เป็นที่ทราบกันดีว่า สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัทไทยลีก จำกัด มีนโยบายนำเทคโนโลยี Video assistant referees (VAR) เข้ามาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพภายในประเทศไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานของเกมการแข่งขันให้มีความสนุกเข้มข้น และบริสุทธิ์ยุติธรรม ในการช่วยผู้ตัดสินตัดสินใจกรณีเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจไม่ชัดเจน
นับตั้งแต่เดือนเมษายน 62 ที่ผ่านมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ นำโดยฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการขอใช้ VAR แบบเต็มรูปแบบ ตามที่ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) และ คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ International Football Association Board (The IFAB) กำหนดไว้
ผู้ตัดสิน ฟีฟ่า และระดับชั้น 1 จำนวน 24 คน พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ฟีฟ่า และระดับชั้น 1 จำนวน 24 คน เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตการทำหน้าที่ และการใช้ VAR ฟุตบอลลีกอาชีพในประเทศไทย จากผู้เชี่ยวชาญด้าน VAR ของ FIFA และ IFAB ภายใตโครงการ VAR Training Thailand จำนวน 8 คอร์ส ที่พัฒนา สปอร์ต คลับ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี
เริ่มจากเรื่องแรก “หลักการเรียกใช้ VAR ที่ถูกต้อง” คือ ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน ทั้งหมด 48 คน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า จังหวะใด หรือ สถานการณ์ใด ที่จะสามารถเรียกใช้ VAR ได้ ซึ่งมีข้อกำหนดหลัก 4 ข้อ คือ
1. จังหวะ เป็นประตู/ไม่เป็นประตู (ลูกข้ามเส้นหรือไม่ข้ามเส้น, มีการฟาล์วก่อน, ล้ำหน้า, ลูกบอลออกจากสนามก่อนเข้าประตู)
2. จังหวะ จุดโทษ/ไม่จุดโทษ (ตำแหน่งของการฟาล์ว, ฝ่ายรุกทำฟาล์วก่อน, ลูกบอลออกนอกสนามก่อนการฟาล์ว, การที่ผู้รักษาประตูหรือผู้ยิงประตู ทำผิดกติกาขณะเตะจุดโทษ)
3. จังหวะ ใบแดงโดยตรง (เจตนาป้องกันประตูผิดกติกาอย่างตั้งใจ, การทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง)
4. ระบุตัวผู้เล่นผิดพลาด (เมื่อผู้ตัดสินคาดโทษหรือไล่ออกผู้เล่นผิดคน)
ทั้งนี้ การตัดสินใจเรียกดู VAR ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตัดสินเท่านั้น นักกีฬาหรือบุคคลอื่นไม่สามารถ กดดันหรือเรียกร้องให้กรรมการเรียกดู VAR ได้ หากผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอนกดดัน หรือแสดงสัญญาลักษณ์เพื่อขอให้กรรมการดู VAR จะถูกคาดโทษใบเหลือง
เมื่อผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ กับ 4 สถานการณ์ที่จะสามารถเรียกใช้ VAR ได้แล้ว จากนั้นก็จะเข้าสู่การ “ศึกษากรณีตัวอย่างการเรียกใช้ VAR จากแมตช์การแข่งขันต่างๆ” ที่วิทยากรจัดเตรียมมา
ในหัวข้อนี้มีความสำคัญตรงที่ทุกคนจะได้ “ฝึกการตัดสินใจ” จากการชมภาพสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในแมตช์ต่างๆ ว่าเข้าข่ายในการเรียกใช้ VAR หรือไม่ พร้อมกับคำอธิบายจากวิทยากร ก่อนที่จะเข้าสู่ภาคสนาม ปฏิบัติจริง กับสถานการณ์จริง คือทดลองใช้เครื่อง VAR จาก “บริษัท ฮอว์ค-อาย อินโนเวชันส์” ผู้รับผิดชอบดูแลเรื่อง VAR เดียวกันกับศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ และในศึกฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย ที่ประเทศรัสเซีย เพื่อให้เกิดความชำนาญในการเรียกใช้เมื่อเกิดสถานการณ์จริง
