านี้น่าจะอายุประมาณ 150 ปี)
..........คาดว่าศาลเจ้าแห่งนี้ชาวจีนกลุ่มหนึ่งในเมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พ.ศ. 2413 - 2439)
หรือ พระเจ้าอินทวิไชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่ 7 นับจากพระเจ้ากาวิละ
ข้อมูลบางแห่งเขียนว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 2413 - 2440 คงมีความคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อย
พระเจ้าอินทวิชยานนท์มีพระมเหสีชื่อ เจ้าแม่ทิพเกสร หรือ ทิพเกษร หรือ ทิพไกสร
เป็นธิดาองค์ใหญ่ของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 6 กับเจ้าแม่อุสาห์
..........คำว่า "บู้" เป็นคำขึ้นหน้าของตำแหน่งทางทหารของกวนอูคือ บู้เอี๋ยโห่
ส่วนคำว่า เบี้ย แปลว่า สถานที่ (เมื่อนำคำว่า "บู้" กับ "เบี้ย" มารวมกัน ต้องออกเสียงว่า "บู่เบี้ย")
ในเมืองไทยมีหลายจังหวัดที่มีศาลเจ้ากวนอู
จากพงศาวดารเรื่องสามก๊ก กวนอูเป็นทหารที่ช่วยขงเบ้งและเล่าปี่ในการรบศึกต่าง ๆ
ในเรื่องกล่าวว่ากวนอูเป็นทหารที่มีความซื่อสัตย์และมีม้าเป็นพาหนะคู่กาย
เมื่อท่านตายก็กลายเป็นเทพเจ้า จึงเรียกว่า เทพเจ้ากวนอู
เทพเจ้ากวนอูมีชื่อเสียงในด้านที่ใครขอพรอะไรก็มักจะสมหวัง ด้วยเพราะว่าท่านเป็นเทพที่ใจดีองค์หนึ่ง
ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมกราบไหว้บูชาและตั้งศาลเจ้าขึ้นมา
เท่าที่พบในศาลเจ้าปุงเถ่ากง (ปุนเถ้ากง) ทั่วไป ก็มักจะมีแท่นบูชาเทพเจ้ากวนอูอยู่ด้วย
..........ในประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่บอกว่า
ชาวจีนเริ่มอพยพขึ้นมาเชียงใหม่เพื่อทำการค้าขายเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5
ครั้งแรกก็ตั้งร้านค้าบ้านเรือนริมแม่น้ำปิงหน้าวัดเกต แล้วก็ขยับขยายมาฝั่งตรงข้ามที่เป็นตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยในปัจจุบัน
ซึ่งก็ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่ 7 และก็เป็นช่วงเดียวกันที่กลุ่มมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาด้วย
..........การที่จะสร้างศาลเจ้าแห่งนี้ได้ก็คงต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหลวงก่อน
ดังนั้นเมื่อพระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าแม่ทิพเกษรเสียชีวิตแล้ว
จึงได้มีการจัดตั้งแท่นบูชาหรือป้ายบูชาเจ้าหลวงและเจ้าแม่ภายในศาลเจ้าแห่งนี้
ซึ่งภาษาจีนเขียนว่า พระเจ้าแผ่นดิน (ตั่วอวง) และพระราชินี (อวงเนี้ย)
ภายในศาลเจ้ากวนอู มีแท่นบูชาหรือป้ายบูชาอยู่ 5 แท่น คือ
..........1. แท่นบูชาเทวดา ฟ้า ดิน อยู่ตรงกลางด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก
..........2. แท่นบูชาเจ้าพ่อกวนอูหรือเทพเจ้ากวนอู และเช็งเต๋าโจวซือ อยู่ตรงกลาง
เป็นแท่นบูชาที่สำคัญที่สุดในศาลแห่งนี้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
..........3. แท่นบูชาปุงเถ่ากง ปุงเถ่าม่า อยู่ด้านทิศเหนือของแท่นบูชากวนอู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
..........4. แท่นบูชาเจ้าพ่อเชียงใหม่ เจ้าแม่ทิพเกสร อยู่ด้านใต้ของแท่นบูชากวนอู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
