Huawei จะทำอย่างไรในวันที่ไร้ Google ?

กระทู้สนทนา
Huawei จะทำอย่างไรในวันที่ไร้ Google ?
 . . . ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราเดือดร้อนไหม เราต้องทราบก่อนครับว่า GMS ที่ว่ามันคืออะไร และ ทำหน้าที่อะไร? . . .


Google Mobile Services คืออะไร ?

. . . บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า Google Services มีแค่ Google App , Google Chrome , Gmail , Google Maps , YouTube , Google Play Store , Google Drive , Google Play Music , Google Play Movies , Google Duo , Google Photos แต่จริงๆ แล้วมีเยอะกว่านั้นครับ ซึ่งมีการทำงานอยู่เบื้องหลัง แต่หลักๆ คือ บริการ Google สำหรับ มือถือ ครับ ซึ่งมีองค์ประกอบ หลายอย่างด้วยกัน หลักๆ ก็มีหน้าที่คือ
 
•  ส่วนเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่แบ่งย่อยออกเป็น 6 หัวข้อ
-1. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเราเอง และ รายชื่อผู้ติดต่อ (หรือ Contact Sync)
-2. เก็บข้อมูล การนัดหมายต่างๆ หรือ การแจ้งเตือนที่เราตั้งไว้บนปฏิทิน (หรือ Calendar Sync)
-3. เก็บข้อมูล การใช้งาน Web Browser เช่น Bookmarks, ประวัติการเข้าเว็บ เป็นต้น 
-4. เก็บข้อมูล การใช้งาน YouTube ต่างๆ เช่น ประวัติการรับชม, วีดีโอที่ชื่นชอบ เป็นต้น
-5. เก็บข้อมูล การใช้งาน แผนที่ (Google Maps) ว่าเราไปไหนมาบ้าง มีจุดชื่นชอบที่ไหนบ้าง
-6. เก็บข้อมูล การเล่นเกมส์ ผ่าน Google Play Games
-7. เก็บข้อมูล. การใช้งาน Application ที่เราไปเชื่อมต่อด้วย
 
• ส่วนการเชื่อมต่อกับ Programs หรือ Application อื่นๆ ซึ่งผ่าน API (Application Programming Interface) เช่นเวลาเรา login โปรแกรมอื่นๆ มันบางแอพจะมีตัวเลือกให้ใช้ Google Account ในการ Login อีกด้วย

•  GMS ยังประกอบไปด้วย ชุดโปรแกรมหลัก หรือ GMS Core Application โดยมี Application หลักๆ 6 แอพ ดังนี้.-
  1. Google Services Framework | ทำหน้าที่ : เก็บข้อมูล ของ Google Mobile Services ทั้งหมด
  2. Google Play Services | ทำหน้าที่ : เป็นตัวกลางในการตรวจสอบ เชื่อมต่อ กับ โปรแกรมอื่น (สามารถอัพเดทได้)
  3. Google Account Manager | ทำหน้าที่ : เก็บข้อมูล จัดการ บัญชีผู้ใช้ของ Google
  4. Google Contact Sync | ทำหน้าที่ : Synchronize จัดการ รายชื่อผู้ติดต่อ 
  5. Google Calendar Sync | ทำหน้าที่ : Synchronize จัดการ นัดหมาย เหตุการณ่ต่างๆ ที่เราบันทึกไว้ใน ปฏิทิน
  6. Google Play Store | ทำหน้าที่ : ดาวน์โหลด อัพเดท Application ต่างๆ บานเครื่องเรา
 
      นอกจากชุด Application GMS Core ที่กล่าวไปแล้วยังประกอบไปด้วย ชุดโปรแกรมหลักของ Google หรือที่เราเรียกกันว่า Google Apps (Gapps) โดยมี แอพ อย่าง Google Chrome , Google Maps , Gmail , YouTube , Google Search เป็นต้น . ซึ่งแอพที่ว่าเหล่านี้ เราสามารถหาโหลดได้จาก Google Play Store ครับ


แล้ว มีอะไรแทนได้หละ ?  ถ้าหากเราใช้บริการของ Google ไม่ได้?
. . . จริงๆ ค่ายมือถือแต่ละเจ้า มักจะมีระบบ Cloud Mobile Service ของตัวเองอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะเป็น Xiaomi (Mi Account) , Samsung Account  รวมถึง Huawei เช่นกัน 
 
Huawei มีอะไรมาแทน ?
. . .  ตัวที่จะมาแทนก็คือ HMS นั่นเองครับ ซึ่ง HMS ย่อมาจาก HUAWEI Mobile Services เป็นบริการจาก HUAWEI ที่จะมาทำหน้าที่แทน GMS เช่น กล่าวคือเป็นตัวกลางระหว่างการเชื่อมต่อระหว่างแอพต่างๆ นั่นเองครับ
 
แล้ว Huawei Mobile Services (HMS) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง?
. . . องค์ประกอบของ HMS ก็จะเหมือนกับ Google เลยครับ แต่โครงสร้างจะแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยใน HMS Core จะแยกออกเป็นพาร์ทย่อยอยู่ข้างในครับ แต่จะเรียกโดยรวมว่า Huawei Services Framework โดยเวอร์ชั่นก็จะแยกกันออกไปตาม Android Version ครับ
และใน HMS จะประกอบไปด้วยสองส่วนครับ คือ Core Services และ Main Services ครับ โดยเราจะมาพูดถึง Core Services กันก่อน 
 