เมื่อผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน ได้รับการฝึกตามขั้นตอนจนเกิดความชำนาญแล้ว จากนั้นก็เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีการเก็บชั่วโมงตามข้อกำหนดของ FIFA และ IFAB
โดยในส่วนของ ผู้ตัดสิน จะต้องทำหน้าที่ในสนามการแข่งขัน ไม่ต่ำกว่า 4 แมตช์ จำนวน 360 นาที และ ทำหน้าที่ในห้อง VAR ไม่ต่ำกว่า 4 แมตช์ จำนวน 360 นาที
ส่วน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน นั้นจะต้องผ่านการทำหน้าที่ในห้อง VAR ตำแหน่ง (AVAR) ไม่ต่ำกว่า 4 แมตช์ จำนวน 360 นาที
ขั้นตอนสุดท้าย FIFA และ IFAB จะประเมินการทำหน้าที่ของทั้ง 48 คน จากการบันทึกการทำหน้าที่ภาคสนามและในห้อง VAR ก่อนประกาศผลผู้ผ่านการอบรมต่อไป
อนึ่ง หากเกิดการกระทำใดๆ ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบว่าด้วยการใช้วีดิทัศน์ช่วยการตัดสิน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2561 บทที่ 7 ที่ “สมาคมฯ” ได้ประกาศใช้ เมื่อได้รับรายงานจากส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้คณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ พิจารณาลงโทษ ดังนี้
ข้อ 1. บุคคลใดรบเร้า ข่มขู่ ผู้ตัดสิน ให้ใช้วีดิทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) เข้าไปในบริเวณการตรวจสอบวีดิทัศน์ (RRA) ของผู้ตัดสิน เข้าไปในห้องปฏิบัติการวีดิทัศน์(VOR) ชี้นำหรือข่มขู่ให้ผู้ตัดสินตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวน ขัดขวางการใช้วีดิทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) ไม่ว่าจะด้วยประการใดๆ จะต้องถูกลงโทษ ปรับเงินตั้งแต่ 10,000 ถึง 50,000 บาท และ/หรือ ห้ามปฏิบัติหน้าที่ 1-2 นัด
ข้อ 2. องค์กรสมาชิกทีมเหย้าไม่จัดสถานที่สำหรับใช้วีดิทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการจัดการแข่งขันของสมาคม จะต้องถูกลงโทษปรับเงินตั้งแต่ 20,000 ถึง 50,000 บาท
ข้อ 3. ผู้ช่วยผู้ตัดสินวีดิทัศน์1 (VAR) และผู้ช่วยผู้ตัดสินวีดิทัศน์2 (AVAR) มีหน้าที่ในการตรวจสอบวีดิทัศน์ ช่วยการตัดสินให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ โดยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ตลอดการแข่งขัน หากปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จะมีความผิดตาม ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กีฬาฟุตซอล และกีฬาฟุตบอลชายหาด ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2561 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ “สมาคม” ได้ประกาศใช้
ทั้งนี้ สามารถยื่นอุทธรณ์โทษ ถึงคณะกรรมการอุทธรณ์ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตามกระบวนการพิจารณาการยื่นอุทธรณ์ ที่ระบุไว้ในระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับ เกมแรกที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะประเดิมใช้เทคโนโลยี Video assistant referees (VAR) อย่างเต็มรูปแบบ หลังบุคลากรได้ผ่านการฝึกอบรมครบถ้วนแล้ว คือ เกมนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลช้าง เอฟเอคัพ 2019 ระหว่าง สโมสรราชบุรี มิตรผล เอฟซี พบกับ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ณ สนามบีจี ปทุม สเตเดียม ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้
