ภาระในการพิสูจน์ของกรรมการใน The Face Men Thailand

เดี๊ยนคิดว่าจุดอ่อนหนึ่งของรายการ Ep.4  (ที่ตัดต่อออกมา) คือขาดคำอธิบายของกรรมการว่าทำไมถึงเลือกทีมนี้ และทำไมไม่เลือกอีกสองทีม ซึ่งตรงนี้ถือเป็น "ภาระในการพิสูจน์" การตัดสินของกรรมการ
 
ถ้าเปรียบเทียบกับรายการ Masterchef ที่เป็นเรลลิตี้เหมือนกัน ผู้ชมจะได้ทราบว่ากรรมการเห็นว่าอาหารจานนี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ให้ใครตกรอบเพราะว่าอะไร ถึงแม้ว่าการตัดสินนั้นออกมาแล้วผู้ชมจะไม่เห็นด้วยเลย ก็ยังรู้ว่ากรรมการตัดสินอย่างไร
 
Ep.4 The face men นี้มีแต่ทัศนะของเมนทัวร์ของแต่ละทีมว่าเห็นทีมอื่นๆ เป็นอย่างไร แต่ไม่มีการอธิบายตัดสินชี้ขาดของกรรมการ ถึงแม้ว่าจะมี "ใช่หรอ" ก็ไม่พอจะบอกว่า "ตรง" หรือ "ไม่ตรงโจทย์" 
 
อีกทั้ง "dignity" ในรายการก็พูดกันคนละทิศทางบ้างก็ว่าเกียรติยศ, เกียรติ, สง่างาม, ชัยชนะ, Happy, สิ่งซึ่งไม่มีในกองโจทย์ แต่แท้จริงแล้วคำเหล่านี้มันคนละเรื่อง คนละ concept กันเลย และแท้จริงอีกว่า "dignity" ก็มีหลายความหมาย หลายความเข้าใจ ถ้าในตะวันตกแต่ละความเข้าใจก็พัฒนาขึ้นมาในบริบทแตกต่างกัน ปัญหานี้ก็จะคล้ายๆ กับ Ep.3 เรื่อง "Love" ว่าจะเอาแบบไหน และ season ก่อนๆ ที่รายการทำเหมือนน่าจะสนับสนุนเรื่อง Equality โดยการถือป้าย equality ?
 
ถ้ากลับไปบุคคลซึ่งตั้งรายการนี้ขึ้นมาจะเห็นได้ว่า Naomi Campbell ไม่ได้แค่ผลักดันเรื่อง ผิวสี โดยการถือป้าย แล้วจบ
 
คำอธิบายของกรรมการจึงสำคัญเพราะไม่เพียงแต่ทำไห้ผู้ชมทราบว่าตัดสินอย่างไร แต่ยังสะท้อนความเข้าใจของตัวกรรมการเองที่มีต่อการทำงานด้านศิลปะด้วย ถ้านับว่าภาพถ่าย แฟชั่น ก็คือศิลปะแบบหนึ่ง
 
แต่ก็เข้าใจว่าสิ่งที่ผู้ชมได้เห็นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการถ่ายทำทั้งหมด และอาจจะเน้นดราม่า หาจุดขาย จุดเน้นให้มีการพูดถึง แต่ถ้าเน้นดราม่าก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องทิ้งการอธิบายคำตัดสินของกรรมการต่อผู้ชม ในทางกลับกันถ้ากรรมการเข้าใจ "dignity" ผิดมากๆ หรือถูกต้องที่สุดก็ยังทำให้ถูกพูดถึงได้เหมือนกัน
 
ดังนั้น Ep. ต่อๆ ไป เดี๊ยนขอเหตุผลของกรรมการด้วยนะค่ะ 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่