HMS Core Services
• Account Kit : เทียบได้กับ Google Account ครับเป็นตัวจัดการข้อมูลการใช้งานของ User เราในการเข้าใช้งาน (ผ่าน OAuth 2.0 Protocol) 
• Game Service : เทียบได้กับ Google Play Game ครับ เชื่อมต่อเพื่อการเชื่อมต่อกับเกมส์ แบบ One Stop Service 
• Location Kit : สามารแชร์ตำแหน่งให้กับ Application ต่างๆ ที่เราใช้งานโดยผ่านเครือข่าย WiFi , GPS , LBS
• Drive Kit : เทียบเคียงได้กับ Google Drive ครับ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานต่างๆ  ไว้บน Cloud Server และสามารถดึงกลับมาใช้งานได้
• Map Kit : สามารถดึงการทำงานร่วมกัน ระหว่าง GPS,WiFi เพื่อรับทราบตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ โดยส่งค่าพิกัดที่ได้ไปยัง App แผนที่ต่อไป
 
อันนี้เป็น feature สำหรับนักพัฒนาแอพครับ (อยู่ใน HMS Core เหมือนกัน)
• Push Kit : สามารถทำให้ส่งข้อความ ดึงข้อความจะระบบ Cloud มายังเครื่องได้ แบบ Real time
• Analytics Kit : เก็บข้อมูลกลับมาให้นักพัฒนาได้อย่างมีประสิทภาพ
• Ads Kit : ไว้จัดการสื่อโฆษณาในเครื่อง
• In-App Purchases : อนุญาตให้มีการซื้อขายภายในแอพได้ (เหมือนเราซื้อไอเทม หรือฟังก์ชั่นในแอพ หรือในเกมส์)
 

HMS Main Services
• Huawei ID | เป็นตัวกุญแจสำคัญในการเข้าถึงบริการทั้งหมดของ Huawei 
• Huawei Mobile Cloud | ทำหน้าที่เสมือน Google Drive + Contacts เก็บข้อมูลรายชื่อ ผู้ติดต่อ การตั้งค่า และอื่นๆ
• Huawei AppGallery | ทำหน้าที่เสมือน Google Play Store เพื่อการ ดาวน์โหลดแอพ อัพเดทแอพ โดยมีแอพเยอะพอสมควร
• Huawei Wallet | ทำหน้าที่เหมือน Google Pay หรือ Samsung Pay ที่ใช้ในการจ่ายเงิน ที่จุดชำระเงิน
• Huawei Video | นอกจากเป็นตัวเล่นไฟล์วีดีโอแล้ว ยังมีภาพยนตร์ และ วีดีโอที่น่าสนใจให้ชม เหมือนกับ Google Play Movies (ยังใช้งานในไทยไม่ได้) 
• Huawei Music | นอกจากเป็นตัวเล่นเพลงแล้ว ยังมีเพลงให้ฟังอีกด้วย ตอนนี้ในไทยเริ่มมีเพลงบ้างแล้ว เหมือน Google Play Music , Joox , Spotify
• Huawei Themes | เปลี่ยนธีมเป็นแบบที่เราชอบ โดยสามารถเปลี่ยนได้ทั้ง รูปแบบ icon หน้าจอ วอลล์เปเปอร์ หรือ รูปแบบตัวอักษร
• Huawei Browser | เป็นเบราเซอร์ที่ไว้เล่นอินเตอร์เน็ตที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีความปลอดภัยสูง 

แล้วนอกจาก HMS แล้ว เรายังใช้งาน Application อื่นๆ ได้ปกติไหม ?
♫ คำตอบ : ได้ครับเพราะมันไม่เกี่ยวอะไรกับ Google เลย ไม่ได้ใช้ Google Login และ แอพทั่วไปไม่ได้พึ่งพา GMS Core นั่นเองครับ

นอกจาก Google Play Store และ Huawei AppGallery แล้วมีอะไรที่แทนได้อีกบ้าง?
♫ คำตอบ : APTOIDE ครับ สามารถ อัพเดทแอพที่มีในเครื่องได้ด้วย มี facebook twitter WhatsApp ด้วยนะ

หากตัวเครื่องไม่มี GMS ใช้งานพวกแอพธนาคาร  (Banking Application) ได้ไหม?
♫ คำตอบ : ใช้งานได้ปกติครับ เหมือนคำถามแรก ตัวแอพเองมีระบบรักษาความปลอดภัยของแอพเอง ไม่ได้ต้องการการ Authorize จาก Google ครับ

แล้วหากจะเล่นเกมส์แล้วไม่มี Google ช่วยในการ Login ทำไง? 
♫ คำตอบ : ส่วนมากระบบเกมส์ จะมีระบบ login เป็นของตัวเองอยู่แล้วครับ หรือไม่ ก็จะมีระบบช่วย login มากกว่าแบบเดียวครับ เช่น login ด้วย facebook account หรือ LINE account เป็นต้น แต่ก็แน่หละครับ อาจจะมีเรื่องลำบากบ้าง ถ้าเซฟเกมส์อยู่ใน Google Account อาจจะต้องย้ายก่อน (ถ้าย้ายได้นะครับ)

สุดท้ายไม่ท้ายสุด
   . . . เนื่องจากผมไปเห็นคลิปของ blogger ชาวมาเลเซีย ท่านนึง (https://www.youtube.com/watch?v=ELOlnJmKLaI) ผมลองทำตามในคลิปที่ว่า ทั้งโอนย้ายแอพผ่าน Phone Clone และอื่นๆ เห็นว่าเข้าท่า และน่าสนใจ เลยแปลเป็นไทยให้ท่านชมกันครับ 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ติดตามต่อที่ Comment ถัดไปครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่