credit : www.soccersuck.com
ของมันต้องมี! VAR กับ ฟุตบอลไทย เพิ่มความสนุกเข้มข้นและบริสุทธิ์ยุติธรรม
นับตั้งแต่เดือนเมษายน 62 ที่ผ่านมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ นำโดยฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการขอใช้ VAR แบบเต็มรูปแบบ ตามที่ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) และ คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศ International Football Association Board (The IFAB) กำหนดไว้
ผู้ตัดสิน ฟีฟ่า และระดับชั้น 1 จำนวน 24 คน พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ฟีฟ่า และระดับชั้น 1 จำนวน 24 คน เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตการทำหน้าที่ และการใช้ VAR ฟุตบอลลีกอาชีพในประเทศไทย จากผู้เชี่ยวชาญด้าน VAR ของ FIFA และ IFAB ภายใตโครงการ VAR Training Thailand จำนวน 8 คอร์ส ที่พัฒนา สปอร์ต คลับ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี
เริ่มจากเรื่องแรก “หลักการเรียกใช้ VAR ที่ถูกต้อง” คือ ผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน ทั้งหมด 48 คน ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า จังหวะใด หรือ สถานการณ์ใด ที่จะสามารถเรียกใช้ VAR ได้ ซึ่งมีข้อกำหนดหลัก 4 ข้อ คือ
1. จังหวะ เป็นประตู/ไม่เป็นประตู (ลูกข้ามเส้นหรือไม่ข้ามเส้น, มีการฟาล์วก่อน, ล้ำหน้า, ลูกบอลออกจากสนามก่อนเข้าประตู)
2. จังหวะ จุดโทษ/ไม่จุดโทษ (ตำแหน่งของการฟาล์ว, ฝ่ายรุกทำฟาล์วก่อน, ลูกบอลออกนอกสนามก่อนการฟาล์ว, การที่ผู้รักษาประตูหรือผู้ยิงประตู ทำผิดกติกาขณะเตะจุดโทษ)
3. จังหวะ ใบแดงโดยตรง (เจตนาป้องกันประตูผิดกติกาอย่างตั้งใจ, การทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง)
4. ระบุตัวผู้เล่นผิดพลาด (เมื่อผู้ตัดสินคาดโทษหรือไล่ออกผู้เล่นผิดคน)
ทั้งนี้ การตัดสินใจเรียกดู VAR ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตัดสินเท่านั้น นักกีฬาหรือบุคคลอื่นไม่สามารถ กดดันหรือเรียกร้องให้กรรมการเรียกดู VAR ได้ หากผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอนกดดัน หรือแสดงสัญญาลักษณ์เพื่อขอให้กรรมการดู VAR จะถูกคาดโทษใบเหลือง
เมื่อผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ กับ 4 สถานการณ์ที่จะสามารถเรียกใช้ VAR ได้แล้ว จากนั้นก็จะเข้าสู่การ “ศึกษากรณีตัวอย่างการเรียกใช้ VAR จากแมตช์การแข่งขันต่างๆ” ที่วิทยากรจัดเตรียมมา
ในหัวข้อนี้มีความสำคัญตรงที่ทุกคนจะได้ “ฝึกการตัดสินใจ” จากการชมภาพสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในแมตช์ต่างๆ ว่าเข้าข่ายในการเรียกใช้ VAR หรือไม่ พร้อมกับคำอธิบายจากวิทยากร ก่อนที่จะเข้าสู่ภาคสนาม ปฏิบัติจริง กับสถานการณ์จริง คือทดลองใช้เครื่อง VAR จาก “บริษัท ฮอว์ค-อาย อินโนเวชันส์” ผู้รับผิดชอบดูแลเรื่อง VAR เดียวกันกับศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ และในศึกฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย ที่ประเทศรัสเซีย เพื่อให้เกิดความชำนาญในการเรียกใช้เมื่อเกิดสถานการณ์จริง
