"โอม" คำนี้มีความเป็นมาอย่างไร?

"โอม" คำนี้มีความเป็นมาอย่างไร?

          โอม (ॐ) คำนี้มีความเป็นมาอย่างไร?

  คำว่า "โอม" (ॐ) (AUM) นี้ มาจากเสียงท้ายพยางค์ ๓ เสียง คือ "มะ" "อะ" "อุ" มาจากเทพเจ้า ๓ พระองค์ ได้แก่ พ่อพรหมธาดา (Brahmathada) พ่อศิวะ (Shiva) และพ่อวิษณุนารายณ์ (VishnuNarai) เมื่อ ๓ คำนี้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว จึงประกอบสำเร็จเป็นโอม ซึ่ง ๓ คำนี้แยกแยะได้ดังนี้

มะ (म) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (ब्रह्मा) (มะ) – พลังแห่งการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง หมายความว่า มหาเทพผู้ให้การก่อเกิดแห่งเทพเทวา มนุษย์ สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวง ที่คอยดูแลและคุ้มครองให้เจริญเติบโต วิวัฒนาการ ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์แห่งจักรวาล และลิขิตชะตาของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ด้วยวาระแห่งกรรม ดลบันดาลด้วยเหตุและผล

อะ (अ) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (शिव) (อะ) – พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า มหาเทพแห่งการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหว เคลื่อนย้าย สับเปลี่ยน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นอนันต์ ในความเปลี่ยนแปลงปฏิรูปขึ้นใหม่ จนถึงจุดหนึ่งแห่งความสัปปายะถึงจะปฏิวัติ เปลี่ยนใหม่รอบใหญ่ เปลี่ยนแปลงครั้งย่อยและเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ วนอย่างนี้เป็นอนันต์ไม่มีที่สิ้นสุดในธรรม

  อุ (उ) มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (विष्णु नारायण) (อุ) – พลังแห่งการดำรงรักษา หมายความว่า มหาเทพแห่งการดูแลรักษาดำรงอยู่ คุ้มครอง มีการดูแลรักษาดำรงอยู่ครั้งย่อย และมีการดูแลรักษาดำรงอยู่ครั้งใหญ่ในธรรม

คำว่า "โอม (ॐ)" เสียงนี้นั้นมาได้ยังไง? เสียงนี้นั้นเป็นปราณ (คี่ : 氣) ทุกอย่างจะต้องเกิดจากปราณ โลกก็ต้องมีปราณ (คี่ : 氣) จักรวาลก็ต้องมีปราณ (คี่ : 氣) เสียงแห่งปราณนั้นคือ เสียงโอม (ॐ)    คือ คุกรุ่น

  ถ้าเราไปต้มผักหรือหุงข้าวจะมีคุกรุ่น ในธรรมชาติจะมีการคุกรุ่น เสียงแห่งการรวมคุกรุ่น เสียงนั้นแหละคือ โอม (ॐ) เสียงโอมจึงก่อเกิดแห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย เพราะว่าปราณนั้นคุกรุ่นแล้วจะไปก่อเกิดเป็นอะไรต่างๆ

  ซึ่งคำว่าโอมนี้ ทางพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าเป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ถือว่าเป็นมนตร์เป็นคาถาสำหรับสวด ก่อนที่จะสวดคาถาหรือมนต์อะไร ก็มักจะขึ้นต้นด้วยโอมก่อน เช่น คาถาพ่อพรหม คือ โอม พรหมมา รามะ มะสะ ยังติ หรือคาถาพ่อศิวะ โอม นะมัส ศิวายะ ยะอุอุ นะมัสศิวะ สิตะวา นะมะฮาห์ หรือคาถาพ่อวิษณุนารายณ์ โอม นะมัส วิษะณุนารายณ์ สะวาหะ นะมะฮาห์ เป็นต้น

  สำหรับทางฝ่ายพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ได้นำคำเหล่านี้มาเลียนแบบใช้ ให้หมายถึงพระรัตนตรัย คือ

  อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) 
  อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด)
  ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์)

  เหล่าพุทธบริษัทนับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ใช้สวดมนต์และท่องเป็นคาถาปัดเป่าเคราะห์ภัย และสิ่งต่างๆ เช่น โอม นะโมพุทธายะ โอมเพี้ยงขอให้หายเร็วๆ นะลูก, โอมเพี้ยง จงปลอดภัย เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่