มาแลกเปลี่ยนกันครับ
(ออกตัวก่อนผมเขียนจากความทรงจำนะครับ ข้อมูลอาจจะผิดพลาดไปบ้าง ต้องขออภัยด้วย)
สำหรับผมนะครับ
1.เมืองในหมอก
ฟิล์มนัวร์เรื่องแรกๆของไทย ดัดแปลงมาจาก Le Melentendu(ความเข้าใจผิด) ของ อาลแบร์ กามูว์ (ซึ่งในไทยน่าจะรู้จักงานเขียนของเขาเรื่อง คนนอก(ซึ่งผมเองก็เช่นกัน
อ่านงานเขียนของเขาเรื่องนี้เรื่องแรก))
หนังดูสนุก ภาษาหนังยอดเยี่ยมมาก
เนื้อหาต่อจากนี้อาจจะเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง
หากจะดูให้สนุก หนังก็สนุก แต่ขณะเดียวกันสัญลักษณ์ในหนัง ภาษาหนัง ยอดเยี่ยมมาก
ภาพระหว่างเมืองในหมอก กับ เมืองที่ลูกชายอยู่ ช่างแตกต่างกันมาก จนอดคิดไม่ได้ว่า มันอาจจะเป็นเพียงภาพฝันหรือสิ่งที่สองแม่ลูกจินตนาการ(แล้วแต่จะตีความนะครับ) ถ้าเคยอ่านหนังสือเรื่อง Of Mice and Men ของ John Steinbeck (ซึ่งเป็นงานเขียนเชิงสัญลักษณ์ที่ยอดเยี่ยมมาก) พอเห็นตอนจบหนังเรื่องนี้แล้วอดคิดไม่ได้ว่า แท้จริง การพลั้งมือฆ่าพี่ชาย/ลูกชายตัวเอง แท้จริงอาจจะเป็นสัญลักษณ์ให้ตีความได้ว่า สองแม่ลูกได้ฆ่าความฝัน(ภาพพระเอกที่ออกมาดูเหมือนภาพฝันหรือภาพในจินตนาการ)ของตัวเองทิ้งเสียแล้ว หรือยอมรับความจริงว่ามันเป็นไปไม่ได้ เหมือนเรื่อง Of Mice and Men เลย(ขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ เดียวจะสปอยเรื่อง Of Mice and Men)
1.ลุงบุญมีระลึกชาติ
เป็นหนังที่ภาษาหนังยอดเยี่ยมมาก ผมให้เป็นอันดับ 1 คู่กับ เมืองในหมอก
3.วัยอลวน
ในการทำงานศิลปะ ผู้สร้างสรรค์คงอดที่จะใส่แนวคิดของตัวเองลงไปไม่ได้ คุณ เปี๊ยก โปสเตอร์ก็เช่นกัน
ผมมีโอกาสฟังคุณเปี๊ยก สัมภาษณ์ ในเทศกาลหนังแห่งหนึ่ง พร้อมทั้งได้ดูหนังยุคแรกๆ ของแกในโรงภาพยนตร์ด้วย
เข้าใจเลยว่าทำไมหนังแกดูสนุก มีอะไรซ่อนอยู่ และเข้าใจหนังแกมากขึ้น
วัยอลวนก็เช่นกัน นอกจากดูสนุกแล้วยังแฝงอะไรไว้พอสมควร ผมชอบตอนจบของหนังมาก
พระเอก(เรียนจบแล้ว) มีเพื่อนมาหา มาแสดงความยินดี เพื่อนยืนอยู่ข้างล่าง พระเอกยืนสูงกว่าบนระเบียง(หนังจะสื่อว่าตอนนี้สถานะของพระเอกกับเพื่อนต่างกันแล้ว) แล้วพระเอกก็เดินลงมาหา
แล้วทั้งหมดก็เดินร้องรำทำเพลงไปด้วยกัน (แม้จะต่างกันแต่ก็เป็นเพื่อนกันได้)
เป็นฉากจบที่งดงามมาก
4.ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น และ อิสรภาพของทองพูน โคกโพ
5.เรื่องตลก 69