เมื่อผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน ได้รับการฝึกตามขั้นตอนจนเกิดความชำนาญแล้ว จากนั้นก็เข้าสู่ภาคปฏิบัติจริง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีการเก็บชั่วโมงตามข้อกำหนดของ FIFA และ IFAB
โดยในส่วนของ ผู้ตัดสิน จะต้องทำหน้าที่ในสนามการแข่งขัน ไม่ต่ำกว่า 4 แมตช์ จำนวน 360 นาที และ ทำหน้าที่ในห้อง VAR ไม่ต่ำกว่า 4 แมตช์ จำนวน 360 นาที
ส่วน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน นั้นจะต้องผ่านการทำหน้าที่ในห้อง VAR ตำแหน่ง (AVAR) ไม่ต่ำกว่า 4 แมตช์ จำนวน 360 นาที
ขั้นตอนสุดท้าย FIFA และ IFAB จะประเมินการทำหน้าที่ของทั้ง 48 คน จากการบันทึกการทำหน้าที่ภาคสนามและในห้อง VAR ก่อนประกาศผลผู้ผ่านการอบรมต่อไป
อนึ่ง หากเกิดการกระทำใดๆ ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบว่าด้วยการใช้วีดิทัศน์ช่วยการตัดสิน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2561 บทที่ 7 ที่ “สมาคมฯ” ได้ประกาศใช้ เมื่อได้รับรายงานจากส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้คณะกรรมการพิจารณาวินัยมารยาทฯ พิจารณาลงโทษ ดังนี้
ข้อ 1. บุคคลใดรบเร้า ข่มขู่ ผู้ตัดสิน ให้ใช้วีดิทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) เข้าไปในบริเวณการตรวจสอบวีดิทัศน์ (RRA) ของผู้ตัดสิน เข้าไปในห้องปฏิบัติการวีดิทัศน์(VOR) ชี้นำหรือข่มขู่ให้ผู้ตัดสินตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวน ขัดขวางการใช้วีดิทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) ไม่ว่าจะด้วยประการใดๆ จะต้องถูกลงโทษ ปรับเงินตั้งแต่ 10,000 ถึง 50,000 บาท และ/หรือ ห้ามปฏิบัติหน้าที่ 1-2 นัด
ข้อ 2. องค์กรสมาชิกทีมเหย้าไม่จัดสถานที่สำหรับใช้วีดิทัศน์ช่วยในการตัดสิน (VAR) ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการจัดการแข่งขันของสมาคม จะต้องถูกลงโทษปรับเงินตั้งแต่ 20,000 ถึง 50,000 บาท
ข้อ 3. ผู้ช่วยผู้ตัดสินวีดิทัศน์1 (VAR) และผู้ช่วยผู้ตัดสินวีดิทัศน์2 (AVAR) มีหน้าที่ในการตรวจสอบวีดิทัศน์ ช่วยการตัดสินให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ โดยมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ตลอดการแข่งขัน หากปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จะมีความผิดตาม ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล กีฬาฟุตซอล และกีฬาฟุตบอลชายหาด ของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2561 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ “สมาคม” ได้ประกาศใช้
ทั้งนี้ สามารถยื่นอุทธรณ์โทษ ถึงคณะกรรมการอุทธรณ์ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตามกระบวนการพิจารณาการยื่นอุทธรณ์ ที่ระบุไว้ในระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำหรับ เกมแรกที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะประเดิมใช้เทคโนโลยี Video assistant referees (VAR) อย่างเต็มรูปแบบ หลังบุคลากรได้ผ่านการฝึกอบรมครบถ้วนแล้ว คือ เกมนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลช้าง เอฟเอคัพ 2019 ระหว่าง สโมสรราชบุรี มิตรผล เอฟซี พบกับ สโมสรการท่าเรือ เอฟซี ณ สนามบีจี ปทุม สเตเดียม ในวันที่ 2 พฤศจิกายนนี้
credit : www.soccersuck.com