..........5. แท่นบูชาฉ่างง่วนส่วย อยู่ถัดแท่นบูชาปุงเถ่ากง-ม่าไปทางทิศตะวันออก โดยหันหน้าไปทางทิศใต้
นอกจากนั้น ยังมีที่บูชาอีก 2 แห่งอยู่บนพื้นด้านทิศเหนือของแท่นบูชากวนอู คือที่บูชาโหงวโจ้ว
และที่บูชาตี่จู้ (เจ้าที่) อยู่บนพื้นด้านทิศใต้ของแท่นบูชากวนอู
..........เมื่อประมาณ 50 กว่าปีก่อนหน้านี้ ศาลเจ้ากวนอูเป็นศาลเจ้าไม้เก่าแก่ มีเพียงไม้ทำเป็นสัญญลักษณ์แทนเทพเจ้ากวนอู
อาคารมีลักษณะมืดทึบและสกปรก ประชาชนทั่วไปไม่กล้าเข้าไปกราบไหว้เทพเจ้าในศาลเพราะเป็นสถานที่ซึ่งคนพเนจรเข้าไปอาศัยหลับนอน
บางครั้งมีผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตไปอาศัยด้วย ยิ่งทำให้ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้าเข้า
ต่อมา นางเง็กอิม แซ่อุง (แม่ทองย้อย ตันรัตนกุล) ซึ่งค้าขายผ้าอยู่ติดเขตศาลเจ้าด้านใต้
(ปัจจุบันลูกหลานเปิดร้านขายยามณีรัตน์เภสัช) ได้เข้าไปทำความสะอาด ทาสีและติดไฟให้สว่างไสว
พร้อมกันนั้นได้ไปบูชาและอัญเชิญรูปปั้นเทพกวนอูมาจากกรุงเทพฯ เพื่อประดิษฐานไว้ที่แท่นบูชา
ตั้งแต่นั้นมาก็มีคนนิยมเข้าไปกราบไหว้บูชามากขึ้นเรื่อย ๆ
..........ศาลเจ้ากวนอูและศาลเจ้าปุงเถ่ากง-ม่า
รอดพ้นจากการถูกไฟไหม้ในเหตุการณ์ไฟไหม้ตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2511
เลยยิ่งทำให้คนเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ จากเดิมที่ได้สักการะบูชาในความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว
จึงทำให้ช่วงหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่มีคนมาสักการะบูชาศาลเจ้ากวนอูมากขึ้น
..........นางสุพิศ ตันรัตนกุล ซึ่งอาศัยอยู่ติดกับศาลเจ้าตั้งแต่เด็กเล่าว่า ตอนที่เกิดไฟไหม้ใหญ่เป็นช่วงมาฆบูชา
ซึ่งเป็นวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) หลังตรุษจีน ชาวจีนเรียกว่า ง่วนเซียว
เมื่อไฟโหมไหม้ตลาดต้นลำไยแล้วมีเศษวัสดุติดไฟปลิวข้ามถนนวิชยานนท์ซึ่งในขณะนั้นมีความกว้างพอสมควรมาเผาผลาญกาดหลวง (ตลาดวโรรส)
ลมพัดแรงจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตกอันเป็นที่ตั้งของกองเหล่าโจ๊ว
ทำให้กลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารที่เรียงรายบนกองเหล่าโจ๊วต่างเข้าไปกราบไหว้อ้อนวอนขอให้เทพเจ้ากวนอูคุ้มครอง
เพราะกองเหล่าโจ๊วช่วงก่อนไฟไหม้แคบกว่าสภาพในปัจจุบัน
มีผู้เล่าว่าได้เห็นแสงสีแดงลอยจากฟากฟ้าเข้าไปในศาลเจ้า ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นเทพกวนอูกลับลงมาจากสวรรค์
เพราะกวนอูมีองค์สีแดง หลังจากนั้นมีลมพัดหวนจากทิศตะวันตกไปตะวันออกไปทางแม่น้ำปิง
จึงทำให้อาคารที่อยู่ฝั่งเดียวกับศาลเจ้ากวนอูรอดพ้นจากภัยพิบัติในครั้งนั้น
ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้ากวนอูในครั้งนั้น ยิ่งทำให้ชาวกาดโดยเฉพาะชาวกองเหล่าโจ๊วเลื่อมใสศรัทธาเทพเจ้ากวนอูมากกว่าเดิม
..........อาคารของศาลเจ้ากวนอูที่เห็นในปัจจุบันไม่ใช่อาคารเก่า แต่ได้รับการบูรณะล่าสุดประมาณกลางทศวรรษที่ 2530
ปัจจุบันศาลเจ้ากวนอูมีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อเชื่อมถึงกันหมด
มีหลังคาคลุมตรงกลางเปิดโล่งเพื่อให้มีแสงธรรมชาติส่องเข้าถึงและสามารถระบายถ่ายเทอากาศได้ดี