หนังไทยในดวงใจมีเรื่องอะไรกันบ้างครับ
(ออกตัวก่อนผมเขียนจากความทรงจำนะครับ ข้อมูลอาจจะผิดพลาดไปบ้าง ต้องขออภัยด้วย)
สำหรับผมนะครับ
1.เมืองในหมอก
ฟิล์มนัวร์เรื่องแรกๆของไทย ดัดแปลงมาจาก Le Melentendu(ความเข้าใจผิด) ของ อาลแบร์ กามูว์ (ซึ่งในไทยน่าจะรู้จักงานเขียนของเขาเรื่อง คนนอก(ซึ่งผมเองก็เช่นกัน
อ่านงานเขียนของเขาเรื่องนี้เรื่องแรก))
หนังดูสนุก ภาษาหนังยอดเยี่ยมมาก
เนื้อหาต่อจากนี้อาจจะเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง
หากจะดูให้สนุก หนังก็สนุก แต่ขณะเดียวกันสัญลักษณ์ในหนัง ภาษาหนัง ยอดเยี่ยมมาก
ภาพระหว่างเมืองในหมอก กับ เมืองที่ลูกชายอยู่ ช่างแตกต่างกันมาก จนอดคิดไม่ได้ว่า มันอาจจะเป็นเพียงภาพฝันหรือสิ่งที่สองแม่ลูกจินตนาการ(แล้วแต่จะตีความนะครับ) ถ้าเคยอ่านหนังสือเรื่อง Of Mice and Men ของ John Steinbeck (ซึ่งเป็นงานเขียนเชิงสัญลักษณ์ที่ยอดเยี่ยมมาก) พอเห็นตอนจบหนังเรื่องนี้แล้วอดคิดไม่ได้ว่า แท้จริง การพลั้งมือฆ่าพี่ชาย/ลูกชายตัวเอง แท้จริงอาจจะเป็นสัญลักษณ์ให้ตีความได้ว่า สองแม่ลูกได้ฆ่าความฝัน(ภาพพระเอกที่ออกมาดูเหมือนภาพฝันหรือภาพในจินตนาการ)ของตัวเองทิ้งเสียแล้ว หรือยอมรับความจริงว่ามันเป็นไปไม่ได้ เหมือนเรื่อง Of Mice and Men เลย(ขอไม่ลงรายละเอียดนะครับ เดียวจะสปอยเรื่อง Of Mice and Men)
1.ลุงบุญมีระลึกชาติ
เป็นหนังที่ภาษาหนังยอดเยี่ยมมาก ผมให้เป็นอันดับ 1 คู่กับ เมืองในหมอก
3.วัยอลวน
ในการทำงานศิลปะ ผู้สร้างสรรค์คงอดที่จะใส่แนวคิดของตัวเองลงไปไม่ได้ คุณ เปี๊ยก โปสเตอร์ก็เช่นกัน
ผมมีโอกาสฟังคุณเปี๊ยก สัมภาษณ์ ในเทศกาลหนังแห่งหนึ่ง พร้อมทั้งได้ดูหนังยุคแรกๆ ของแกในโรงภาพยนตร์ด้วย
เข้าใจเลยว่าทำไมหนังแกดูสนุก มีอะไรซ่อนอยู่ และเข้าใจหนังแกมากขึ้น
วัยอลวนก็เช่นกัน นอกจากดูสนุกแล้วยังแฝงอะไรไว้พอสมควร ผมชอบตอนจบของหนังมาก
พระเอก(เรียนจบแล้ว) มีเพื่อนมาหา มาแสดงความยินดี เพื่อนยืนอยู่ข้างล่าง พระเอกยืนสูงกว่าบนระเบียง(หนังจะสื่อว่าตอนนี้สถานะของพระเอกกับเพื่อนต่างกันแล้ว) แล้วพระเอกก็เดินลงมาหา
แล้วทั้งหมดก็เดินร้องรำทำเพลงไปด้วยกัน (แม้จะต่างกันแต่ก็เป็นเพื่อนกันได้)
เป็นฉากจบที่งดงามมาก
4.ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น และ อิสรภาพของทองพูน โคกโพ
5.เรื่องตลก 69