ซึ่งเป็นลักษณะของอาคารแบบจีน
ในการบูรณะครั้งหลังสุดมีการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาจากดินขอเป็นกระเบื้องซีแพคโมเนีย
เพื่อความคงทนถาวร เพราะดินขอแตกหักง่ายต้องได้รับการซ่อมแซมอยู่เสมอ ๆ
..........ด้านนอกของอาคารมีรูปปั้นนูนหญิงชาย ท่าต่าง ๆ บ้าง ทหารบ้าง และอื่น ๆ ประดับอยู่ทั้งสองข้าง
เชียงใหม่ - นำชมศาลเจ้ากวนอู (บู่เบี้ย) มากาดหลวงแวะมาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลศาลเจ้าสำคัญ
..........โดยทั่วไปในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย
ชาวจีนมักจะสร้างศาลเจ้าเพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาและขอพรในการทำการค้าขายและพรอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับครอบครัว
เหมือนกับคนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศก็จะมีการสร้างวัดไทยขึ้นมา
เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีต่าง ๆ ของชาวพุทธในย่านกาดหลวง-กาดเก๊าลำไย
ในย่านกาดหลวง เชียงใหม่มีศาลเจ้า 2 แห่ง
แห่งแรกหันหน้าสู่แม่น้ำปิงมีชื่อว่าศาลเจ้าปุงเถ่ากง-ม่า ตั้งอยู่ที่ถนนไปรษณีย์ใกล้กับแม่น้ำปิง
เพราะว่าในช่วงต้นของการค้าขายของคนจีนการเดินทางและขนส่งสินค้าจะเป็นทางเรือ จึงนิยมตั้งศาลเจ้าอยู่ริมแม่น้ำ
ศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งคือศาลเจ้ากวนอู อยู่ในกองเหล่าโจ๊ว (ปัจจุบันเรียกตรอกเล่าโจ๊วหรือถนนข่วงเมรุ)
ในที่นี้จะกล่าวถึงศาลเจ้ากวนอูเพียงแห่งเดียว
..........ศาลเจ้ากวนอูมีชื่อทางจีนว่า บู่เบี้ย ตั้งอยู่เลขที่ 95 ตรอกข่วงเมรุหรือตรอกเหล่าโจ๊ว ทางทิศตะวันตกของตลาดวโรรส
โดยหันหน้าศาลเจ้าไปทางตะวันออก ด้านเหนือของอาคารศาลเจ้าติดกับถนนซอยที่ไปทะลุถนนราชวงศ์ซึ่งในอดีตเรียกว่าย่านศรีนครพิงค์
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าศาลเจ้าแห่งนี้สร้างเมื่อใด
แต่ในบทความ "ศาลเจ้าหลวงเชียงใหม่ในศาลเจ้าชาวจีน"
โดย ปลายอ้อ ทองสวัสดิ์ ในหนังสือ เจ้าหลวงเชียงใหม่ เนื่องในโอกาสสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 12 เมษายน 2539
ซึ่งมีเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เป็นบรรณาธิการ
ได้เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของ นายค่าย อาภาวัชรุตม์ ผู้จัดการศาลเจ้าในเวลานั้น ซึ่งคาดว่าศาลเจ้าบู่เบี้ย มีอายุไม่น้อยกว่า 120 ปี
ถ้านับถึงปัจจุบันก็เป็น 130 ปี
(นางสุพิศ ตันรัตนกุล ซึ่งอาศัยอยู่ติดศาลเจ้า เล่าว่า ช่วงนั้นนายค่ายไม่ได้เป็นผู้จัดการศาลเจ้า แต่มีตำแหน่งเป็นผู้ตรวจตราศาลเจ้า ผู้จัดการศาลเจ้าคือ นายอารักษ์ ปักษาสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้จัดการศาลเจ้ากวนอู และคิดว่าศาลเจ้านี้น่าจะอายุประมาณ 150 ปี)
..........คาดว่าศาลเจ้าแห่งนี้ชาวจีนกลุ่มหนึ่งในเมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (พ.ศ. 2413 - 2439)
หรือ พระเจ้าอินทวิไชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่ 7 นับจากพระเจ้ากาวิละ
ข้อมูลบางแห่งเขียนว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 2413 - 2440 คงมีความคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อย
พระเจ้าอินทวิชยานนท์มีพระมเหสีชื่อ เจ้าแม่ทิพเกสร หรือ ทิพเกษร หรือ ทิพไกสร
เป็นธิดาองค์ใหญ่ของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 6 กับเจ้าแม่อุสาห์
..........คำว่า "บู้" เป็นคำขึ้นหน้าของตำแหน่งทางทหารของกวนอูคือ บู้เอี๋ยโห่
ส่วนคำว่า เบี้ย แปลว่า สถานที่ (เมื่อนำคำว่า "บู้" กับ "เบี้ย" มารวมกัน ต้องออกเสียงว่า "บู่เบี้ย")
ในเมืองไทยมีหลายจังหวัดที่มีศาลเจ้ากวนอู
จากพงศาวดารเรื่องสามก๊ก กวนอูเป็นทหารที่ช่วยขงเบ้งและเล่าปี่ในการรบศึกต่าง ๆ
ในเรื่องกล่าวว่ากวนอูเป็นทหารที่มีความซื่อสัตย์และมีม้าเป็นพาหนะคู่กาย
เมื่อท่านตายก็กลายเป็นเทพเจ้า จึงเรียกว่า เทพเจ้ากวนอู
เทพเจ้ากวนอูมีชื่อเสียงในด้านที่ใครขอพรอะไรก็มักจะสมหวัง ด้วยเพราะว่าท่านเป็นเทพที่ใจดีองค์หนึ่ง
ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมกราบไหว้บูชาและตั้งศาลเจ้าขึ้นมา
เท่าที่พบในศาลเจ้าปุงเถ่ากง (ปุนเถ้ากง) ทั่วไป ก็มักจะมีแท่นบูชาเทพเจ้ากวนอูอยู่ด้วย
..........ในประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่บอกว่า
ชาวจีนเริ่มอพยพขึ้นมาเชียงใหม่เพื่อทำการค้าขายเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5
ครั้งแรกก็ตั้งร้านค้าบ้านเรือนริมแม่น้ำปิงหน้าวัดเกต แล้วก็ขยับขยายมาฝั่งตรงข้ามที่เป็นตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยในปัจจุบัน
ซึ่งก็ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่ 7 และก็เป็นช่วงเดียวกันที่กลุ่มมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแผ่คริสตศาสนาด้วย
..........การที่จะสร้างศาลเจ้าแห่งนี้ได้ก็คงต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหลวงก่อน
ดังนั้นเมื่อพระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าแม่ทิพเกษรเสียชีวิตแล้ว
จึงได้มีการจัดตั้งแท่นบูชาหรือป้ายบูชาเจ้าหลวงและเจ้าแม่ภายในศาลเจ้าแห่งนี้
ซึ่งภาษาจีนเขียนว่า พระเจ้าแผ่นดิน (ตั่วอวง) และพระราชินี (อวงเนี้ย)
ภายในศาลเจ้ากวนอู มีแท่นบูชาหรือป้ายบูชาอยู่ 5 แท่น คือ
..........1. แท่นบูชาเทวดา ฟ้า ดิน อยู่ตรงกลางด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก
..........2. แท่นบูชาเจ้าพ่อกวนอูหรือเทพเจ้ากวนอู และเช็งเต๋าโจวซือ อยู่ตรงกลาง
เป็นแท่นบูชาที่สำคัญที่สุดในศาลแห่งนี้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
..........3. แท่นบูชาปุงเถ่ากง ปุงเถ่าม่า อยู่ด้านทิศเหนือของแท่นบูชากวนอู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
..........4. แท่นบูชาเจ้าพ่อเชียงใหม่ เจ้าแม่ทิพเกสร อยู่ด้านใต้ของแท่นบูชากวนอู หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
..........5. แท่นบูชาฉ่างง่วนส่วย อยู่ถัดแท่นบูชาปุงเถ่ากง-ม่าไปทางทิศตะวันออก โดยหันหน้าไปทางทิศใต้
นอกจากนั้น ยังมีที่บูชาอีก 2 แห่งอยู่บนพื้นด้านทิศเหนือของแท่นบูชากวนอู คือที่บูชาโหงวโจ้ว
และที่บูชาตี่จู้ (เจ้าที่) อยู่บนพื้นด้านทิศใต้ของแท่นบูชากวนอู
..........เมื่อประมาณ 50 กว่าปีก่อนหน้านี้ ศาลเจ้ากวนอูเป็นศาลเจ้าไม้เก่าแก่ มีเพียงไม้ทำเป็นสัญญลักษณ์แทนเทพเจ้ากวนอู
อาคารมีลักษณะมืดทึบและสกปรก ประชาชนทั่วไปไม่กล้าเข้าไปกราบไหว้เทพเจ้าในศาลเพราะเป็นสถานที่ซึ่งคนพเนจรเข้าไปอาศัยหลับนอน
บางครั้งมีผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตไปอาศัยด้วย ยิ่งทำให้ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นสถานที่ที่คนส่วนใหญ่ไม่กล้าเข้า
ต่อมา นางเง็กอิม แซ่อุง (แม่ทองย้อย ตันรัตนกุล) ซึ่งค้าขายผ้าอยู่ติดเขตศาลเจ้าด้านใต้
(ปัจจุบันลูกหลานเปิดร้านขายยามณีรัตน์เภสัช) ได้เข้าไปทำความสะอาด ทาสีและติดไฟให้สว่างไสว
พร้อมกันนั้นได้ไปบูชาและอัญเชิญรูปปั้นเทพกวนอูมาจากกรุงเทพฯ เพื่อประดิษฐานไว้ที่แท่นบูชา
ตั้งแต่นั้นมาก็มีคนนิยมเข้าไปกราบไหว้บูชามากขึ้นเรื่อย ๆ
..........ศาลเจ้ากวนอูและศาลเจ้าปุงเถ่ากง-ม่า
รอดพ้นจากการถูกไฟไหม้ในเหตุการณ์ไฟไหม้ตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2511
เลยยิ่งทำให้คนเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ จากเดิมที่ได้สักการะบูชาในความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว
จึงทำให้ช่วงหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่มีคนมาสักการะบูชาศาลเจ้ากวนอูมากขึ้น
..........นางสุพิศ ตันรัตนกุล ซึ่งอาศัยอยู่ติดกับศาลเจ้าตั้งแต่เด็กเล่าว่า ตอนที่เกิดไฟไหม้ใหญ่เป็นช่วงมาฆบูชา
ซึ่งเป็นวันเพ็ญ (ขึ้น 15 ค่ำ) หลังตรุษจีน ชาวจีนเรียกว่า ง่วนเซียว
เมื่อไฟโหมไหม้ตลาดต้นลำไยแล้วมีเศษวัสดุติดไฟปลิวข้ามถนนวิชยานนท์ซึ่งในขณะนั้นมีความกว้างพอสมควรมาเผาผลาญกาดหลวง (ตลาดวโรรส)
ลมพัดแรงจากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตกอันเป็นที่ตั้งของกองเหล่าโจ๊ว
ทำให้กลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารที่เรียงรายบนกองเหล่าโจ๊วต่างเข้าไปกราบไหว้อ้อนวอนขอให้เทพเจ้ากวนอูคุ้มครอง
เพราะกองเหล่าโจ๊วช่วงก่อนไฟไหม้แคบกว่าสภาพในปัจจุบัน
มีผู้เล่าว่าได้เห็นแสงสีแดงลอยจากฟากฟ้าเข้าไปในศาลเจ้า ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นเทพกวนอูกลับลงมาจากสวรรค์
เพราะกวนอูมีองค์สีแดง หลังจากนั้นมีลมพัดหวนจากทิศตะวันตกไปตะวันออกไปทางแม่น้ำปิง
จึงทำให้อาคารที่อยู่ฝั่งเดียวกับศาลเจ้ากวนอูรอดพ้นจากภัยพิบัติในครั้งนั้น
ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้ากวนอูในครั้งนั้น ยิ่งทำให้ชาวกาดโดยเฉพาะชาวกองเหล่าโจ๊วเลื่อมใสศรัทธาเทพเจ้ากวนอูมากกว่าเดิม
..........อาคารของศาลเจ้ากวนอูที่เห็นในปัจจุบันไม่ใช่อาคารเก่า แต่ได้รับการบูรณะล่าสุดประมาณกลางทศวรรษที่ 2530
ปัจจุบันศาลเจ้ากวนอูมีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อเชื่อมถึงกันหมด
มีหลังคาคลุมตรงกลางเปิดโล่งเพื่อให้มีแสงธรรมชาติส่องเข้าถึงและสามารถระบายถ่ายเทอากาศได้ดี
ซึ่งเป็นลักษณะของอาคารแบบจีน
ในการบูรณะครั้งหลังสุดมีการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาจากดินขอเป็นกระเบื้องซีแพคโมเนีย
เพื่อความคงทนถาวร เพราะดินขอแตกหักง่ายต้องได้รับการซ่อมแซมอยู่เสมอ ๆ
..........ด้านนอกของอาคารมีรูปปั้นนูนหญิงชาย ท่าต่าง ๆ บ้าง ทหารบ้าง และอื่น ๆ ประดับอยู่ทั้งสองข้าง